ประเทศไทย

ข้อมูลประเทศไทย

ธงชาติไทย

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  8 สิงหาคม 2510      

พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานครณ (Bangkok)

ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย์แบบรัฐสภา อันมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประชากร : 65,479,453 คน (2553)

ภาษาราชการ : ภาษาไทย

ศาสนา : พระพุทธศาสนา

สกุลเงิน:บาท (Bath : THB)

แผนที่ประเทศไทย

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นลองจิจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก

มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักร กัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภูมิอากาศ

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ลักษณะภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดปี

จำนวนประชากร

จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก

คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ

1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี

3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย

4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล

ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

ขนาดพื้นที่

ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราช อาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและสหภาพพม่า และทิศเหนือติดกับสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างเขตแดนเป็นบางช่วง

เมืองหลวง

กรุงเทพมหานคร หรือชื่อเต็มว่า “กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

ประชากร

จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ

1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี

3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย

4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

ภาษา

ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และมีการใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศหรือ ชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

ศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท รองลงมาคืออิสลาม คริสต์ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่นๆ เช่น ซิกข์ ฮินดู เต๋า ขงจื้อ และยิว รวมทั้งชาวไทยภูเขาที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป

การปกครอง

ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศในปัจจุบัน

อุณหภูมิ

ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศา เซลเซียส

วันหยุดประจำปี

1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันมาฆบูชา
6 เมษายน วันจักรี
6 เมษายน วันมาฆบูชา
13-15 เมษายน วันสงกรานต์
13 เมษายน วันผู้สูงอายุ
14 เมษายน วันครอบครัว
1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ
5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชา
ข้างขึ้น เดือน 6(แล้วแต่สำนักพระราชวังกำหนดวันอุดมฤกษ์) วันพืชมงคล
1 กรกฎาคม วันหยุดภาคครึ่งปีธนาคาร
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา
12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ, วันชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
31 ธันวาคม วันสิ้นปี

ระบบเศรษฐกิจ

ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศ ในด้านเกษตรกรรม ข้าวถือเป็นผลผลิตที่สำคัญที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุกและก๊าซธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่

ระยะทางถึงประเทศต่างๆ (กิโลเมตร)

เมืองซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย                  7,530.84 กิโลเมตร

เมืองโตเกียว ญี่ปุ่น                                4,603.65 กิโลเมตร

เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน             3,692.08 กิโลเมตร

เมืองฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน            1,723.91 กิโลเมตร

เมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย                    2,915.63 กิโลเมตร

เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส                  4,882.68 กิโลเมตร

เมืองโรม สาธารณรัฐอิตาลี                         8,825.12 กิโลเมตร

เมืองมาดริด ราชอาณาจักรสเปน                10,174.82 กิโลเมตร

เมืองปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส                     9,438.89 กิโลเมตร

เมืองเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี         8,598.95 กิโลเมตร

เมืองสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน           8,263.76 กิโลเมตร

เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร                  9,525.96 กิโลเมตร

เมืองมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย                     7,060.83 กิโลเมตร

เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา                      13,922.59 กิโลเมตร

เมืองลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา               13,293.10 กิโลเมตร

เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา                         11,798.55 กิโลเมตร

เงินตรา

ใช้สกุลเงินบาท (1 บาท มี 100 สตางค์)

มีธนบัตรชนิด 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท และมีเหรียญชนิด

25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท

เวลาทำการธนาคาร

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.30 น. ยกเว้นสาขาในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อยตามสถานที่ต่างๆ จะมีเวลาเปิดทำการที่แตกต่างกันไป บางสาขาเปิดทำการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด

ที่ทำการไปรษณีย์

ที่ทำการไปรษณีย์แต่ละแห่งมีเวลาเปิดทำการที่แตกต่างกันไป โดยมากวันจันทร์-ศุกร์เปิดเวลา 08.00-17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เปิดเวลา 09.00-12.00 น. และที่ทำการไปรษณีย์ในท่าอากาศยานบางแห่งเปิดบริการ 24 ชั่วโมง

ระบบเวลา

ประเทศไทยยึดเอาลองจิจูดที่ 105 องศาตะวันออกเป็นเวลามาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยมีเวลาแตกต่างจากเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง

มาตรวัด

ใช้ระบบการวัดแบบเมตริก คือ วัดความยาวเป็นมิลลิเมตร เมตร และกิโลเมตร วัดน้ำหนักเป็นกรัม และกิโลกรัม และวัดอุณหภูมิเป็นเซลเซียส

ระบบไฟฟ้า

ใช้กระแสไฟฟ้า 220 โวลต์

ที่พัก

มีโรงแรมระดับต่างๆ และที่พักหลากหลายรูปแบบอยู่ทั่วประเทศ ตั้งแต่โรงแรมหรูระดับห้าดาว รีสอร์ตสไตล์ต่างๆ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ อพาร์ตเมนต์ หอพัก คอนโดมิเนียมให้เช่าทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี ไปจนถึงเกสต์เฮาส์ขนาดเล็ก รวมทั้งมีที่พักแบบโฮมสเตย์ และมีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่มีบริการบ้านพัก จุดกางเต็นท์ และเต็นท์ให้เช่า สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบและต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ รวมทั้งผู้ที่นิยมการพักผ่อนในบรรยากาศแบบแค้มปิ้งด้วย

ระบบโทรศัพท์

รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศของประเทศไทยคือ 66

ประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐาน 7.035 ล้านหมายเลข และโทรศัพท์มือถือ 27.4 ล้านหมายเลข (สถิติเมื่อปี พ.ศ. 2548)

ลักษณะภูมิประเทศ

ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักร กัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ คือ

1.เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ

ทิวเขา ภูเขา และแอ่งแผ่นดินระหว่างเขาทางภาคเหนือ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสายที่ไหลลงแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำสาละวิน พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำไหลพามาทับถม ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตร

เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาขุนตาน และเทือกเขาเพชรบูรณ์ มียอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศคือยอดอินทนนท์ ในจังหวัดเชียงใหม่ สูงประมาณ 2,595 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

2.เขตที่ราบภาคกลาง

เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาแน่นและกว้างขวางที่สุดของไทย มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ และเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ

3.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิประเทศเขตนี้แยกจากภาคเหนือและภาคกลางอย่างชัดเจน โดยมีขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ เรียกว่าแอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูนไหลผ่าน และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี

เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก

4.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก

ทิวเขาและหุบเขาของภาคตะวันตกไม่มีที่ราบระหว่างเขาเหมือนภาคเหนือ มีเพียงที่ราบแคบๆ เท่านั้น เทือกเขาสำคัญของเขตนี้ ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี ที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแควน้อย หรือไทรโยค และแม่น้ำแควใหญ่ หรือศรีสวัสดิ์ ซึ่งไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง

5.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ ทิวเขาสลับที่ราบลูกฟูกทางตอนกลาง และที่ราบชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ เทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ระหว่างเทือกเขาจันทบุรีกับอ่าวไทยเป็นพื้นที่ราบแคบๆ มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับปลูกผลไม้ มีแม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทย ลักษณะชายฝั่งเว้าแหว่งเต็มไปด้วยเกาะแก่ง หาดทรายสวยงาม เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะกูด และเกาะสีชัง

6.เขตภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะต่างๆ ทางภาคใต้

พื้นที่ของภาคใต้เป็นที่ราบสูงบนคาบสมุทรแคบๆ มีที่ราบอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกเป็นแนวขนานกัน โดยมีเทือกเขาสูงเป็นสันอยู่ตรงกลาง เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช มีแม่น้ำสายสั้นๆ เช่น แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตรัง แม่น้ำคีรีรัฐ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำโกลก มีเกาะที่สำคัญทางฝั่งตะวันตก คือ เกาะภูเก็ต ทางฝั่งตะวันออก คือ เกาะสมุยและเกาะพะงัน

ประวัติศาสตร์

ประเทศไทย หรือราชอาณาจักรไทย เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์และความเป็นมาอันยาวนาน เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือยุคแรกเริ่ม ที่มีชุมชนมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนลุ่มแม่น้ำแห่งนี้ รวมตัวก่อตั้งเป็นอาณาจักรและก่อกำเนิดวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ สืบต่อและพัฒนาผ่านกาลเวลาเรื่อยมา จนกระทั่งเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

ยุคแรกเริ่ม
จาก หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งค้นพบในพื้นที่หลายแห่งของประเทศ ทำให้เชื่อได้ว่าบริเวณที่เป็นประไทยในปัจจุบันนี้ มีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนตั้งแต่เมื่อเกือบ 6 พันปีที่แล้ว โดยชนชาติที่ครอบครองดินแดนแห่งนี้ในยุคแรกๆ คือ ชาวละว้าและชาวป่าชาวเขาในตระกูลมอญและขอมโบราณ ได้ก่อตั้งอาณาจักรลพบุรีขึ้น ณ บริเวณที่ตั้งของจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน 

สมัยสุโขทัย
ราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ในช่วงเวลาเดียวกับยุคสมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรืองทางตอนเหนือ ชาวไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้ามาอยู่ในดินแดนของขอม ได้รวมตัวกันและสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระจากขอม ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระร่วงเจ้า หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นกษัตริย์พระองค์แรก มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงสุโขทัย หรือจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน 

สมัยอยุธยา
ราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 กลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ตั้งอาณาจักร ขึ้นใหม่ ภายใต้การนำของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง สถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา และได้รวบรวมอาณาจักรอื่นๆ รวมทั้งกรุงสุโขทัยเข้าไว้ในการปกครองเกือบทั้งหมด นอกจากนี้ ยังขยายอำนาจออกไปทั่วบริเวณคาบสมุทรอินโดจีน แหลมมลายู จนถึงเกาะปีนังและสิงคโปร์

สมัยธนบุรี

ในปี พ.ศ. 2310 เมื่อพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาตากได้รวบรวมไพล่พลประมาณ 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าออกไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เมื่อรวบรวมไพร่พลได้อีกจำนวนหนึ่ง ก็ยกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ในปีเดียวกัน แต่เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นได้รับความเสียหายเกินกว่าที่จะฟื้นฟู ได้ และเป็นเมืองที่พม่ารู้เส้นทางดีอยู่แล้ว ทำให้ยากต่อการปกป้องรักษาบ้านเมือง

สมัยรัตนโกสินทร์
หลัง จากสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว เศรษฐกิจของเมืองก็ตกอยู่ในสภาพที่ตกต่ำมากจากการทำศึกสงครามรวบรวมอาณาจักร ไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การทำสงครามกับพม่าเพื่อปกป้องราชธานี และต้องทำนุบำรุงบ้านเมืองตลอดเวลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2325 พระยาจักรี นายทหารซึ่งได้ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้เอกราชของบ้านเมือง เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 จึงได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

ศาสนา

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความเสรีในด้านการนับถือศาสนา คนไทยจึงเลือกนับถือศาสนาต่างๆ ได้ตามความสมัครใจ โดยประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก็ได้นับถือสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นรากฐานของความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีส่วนใหญ่ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้พุทธศาสนาเป็น ศาสนาประจำชาติก็ตาม

สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ประชากรไทยประมาณร้อยละ 94 นับถือศาสนาพุทธ โดยส่วนใหญ่เป็นนิกายเถรวาท และประมาณร้อยละ 5 นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง โดยร้อยละ 99 ของมัสยิดในประเทศไทยเป็นนิกายสุหนี่ ส่วนมัสยิดนิกายชีอะมีเพียงร้อยละ 1

สำหรับคนไทยที่นับถือศาสนาคริสต์มีประมาณ 4 แสนกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 0.7 ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ มีทั้งนิกายคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ ส่วนชาวซิกข์มีประมาณ 70,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่อื่นๆ เช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา พัทยา และภูเก็ต มีโบสถ์ซิกข์อยู่ทั้งหมด 19 แห่งทั่วประเทศ ส่วนผู้นับถือศาสนาฮินดูมีถึงประมาณ 1 หมื่นคน

นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่นๆ เช่น เต๋า ขงจื้อ และยิว รวมทั้งชาวไทยภูเขาอีก 9 เผ่า จำนวนประมาณ 920,000 คน ที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป

แหล่งธรรมชาติ

ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ตั้งแต่หาดทราย ชายฝั่งทะเล หมู่เกาะ ที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง จนถึงยอดเขาสูงถึง 2,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีความหลาก หลายทางชีวภาพสูง

เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณเขตศูนย์สูตร ป่าไม้จึงมีสภาพแบบป่าเขตร้อน ซึ่งจัดเป็นแหล่งพันธุกรรมที่หลากหลายที่สุด และเป็นแหล่งทรัพยากรอันทรงคุณค่ามหาศาลของโลก สังคมป่าเขตร้อนของไทยประกอบด้วยป่าดิบและป่าผลัดใบชนิดต่างๆ เชื่อมต่อระหว่างป่าเขตร้อนชื้นอย่างแท้จริงของประเทศมาเลเซีย และป่าดิบแล้งซึ่งปรากฏส่วนใหญ่ในประเทศไทย ลาว พม่า และเขมร ทำให้ประเทศไทยมีพรรณไม้ที่มีค่าของสังคมป่าทั้ง 2 ประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น พรรณไม้ในวงศ์ไม้ยางที่มีอยู่มากกว่า 50 ชนิด ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ปรากฏเฉพาะในภูมิภาคนี้เท่านั้น

สำหรับสัตว์ป่านั้น แม้ในปัจจุบันนี้จำนวนจะลดน้อยลงไปมากแล้ว แต่ผืนป่าอนุรักษ์ของไทยหลายแห่งก็ยังมีสัตว์ป่าชุกชุมอยู่ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และผืนป่าฮาลา-บาลาทางภาคใต้ เป็นต้น และจากความสมบูรณ์ของผืนป่า ทำให้ประเทศไทยมีแหล่งน้ำที่อุดมไปด้วยพันธุ์สัตว์น้ำมากมาย มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติ ทั้งแม่น้ำและลำคลองอยู่มากมายแทบทุกภูมิภาค อีกทั้งยังมีแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อ่างเก็บน้ำและเขื่อนอีกหลายแห่งด้วย

