ประเทศไทย

ข้อมูลประเทศไทย

ธงชาติไทย

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  8 สิงหาคม 2510      

พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานครณ (Bangkok)

ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย์แบบรัฐสภา อันมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประชากร : 65,479,453 คน (2553)

ภาษาราชการ : ภาษาไทย

ศาสนา : พระพุทธศาสนา

สกุลเงิน:บาท (Bath : THB)

แผนที่ประเทศไทย

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นลองจิจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก

มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักร กัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภูมิอากาศ

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ลักษณะภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดปี

จำนวนประชากร

จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก

คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ

1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี

3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย

4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล

ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

ขนาดพื้นที่

ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราช อาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและสหภาพพม่า และทิศเหนือติดกับสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างเขตแดนเป็นบางช่วง

เมืองหลวง

กรุงเทพมหานคร หรือชื่อเต็มว่า “กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

ประชากร

จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ

1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี

3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย

4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

ภาษา

ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และมีการใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศหรือ ชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

ศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท รองลงมาคืออิสลาม คริสต์ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่นๆ เช่น ซิกข์ ฮินดู เต๋า ขงจื้อ และยิว รวมทั้งชาวไทยภูเขาที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป

การปกครอง

ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศในปัจจุบัน

อุณหภูมิ

ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศา เซลเซียส

วันหยุดประจำปี

1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันมาฆบูชา
6 เมษายน วันจักรี
6 เมษายน วันมาฆบูชา
13-15 เมษายน วันสงกรานต์
13 เมษายน วันผู้สูงอายุ
14 เมษายน วันครอบครัว
1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ
5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชา
ข้างขึ้น เดือน 6(แล้วแต่สำนักพระราชวังกำหนดวันอุดมฤกษ์) วันพืชมงคล
1 กรกฎาคม วันหยุดภาคครึ่งปีธนาคาร
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา
12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ, วันชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
31 ธันวาคม วันสิ้นปี

ระบบเศรษฐกิจ

ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศ ในด้านเกษตรกรรม ข้าวถือเป็นผลผลิตที่สำคัญที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุกและก๊าซธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่

ระยะทางถึงประเทศต่างๆ (กิโลเมตร)

เมืองซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย                  7,530.84 กิโลเมตร

เมืองโตเกียว ญี่ปุ่น                                4,603.65 กิโลเมตร

เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน             3,692.08 กิโลเมตร

เมืองฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน            1,723.91 กิโลเมตร

เมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย                    2,915.63 กิโลเมตร

เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส                  4,882.68 กิโลเมตร

เมืองโรม สาธารณรัฐอิตาลี                         8,825.12 กิโลเมตร

เมืองมาดริด ราชอาณาจักรสเปน                10,174.82 กิโลเมตร

เมืองปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส                     9,438.89 กิโลเมตร

เมืองเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี         8,598.95 กิโลเมตร

เมืองสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน           8,263.76 กิโลเมตร

เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร                  9,525.96 กิโลเมตร

เมืองมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย                     7,060.83 กิโลเมตร

เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา                      13,922.59 กิโลเมตร

เมืองลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา               13,293.10 กิโลเมตร

เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา                         11,798.55 กิโลเมตร

เงินตรา

ใช้สกุลเงินบาท (1 บาท มี 100 สตางค์)

มีธนบัตรชนิด 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท และมีเหรียญชนิด

25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท

เวลาทำการธนาคาร

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.30 น. ยกเว้นสาขาในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อยตามสถานที่ต่างๆ จะมีเวลาเปิดทำการที่แตกต่างกันไป บางสาขาเปิดทำการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด

ที่ทำการไปรษณีย์

ที่ทำการไปรษณีย์แต่ละแห่งมีเวลาเปิดทำการที่แตกต่างกันไป โดยมากวันจันทร์-ศุกร์เปิดเวลา 08.00-17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เปิดเวลา 09.00-12.00 น. และที่ทำการไปรษณีย์ในท่าอากาศยานบางแห่งเปิดบริการ 24 ชั่วโมง