นอกจากนี้ ภายในพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตรของท้องทะเลไทย ยังมีน้ำทะเลที่สวยใส สะอาด หาดทรายขาวละเอียด มีทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่อุดมสมบูรณ์สวยงาม มีความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมีแนวปะการังขนาดใหญ่ที่มีสภาพสมบูรณ์ และงดงามโด่งดังติดอันดับโลก มีจุดดำน้ำตื้นและจุดดำน้ำลึกที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง ทั้งในฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย รวมทั้งมีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก ให้เดินทางท่องเที่ยวกันได้ตลอดทั้งปี โดยมีฤดูท่องเที่ยวผลัดกันฝั่งละ 6 เดือน

ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะ

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเล ทั้งในภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมความยาวถึงประมาณ2,815กิโลเมตรตามสภาพทางภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งทะเลไทยออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทิศตะวันออก หรือฝั่งอ่าวไทย และ ชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทิศตะวันตก หรือ ฝั่งทะเลอันดามัน

อุทยานแห่งชาติ
ประเทศ ไทยมีอุทยานแห่งชาติมากกว่า 100 แห่ง ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมจะได้สัมผัสถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ จากการมองเห็น สัตว์ต่างๆภายในอุทยานแห่งชาติ ในประเทศไทย

พรรณไม้ไทย และสัตว์ป่าไทย

สามารถแบ่งป่าในประเทศไทยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยพรรณพืชและป่าชนิดต่างๆ

ภูมิอากาศ

ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน พื้นที่ตั้งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดจากมหาสมุทร อินเดีย ทำให้เกิดฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดจากจากทะเลจีนใต้ ทำให้เกิดฤดูหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส

โดยภาพรวมแล้ว ประเทศไทยมี 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน มีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้งโดยทั่วไป ปริมาณฝนน้อย โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส แต่ในภาคใต้อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน มีพายุลมแรง ฝนตกชุกเป็นบริเวณกว้าง โดยตกหนักถึงหนักมากในบางครั้ง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 1,100-1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือภาคใต้และริมชายฝั่งของภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในบางท้องที่สูงถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่มีฝนตกน้อยคือบริเวณเทือกเขาสูงตอนกลางของประเทศ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี

ฤดูหนาว มีอากาศเย็น และหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลในแต่ละภูมิภาคของประเทศนั้นจะแตกต่างกันเล็กน้อย เกิดจากปัจจัยด้านอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความห่างไกลจากทะเลเป็นสำคัญ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี

ฤดูกาลตามแต่ละภูมิภาคแบ่งได้ดังนี้

ภาคเหนือ มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

ภาคกลาง มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

ภาคใต้ มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน หรือฤดูมรสุม และฤดูร้อน หรือฤดูท่องเที่ยว โดยฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทย ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ส่วนฝั่งตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน

ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์)

มีอากาศเย็น และหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน (มีนาคม – มิถุนายน)

มีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้งโดยทั่วไป ปริมาณฝนน้อย โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส แต่ในภาคใต้อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน (กรกฎาคม – ตุลาคม)

มีพายุลมแรง ฝนตกชุกเป็นบริเวณกว้าง โดยตกหนักถึงหนักมากในบางครั้ง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 1,100-1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือภาคใต้และริมชายฝั่งของภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในบางท้องที่สูงถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่มีฝนตกน้อยคือบริเวณเทือกเขาสูงตอนกลางของประเทศ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี

ตารางสภาพอากาศ

ตารางแสดงอุณหภูมิสุงสุด และต่ำสุดของค่าเฉลี่ยประจำวัน โดยแสดงเป็นเซลเซียส และฟาเรนไฮต์

ฤดูร้อน
มีนาคม – มิถุนายน
ฤดูฝน
กรกฎาคม – ตุลาคม
ฤดูหนาว
พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคกลาง
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
30/20
80/55
32/28
70/65
30/20
80/55
ภาคเหนือ
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
44/46
77/56
28/20
77/56
28/24
65/56
ภาคใต้
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
32/28
70/65
30/20
80/55
44/46
77/56
ภาคตะวันออก
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
28/20
77/56
44/46
77/56
32/28
70/65
ภาคตะวันตก
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)
28/24
65/56
30/20
80/55
28/20
77/56
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F
30/20
80/55
44/46
77/56
32/28
70/65

การเมือง

ประเทศไทยใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข มีกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ ซึ่งฉบับ พ.ศ. 2550 ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย

สถาบันกษัตริย์

ประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาตั้งแต่อดีต จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี คณะราษฎร์ได้กระทำรัฐประหาร และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขแห่งอำนาจอธิปไตย ทั้งสาม อันได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

ปัจจุบันประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

แม้ในทางปฏิบัติ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ อันเป็นแบบอย่างในการปกครองประเทศ แต่เนื่องจากพระองค์ทรงปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ทรงเป็นศูนย์รวมและเป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา โดยเฉพาะในยามที่ประเทศชาติเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐเป็นเวลานานที่สุดใน โลก นับจากเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลากว่า 60 ปี

รัฐบาลและสถาบันการปกครอง

อำนาจอธิปไตยของไทยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร คือคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ส่วน คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยประชาชน และวุฒิสมาชิก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามการเสนอขึ้นโปรดเกล้าฯ ของนายกรัฐมนตรี และสุดท้ายคือฝ่ายตุลาการ หรือศาล มีหน้าที่พิจารณาคดีความต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลมีความเป็นอิสระจากรัฐสภาและรัฐบาล มีคณะกรรมการตุลาการทำหน้าที่ควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ศาลเป็นสถาบันที่ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง

ปัจจุบันอำนาจนิติบัญญัติมีนายชัย ชิดชอบ ในฐานะประธานรัฐสภาเป็นประมุข อำนาจบริหารมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นประมุข และอำนาจตุลาการมีนายวิรัช ลิ้มวิชัย ในฐานะประธานศาลฎีกา นายชัช ชลวร ในฐานะประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนายอักขราทร จุฬารัตน ในฐานะประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน

การบริหารงานของสถาบันการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

-ส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ และส่วนราชการอื่นที่เทียบเท่า

-ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 75 จังหวัด ซึ่งแยกย่อยได้เป็นอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน

-ส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็นเทศบาล (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล) องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งมีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้แบ่งเขตภูมิภาคของประเทศไทยออกเป็น 4 ภาค (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) คือ

ภาคกลาง มี 25 จังหวัด ประกอบด้วยกาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง รวม 18 จังหวัด และจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกอีก 7 จังหวัด คือ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 19 จังหวัด ประกอบด้วยกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี

ภาคใต้ มี 14 จังหวัด ประกอบด้วยกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

ภาคเหนือ มี 17 จังหวัด ประกอบด้วยกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

เศรษฐกิจ

ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือ รัฐสามารถเข้าไปมีส่วนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศได้ในหลายๆ ส่วน แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นของเอกชน มีการแข่งขันกันในด้านการผลิตและการขายตามระบบการค้าเสรี

เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยการส่งออกสินค้าทางการเกษตรยังคงทำรายได้สูงสุดให้กับประเทศตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน แม้รายได้จากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวจะมีความสำคัญมากขึ้นในระยะหลัง ก็ตาม รัฐบาลก็ยังมุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรเป็นหลัก โดยมีข้าวเป็นผลผลิตและสินค้าที่สำคัญที่สุด ปัจจุบัน The Guinness Book of World Records ได้บันทึก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก

ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญก็ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ และทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุก ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบ

สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการนั้น สถิติในปี พ.ศ. 2547 ระบุว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในเวลา 1 ปี เป็นจำนวนถึง 11.65 ล้านคน โดยร้อยละ 56.52 เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศในเขตเอเชียตะวันออกและอาเซียน (เป็นชาวมาเลเซียมากที่สุดถึงร้อยละ 11.97) จากประเทศในทวีปยุโรปร้อยละ 24.29 และจากทวีปอเมริกาเหนือและใต้รวมกันร้อยละ 7.02

ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก จึงมุ่งเน้นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศได้ ด้วยการชักชวนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในประเทศ ไทยมากขึ้น

ภาษา

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ มีตัวอักษรไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และใช้สืบต่อกันมาเป็นเวลานานนับศตวรรษ

ส่วนภาษาพูดนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะถือกำเนิดมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ลักษณะของภาษาพูดในแต่ละภูมิภาคของประเทศจะมีสำเนียงและมีการใช้คำในภาษา ถิ่นที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งหลักๆ ได้เป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ก็ใช้ตัวอักษรและภาษาเขียนแบบเดียวกันทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ในชุมชนขนาดย่อยบางกลุ่มก็มีภาษาเฉพาะกลุ่มของตนเองอยู่บ้าง เช่น ชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงพูดภาษาจีน ชาวมุสลิมในเขตภาคใต้ตอนล่างพูดภาษามลายู และภาษาต่างๆ ของชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ เป็นต้น และมีการใช้ภาษาอังกฤษบ้างในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศ หรือชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

การสื่อสาร

ปัจจุบันประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐานจำนวนกว่า 7 ล้านหมายเลข และโทรศัพท์มือถือ กว่า 50 ล้านหมายเลข ซึ่งเมื่อรวมโทรศัพท์ทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกันแล้ว สามารถกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีการเข้าถึงของโทรศัพท์ถึงเกือบ 100% ของจำนวนประชากร

สำหรับช่องทางการสื่อสารในด้านอื่นๆ ประเทศไทยมีสถานีวิทยุคลื่น FM จำนวน 334 สถานี คลื่น AM จำนวน 204 สถานี สถานีโทรทัศน์จำนวน 6 ช่องสถานี มีสถานีเครือข่ายทั้งหมด 111 สถานี มีดาวเทียมสื่อสาร 4 ดวง และมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หลายบริษัทในปัจจุบัน

 

แหล่งอ้างอิง : http://www.aseankan1.com/index.php?mo=3&art=650851

 

ประเทศบรูไนดารุสซาราม

ข้อมูลประเทศบรูไนดารุสซาราม

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ: เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  8 มกราคม 2527      

พื้นที่:5,765  ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง:บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

ประชากร : 370,000 คน  ( ปี พ.ศ. 2548 )

ภาษาราชการ:ภาษามาเลย์ ( Malay หรือ Bahasa Melayu)

ศาสนา:ร้อย ละ 67 ของประชากรทั้งประเทศนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 13 นับถือพระพุทธศาสนา ร้อยละ 10 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือศาสนาฮินดู

ระบอบการปกครอง:ประชาธิปไตย

สกุลเงิน:ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND)

ที่ตั้ง

ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย

โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้

 

พื้นที่

5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong และ Tutong

 

เมืองหลวง

บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) อยู่ในเขต Brunei-Muara

ประชากร

374,577 คน (2550) เชื้อชาติมาเลย์ 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น 67,424 คน (18%)

อัตราการเพิ่มประชากรปีละ 3.5 % (2550)

 

ภูมิอากาศ

ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 23-32 องศาเซลเซียส ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม

และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

 

ภาษา

ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ  ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย

 

ศาสนา

ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู

 

หน่วยเงินตรา
ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.37 ดอลลาร์บรูไน/1 ดอลลาร์สหรัฐ (1)หรือ ประมาณ

23.98 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (2) (บรูไนมีความตกลงแลกเปลี่ยนเงินกับสิงคโปร์ทำให้เงินดอลลาร์บรูไนมีมูลค่า

เท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์และสามารถใช้แทนกันได้ แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ

23.95บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์)

GDP

GDP *18,918 ล้านดอลลาร์บรูไน (2549)

GDP per capita 49,400 ดอลลาร์บรูไน (2549)

GDP Growthร้อยละ 3.8

 

ระบอบการปกครอง

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์

(His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาฯ

องค์ที่ 29 ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 ซึ่งในปีนี้ (2551) เป็นวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ

62 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ

 

วันสำคัญ

วันประกาศอิสรภาพ 1 มกราคม พ.ศ.2527

วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระราชาธิบดีฯ 15 กรกฎาคม

 

การเมืองการปกครอง
– รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลังอีกด้วย ทั้งนี้
นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิดและจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่
– ปัจจุบันมีพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคเดียวคือ พรรค Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei
(PPKB) ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลแต่ไม่มีบทบาทนัก โดยรัฐบาลบรูไน ฯ เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องมีพรรคการเมือง
เนื่อง จากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น หรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสมเด็จพระราชาธิบดีได้อยู่แล้ว
– ในปี 2547 มีการเคลื่อนไหวที่สำคัญเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศให้ฟื้นฟูสภานิติบัญญัติขึ้นอีกครั้ง
นำ ไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้าง ประชาธิปไตยของบรูไนฯซึ่งพัฒนาการดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดีจากต่าง ประเทศ นักวิชาการ รวมทั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ยังเคลื่อนไหวอยู่
– ในปี 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศปรับคณะรัฐมนตรีครั้งสำคัญในรอบ 22 ปี โดยทรงแต่งตั้งมกุฎราชกุมารอัล มูห์ทาดี บิลลาห์ ให้ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งบ่งชี้ถึงแนว ทางการสืบทอดอำนาจ ในการบริหารประเทศในอนาคต นอกจากนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีโดยได้เปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่มีความชำนาญและ ผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก สะท้อนให้เห็นว่าสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงให้ความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคพลังงาน รวมทั้งการพัฒนาประเทศให้เป็นมุสลิมสายกลางมากขึ้น เพื่อให้บรูไน ฯ มีความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ

– ปัจจุบันรัฐบาลของประเทศบรูไนประกอบได้ด้วย 12 กระทรวง คือ
– สำนักนายกรัฐมนตรี

– กระทรวงกลาโหม

– กระทรวงการคลัง

– กระทรวงการต่างประเทศ

– กระทรวงมหาดไทย

– กระทรวงศึกษาธิการ

– กระทรวงอุตสาหกรรม

– กระทรวงศาสนา

– กระทรวงการพัฒนา

– กระทรวงวัฒนธรรม เยาวชนและกีฬา

– กระทรวงสาธารณสุข

– กระทรวงคมนาคม

 

* อ้างอิงจากฐานข้อมูลของ Brunei Economic Development Board(BEDB)

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ

– บรูไน ฯ เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG อันดับสี่ของโลก จึงมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
คิด เป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อออสเตรเลีย จีน อินเดีย สิงคโปร์ ไทย และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร และเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าจากสิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
– นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน บรูไนฯ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก อาทิ อุตสาหกรรมฮาลาล โดยรัฐบาลได้เปิดตัวโครงการBrunei Premium Halal Brand ขึ้น ภายใต้ความร่วมมือกับภาคเอกชนออสเตรเลีย เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและอาหารฮาลาลบรูไนฯ สู่ตลาดสากล นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมีจุดขายอยู่ที่การเป็นประเทศที่มีความสงบและปลอดภัย และมีนโยบายจะพัฒนา ประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และการรักษาพยาบาล
– แผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 9 รัฐบาลจะเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งปัจจุบันบรูไนฯ สามารถสร้างโรงงานผลิตเมทานอล ขึ้นที่เขตอุตสาหกรรม Sungai Liang นอกจากนี้รัฐบาลพยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนภายใน ประเทศ ในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
– ปัจจุบัน บรูไน ฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่โครงสร้าง เศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น มีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่ เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ  อย่างไรก็ดี การพัฒนายังเป็นไปย่างล่าช้า เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ อาทิ
กฎระเบียบที่เคร่งครัดต่าง ๆการห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ การขาดช่างฝีมือ ประกอบกับคนบรูไนฯ
ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบใหม่และระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างชาติ

สังคม

– บรูไนฯ จัดระเบียบสังคมตามข้อบัญญัติของศาสนามุสลิมและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

– บรูไนฯ มีระบบรัฐสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐให้หลักประกันด้านการศึกษา การเคหะและการรักษาพยาบาล และไม่มีการเก็บภาษีเงินได้ ทำให้บรูไนฯ ไม่มีปัญหาทางการเมือง อย่างไรก็ดี ปัญหาสังคมที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ปัญหาการว่างงาน (ณ เดือนพฤษภาคม 2550 มีสถิติการว่างงาน 5,814 คน) ซึ่งรัฐบาลพยายามโน้มน้าวให้ประชาชนทำงานในภาคเอกชนมากขึ้น แทนที่จะรองานราชการเพียงอย่างเดียวเช่นในอดีต

 

ต่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศ
– วัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศบรูไนฯ คือ การส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่ การรักษาอธิปไตย
อิสรภาพ และบูรณภาพแห่งดินแดน การสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคม และการรักษาเอกลักษณ์ทางการเมือง วัฒนธรรมและศาสนา รวมทั้งส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพและความรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคและระดับโลก
– บรูไน ฯ ใช้กลไกพหุภาคีเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อเพิ่ม อำนาจการต่อรอง เสริมสร้างความมั่นคงและผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาเซียน (ซึ่งถือเป็นเสาหลักนโยบายต่างประเทศบรูไนฯ) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (APEC )การประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) องค์การการประชุมอิสลาม (OIC) และสหประชาชาติ  (UN) สำหรับในระดับทวิภาคี บรูไนฯ พยายามเป็นมิตรกับนานาประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันประเทศ
– การที่ประมุขของประเทศซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลเสด็จ ฯ เยือนประเทศต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อสร้างบทบาทของบรูไน ฯ    ในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้บรูไน ฯ ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– ในปี 2547 และ 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนต่างประเทศบ่อยครั้ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมหา อำนาจทางเศรษฐกิจ (สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น) ประเทศในตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม

ความสัมพันธ์ทั่วไป

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไน ฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 (ค.ศ. 1984) เมื่อบรูไนฯ เป็นเอกราชและเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะในระดับราชวงศ์ มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับราชวงศ์ ผู้นำระดับสูงของรัฐบาล และผู้นำระดับสูงของกองทัพอยู่เสมอ ล่าสุดสมเด็จพระราชาธิบดีฯ และสมเด็จพระราชินีได้เสด็จมาร่วมพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน 2549 และนายกรัฐมนตรีพลเอก สุรยุทธ์ฯ เยือนบรูไนฯ อย่างเป็นทางการหลังจากเข้ารับตำแหน่งตามธรรมเนียมปฏิบัติของผู้นำอาเซียน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 และ นรม. เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดี ครั้งล่าสุดในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู เมื่อต้นปี 2550      นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีทัศนคติที่ดีต่อกัน ไม่เคยมีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์และมักเป็นพันธมิตรในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียนและกรอบสหประชา ชาติ

 

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง

ไทยและบรูไนได้จัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน คือ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไน ซึ่งมีการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2546 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความ สัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน การประมง แรงงาน การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม โดยไทยประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้บรูไนฯ ให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารฮาลาลและร่วมมือกันจัดตั้งธนาคาร อิสลามแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2546 มีการจัดตั้งกองทุนร่วม (Matching Fund) “กองทุนไทยทวีทุน” (ระหว่าง Brunei Investment Agency กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)
สำหรับท่าทีของฝ่ายบรูไนฯ ต่อสถานการณ์การเมืองของไทยนั้น เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2549 เอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ได้เข้าพบปลัดกระทรวงฝ่ายการเมือง กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของบรูไนฯ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย โดยปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในของประเทศไทย และไทยมีสิทธิกำหนดอนาคตของตนเอง บรูไนฯ มีนโยบายไม่แทรกแซงและเคารพอำนาจอธิปไตย เอกราช และความมั่นคงของรัฐ และยินดีที่ได้ทราบว่าไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง อีกทั้งประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ นอกจากนั้น ยังได้กล่าวย้ำว่า บรูไนฯ มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่าไทยจะสามารถบริหารจัดการให้ทุกอย่างดำเนินไป ด้วยดี

 

 

 

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า

การค้ารวมระหว่างไทยกับบรูไน ฯ ในปี 2549 มีมูลค่าการค้ารวม 210.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย โดยไทยขาดดุลการค้ากับบรูไน ฯ 45.3 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังบรูไนฯ คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำตาลทราย ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องจักรกล และเครื่องคอมพิวเตอร์

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากบรูไนฯ คือ น้ำมันดิบ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ธุรกรรมพิเศษ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ   และผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรก และส่วนประกอบ วัสดุทำจากยางและสิ่งพิมพ์ และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
การลงทุน

ภาคเอกชนของไทยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบรูไนฯ 3 ฉบับในปี 2545 ได้แก่

– Memorandum of Understanding between the Brunei Investment Agency and the Government Pension Fund of Thailand

– Memorandum of Understanding between the Government of His Majesty the Sultan and Yang di-Pertuan of Brunei

Darussalam and Chia Meng Group

– Memorandum of Understanding between the Brunei Investment Agency and the Biz Dimension Co. Ltd. สำหรับบริษัทไทยที่ลงทุน     ในบรูไนฯ คือ บริษัท Brunei Construction ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ไม่มีบริษัทที่เป็นของคนไทยล้วน ๆ ในบรูไนฯ เนื่องจากตามกฎหมายบรูไนฯ การ

ทำกิจการต่าง ๆ จะต้องมีคนบรูไนฯ เป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย สำหรับธุรกิจไทยในบรูไนฯ ส่วนมากจะเป็นร้านขายของ ร้านอาหาร ร้านตัดเสื้อ และอู่ซ่อมรถ
การท่องเที่ยว

เมื่อปี 2548 มีนักท่องเที่ยวจากบรูไน ฯ เดินทางมาไทยจำนวน 9,499 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 (9,345 คน) ร้อยละ 1.65 ทั้งนี้ แม้ว่านักท่องเที่ยวบรูไน ฯ จะเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยจำนวนไม่มากนัก แต่ก็เป็นนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายสูงและมีศักยภาพที่จะเพิ่มจำนวนอีก ได้ ทั้งที่เป็นลูกค้าประจำและผู้ที่นิยมสายการบินไทย

 

แรงงาน

ปัจจุบันมีแรงงานไทยในบรูไน ฯ ประมาณ 8,000 คน (2550) โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานในกิจการก่อสร้าง อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก นอกนั้น ทำงานในภาคธุรกิจบริการ เช่น ห้าง สรรพสินค้า ร้านอาหาร การตกแต่งดูแลสวน ช่างซ่อม และงานในภาคเกษตรกรรม แรงงานไทยส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับอย่างดีจากนักธุรกิจ ในบรูไน ฯ เพราะมีความซื่อสัตย์ อดทน ขยัน หมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบแม้จะด้อยในเรื่องภาษา อย่างไรก็ดียังมีปัญหาอยู่บ้างโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างนาย จ้างกับลูกจ้าง อาทิ อัตราค่าจ้างที่ไม่สอดคล้องกับความสามารถในการทำงาน และการขาดความรู้และความเข้าใจต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับของสัญญาจ้าง

ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม

 

ด้านวัฒนธรรม

ที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับ บรูไน ฯ ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2546 เห็นพ้องในการขยายความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม ในปี 2546 ซึ่งเป็นวาระฉลองครบรอบ 20 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-บรูไน ฯ สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน ได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมและการกีฬาบรูไน ฯ จัดกิจกรรม Thailand Festival 2003 โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม นำคณะนาฏศิลป์และนักดนตรีมาเปิดการแสดงทางวัฒนธรรมที่บรูไน ฯ

 

 

ด้านวิชาการ

ปัจจุบันไม่มีนักศึกษาไทยศึกษาอยู่ในบรูไนฯ แล้ว ต่างจากในอดีตที่มีนักศึกษามุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับทุนจากรัฐบาล บรูไนฯ ให้มาศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และการศาสนา เนื่องจากบรูไนฯ พิจารณาเรื่องการให้ทุน การศึกษาเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบาย อย่างไรก็ดี ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไทยประกาศตัวเป็นประเทศผู้ให้โดยไม่ประสงค์เป็นผู้รับอีกต่อไป เพื่อแสดงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจตามนโยบายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ บรูไนจึงงดทุนทั้งหมดที่เคยให้รัฐบาลไทย อนึ่ง ในปี 2549 ไทยได้ให้ทุนการศึกษาแก่บรูไนฯ จำนวน 1 ทุน ได้แก่ Thai Language Learning among ASEAN Diplomats

 

ด้านข้อมูลข่าวสาร

ในปี 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและบรูไนฯ ได้ร่วมลงนามใน บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีด้านสารสนเทศและการกระจายเสียง และภาพระหว่าง ไทย-บรูไนฯ (MoU on Cooperation in the field of Information and Broadcasting) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ด้านข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนรายการวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีสาระ รอันจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินโครงการภายใต้ MoU ดังกล่าวแล้ว โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-บรูไน ฯ (Joint Technical Committee on Information and Broadcasting ) นอกจากนี้ สถานีวิทยุกระจาย เสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุบรูไน ฯ ยังได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ระหว่าง เป็นประจำทุกปี โดยครั้งล่าสุดเป็นการจัดงานครั้งที่ 4 ภายใต้ชื่องาน Alai-Krathong ณ Jerudong Park Amphitheatre เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2550 โดยมีนักร้อง และคณะนักแสดงจากประเทศไทยเดินทางมาบรูไนฯ เพื่อเปิดการแสดงร่วมกับศิลปินชาวบรูไนฯ ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากผู้ชมทั้งชาวบรูไนฯ และชาวไทยที่อาศัยอยู่ในบรูไนฯ และในวันที่ 14-18 ตุลาคม 2550 ข้าราชการจากกรมประชาสัมพันธ์จะเดินทางเยือนบรูไนฯตามโครงการแลกเปลี่ยนใน กรอบ MoU

ความสัมพันธ์ไทย-บรูไน

 

 
ความตกลงที่สำคัญ

– ความตกลงทางการบิน (ลงนามเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530)

– บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไนฯ

(ลงนามเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542)

– บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีด้านสารสนเทศและการกระจายเสียง และภาพระหว่างไทย-บรูไนฯ(ลงนามเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2544)

– พิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547)

การเสด็จเยือนที่สำคัญ

ฝ่ายไทย

ระดับพระราชวงศ์

– เมื่อวันที่ 7 – 14 กันยายน 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จ ฯ เยือนบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 4 – 6 ตุลาคม 2535 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จ ฯ แทนพระองค์เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีรัชดาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดี

– เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทรงฝึกบินเส้นทางบรูไนฯ

– กรุงเทพฯ และประทับ ณ ท่าอากาศยานบันดาร์ เสรี เบกาวัน เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ระดับรัฐบาล

– เมื่อวันที่ 19 – 20 มีนาคม 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2541 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 14 – 15 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไนฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดี แห่งบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 16 – 17 สิงหาคม 2544 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ อย่างเป็นทางการ

– เมื่อวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2546 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไนฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดี บรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2546 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ เพื่อเป็น Keynote Speaker ของการประชุม General Meeting ครั้งที่ 15 ของสภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในแปซิฟิก (Pacific Economic Cooperation Council – PECC)

– เมื่อวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2547 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรีเยือนบรูไน ฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดี แห่งบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 9 – 10 กันยายน 2547 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารแห่งบรูไน ฯ ในฐานะผู้แทน พตท. ทักษิณ ชินวัตร (เป็นการเชิญเฉพาะบุคคล)

– เมื่อวันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไน ฯ อย่างเป็นทางการ

– เมื่อวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไน ฯ เพื่อ เข้าร่วมพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดี แห่งบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีเฉลิมฉลอง วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ อย่างเป็นทางการ

 

ฝ่ายบรูไน ฯ
  ระดับพระราชวงศ์

– เมื่อวันที่ 1 – 4 พฤศจิกายน 2531 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

– เมื่อวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2541 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Working Visit

– เมื่อวันที่ 21 – 25 พฤษภาคม 2543 มกุฎราชกุมารบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาลไทย

– เมื่อวันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2545 สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี และพระมเหสีแห่งบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะ

– เมื่อวันที่ 16 – 18 เมษายน 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีและเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ โดยเป็นแขกของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

– เมื่อวันที่ 11- 14 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งบรูไนฯ ได้เสด็จฯ มาร่วมพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

*สมเด็จพระราชาธิบดีฯ เสด็จประพาสไทยเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง

 

ระดับรัฐบาล

– เมื่อวันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อร่วมประชุม ASEAN-UN Summit ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการประชุม UNCTAD X

– เมื่อวันที่ 23 – 26 กรกฎาคม 2543 เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อร่วมประชุม AMM/PMC ครั้งที่ 33

– เมื่อวันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2545 เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers Retreat) ที่จังหวัดภูเก็ต