ระบบเวลา

ประเทศไทยยึดเอาลองจิจูดที่ 105 องศาตะวันออกเป็นเวลามาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยมีเวลาแตกต่างจากเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง

มาตรวัด

ใช้ระบบการวัดแบบเมตริก คือ วัดความยาวเป็นมิลลิเมตร เมตร และกิโลเมตร วัดน้ำหนักเป็นกรัม และกิโลกรัม และวัดอุณหภูมิเป็นเซลเซียส

ระบบไฟฟ้า

ใช้กระแสไฟฟ้า 220 โวลต์

ที่พัก

มีโรงแรมระดับต่างๆ และที่พักหลากหลายรูปแบบอยู่ทั่วประเทศ ตั้งแต่โรงแรมหรูระดับห้าดาว รีสอร์ตสไตล์ต่างๆ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ อพาร์ตเมนต์ หอพัก คอนโดมิเนียมให้เช่าทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี ไปจนถึงเกสต์เฮาส์ขนาดเล็ก รวมทั้งมีที่พักแบบโฮมสเตย์ และมีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่มีบริการบ้านพัก จุดกางเต็นท์ และเต็นท์ให้เช่า สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบและต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ รวมทั้งผู้ที่นิยมการพักผ่อนในบรรยากาศแบบแค้มปิ้งด้วย

ระบบโทรศัพท์

รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศของประเทศไทยคือ 66

ประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐาน 7.035 ล้านหมายเลข และโทรศัพท์มือถือ 27.4 ล้านหมายเลข (สถิติเมื่อปี พ.ศ. 2548)

ลักษณะภูมิประเทศ

ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักร กัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ คือ

1.เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ

ทิวเขา ภูเขา และแอ่งแผ่นดินระหว่างเขาทางภาคเหนือ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสายที่ไหลลงแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำสาละวิน พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำไหลพามาทับถม ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตร

เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาขุนตาน และเทือกเขาเพชรบูรณ์ มียอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศคือยอดอินทนนท์ ในจังหวัดเชียงใหม่ สูงประมาณ 2,595 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

2.เขตที่ราบภาคกลาง

เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาแน่นและกว้างขวางที่สุดของไทย มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ และเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ

3.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิประเทศเขตนี้แยกจากภาคเหนือและภาคกลางอย่างชัดเจน โดยมีขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ เรียกว่าแอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูนไหลผ่าน และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี

เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก

4.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก

ทิวเขาและหุบเขาของภาคตะวันตกไม่มีที่ราบระหว่างเขาเหมือนภาคเหนือ มีเพียงที่ราบแคบๆ เท่านั้น เทือกเขาสำคัญของเขตนี้ ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี ที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแควน้อย หรือไทรโยค และแม่น้ำแควใหญ่ หรือศรีสวัสดิ์ ซึ่งไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง

5.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ ทิวเขาสลับที่ราบลูกฟูกทางตอนกลาง และที่ราบชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ เทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ระหว่างเทือกเขาจันทบุรีกับอ่าวไทยเป็นพื้นที่ราบแคบๆ มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับปลูกผลไม้ มีแม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทย ลักษณะชายฝั่งเว้าแหว่งเต็มไปด้วยเกาะแก่ง หาดทรายสวยงาม เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะกูด และเกาะสีชัง

6.เขตภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะต่างๆ ทางภาคใต้

พื้นที่ของภาคใต้เป็นที่ราบสูงบนคาบสมุทรแคบๆ มีที่ราบอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกเป็นแนวขนานกัน โดยมีเทือกเขาสูงเป็นสันอยู่ตรงกลาง เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช มีแม่น้ำสายสั้นๆ เช่น แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตรัง แม่น้ำคีรีรัฐ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำโกลก มีเกาะที่สำคัญทางฝั่งตะวันตก คือ เกาะภูเก็ต ทางฝั่งตะวันออก คือ เกาะสมุยและเกาะพะงัน