– เมื่อวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2546 เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ไทย-บรูไนฯ ครั้งที่ 1

– เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน และผู้นำอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพที่กรุงเทพฯ

– เมื่อวันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2546 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11

– เมื่อวันที่ 13 – 15 กุมภาพันธ์ 2549 นายลิม จ็อก เส็ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า คนที่ 2 ของบรูไนฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องกฎบัตรอาเซียน ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ

 

แหล่งอ้างอิง: http://www.aseankan1.com/index.php?mo=3&art=650853

ประเทศเวียดนาม

ข้อมูลประเทศเวียดนาม

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ: สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  28 กรกฎาคม 2538

พื้นที่:331,689  ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง:กรุงฮานอย (Hanoi)

ประชากร : 370,000 คน  ( ปี พ.ศ. 2548 )

ภาษาราชการ:ภาษาเวียดนาม ( Vietnamese)

ศาสนา:ร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดนับถือพระพุทธศาสนา ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อ และอิสลาม

ระบอบการปกครอง:สังคมนิยม

สกุลเงิน:ดอง (Dong : VND)

ประเทศเวียดนาม เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ ๑๒๗,๒๐๗ ตารางไมล์ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน มีรูปร่างยาวโค้ง ตอนกลางแคบทอดเป็นแนวยาวจากเหนือจรดใต้ เป็นระยะทางประมาณ ๑,๓๕๐ ไมล์  และมีฝั่งทะเลยาวประมาณ ๑,๔๐๐ ไมล์ รูปร่างคล้ายพัดจีน มีด้ามอยู่ทางตอนใต้ มี

อาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ คือ
ทิศเหนือ  ติดต่อกับประเทศจีน ในเขตแคว้นยูนาน กวางสี และกวางตุ้ง
ทิศตะวันออก  จรดอ่าวตังเกี๋ย และทะเลจีน
ทิศใต้  จรดทะเลจีน และอ่าวไทย
ทิศตะวันตก  จรดประเทศกัมพูชา และประเทศลาว

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นป่าเขาทางภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับจีน จะมีภูเขามากที่สุด เส้นทางคมนาคม มีแต่ตามช่องเขาต่าง ๆ ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ภาคใต้เป็นที่ราบริมฝั่งทะเล ทำการเพาะปลูกได้ตามพื้นที่ปากแม่น้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่
พื้นที่ในแคว้นตังเกี๋ย พื้นที่ทางตอนเหนือและทางตะวันตกเป็นทิวเขา แต่ละทิวเขาทอดจากตะวันตก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ทางชายแดน ที่ติดต่อกับ

ประเทศจีน ในเขตมณฑลยูนาน และกวางสีเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีหน้าผาชันและเหวลึก มียอดเขาสูงเรียงรายกันไป สิ้นสุดในแนวของหมู่เกาะต่าง ๆ ในอ่างตังเกี๋ย
ทิวเขาอันนัม  ซึ่งเป็นแกนของพื้นที่ ประกอบด้วยเทือกเขาที่สลับซับซ้อน และมีที่ราบสูงหลายแห่งอยู่ติดต่อกัน บางแห่งมีความสูงถึง ๓,๑๔๐ เมตร ทิวเขาเหล่านี้แผ่กว้างออกไปในพื้นที่ตอนเหนือ และตอนใต้
ที่ราบสูงตอนเหนือ  อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำแดง เป็นบริเวณที่มีหินเขาอัคนี ประกอบด้วยที่ราบสูงที่มีหินทราย และหินปูน ส่วนใหญ่เป็นป่าเขามีบางส่วนเป็นที่นา
พื้นที่ลุ่มตังเกี๋ย  เป็นพื้นที่ลุ่มบริเวณปากแม่น้ำแดง รวมกับที่ลุ่มปากแม่น้ำอื่น ๆ อีกหลายสาย ทางภาคเหนือโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มเป็นดินทรายที่ถูกแม่น้ำต่าง ๆ พัดพามาสะสมไว้ จึงเป็นบริเวณที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก โดยเฉพาะพื้นที่ปากแม่น้ำแดงมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรมพื้นที่ลุ่มบริเวณดังกล่าว โดยทั่วไปมีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๑๐ ฟุต มีคลองส่งน้ำเป็นจำนวนมาก แยกจากแม่น้ำแดง นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำสายสั้น ๆ อีกหลายสายเช่น แม่น้ำดำที่ไหลจากที่ราบสูงทางตอนเหนือของแคว้นตังเกี๋ย

พื้นที่สามเหลี่ยม (Delta)  ที่เกิดจากแม่น้ำมา แม่น้ำซู และแม่น้ำคา ทำให้เกิดที่ลุ่มขยายลงมาทางส่วนใต้ตอนใกล้ทะเล
แคว้นตังเกี๋ยเป็นดินแดนที่กว้างขวางที่สุดของเวียดนาม มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๖,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ระยะทางจากเหนือจรดใต้ประมาณ ๓๘๐ กิโลเมตร และจากตะวันออกจรดตะวันตก ประมาณ ๖๐๐ กิโลเมตร
พื้นที่ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำแดง  เป็นพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาว ส่วนใหญ่เป็นภูเขา เป็นภูเขาหินปูน ความสูงของพื้นที่โดยเฉลี่ยแล้วสูงกว่าที่ราบตังเกี๋ยมาก

แม่น้ำที่สำคัญในบริเวณนี้คือแม่น้ำดำ  ซึ่งไหลผ่านเข้าไปในภูเขาแคบ ๆ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใดแก่พื้นที่แม่น้ำดำไหลขนานไปกับแม่น้ำแดง แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำแดงทางเหนือของกรุงฮานอย กระแสน้ำไหลเชี่ยวมาก
พื้นที่แคว้นอันนัม  เป็นที่ราบแถบริมฝั่งทะเลยาวตลอดลงไปทางใต้ ทางทิศตะวันตกเป็นทิวเขาสูงกั้นเขตแดนระหว่างลาวกับเวียดนาม มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลลงสู่ทะเล ทางด้านทิศตะวันออก
ภูเขา แม่น้ำ และที่ราบ

ภูเขา  แบ่งออกได้เป็นสามบริเวณคือ
บริเวณภาคเหนือของแคว้นตังเกี๋ย  เป็นบริเวณพื้นที่ทางตะวันออกของแม่น้ำแดง แยกออกเป็นบริเวณย่อย ๆ ได้ สามบริเวณคือ
– บริเวณแม่น้ำขาว  กับชายทะเล เป็นบริเวณที่กว้างที่สุด ประกอบด้วยทิวเขา และสันเขา เป็นรูปโค้งซ้อนทับกัน หันเข้าหาทางทิศตะวันออก และทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอยู่สี่ทิวเขาด้วยกันคือ ทิวเขาซองกำ (Soug Gam) อยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำดำ มีหุบเขาอีกและทะเลสาปหลายแห่ง มียอดสูงสุดประมาณ ๑,๙๗๐ เมตร  ทิวเขางามซัน (Ngan Son) มียอดสูงสุด ๑,๙๓๐ เมตร,  ทิวเขาบัคซัน ( Bac Son) เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเทือง (Song Thuang) หุบเขานี้มีความลาดชันมาก เป็นช่องทางเชื่อมมณฑลกวางสีของจีนกับเมืองลังซัน (Long Son) ของเวียดนาม  ทิวเขาดองเตรียม (Dong Triam) เริ่มจากเมืองฟูลงเทือง (Phu Long Thuang)  ไปจรดชายแดนประเทศจีน มียอดสูงสุด ๑,๕๐๐ เมตร ตอนกลางของทิวเขามีถ่านหินอุดมสมบูรณ์มาก

– บริเวณเมืองไทงูเย็น (Thai Ngu Yen)   เมืองตูเย็น (Tuyen)  เมืองเย็นเบ (Yen Bay) และเมืองพูโด (Phu Tho) เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยภูเขาเตี้ย ๆ และหุบเขากว้าง ๆ มีทิวเขาสูงอยู่เพียงยอดเดียวคือ ทิวเขาตันดา (Tan Da ) สูงประมาณ ๑,๕๙๐ เมตร
– บริเวณที่ราบสูงติดต่อกับชายแดนจีนในเขตมณฑลยูนาน  ที่ราบ

สูงในมณฑลยูนานของจีน ได้ยื่นเข้ามาทางภาคเหนือของแคว้นตังเกี๋ย ที่ราบสูงเหล่านี้มีลักษณะเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันมาก ประกอบด้วย ที่ราบสูงปางคาน (Pang Khan)  มีทิวเขาซองเซ (Song Chay)  มียอดสูงประมาณ ๒,๔๓๐ เมตร ที่ราบสูงพูทาคา (Pou Tha Ca) และที่ราบสูงดองตวน (Dong Tuan)  ซึ่งอยู่ในเมืองเคาบัง (Cao Bang) และเมืองลังซัน (Long Son) เหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำสั้น ๆ ไหลไปบรรจบแม่น้ำซีเกียว (Si Kiang) ในประเทศจีน
ทิวเขาบริเวณแม่น้ำแดงกับแม่น้ำโขง  เป็นบริเวณที่มีทิวเขาหนาแน่นที่สุด ทิวเขาเหล่านี้มีทิศทางจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้
– ทิวเขาฟานสีฟัน (Fan Si Pan)  อยู่ระหว่างแม่น้ำแดงกับแม่น้ำดำ มีความยาวประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร มีความสูงประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร สูงสุดประมาณ ๒,๙๘๐ เมตร มีที่ราบสูงทายังพัน (Ta Yang Pan) ซึ่งมีความสูงถึง ๒,๐๐๐ เมตร ทางทิศใต้ของทิวเขาฟานสีฟัน จนถึงที่ราบสูงตรันนินห์ (Tran Ninh) ในประเทศลาว พื้นที่ประกอบด้วยทิวเขาที่มีทิศทางจากตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออก เฉียงใต้ ทิวเขาเหล่านี้ก่อให้เกิดลำน้ำและที่ราบเล็ก ๆ ทั้งสองฝั่งของลำน้ำคือบริเวณลุ่มแม่น้ำดำ เริ่มตั้งแต่เมืองไลเจา (Lai Chau) จนถึงหัวบินห์ (Hoa Binh) ต่อไปจนถึงเมืองวูบาน (Yu Ban) และเมืองฟูโนกวาน (Phu Nho Quan)
ที่ราบสูงตั้งแต่ชายแดนติดต่อกับมณฑลยูนาน ประเทศจีนจนถึงที่ราบสูงซองลา (Song la) และที่ราบสูงมอค (Moc)
– ทิวเขาตรันห์หัว (Tharh Hoa)  อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำมา (Song Ma) ทางตอนเหนือ ทิวเขาอันนัมในแคว้นอันนัมตอนเหนือ  เป็นทิวเขาที่ยาวเหยียดจากบริเวณที่ราบสูงตรันนินห์ (Tran Ninh) ในประเทศลาว ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และขนานกับชายทะเล จากทางตอนเหนือของแคว้นไปสุดทางใต้ของเวียดนาม ทิวเขานี้มีความสูงไม่มากนัก บางตอนแคบมาก และเป็นหน้าผาขัน เป็นทิวเขาที่แบ่งประชากร ที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของภูเขา
แม่น้ำ  แยกออกได้เป็นสองบริเวณคือ

แม่น้ำบริเวณแคว้นตังเกี๋ย  มีแม่น้ำที่สำคัญอยู่สองสายคือ
– แม่น้ำแดง  มีความยาวประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ในเขตมณฑลยูนาน ประเทศจีน มีทิศทางการไหลจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แม่น้ำแดงไหลเข้าเขตประเทศเวียดนาม ในเขตเมืองลาวกาย (Loa Kay) และมีความยาวจากเมืองลาวกาย จนถึงปากแม่น้ำที่ไหลไปลงสู่ทะเล มีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร ระหว่างเมืองลาวกาย และเมืองเยนเบ (Yan Bay) มีเกาะแก่งอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ มีแควสำคัญ ๆ ของแม่น้ำแดงคือ
ทางฝั่งขวามีแม่น้ำดำ และแควนำมู (Nam Mou)
ทางฝั่งซ้ายมีแม่น้ำขาว และแควของแม่น้ำขาว ที่สำคัญอีกสามสาย
จากตัวเมืองเวียตตรี แม่น้ำแดงเริ่มไหลเข้าสู่ที่ราบลุ่ม และแยกออกไปเป็นหลายสาย ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีน ในอ่าวตังเกี๋ย สายที่สำคัญคือ แม่น้ำเดย์ (Day) คลองเรปิด (Rapid Canel) และคลองแบบบัว ได้เชื่อมแม่น้ำแดงกับแม่น้ำไทยบินห์ (Thai Binh)
ปริมาณน้ำในแม่น้ำแดง ในฤดูแล้งกับฤดูน้ำ มีความแตกต่างกันมาก ฤดูน้ำมากอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม น้ำในแม่น้ำแดงมีระดับสูง ไม่เป็นเวลาไม่แน่นอน แล้วแต่ปริมาณฝนตกบนภูเขา
– แม่น้ำไทยบินห์ (Thai Binh)  มีความยาวไม่มาก โดยเริ่มต้นจากจุดรวมของแควซองคัด (Song Cad) และซองตัง (Song Thoung) ไปถึงบริเวณที่จรดกับคลองเรปิด ต่อจากนั้นแม่น้ำไทยบินห์ ก็กลายเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำแดง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง มีแม่น้ำลำคลองใหญ่น้อย มาเชื่อมติดต่อกัน แล้วไหลลงสู่ทะเลจีน ในอ่าวตังเกี๋ย บริเวณนี้ปรากฏว่า มีน้ำท่วมอยู่บ่อย ๆ จึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนกั้นน้ำ เพื่อให้ใช้พื้นที่ทำการเพาะปลูกได้ ในบางแห่งสามารถทำนาได้ปีละสองครั้ง
– แม่น้ำบริเวณตอนเหนือของแคว้นอันนัม  ทางตอนเหนือของแคว้นอันนัม มีทิวเขาอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลมากกว่าทางตอนใต้ลงไป แม่น้ำบริเวณนี้จึงมีความยาวกว่าแม่น้ำซึ่งเกิดจากทิวเขาอันนัม ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศลาว แม่น้ำเหล่านี้จะไหลลงสู่ทะเล ทางด้านทิศตะวันออก มีแม่น้ำที่สำคัญ ๆ คือ แม่น้ำชู (Song Cho) และแม่น้ำมา (Song ma) มีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลจีนในบริเวณเมืองทันหัว (Than Hoa) มีที่ราบลุ่มระหว่างสองฝั่งแม่น้ำ และบริเวณปากน้ำใช้ในการเพาะปลูก ต้นน้ำของแม่น้ำดังกล่าว อยู่ในแคว้นซำเหนือของประเทศลาว  แม่น้ำคา (Song Ca) เกิดจากที่ราบสูงตรันนินห์(Tran Ninh) ในประเทศลาว ไหลลงสู่ทะเลจีนบริเวณเมืองวินห์ (Yinh)  แม่น้ำเบนไฮ เป็นแม่น้ำสำคัญอีกสายหนึ่ง เดิมใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างเวียดนามเหนือ กับเวียดนามใต้ ที่เส้นขนานที่ ๑๗ องศาเหนือ

ที่ราบ  เป็นที่ราบซึ่งไม่กว้างขวางนัก ส่วนมากจะอยู่แถบชายทะเล หรือระหว่างสองข้างของแม่น้ำ
ที่ราบลุ่มแคว้นตังเกี๋ย หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง  เป็นที่ราบลุ่มที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุด ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีความสูงประมาณ ๐ – ๑๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล ในที่ราบนี้มีบริเวณเนินเขาที่เป็นหินบ้างเล็กน้อย ทางทิศใต้มีทิวเขาหินปูน บริเวณเมืองทันห์หัว (Thanh Hoa) ติดต่อกันโดยผ่านช่องเขาดองเกียว
ที่ราบทันห์หัว (Thanh Hoa)  อยู่ในแคว้นทันห์หัว หรือในบริเวณลุ่มแม่น้ำมา และแม่น้ำชู มีพื้นที่กว้างขวาง รองลงมาจากที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ใช้ในการเพาะปลูก
ที่ราบไงอัน ( Nghi An)  อยู่บริเวณรอบ ๆ เมืองวินห์ (Yinh) หรือบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำคา
ที่ราบฮาเตียน (Hatinh)  อยู่บริเวณเมืองฮาเตียน จากที่ราบแห่งนี้ต่อลงไปทางใต้ มีที่ราบชายฝั่งทะเล มีลักษณะแคบยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเล ผ่านเมืองดองฮอย (Dong Hoi) ไปจนถึงที่ราบเมืองกวางตรี(Quoang Tri) และเมืองเว้ (Huc) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ลงไป
การคมนาคมขนส่งทางบก

ถนน  ถนนที่มีอยู่อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้คือ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด ทางหลวงท้องถิ่น และทางที่รถยนต์พอจะเดินได้ในบางฤดูกาล
บริเวณที่มีทางหลวงมากที่สุดคือ ในแคว้นตังเกี๋ย ซึ่งฝรั่งเศสสมัยที่ปกครองเวียดนามอยู่ ได้สร้างขึ้นไว้สำหรับติดต่อกับประเทศจีน และประเทศลาว นอกจากนั้นเป็นถนนที่ติดต่อระหว่างจังหวัด และภายในจังหวัด
ถนนหมายเลข ๑  เรียกว่า ถนนสายแมดาริน (Mandarine Route)  เป็นถนนสายสำคัญที่สุด และเป็นสายที่ยาวที่สุด สร้างขึ้นในคริสตศตวรรษที่๑๙ สมัยจักรพรรดิ์ญวน เริ่มต้นที่เมืองลังซัน (Long Son) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงฮานอย หรืออยู่ทางทิศใต้ของมณฑลกวางสี เป็นเมืองชุมทางที่สำคัญ มีถนนหมายเลข ๔ ขนานกับเขตแดนจีน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงเมืองคาวบัง (Coa Bang) และในระหว่างทางที่เมืองดองเดง (Dong Deng) มีทางแยกไปยังเมืองปิงเซียง (Ping Siang) ในมณฑลกวางสี ประเทศจีน

ถนนสายแมนดาริน (Mandarien)  เริ่มจากเมืองลังซัน (Long Son) ไปยังเมืองฮานอย แล้วผ่านไปยังเมืองนินห์บินห์ (Ninh Binh) ขนานไปับชายฝั่งทะเล ผ่านเมืองสำคัญคือ ทันห์หัว (Thanh Hoa) ดองฮอย (Dong Hoi) ลงมาทางใต้ถึงเมืองกวางตรี ผ่านเมืองต่าง ๆ ไปถึงเมืองไซ่ง่อน (โฮจิมินห์) พนมเปญ มาจดชายแดนไทยในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ถนนหมายเลข ๒  ตั้งต้นจากเมืองฮานอย ผ่านที่ราบสูงตังเกี๋ยขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เลียบไปตามฝั่งแม่น้ำขาว ผ่านเมืองฟูเยน (Phou Yen) วินห์เยน (Vinh Yen) ฮูเยนกวาง (Hu Yen Quang) บัคกวาง (Bac Quang) ไปสุดทางที่เมืองฮาเกียง (Ha Giang)
จากเมืองฮาเกียง มีถนนของจังหวัดติดต่อกับเมืองเวนซาน ( Wen Shan) ในมณฑลยูนาน ประเทศจีน ที่เมืองบัคกวาง มีถนนแยกทางซ้ายไปสู่เมืองลาว

กาย (Lao Kay)
ถนนหมายเลข ๓  ตั้งต้นจากเมืองฮานอย ขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ระหว่างถนนหมายเลข ๑ และหมายเลข ๒ ผ่านไปเมืองไทงวูเยน บัคคาน (Bac Kan) แล้วแยกออกเป็นสองสาย ทางซ้ายไปยังเมืองบางลัค (Bao Lac) ทางขวาไปเมืองคาวบัง (Cao Bang) ทั้งสองเมืองดังกล่าวอยู่ติดกับเขตแดนวประเทศจีน
ถนนหมายเลข ๔  อยู่ทางภาคเหนือสุดของประเทศ เริ่มต้นจากเมืองมอนเก (Mon Cay) เลียบตามชายแดนประเทศเวียดนามกับจีน ผ่านเมืองลังซวอน เมืองคามบัง ไปยังเมืองบางลัค
ถนนหมายนเลข ๕  ติดต่อระหว่างเมืองฮานอยกับเมืองไฮฟอง (Hai Pong) ใช้ในการลำเลียงขนส่งสินค้าจากท่าเรือเมืองไฮฟองไปยังเมืองฮานอย
ถนนหมายเลข ๖  ตั้งต้นจากเมืองฮานอยไปทางทิศวตะวันตกผ่านเมืองฮาดอง (Ha Dong) หัวบินห์ ขนานไปกับลำน้ำดา (Song Da) ผ่านเมืองซองลาไปสุดที่เมืองไลเจา (Lai Chau) ในประเทศจีน
ระหว่างเมืองโซโบ (Cho Bo) กับเมืองซอนลา มีถนนสามสายที่แยกเข้าสู่ประเทศลาว ในแคว้นวำเหนือ
ระหว่างเมืองซอนลากับเมืองไลเจา มีทางแยกไปเมมืองเดียนเบียนฟู และเข้าไปสู่ประเทศลาวทางแคว้นพงสาลี
ถนนหมายเลข ๗  แยกจากถนนสายแมนดาริน ที่ฟูเดียนเจา (Phu Dien Chau) ไปทางทิศตะวันตก เลียบไปทางทิศใต้ของแม่น้ำซองคา ผ่านช่องเขาบาเทเลมี (Ba The lemy) ไปยังเมืองเชียงของและเมืองหลวงพระบางในประเทศลาว
ถนนหมายเลข ๘  เริ่มต้นจากเมืองรินห์ไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ประเทศลาว โดยผ่านช่องเขาเหนือ (Ke4o Neva) ผ่านนาเป (Nape) ลัคเซา  (Lak Sao) คำเกิด ไปบรรจบกับถนนระหว่างท่าแขก – ปากซัน เวียงจันทร์ ในประเทศลาว
ถนนหมายนเลข ๙  เริ่มต้นจากเมืองฮาเตียน (Ha Tinh) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านช่องเขามูเกีย (Mu Gia) ผ่านบ้านนาเผาถึงเมืองท่าแขกในประเทศลาว
นอกจากถนนสายวสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังมีถนนที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองต่อเมืองอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำแดง และระหว่างเมืองตาม                    ชายฝั่งทะเล
ทางรถไฟ  ฝรั่งเศสได้สร้างทางรถไฟไว้ในเวียดนาม ในสมัยที่ปกครองเวียดนามอยู่หลายสายด้วยกัน สายที่ยาวที่สุดคือ สาย Trans Indochina   เชื่อมต่อระหว่างเมืองฮานอย กับเมืองไซ่ง่อน ทางรถไฟในเวียดนาม สามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศจีนได้ นอกจากนั้นฝรั่งเศส ยังได้สร้างทางรถไฟสายตะวันตกเฉียงเหนือ ของเมืองฮานอย ผ่านเมืองลาวกาย เข้าไปในประเทศจีนในเขตมณฑลยูนานถึงเมืองคุนยิง
ทางรถไฟสายฮานอย – ไซ่ง่อน  เลียบชายฝั่งทะเลขนานกับถนนสายแมนดาริน ผ่านเมืองที่สำคัญคือเมืองฟูลี นามคินห์ ทัมหัวห์และเมืองวินห์
ทางรถไฟสายฮานอย – ลังซอน – นัมกวาน (Num Kwan)  ติดต่อเข้าไปยังมณฑลกวางสี ประเทศจีน ยาวประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร
ทางรถไฟสายฮานอย – ไฮฟอง  เป็นทางรถไฟสายสั้น ๆ มีสะพานข้ามแม่น้ำแดงแห่งหนึ่ง ยาวปรนะมาณ ๑,๖๘๐ เมตร
ทางรถไฟสายฮานอย – ลาวกาย – คุนมิง  มีความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมตร ติดต่อกับประเทศจีน ผ่านเมืองเมงจือ (Meng Tzu) ทางรถไฟตัดผ่านช่องเขาและซอกเขา เป็นทางชัน ตัดผ่านอุโมงถึง ๑๗๐ แห่ง
ช่องเขา  ถนนติดต่อระหว่างเมืองต่าง ๆ ในตอนเหนือของเวียดนาม ส่วนมากตัดผ่านภูเขา โดยเลียบไปตามเชิงเขาและแม่น้ำ
ถนนหมายเลข ๑  ตอนจากเมืองฮานอยลงมาทางใต้ ต้องตัดผ่านช่องเขาหลายแห่ง ที่สำคัญคือช่องเขาระหว่างเมืองเว้และตุราน
ถนนหมายเลข ๗  จากเมืองฟูเดียนเจา แยกจากถนนหมายเลข ๑ ไปยังเมืองเชียงขวาง และเมืองหลวงพระบางของประเทศลาว จะผ่านช่องเขาบาเทเลมี
ถนนหมายเลข ๘  จากเมืองวินห์ไปยังเมืองคำเกิดในประเทศลาว จะผ่านช่องเขาเหนือ ที่บริเวณนาเป
ถนนหมายเลข ๙  จากเมืองฮาเตียนห์ ไปยังเมืองท่าแขกของประเทศลาว จะผ่านช่องเขามูเกีย

การคมนาคมขนส่งทางน้ำ  แต่ก่อนการคมนาคมขนส่งทางบกมีน้อย และก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามาปกครองเวียดนามนั้นทางรถไฟยังไม่มี ชาวเวียดนามจะใช้แม่น้ำลำคลองตามธรรมชาติ เป็นทางสัญจรและขนส่ง โดยใช้เรือขนาดต่าง ๆ ที่เหมาะกับความลึกของแม่น้ำ
ในพื้นที่ตอนเหนือมีแม่น้ำแดง แม่น้ำไทยนินห์ ส่วนแม่น้ำในแคว้นอันนัม ที่เกิดจากทิวเขาอันนัมเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ แคบ และกระแสน้ำไหลเชี่ยว ไม่เหมาะแก่การขนส่งทางน้ำ
ในแคว้นตังเกี๋ย  ในแม่น้ำแดง ฝรั่งเศสได้ทำเขื่อน และวางทำนบกั้นน้ำ เพื่อใช้ในการเดินเรือ ได้ระยะยาวไกล และใช้ได้ทุกฤดูกาล ในฤดูน้ำตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม ลำน้ำนี้จะใช้ได้เป็นระยะทางประมาณ ๗๐๐ กิโลเมตร เรือกลไฟจะแล่นไปได้ถึงเมืองวางกาย และในแม่น้ำดำจะไปได้ถึงเมืองไชโย ในฤดูแล้งเรือกลไฟแล่นในแม่น้ำแดงได้เพียงประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร
ในพื้นที่สามเหลี่ยมของแคว้นตังเกี๋ย การคมนาคมแบ่งออกเป็นสองตอนคือ
ทางแม่น้ำแดงกับแม่น้ำไทยมินห์  แม่น้ำทั้งสองติดต่อกันได้โดยใช้คลองขุด การคมนาคมนับว่าสดวกมีทางน้ำที่ใช้เดินเรือได้เป็นระยะทางประมาณ ๓,๓๐๐ กิโลเมตร
ในแคว้นอันนัมตอนเหนือ  ในเขตนี้มีแม่น้ำมา แม่น้ำชู และแม่น้ำเกียว เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ไม่เหมาะแก่การขนส่งทางน้ำ เพราะตอนปากแม่น้ำกว้างและตื้น มีสันทรายขวางอยู่ กั้นไม่ให้ติดต่อกับทะเลได้สะดวก ในฤดูแล้งน้ำตื้น ส่วนในฤดูน้ำกระแสน้ำไหลเชี่ยว พอใช้ในการลำเลียงขนส่งได้ในระยะทางไม่ไกลนัก
การคมนาคมขนส่งทางทะเล  แม้ว่าเวียดนามจะมีชายทะเลยาวมาก ประมาณ ๑,๒๕๐ กิโลเมตร ตลอดแนวเขตประเทศด้านทิศตะวันออก แต่ไม่มีอ่าวสำหรับจอดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ พอที่จะใช้เป็นท่าเรือได้
ชายทะเลระหว่างเมืองมงไค (Mong Cai)  และเมืองไฮฟอง  เป็นบริเวณที่มีอ่าวและเกาะมากที่สุด เกาะเหล่านี้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ทางทิศเหนือเป็นเกาะใหญ่ ขนานกับชายทะเลได้แก่ เกาะไกโย (Cai Bau) ทางทิศใต้ประกอบด้วยเกาะเล็ก เกาะน้อย และมีหินโผล่ขึ้นมาจากพื้นน้ำในบริเวณอ่าวอลอง (Along) และอ่าว Faitsi Long ทางทิศตะวันออกของเมืองไฮฟอง มีเกาะใหญ่อยู่เกาะหนึ่งชื่อ เกาะแคทบา (Cat Ba) และมีหมู่เกาะเล็ก ๆ ต่อไปทางทิศตะวันออก
ระหว่างเมืองไฮฟองกับเมืองดองฮอย  ชายทะเลตอนนี้ไม่มีอ่าวสำคัญ ชายทะเลแถบนี้มีแหลมยื่นออกมาบ้าง และในบางตอนประกอบด้วยเนินทรายสูง แผ่เข้าไปในแผ่นดิน เนินทรายบางแห่งสูงถึง ๔๐ เมตร เช่น เนินทรายที่อยู่ทางตอนใต้ของเมืองดองฮอย
บริเวณมุยรอน (Mui Ron)  มีหาดหน้ากว้าง ๑๐ กิโลเมตร ใกล้ถนนสายหลักคือ ถนนหมายเลข ๑ หรือถนนสายแมนดาริน
บริเวณตอนปากน้ำ  มีอยู่เพียงสองแห่ง ที่พอใช้ได้คือ ที่ดองฮอย และที่แม่น้ำเคียนเกียว ใกล้มุยรอน ที่ดองฮอยใช้ได้สำหรับเรือขนาดเล็ก และกินน้ำตื้น ส่วนที่แม่น้ำเคียนเกียว ใช้เรือขนาดเล็กกินน้ำตื้นเข้าไปในลำน้ำได้ถึง ๑๐ กิโลเมตร
สรุปแล้วการขนส่งโดยเรือเดินสมุทร ในพื้นที่ดังกล่าวแล้วใช้ท่าเรือเมืองไฮฟองได้เพียงแห่งเดียว มีเรือเดินทะเลเข้าไปขนส่งสินค้าติดต่อกับฮ่องกง และเมืองท่าต่าง ๆ ของประเทศจีน เช่น กวางตุ้ง เอ้หมิง เซี่ยงไฮ้ ทางด้านเหนือและตะวันออก และติดต่อกับสิงคโปร์และอินเดีย ทางด้านใต้และตะวันตก นอกจากนั้นยังติดต่อกับญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์อยู่บ้าง
ประชากร