ประวัติศาสตร์

ประเทศไทย หรือราชอาณาจักรไทย เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์และความเป็นมาอันยาวนาน เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือยุคแรกเริ่ม ที่มีชุมชนมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนลุ่มแม่น้ำแห่งนี้ รวมตัวก่อตั้งเป็นอาณาจักรและก่อกำเนิดวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ สืบต่อและพัฒนาผ่านกาลเวลาเรื่อยมา จนกระทั่งเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

ยุคแรกเริ่ม
จาก หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งค้นพบในพื้นที่หลายแห่งของประเทศ ทำให้เชื่อได้ว่าบริเวณที่เป็นประไทยในปัจจุบันนี้ มีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนตั้งแต่เมื่อเกือบ 6 พันปีที่แล้ว โดยชนชาติที่ครอบครองดินแดนแห่งนี้ในยุคแรกๆ คือ ชาวละว้าและชาวป่าชาวเขาในตระกูลมอญและขอมโบราณ ได้ก่อตั้งอาณาจักรลพบุรีขึ้น ณ บริเวณที่ตั้งของจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน 

สมัยสุโขทัย
ราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ในช่วงเวลาเดียวกับยุคสมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรืองทางตอนเหนือ ชาวไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้ามาอยู่ในดินแดนของขอม ได้รวมตัวกันและสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระจากขอม ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระร่วงเจ้า หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นกษัตริย์พระองค์แรก มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงสุโขทัย หรือจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน 

สมัยอยุธยา
ราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 กลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ตั้งอาณาจักร ขึ้นใหม่ ภายใต้การนำของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง สถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา และได้รวบรวมอาณาจักรอื่นๆ รวมทั้งกรุงสุโขทัยเข้าไว้ในการปกครองเกือบทั้งหมด นอกจากนี้ ยังขยายอำนาจออกไปทั่วบริเวณคาบสมุทรอินโดจีน แหลมมลายู จนถึงเกาะปีนังและสิงคโปร์

สมัยธนบุรี

ในปี พ.ศ. 2310 เมื่อพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาตากได้รวบรวมไพล่พลประมาณ 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าออกไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เมื่อรวบรวมไพร่พลได้อีกจำนวนหนึ่ง ก็ยกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ในปีเดียวกัน แต่เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นได้รับความเสียหายเกินกว่าที่จะฟื้นฟู ได้ และเป็นเมืองที่พม่ารู้เส้นทางดีอยู่แล้ว ทำให้ยากต่อการปกป้องรักษาบ้านเมือง

สมัยรัตนโกสินทร์
หลัง จากสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว เศรษฐกิจของเมืองก็ตกอยู่ในสภาพที่ตกต่ำมากจากการทำศึกสงครามรวบรวมอาณาจักร ไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การทำสงครามกับพม่าเพื่อปกป้องราชธานี และต้องทำนุบำรุงบ้านเมืองตลอดเวลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2325 พระยาจักรี นายทหารซึ่งได้ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้เอกราชของบ้านเมือง เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 จึงได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

ศาสนา

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความเสรีในด้านการนับถือศาสนา คนไทยจึงเลือกนับถือศาสนาต่างๆ ได้ตามความสมัครใจ โดยประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก็ได้นับถือสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นรากฐานของความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีส่วนใหญ่ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้พุทธศาสนาเป็น ศาสนาประจำชาติก็ตาม

สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ประชากรไทยประมาณร้อยละ 94 นับถือศาสนาพุทธ โดยส่วนใหญ่เป็นนิกายเถรวาท และประมาณร้อยละ 5 นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง โดยร้อยละ 99 ของมัสยิดในประเทศไทยเป็นนิกายสุหนี่ ส่วนมัสยิดนิกายชีอะมีเพียงร้อยละ 1

สำหรับคนไทยที่นับถือศาสนาคริสต์มีประมาณ 4 แสนกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 0.7 ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ มีทั้งนิกายคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ ส่วนชาวซิกข์มีประมาณ 70,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่อื่นๆ เช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา พัทยา และภูเก็ต มีโบสถ์ซิกข์อยู่ทั้งหมด 19 แห่งทั่วประเทศ ส่วนผู้นับถือศาสนาฮินดูมีถึงประมาณ 1 หมื่นคน

นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่นๆ เช่น เต๋า ขงจื้อ และยิว รวมทั้งชาวไทยภูเขาอีก 9 เผ่า จำนวนประมาณ 920,000 คน ที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป

แหล่งธรรมชาติ

ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ตั้งแต่หาดทราย ชายฝั่งทะเล หมู่เกาะ ที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง จนถึงยอดเขาสูงถึง 2,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีความหลาก หลายทางชีวภาพสูง

เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณเขตศูนย์สูตร ป่าไม้จึงมีสภาพแบบป่าเขตร้อน ซึ่งจัดเป็นแหล่งพันธุกรรมที่หลากหลายที่สุด และเป็นแหล่งทรัพยากรอันทรงคุณค่ามหาศาลของโลก สังคมป่าเขตร้อนของไทยประกอบด้วยป่าดิบและป่าผลัดใบชนิดต่างๆ เชื่อมต่อระหว่างป่าเขตร้อนชื้นอย่างแท้จริงของประเทศมาเลเซีย และป่าดิบแล้งซึ่งปรากฏส่วนใหญ่ในประเทศไทย ลาว พม่า และเขมร ทำให้ประเทศไทยมีพรรณไม้ที่มีค่าของสังคมป่าทั้ง 2 ประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น พรรณไม้ในวงศ์ไม้ยางที่มีอยู่มากกว่า 50 ชนิด ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ปรากฏเฉพาะในภูมิภาคนี้เท่านั้น

สำหรับสัตว์ป่านั้น แม้ในปัจจุบันนี้จำนวนจะลดน้อยลงไปมากแล้ว แต่ผืนป่าอนุรักษ์ของไทยหลายแห่งก็ยังมีสัตว์ป่าชุกชุมอยู่ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และผืนป่าฮาลา-บาลาทางภาคใต้ เป็นต้น และจากความสมบูรณ์ของผืนป่า ทำให้ประเทศไทยมีแหล่งน้ำที่อุดมไปด้วยพันธุ์สัตว์น้ำมากมาย มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติ ทั้งแม่น้ำและลำคลองอยู่มากมายแทบทุกภูมิภาค อีกทั้งยังมีแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อ่างเก็บน้ำและเขื่อนอีกหลายแห่งด้วย

นอกจากนี้ ภายในพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตรของท้องทะเลไทย ยังมีน้ำทะเลที่สวยใส สะอาด หาดทรายขาวละเอียด มีทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่อุดมสมบูรณ์สวยงาม มีความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมีแนวปะการังขนาดใหญ่ที่มีสภาพสมบูรณ์ และงดงามโด่งดังติดอันดับโลก มีจุดดำน้ำตื้นและจุดดำน้ำลึกที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง ทั้งในฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย รวมทั้งมีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก ให้เดินทางท่องเที่ยวกันได้ตลอดทั้งปี โดยมีฤดูท่องเที่ยวผลัดกันฝั่งละ 6 เดือน

ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะ

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเล ทั้งในภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมความยาวถึงประมาณ2,815กิโลเมตรตามสภาพทางภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งทะเลไทยออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทิศตะวันออก หรือฝั่งอ่าวไทย และ ชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทิศตะวันตก หรือ ฝั่งทะเลอันดามัน

อุทยานแห่งชาติ
ประเทศ ไทยมีอุทยานแห่งชาติมากกว่า 100 แห่ง ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมจะได้สัมผัสถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ จากการมองเห็น สัตว์ต่างๆภายในอุทยานแห่งชาติ ในประเทศไทย

พรรณไม้ไทย และสัตว์ป่าไทย

สามารถแบ่งป่าในประเทศไทยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยพรรณพืชและป่าชนิดต่างๆ

ภูมิอากาศ

ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน พื้นที่ตั้งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดจากมหาสมุทร อินเดีย ทำให้เกิดฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดจากจากทะเลจีนใต้ ทำให้เกิดฤดูหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส

โดยภาพรวมแล้ว ประเทศไทยมี 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน มีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้งโดยทั่วไป ปริมาณฝนน้อย โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส แต่ในภาคใต้อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน มีพายุลมแรง ฝนตกชุกเป็นบริเวณกว้าง โดยตกหนักถึงหนักมากในบางครั้ง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 1,100-1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือภาคใต้และริมชายฝั่งของภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในบางท้องที่สูงถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่มีฝนตกน้อยคือบริเวณเทือกเขาสูงตอนกลางของประเทศ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี

ฤดูหนาว มีอากาศเย็น และหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลในแต่ละภูมิภาคของประเทศนั้นจะแตกต่างกันเล็กน้อย เกิดจากปัจจัยด้านอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความห่างไกลจากทะเลเป็นสำคัญ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี

ฤดูกาลตามแต่ละภูมิภาคแบ่งได้ดังนี้

ภาคเหนือ มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

ภาคกลาง มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

ภาคใต้ มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน หรือฤดูมรสุม และฤดูร้อน หรือฤดูท่องเที่ยว โดยฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทย ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ส่วนฝั่งตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน

ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์)

มีอากาศเย็น และหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน (มีนาคม – มิถุนายน)

มีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้งโดยทั่วไป ปริมาณฝนน้อย โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส แต่ในภาคใต้อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน (กรกฎาคม – ตุลาคม)

มีพายุลมแรง ฝนตกชุกเป็นบริเวณกว้าง โดยตกหนักถึงหนักมากในบางครั้ง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 1,100-1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือภาคใต้และริมชายฝั่งของภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในบางท้องที่สูงถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่มีฝนตกน้อยคือบริเวณเทือกเขาสูงตอนกลางของประเทศ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี

ตารางสภาพอากาศ

ตารางแสดงอุณหภูมิสุงสุด และต่ำสุดของค่าเฉลี่ยประจำวัน โดยแสดงเป็นเซลเซียส และฟาเรนไฮต์

ฤดูร้อน
มีนาคม – มิถุนายน
ฤดูฝน
กรกฎาคม – ตุลาคม
ฤดูหนาว
พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคกลาง
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
30/20
80/55
32/28
70/65
30/20
80/55
ภาคเหนือ
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
44/46
77/56
28/20
77/56
28/24
65/56
ภาคใต้
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
32/28
70/65
30/20
80/55
44/46
77/56
ภาคตะวันออก
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
28/20
77/56
44/46
77/56
32/28
70/65
ภาคตะวันตก
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
28/24
65/56
30/20
80/55
28/20
77/56
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F
30/20
80/55
44/46
77/56
32/28
70/65

การเมือง

ประเทศไทยใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข มีกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ ซึ่งฉบับ พ.ศ. 2550 ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย

สถาบันกษัตริย์

ประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาตั้งแต่อดีต จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี คณะราษฎร์ได้กระทำรัฐประหาร และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขแห่งอำนาจอธิปไตย ทั้งสาม อันได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

ปัจจุบันประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

แม้ในทางปฏิบัติ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ อันเป็นแบบอย่างในการปกครองประเทศ แต่เนื่องจากพระองค์ทรงปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ทรงเป็นศูนย์รวมและเป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา โดยเฉพาะในยามที่ประเทศชาติเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐเป็นเวลานานที่สุดใน โลก นับจากเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลากว่า 60 ปี

รัฐบาลและสถาบันการปกครอง

อำนาจอธิปไตยของไทยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร คือคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ส่วน คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยประชาชน และวุฒิสมาชิก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามการเสนอขึ้นโปรดเกล้าฯ ของนายกรัฐมนตรี และสุดท้ายคือฝ่ายตุลาการ หรือศาล มีหน้าที่พิจารณาคดีความต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลมีความเป็นอิสระจากรัฐสภาและรัฐบาล มีคณะกรรมการตุลาการทำหน้าที่ควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ศาลเป็นสถาบันที่ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง

ปัจจุบันอำนาจนิติบัญญัติมีนายชัย ชิดชอบ ในฐานะประธานรัฐสภาเป็นประมุข อำนาจบริหารมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นประมุข และอำนาจตุลาการมีนายวิรัช ลิ้มวิชัย ในฐานะประธานศาลฎีกา นายชัช ชลวร ในฐานะประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนายอักขราทร จุฬารัตน ในฐานะประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน

การบริหารงานของสถาบันการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

-ส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ และส่วนราชการอื่นที่เทียบเท่า

-ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 75 จังหวัด ซึ่งแยกย่อยได้เป็นอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน

-ส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็นเทศบาล (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล) องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งมีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้แบ่งเขตภูมิภาคของประเทศไทยออกเป็น 4 ภาค (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) คือ

ภาคกลาง มี 25 จังหวัด ประกอบด้วยกาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง รวม 18 จังหวัด และจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกอีก 7 จังหวัด คือ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 19 จังหวัด ประกอบด้วยกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี

ภาคใต้ มี 14 จังหวัด ประกอบด้วยกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

ภาคเหนือ มี 17 จังหวัด ประกอบด้วยกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

เศรษฐกิจ

ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือ รัฐสามารถเข้าไปมีส่วนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศได้ในหลายๆ ส่วน แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นของเอกชน มีการแข่งขันกันในด้านการผลิตและการขายตามระบบการค้าเสรี

เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยการส่งออกสินค้าทางการเกษตรยังคงทำรายได้สูงสุดให้กับประเทศตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน แม้รายได้จากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวจะมีความสำคัญมากขึ้นในระยะหลัง ก็ตาม รัฐบาลก็ยังมุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรเป็นหลัก โดยมีข้าวเป็นผลผลิตและสินค้าที่สำคัญที่สุด ปัจจุบัน The Guinness Book of World Records ได้บันทึก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก

ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญก็ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ และทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุก ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบ

สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการนั้น สถิติในปี พ.ศ. 2547 ระบุว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในเวลา 1 ปี เป็นจำนวนถึง 11.65 ล้านคน โดยร้อยละ 56.52 เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศในเขตเอเชียตะวันออกและอาเซียน (เป็นชาวมาเลเซียมากที่สุดถึงร้อยละ 11.97) จากประเทศในทวีปยุโรปร้อยละ 24.29 และจากทวีปอเมริกาเหนือและใต้รวมกันร้อยละ 7.02

ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก จึงมุ่งเน้นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศได้ ด้วยการชักชวนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในประเทศ ไทยมากขึ้น

ภาษา

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ มีตัวอักษรไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และใช้สืบต่อกันมาเป็นเวลานานนับศตวรรษ

ส่วนภาษาพูดนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะถือกำเนิดมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ลักษณะของภาษาพูดในแต่ละภูมิภาคของประเทศจะมีสำเนียงและมีการใช้คำในภาษา ถิ่นที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งหลักๆ ได้เป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ก็ใช้ตัวอักษรและภาษาเขียนแบบเดียวกันทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ในชุมชนขนาดย่อยบางกลุ่มก็มีภาษาเฉพาะกลุ่มของตนเองอยู่บ้าง เช่น ชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงพูดภาษาจีน ชาวมุสลิมในเขตภาคใต้ตอนล่างพูดภาษามลายู และภาษาต่างๆ ของชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ เป็นต้น และมีการใช้ภาษาอังกฤษบ้างในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศ หรือชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

การสื่อสาร

ปัจจุบันประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐานจำนวนกว่า 7 ล้านหมายเลข และโทรศัพท์มือถือ กว่า 50 ล้านหมายเลข ซึ่งเมื่อรวมโทรศัพท์ทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกันแล้ว สามารถกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีการเข้าถึงของโทรศัพท์ถึงเกือบ 100% ของจำนวนประชากร

สำหรับช่องทางการสื่อสารในด้านอื่นๆ ประเทศไทยมีสถานีวิทยุคลื่น FM จำนวน 334 สถานี คลื่น AM จำนวน 204 สถานี สถานีโทรทัศน์จำนวน 6 ช่องสถานี มีสถานีเครือข่ายทั้งหมด 111 สถานี มีดาวเทียมสื่อสาร 4 ดวง และมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หลายบริษัทในปัจจุบัน

 

แหล่งอ้างอิง : http://www.aseankan1.com/index.php?mo=3&art=650851

 

ใส่ความเห็น