ประชาากรส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติเวียดนามแท้ ประมาณร้อยละ ๘๕ เป็นชาวจีนประมาณร้อยละ ๒ ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยประมาณร้อยละ ๑๔ ประกอบด้วย ชาวโม้ง ( Muong) ไท (Thai) แม้ว (Meo) เขมรมอญ (Mon) จาม (Cham)
ดินแดนเวียดนาม แต่เดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกมอย (Moi) ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กันหลายสิบเผ่า มีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกับชาวข่าบางเผ่าในประเทศลาว จัดเข้าอยู่ในตระกูลมอญ – เขมร และบางเผ่าในตระกูล ชวา – มลายู พวกมอยมีอยู่มากกว่าล้านคน ส่วนมากอาศัยอยู่ตามภูเขาเหนือไซ่งอน ขึ้นไปจนเหนือเส้นขนานที่ ๑๗ พวกนี้ไม่มีตัวหนังสือใช้ เคร่งครัดในลัทธิไสยศาสตร์ นับถือผีสาง เทวดา อย่างยิ่ง ไม่ชอบพบคนแปลกหน้า
นอกจากพวกมอยแล้ว ขนกลุ่มน้อยในเวียดนามอีกพวกหนึ่งคือ พวกไทย บรรพบุรุษของพวกไทยอพยพจากประเทศจีน เมื่อประมาณต้นพุทธกาล เข้ามาตามลุ่มน้ำต่าง ๆ อย่างช้า ๆ ในที่สุดได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นตังเกี๋ย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มคือ
ผู้ไทยดำ  อยู่ในเขตสิบสองจุไทย แถบแม่น้ำซองมา แม่น้ำดำ เมืองซอนลา เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) เมืองฮุง เมืองลอย
ผู้ไทยขาว  อยู่ในแถบเมืองไลเจา ใกล้เคียงกับไทยดำ ไทยโท้ ไทยนุง
ไทยโท้  อยู่รอบ ๆ บริเวณที่ราบสามเหลี่ยมแม่น้ำแดง ทางทิศตะวันตก และทางทิศเหนือของเมืองฮานอย
ไทยนุง  อยู่ตามพรมแดนตังเกี๋ย และมณฑลกวางสีของจีน
ยาง  อยู่ในเขตเมืองห้ายาง ทางทิศตะวันออกของเมืองเผาลัก ตรงปากน้ำแคลร์กับน้ำโล
มีชนอีกพวกหนึ่ง อยู่ตอนกลางของแคว้นตังเกี๋ยคือ พวกเมือง (Moung) ซึ่งเป็นชาติผสมเวียดนาม ชวา และไทย มีภาษาพูดคล้ายพวกเวียดนามมาก ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเชิงเขา บริเวณใกล้กับเมืองฮานอย และตะวันตกเฉียงใต้ลงไป ตามภูเขากั้นพรมแดนลาว ตรงกับเมืองวินห์ นับว่าเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของเวียดนาม ทางตอนเหนือด้วยเหมือนกัน
มีชนอีกสองพวกที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเวียดนามตอนเหนือคือ พวกแม้ว และพวกหม่าน
พวกแม้ว  แบ่งออกเป็นสี่พวกคือ แม้วขาวแดง แม้วสาย แม้วดำ และแม้วขาว อาศัยอยู่ตามเมืองชายแดน ที่ติดต่อกับประเทศจีน ทางด้านมณฑลยูนาน ในเขตเมืองลาวกาย เมืองจำปา เมืองฟองโท เมืองไลเจา เมืองแถง และเมืองซอนลา
พวกหม่าน  แบ่งออกเป็นห้าพวกคือ หม่านตาปัน หม่านลานเถน หม่านกวางก๊ก หม่านเถาลาน และหม่านกวางตัง อาศัยอยู่ตามภูเขาในเขตเมืองฟองโท เมืองไลเจา เมืองลาวกาย ริมฝั่งแม่น้ำแดง เมืองเกายาง เมืองลาวเชิง เมืองเยนบาย เมืองบองกาย และภูเขาแถบเมืองหัวบินห์ ก่อนที่แม่น้ำดำจะไปบรรจบแม่น้ำแดง

ชาวญวน หรือชาวเวียดนาม  เดิมอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ บริเวณมณฑลซีเกียง ฟูเกี้ยน กวางตุ้ง และกวางสี ในปัจจุบัน จัดอยู่ในเผ่าไทย – จีน เพราะภาษาพูดของพวกเวียดนาม มีคำพ้องกับคำไทยในภาษา และคำในภาษาจีนอยู่มาก
พวกชนกลุ่มน้อยรวมกันประมาณร้อยละ ๑๕ ของประชากร เวียดนามตอนเหนือนี้ โดยความเป็นมาทางประวัติสาสตร์ เป็นพวกที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับพวกเวียดนาม ในสมัยที่ยังแยกเป็นเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ รัฐบาลเวียดนามเหนือได้เคยประสบปัญหาของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้อนุมัติให้มีเขตปกครองตนเองของพวกไทย – แม้ว (Thai – Meo Autonomous) มีพื้นที่ประมาณ ๑๙,๕๐๐ ตารางไมล์ มีชนเผ่าต่าง ๆ อยู่ ๒๐ เผ่า ประมาณ ๓๓๐,๐๐๐ คร และมี Viet – Bac Autonomous Area   มีพื้นที่ประมาณ ๑๖,๐๐๐ ตารางไมล์ มีชนเผ่าต่าง ๆ ๑๕ เผ่า ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ คน นอกจากนี้ยังมี Lao – Ha – Yen  Area  อีกด้วย
ชาวเวียดนามแท้  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่หนาแน่น ตามที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ที่ราบตามชายฝั่งทะเลตะวันออก และที่ราบตอนใต้
ชาวจีน  ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในย่านการค้า และตามเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองโชลอง เมืองไซ่ง่อน (โฮชิมินห์) และเมืองตามชายฝั่งทะเลทั่วไป ชาวจีนที่อยู่ในเวียดนามเกือบทั้งหมด ถือสัญชาติเวียดนาม มีการพักรวมกันเป็นกลุ่ม จัดตั้งสมาคมเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า แต่ก็มีชาวจีนบางส่วนประกอบอาชีพทางกสิกรรมเลี้ยงสัตว์
ชาวเผ่าไทย  ประกอบด้วย ไทยขาว ไทยดำ ไทยแดง ไทยลาย ไทยโท้ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด จากบรรดาชนที่ไม่ใช่เวียดนามแท้
ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภูเขา เชิงเขา ที่เป็นป่าลึกด้านเหนือ กลาง และตะวันตก และที่ราบสูงภาคกลาง พวกนี้มักไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ชอบอพยพเปลี่ยนที่อยู่เรื่อยไป ไม่นิยมวัฒนธรรมต่างถิ่น ส่วนใหญ่มีความเชื่อในไสยศาสตร์ หาเลี้ยงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ ล่าสัตว์ และหาของป่ามาขาย
ชาวเขมร  อาศัยอยู่ตามบริเวณดินแดนดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง กับบริเวณใกล้เมืองฮาเดียน ติดต่อกับแดนเขมร ไปจนถึงบริเวณแหลมที่ยื่นออกไปในทะเลจีน มีอาชีพส่วนใหญ่ในการทำการกสิกรรม เลี้ยงสัตว์ และการประมง นับถือพระพุทธศาสนา และมีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายประชากรในประเทศกัมพูชา
ชาวจาม  เป็นเจ้าของถิ่นเดิมในดินแดนภาคกลางของเวียดนาม และในภาคใต้ของเวียดนาม แถบชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา แถบเมืองซอด๊อก ไตนินห์และฟานราง ชาวจามเป็นชนเผ่าที่มีวัฒนธรรมสูงเป็นของตนเองมาก่อน วัฒนธรรมของชาวจามที่เหลืออยู่ในเวียดนามคือ วัดโพนาการ์ (Poh Nagar) ซึ่งอยู่ในภาคกลางของเวียดนาม
ชาวเกาะ  เป็นพวกที่มีเชื้อสายอินเดีย อินโดเนเซีย มลายู ทำมาหากินอยู่ทั่วไปในภาคใต้ของเวียดนาม ในแถบชายฝั่งทะเลเข้ามาจนถึงเขตแดน ที่ติดต่อกับกัมพูชา และลาว และขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองเว้ และเมืองกวางตรี ความหนาแน่นอยู่ในภาคกลางของประเทศ
เชื้อชาติอื่น ๆ  เป็นชาวต่างประเทศที่เข้าไปประกอบอาชีพเล็กๆ น้อย เป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ทั่ว ๆ ไปตามเมืองใหญ่ ๆ ที่เจริญแล้ว และตามชายแดนที่ติดต่อกัน เช่น ลาว ไทย ฝรั่งเศส และชาวยุโรปอื่น ๆ
โดยทั่วไปแล้ว ชาวเวียดนามเป็นชนชาติที่มีนิสัยใจคอมั่นคง มีความขยันขันแข็งในการทำงาน มีความมานะอดทนดีมาก มีความรักชาติ รักอิสรภาพ กล้าหาญ เฉลียวฉลาด และมีความสามัคคีกลมเกลียวกันอย่างแน่แฟ้น ในหมู่คนเวียดนามด้วยกันมีความรู้สึกชาตินิยมอย่างรุนแรง และพร้อมที่จะรับความเปลี่ยนแปลง ที่แปลกใหม่อยู่เสมอ
ปัจจุบันเวียดนามมีหลายศาสนา และลัทธิ แต่ระบบโครงสร้างของสังคมมีพื้นฐาน และได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื้อมาก ชาวเวียดนามถือว่า ครอบครัวเป็นพื้นฐานความเป็นอยู่ ดังนั้นที่ดินของบรรพบุรุษจึงถือเป็นกรรมสิทธิร่วมกันทั้งครอบครัว มีความเคารพนับถือวิญญาณของบรรพบุรุษ มีความยึดมั่นในลัทธิศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบเนื่องกันมาแต่เดิม

พัฒนาการทางวัฒนธรรม

ประเทศเวียดนามตั้งอยู่ติดกับประเทศจีนทั้งทางบก และทางทะเล ทางตอนเหนือของประเทศจึงเป็นเขตที่รับวัฒนธรรมไว้อย่างมั่นคง เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนที่เก่าแก่ ชาวเวียดนามมีประวัติย้อนหลังกลับไปสู่วัฒนธรรมดอง – ซอน ในยุคโลหะในระยะต้น ๆ ชาวเวียดนามพูดภาษา ที่มีเสียงอยู่ในพวกคำพยางค์เดียวเหมือนไทย แต่มีส่วนประกอบอื่น ๆ แบบมอญ – เขมร ปนอยู่
จีนได้ขยายอำนาจการปกครองถึงเวียดนามตอนเหนือ ในเกือบปลายพุทธศตวรรษที่สาม ในระยะนั้นจีนเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า นาม – เวียด และมีการจัดตั้งประเพณีแบบจีน มีข้าวเป็นอาหารหลัก และดำเนินการบริหารตามแบบจีน ด้วยเหตุนี้การบริหารแบบจีนและวัฒนธรรมของจีนโบราณ จึงได้แพร่หลายในเขตเวียดนามตอนเหนือ และต่อมาก็ได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองในจีน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เวียดนามมีอารยธรรมที่แตกต่างออกไปจาก ไทย ลาว และเขมร ที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท โดยมีวัฒนธรรมแบบศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เป็นอิทธิพลผสมจากเขตเอเชียกลางโดยผ่านจีน
หลังจากความเสื่อมของราชวงศ์ถัง ในปี พ.ศ.๑๔๕๐ ชาวเวียดนามได้แยกตัวออกจากการปกครองของจีน และตั้งตัวเป็นเอกราช แต่อิทธิพลด้านวัฒนธรรมของจีน ก็ยังคงมีอยู่ ต่อมาราชวงศ์มองโกลของจีนได้เข้ามารุกราน และยึดได้เมืองฮานอยหลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ.๑๙๕๐ เลอลอย ผู้นำขบวนการต่อต้านจีนของเวียดนาม ได้สถาปนาราชวงศ์เลอขึ้น และได้ให้คำกล่าวไว้ว่า “เรามีภูเขาและแม่น้ำของเราเอง มีขนบธรรมเนียมประเพณีของเราเอง” ราชวงศ์เลอ ได้ปกครองเวียดนามอยู่เป็นเวลายาวนาน มีจักรพรรดิ์ที่เข้มแข็งที่สุดของราชวงศ์เลอคือ เลอทันห์ตัน (พ.ศ.๒๐๐๓ – ๒๐๔๐) ต่อมาก็มีราชวงศ์ที่สำคัญ ๆ และได้ขยายดินแดนลงมาทางใต้เรื่อย ๆ
การแสดงออกทางวัฒนธรรมในเวียดนาม ในสมัยราชวงศ์เลอ (พ.ศ.๑๙๖๑ – ๒๓๒๙) มีดังนี้
วรรณกรรม  เป็นยุคแห่งวรรณคดีจีนผสมกับเวัยดนาม นักประพันธ์ที่สำคัญมี เหงียนไตร ผู้นิพนธ์ ประกาศต่อประชาชนให้มีความรักชาติ ดังตรันกอน ผู้ประพันธ์บทเพลงจากภรรยานักรบ แลกีดอน ผู้ประพันธ์ประวัติศาสตร์ของไดเวียด เป็นต้น บรรดากวี ข้อเขียนทางวรรณคดี และปรัชญาหลายตอน เป็นภาษาจูกิง อันเป็นภาษาจีนชั้นสูง
ในราชวงศ์เหงียน (พ.ศ.๒๓๔๕ – ๒๔๘๘) วรรณคดีในสมัยนี้ยังคงผลิตผลงานเป็นภาษาจีนผสมเวียดนามคือ เขียนด้วยตัวอักษรจีน บทประพันธ์ส่วนใหญ่เป็นผลงานของจักรพรรดิ์เอง แต่ในวรรณคดีในภาษาเวียดนาม ก็ได้พัฒนาไปมากในรัชสมัยนี้
ในการเขียนภาษาเวียดนาม ชาวเวียดนามได้อาศัยอักษรที่เรียกว่า ชูนอง ก่อนเป็นอักษรจีนที่แก้ไขตามหลักการของเจ้าตำราแต่ละคน และต่อมาได้ใช้อักษรที่เรียกว่า กว๊อกงื้อ เป็นการถอดภาษาด้วยการใช้อักษรโรมัน ซึ่งคิดขึ้นโดยบาทหลวง อเล็กซองเดรอะ เดอโรด (พ.ศ.๒๑๙๔) อักษรกว๊อกงื้อ หรืออักษรประจำชาติ เป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแบบเดียว
นวนิยายในรูปบทกวีที่มีชื่อเสียงที่สุด ซึ่งเขียนด้วยภาษาของปราชญ์ มีคุณค่าทางวรรณคดีมาก ผู้ประพันธ์คือ เหงียนดู (พ.ศ.๒๓๐๘ – ๒๓๖๓) และบทกวีที่รู้จักกันดีที่สุดบทหนึ่งคือ ลุกวันเทียน ผู้ประพันธ์คือ เหงียนดินห์เจียว (พ.ศ.๒๓๖๕ – ๒๔๓๑)  โดยได้อาศัยหลักศีลธรรมตามลัทธิขงจื้อ

ในด้านบทละคร ที่เขียนขึ้นส่วนใหญ่ประกอบด้วย เนื้อเรื่องที่ยืมมาจากจีน แหล่งที่มาที่สำคัญได้แก่ นิยาย อิงประวัติศาสตร์จีนเรื่อง สามก๊ก ตัวละครเป็นอย่างเดียวกับงิ้วจีน รูปแบบของบทกวีภาษาเวียดนาม บางทีก็ลอกแบบจีน หรือมิฉะนั้นก็เป็นบทกวีพื้นเมือง
ศิลปกรรม  ราชวงศ์เลอ ได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้นทั่วประเทศ นับว่าเป็นยุคที่ยิ่งใหญ่ของศิลปกรรมเวียดนาม ซึ่งบางครั้งก็แสดงออกด้วยหลุมพระศพของจักรพรรดิ์ ราชวงศ์เลอ ในระยะแรก ๆ จะเหมือนกับหลุมศพของจักรพรรดิ์ในราชวงศ์หมิงของจีน แต่ก็มีสิ่งปลูกสร้างที่เมืองหัวลือ ที่ได้แสดงให้เห็นบุคคลิกภาพ และเป็นตัวของตัวเอง ของศิลปินเวียดนามในการติดตามศิลปะของจีน
ต่อมาในราชวงศ์เหงียน (พ.ศ.๒๓๔๕ – ๒๓๘๘) ในรัชสมัยของจักรพรรดิ์ยาลอง ศิลปกรรมของราชวงศ์เหงียน ส่วนใหญ่แสดงไว้ที่เมืองเว้ สถาปัตยกรรมของพระราชวังจักรพรรดิ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงศิลปกรรมจีน กรุงปักกิ่งอย่างมาก
ศิลปเครื่องเขินของเวียดนาม ได้เริ่มเจริญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ นับได้ว่าเป็นมาตรฐานสูง มีลักษณะลมุนละไมกว่าของจีนและญี่ปุ่น การทำเครื่องเขินนับว่า เป็นที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของเวียดนาม การทำลายรดน้ำ การทำภาพสอดสีต่าง ๆ มีความวิจิตรงามตา

สถาปัตยกรรม  เวียดนามได้รับอิทธิพลจากจีนเช่นเดียวกัน ตัวอาคารมักสร้างให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม หลังคามุงด้วยกระเบื้องประดับประดาแบบจีน ส่วนภาพในประดับด้วยไม้แกะสลัก มีลวดลายแบบจีน ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมเวียดนาม
รากฐานของสถาปัตยกรรมในเวียดนาม เกิดจากวิถีชีวิตประจำวัน และแนวความคิดในความเป็นอยู่ของสมัยนั้น ๆ
ปฏิมากรรม  รวมถึงงานแกะสลัก และงานหล่อ ได้รับอิทธิพลจากจีน จาม และฝรั่งเศส มาผสมผสานกันแนวคิดดั้งเดิมของตน
งานปฏิมากรรมส่วนใหญ่ จะเห็นได้ตามโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ส่วนลวดลายต่าง ๆ ที่ใช้ในงานด้านนี้จะเห็นว่า มีสัตว์ต่าง ๆ เช่น มังกร ม้า เต่า และนกอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน ความมั่นคงและความสุขสำราญของชีวิต อิทธิพลของจามนับว่าเป็นรองจากจีน งานปฏิมากรรมด้านนี้มีรูปกินรี แจกัน เสาแกะสลัก เครื่องปั้นดินเผาถูกตกแต่งเป็นรูปคนสวมพวงมาลัยบนศีรษะ เป็นต้น
ส่วนอิทธิพลของฝรั่งนั้นได้เข้ามาทีหลัง ได้ช่วยปรับปรุงเทคนิคในการทำลวดลายให้สวยงามยิ่งขึ้น แบบฉบับของงานมีลักษณะพิเศษ ไม่ได้สัมพันธ์กับงานสร้างเจดีย์ หรือพระปรางค์ ซึ่งสร้างกันมาแต่ก่อน หรือในสมัยเดียวกัน
จิตรกรรม  เวียดนามได้แบบอย่างมาจากจีนหลายอย่าง และในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ภาพเขียนต่าง ๆ ของเวียดนามได้นำมาดัดแปลง และเจือปนด้วยศิลปกรรมฝรั่งเศสด้วย จิตรกรรมจึงมีทั้งสองแบบคือ ทั้งแบบยุโรป และแบบของทางตะวันออก ซึ่งมีสองชั้นด้วยกัน
จิตรกรรมชั้นสูง มักจะเป็นภาพเขียนที่บรรยายธรรมชาติไว้อย่างวิจิตรพิสดาร ส่วนจิตรกรรมชั้นต่ำ ก็เป็นภาพเขียนบนผ้าไหม ฉาก ตามหีบไม้ต่าง ๆ ตามภาชนะเคลือบและเครื่องเขิน
ดุริยางคศิลป์  เริ่มต้นในราชวงศ์เลอ ได้มีการประพันธ์ทำนอง แบบของชาวจามด้วย
ในสมัยราชวงศ์อองได๋ ได้มีการศึกษาดุริยางคศาสตร์ของจีนด้วย ดนตรีประจำชาติของเวียดนามแต่โบราณ ได้รับอิทธิพลจากจีน คำร้องและลีลาของเพลง ได้จากธรรมชาติและความรัก
เครื่องดนตรีเวียดนามที่เลียนแบบเครื่องดนตรีจีนมี ขลุ่ยสามรู กระจับปี่ใหญ่ กระจับปี่สั้น ซอด้วง และขิม แต่เครื่องดนตรีเวียดนามที่ประดิษฐขึ้นเอง ในสมัยต่อมาเรียกว่า คอนคิม มีลักษณะคลายแบนโจ และเครื่องดีดชนิดใหม่มีลักษณะคล้ายจะเข้ โดยปกติเครื่องประกอบดนตรีของเวียดนาม ก็คล้ายของชาวเอเชียด้วยกัน
โดยทั่วไป ชาวเวียดนามรักการดนตรี รักการร้องเพลง และชอบร้องเพลง ในขณะทำงานหนักร่วมกัน กรรมกร ที่แบกของหนัก ๆ ก็ชอบร้องเพลงขณะทำงาน
นาฎศิลป์  มีลักษณะลีลาท่าทางการรำ อันเป็นศิลปที่อ่อนช้อย เทียบได้กับศิลปพื้นเมืองของไทยในบางอย่าง ได้แก่ ระบำ เดวียน เด ซึ่งเป็นการร่ายรำที่แสดงถึงชีวิตความสุข และความรักของคนธรรดาสามัญชนบท ระบำซานห์ เทียบ โก เดียว เป็นการเตือนให้ระลึกถึงสมัยที่รุ่งเรืองของดนตรีบริสุทธิ์ของเวียดนาม นาฏศิลปบางอย่างของเวียดนาม ก็ได้รับอิทธิพลจากจีน
วัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน  ในเวลาพบปะกัน ชาวเวียดนามใช้การก้มศีรษะ และโค้งตัวเล็กน้อย บางครั้งพวกผู้ชายก็จับมือกัน ซึ่งเป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกจากฝรั่งเศส
ในเทศกาลปีใหม่ที่เรียกว่า เท็ต ประมาณปลายเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับตรุษจีน มีขนบธรรมเนียมประเพณีการปฏิบัติคล้ายกับจีน เช่นการให้ของขวัญกันและกัน มีการเลี้ยงดูกัน ตามบ้านจะปักเสาไม้ไผ่ลำยาวไว้ลำหนึ่ง และประดับประดาเสานั้นด้วยใบไม้ ขนนก ลูกกระพวน รูปปลาตัวเล็ก ๆ กระดาษเงิน กระดาษทอง และจุดโคมไฟแขวนไว้ในเวลากลางคืน และมีการต้อนรับปีใหม่เมื่อเสร็จพิธี ก็พากันไปนมัสการปูชนียวัตถุ และปูชนียสถาน ตามวัดวาอารามในพระพุทธศาสนา สมาชิกในครอบครัว ก็พากันแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ และสวยงามที่สุด
เครื่องแต่งกายประจำชาติเวียดนามคือ ผู้หญิงนุ่งกางเกงแพรยาวสีขาวหรือสีดำ แต่นิยมสีดำมากกว่า สวมเสื้อแขนยาวคอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่าสองข้างสูงแต่สะเอว ให้แลเห็นกางเกงด้านข้าง ไว้ผมยาวเกล้ามวย สวมงอบหรือหมวกรูปฝาชีทรงสูง หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ รวบชายสองข้างมาผูกไว้ใต้คาง รองเท้าปกติใช้รองเท้าไม้ ทำเป็นรูปส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ เช่น สีเงิน สีทอง ผู้ชายแต่งกายคล้ายผู้หญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกดำที่เย็บด้วยผ้า แต่ไม่มีปีก
อาหาร ชาวเวียดนามบริโภคข้าวเป็นหลัก เหมือนชาวเอเชียทั้งหลาย และใช้ตะเกียบแบบจีน รสอาหารไม่จัด และเผ็ดร้อนเท่าไทย มีกะปิ น้ำปลา เหมือนไทย นิยมกันผักสดกันมาก

ศาสนา

เวียดนาม ไม่มีศาสนาประจำชาติของตนเองมาแต่เดิม มีแต่ลัทธิขงจื้อและเต๋า ตามอย่างชาวจีน เมื่อครั้งยังอยู่ในดินแดนจีนทางใต้ ชาวเวียดนามมีความเชื่อ และนับถือดวงวิญญาณบรรพบุรุษ มีการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของผู้ตาย โดยถือว่า “คนตายปกครองคนเป็น” คือ ผู้ที่มีชีวิตอยู่ต้องเคารพเชื่อฟังถ้อยคำโอวาทของบิดามารดา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะดวงวิญญาณเหล่านี้จะคอยปกปักรักษาให้พวกเขาได้รับความสุข พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายทั้งหลายทั้งปวง และจะทำให้เกิดเหตุร้าย หรืออันตราย เมื่อเขาไม่เคารพต่อดวงวิญญาณนั้น ๆ
ชาวเวียดนามนับถือศาสนาเป็นแบบผสมคล้ายจีนคือ ส่วนใหญ่นับถือลัทธิเต๋า (Taoism) และศาสนาพุทธ นอกจากนั้นมีนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค เกาได๋ (Coa Dai) ฮัวเหา (Hoa Hao) และขงจื้อ ส่วนศาสนาฮินดู และศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือน้อยมาก
ลัทธิเต๋า (Taoism)  มีเล่าจื้อเป็นเจ้าของลัทธิ ได้ตั้งลัทธินี้ขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ชาวเวียดนามนับถือลัทธิเต๋าตามอย่างจีน มีผู้นับถือลัทธิเต๋าอยู่ประมาณร้อยละ ๑๐
หลักการของลัทธิเต๋า ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกย่อมออกมาจากเต๋า และเต๋าบันดาลให้เป็นไป หรือให้เกิดโดยเฉพาะในเรื่องธรรมชาติ ถือว่ามนุษย์ที่เกิดมาเป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของสากลโลกเท่านั้น และถือกำเนิดมาจากเต๋า เหมือนกับสิ่งอื่น จึงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกฎของเต๋า (ธรรมชาติ)
คำสั่งสอนของลัทธิเต๋า คล้าย ๆ กับที่มีปรากฏในศาสนาพุทธ เช่น จะตอบแทนความร้ายด้วยความดี ผู้ใดรู้จักผู้อื่นก็เป็นบัณฑิต แต่ผู้ใดรู้จักตนเองก็เป็นผู้ที่ตื่นแล้ว ผู้ใดชนะตนก็เป็นผู้มีเดช ผู้ใดรู้จักพอผู้นั้นเป็นคนมั่งมี ลักษณะของความดีเหมือนน้ำ เพราะมีคุณแก่สิ่งทั้งปวง ฯลฯ
ในพระพุทธศาสนามีไตรรัตน์ ลัทธิเต๋ามีไตรสุทธิ (ซัมเชง) คือ เทพผู้บริสุทธิ์สามได้แก่ เล่าจื้อ พ่วนโกว และเง็กเซียนฮ่องเต้ และยังมีไตรมูล (ซำหงวน) ได้แก่ ฟ้า ดิน และมนุษย์
ชาวเวียดนามนับถือลัทธิเต๋าพร้อมกันกับลัทธิขงจื้อ ต่อมาระยะหลังลัทธิเต๋าได้เสื่อมถอยลงไปมาก เนื่องจากอิทธิพลทางตะวันตกแผ่ขยายเข้าไป
ศาสนาพุทธ  ชาวเวียดนามนับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานถึงร้อยละ ๘๐ โดยนับถือในรูปลักษณะต่าง ๆ แต่พุทธศาสนาในเวียดนามไม่ได้มีรากฐานที่ดีนัก เดิมพระสงฆ์นับว่ามีอิทธิพลเหนือประชาชนมาก และมีอิทธิพลสูงในทางการเมืองด้วย และยังมีบทบาทในพิธีกรรมต่าง ๆ
พุทธศาสนา ได้แผ่เข้าไปสู่อาณาจักรเวียดนาม เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ในรัชสมัยพระเจ้าลี้นามเด๋ พุทธศาสนามียุคที่รุ่งเรืองจนในสมัยราชวงศ์ลี้ และราชวงศ์เตริ้น เป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่มาตราบเท่าปัจจุบัน นิกายในฝ่ายมหายานในเวียดนามที่เจริญมีอยู่สองนิกายคือ นิกายสุขาวดี ซึ่งมีคติหนักไปทางศรัทธา และนิกายธยาน ซึ่งมุ่งไปทางปัญญา คัมภีร์ในพระศาสนาเดิมเป็นอักษรจีน ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้อักษรโรมันแทน เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง ในเวียดนาม มีองค์การพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน กระจายอยู่ทั่วไป เดิมที่สำคัญที่สุดคือ พุทธสมาคมกลาง หรือสมาคมกลางของชาวพุทธ
ศาสนาเกาได๋ (Cao Dai)  เป็นศาสนาใหม่ ที่เกิดขึ้นในเวียดนาม มีผู้นับถืออยู่ประมาณร้อยละห้า คำว่า เกาได๋ แปลว่า สูง หรือสูงสุด คือ บัลลังก์ของจักรพรรดิ์ เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือกันอย่างกว้างขวางในชนบททางใต้ของเวียดนาม มีพื้นฐานมาจากพุทธศาสนา จุดศูนย์กลางของศาสนาเกาได๋อยู่ที่เมืองเตย์นิน เดิมศาสนาเกาได๋ มีอิทธิพลทางการเมืองอยู่ไม่น้อย
ศาสนาเกาได๋ เกิดขึ้นในเวียดนามเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒ ผู้ก่อตั้งชื่อ โงวันเจียว เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพสักการะในฐานะ ผู้มีคุณธรรมวิเศษ ซึ่งเชื่อมั่นในลัทธิวิญญาณอย่างแน่วแน่ ศาสนาเกาได๋เป็นศาสนาลูกผสม โดยรวมหลักธรรมของพุทธศาสนา ลัทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า และคริสตศาสนา เข้าด้วยกัน และศาสนาเกาได๋ถือว่า ผู้เป็นศาสดาของศาสนาต่าง ๆ คือ พระผู้เป็นเจ้าสูงสุดองค์เดียวกัน ได้อวตารมาเกิดในกาลเทศะต่าง ๆ กัน ในภูมิภาค และขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกัน แต่หัวใจของศาสนาเหมือนกัน ดังนั้นจึงเป็นบาปอย่างมหันต์ ที่จะทำให้ศาสนาต่าง ๆ เป็นปฏิปักษ์กัน
ศาสนาเกาได๋ สอนให้มีศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว รับรองการมีอยู่และเกิดใหม่ของวิญญาณ และรับรองว่า เมื่อตายไปแล้ว มนุษย์ต้องได้รับผลจากการกระทำของตนตามกฎแห่งกรรม สอนให้นับถือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นับถือบรรพบุรุษ รักความดี และความยุติธรรม
ศาสนาฮัวเหา (Hoa Hao)  เป็นศาสนาใหม่ที่เกิดขึ้นในเวียดนาม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ที่หมู่บ้านฮัวเหา บริเวณดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ผู้ตั้งศาสนาคือ ฮิน พูโซ โดยอาศัยพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน มีผู้นับถือประมาณสองล้านคนเศษ  ได้นำวิธีการรักษาโรค การบรรเทาความเจ็บปวด การผ่าตัดโดยวิธีภาวนาจิต สอนให้ผู้นับถือทำจิตให้สงบก่อนเข้าไปนมัสการในวิหารทุกครั้ง
คำสอนของฮังเหา มีชื่อว่าซัมยานหรือซัมเกียน ประกอบด้วยบทสวดมนต์และคำพยากรณ์ มีสาระสำคัญให้แสดงความนับถือพระพุทธเจ้า อยู่ภายในจิตใจของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปประกอบพิธีสักการะต่อเจดียสถาน ระลึกถึงพระพุทธเจ้าบรรพบุรุษ และวีรบุรุษ ถือว่าเป็นสัมมาปฏิบัติ  ฮินห์ ผู้โซ ได้เริ่มทางการเมือง โดยได้ตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๖ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ท่านก็ถูกพวกเวียตมินห์ฆ่าตาย
ศาสนาคริสต์  คริสตศาสนานิกายโรมันคาธอลิกได้เริ่มเผยแพร่ในเวียดนามเมื่อประมาณปลายพุทธ ศตวรรษที่ ๒๑ มีผู้นับถือประมาณ ๑.๕ ล้านคนเศษ  ศาสนาคริสต์มีบทบาทมากขึ้นในทางการเมือง โดยรัฐบาลฝรั่งเศสได้ใช้เป็นเครื่องมือในการยึดครอง และปกครองเวียดนาม และมีอิทธิพลในด้านต่าง ๆ ในหมู่ชนชั้นปกครอง ด้านการศึกษา การสาธารณสุข และกฎหมาย ในใจกลางเมืองไซ่ง่อน (โฮจิมินห์) มีโบสถ์ชื่อเซนต์ปอล ซึ่งเป็นโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ส่วนคริสตศาสนานิกายโปรเตสแต๊นท์ได้เข้าสู่ประเทศเวียดนาม เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ โดยคณะมิชชันนารีจากประเทศแคนาดา นำมาตั้งรกรากที่เมืองดานัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔  ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในเวียดนาม และมีความมั่นคงยิ่งขึ้นหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา
ลัทธิขงจื๊อ  มีส่วนคล้ายลัทธิเต๋าบางส่วน และบางส่วนก็คล้ายพุทธศาสนา โดยมีรากฐานมาจากจีน เป็นความเชื่อที่ปะปนกันระหว่างปรัชญากับศาสนา  ซึ่งถือกำเนิดจากขงจื๊อ ปรัชญาเมธีของจีนเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
อดีตจักรพรรดิเวียดนามตลอดจนประชาชนได้ยึดถือและปฏิบัติตามคำสอนของลัทธิ ขงจื๊ออย่างแพร่หลาย โดยนับถือควบคู่ไปกับพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ลัทธิขงจื๊อจึงเริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับ เนื่องจากอิทธิพลของสังคมยุคใหม่ และวัฒนธรรมตะวันตก ที่หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศเวียดนาม
การเมืองและการปกครอง

เวียดนามแต่เดิมมีการปกครองแบบราชาธิปไตย แบบรวมอำนาจการปกครอง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมาไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ปี เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน มากว่า ๑,๐๐๐ ปี มีการดิ้นรนต่อสู้ให้พ้นจากการยึดครองของจีนตลอดมา
ในสมัยราชวงศ์เหงียน เวียดนามถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗ ทำให้ประเทศถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ภาคเหนือเป็นแคว้นตังเกี๋ย ภาคกลางเป็นแคว้นอันนัม และภาคใต้เป็นแคว้นโคชินไชนา (โคชินจีน) และถูกรวมเข้ากับเขมร และลาวเป็นสหพันธ์อินโดจีน (Indochinese Federation)
เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นได้ยกกำลังเข้ายึดอินโดจีนของฝรั่งเศส และได้ประกาศยกเลิกอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๘๓ พร้อมกับได้มอบหมายให้จักรพรรดิเบ๋าได๋ของเวียดนาม ประกาศอิสรภาพ และจัดตั้งรัฐบาลเวียดนามขึ้นปกครองประเทศ
ก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะยึดอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ในเวียดนามได้มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส ที่สำคัญอยู่ขบวนหนึ่งเรียกว่า สันนิบาตเพื่อเอกราชเวียดนาม หรือเวียดมินห์ (Viet Minh) ผู้ก่อตั้งขบวนการนี้คือ โฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ขบวนการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะแยกสลายศัตรู และรวมพลังต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อที่จะพิทักษ์รักษาประเทศชาติ และปลดปล่อยประชาชน  ฐานที่มั่นของขบวนการนี้อยู่ที่เวียดบัค (Viet Bac) และขบวนการดังกล่าว ได้กลายมาเป็น กองทัพประชาชนของเวียดนามในเวลาต่อมา ในห้วงเวลาที่ญี่ปุ่นยึดครองเวียดนาม ครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพานั้น จีนและสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความช่วยเหลือขบวนการนี้ เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้โฮจิมินห์สามารถก่อตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นทั่ว ประเทศ
เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลงในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จักรพรรดิเบาได๋ได้สละราชสมบัติ และมอบอำนาจการบริหารให้แก่ฝ่ายเวียดมินห์  ฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีอังกฤษเป็นฝ่ายสนับสนุน ให้ฝรั่งเศสกลับเข้ามามีอำนาจในเวียดนามอีก โฮจิมินห์ได้ประกาศทำการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธอย่างเปิดเผย โดยได้ประกาศอิสรภาพ และสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม และโคชินไชน่าขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ โดยมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวง และโฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี
ฝรั่งเศสได้ให้การรับรองสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามดังกล่าวในฐานะเป็น ส่วนหนึ่งของสหพันธ์อินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งขัดแย้งกับเจตน์จำนงของพวก เวียดมินห์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ฝรั่งเศสได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเสรีแห่งเวียดนามใต้ขึ้นโดยมีจักรพรรดิ เบาได๋เป็นประมุข และมีโงดินห์เดียม (Ngo Dinh Diem) เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้มีการสู้รบระหว่างเวียดมินห์กับฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มมาแต่ปลายปี พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นไปอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น ในที่สุดฝรั่งเศสเป็นฝ่ายปราชัยแก่ฝ่ายเวียดมินห์ ในสงครามที่เดียนเบียนฟู (Dien Bien Pho) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ฝรั่งเศสได้ลงนามในข้อตกลงเจนีวา (Geneva Agreement) กับฝ่ายเวียดมินห์ในปีเดียวกัน โดยฝรั่งเศสยอมเคารพต่อความเป็นเอกราชอธิปไตย เอกภาพและบูรณภาพของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ข้อตกลงเจนีวาดัวกล่าวได้ระบุให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองภาค โดยใช้เส้นขนานที่ ๑๗ เป็นเส้นแบ่งเขตชั่วคราว และจัดให้มีเขตปลอดทหารขึ้น โดยให้ทั้งสองฝ่ายถอนทหารกลับเข้าเขตของตน ให้ประชาชนเลือกอพยพเข้าไปอยู่ในแต่ละภาคตามความสมัครใจ ภายใน ๓๐๐ วัน สนธิสัญญาดังกล่าว ยังห้ามมิให้ชาวต่างชาติโยกย้ายทหาร และอาวุธเข้าไปตั้งมั่นในแต่ละภาค ห้ามเวียดนามทั้งสองฝ่ายเข้าเป็นพันธมิตรทางทหารกับต่างประเทศ และให้มีกรรมการควบคุมตรวจตราระหว่างประเทศ (ICC) ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามข้อตกลง นอกจากนั้นยังได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อรวมเวียดนามทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน ภายในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ด้วย แต่การดำเนินการรวมประเทศเข้าด้วยกันไม่ได้มีขึ้นตามข้อตกลง เนื่องจากเวียดนามใต้ไม่ยินยอม โดยอ้างว่าเวียดนามเหนือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการถอนทหาร โดยยังมีกองกำลังเวียดนามเหนืออยู่ในเวียดนามใต้ ประมาณ ๕,๐๐๐ คน
ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ โงดินห์เดียม นายกรัฐมนตรีเวียดนามใต้ ได้รับสารสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ให้ล้มเลิกระบบกษัตริย์ และเปลี่ยนรูปการปกครองของเวียดนามใต้ เป็นระบอบสาธารณรัฐ โดยโงดินห์เดียม ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเวียดนามใต้ ในขณะเดียวกันเวียดนามเหนือ ก็ได้พยายามที่จะให้มีการออกเสียง ประชามติเกี่ยวกับการรวมเวียดนาม

แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงได้หันมาใช้กลวิธีทางการเมือง เริ่มด้วยการจัดตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ หรือเวียดกง (Viet Cong) ได้จัดตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ (National Liberation of South Vietnam) ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๓ โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนของชาวเวียดนามใต้ ในการต่อสู้กับเวียดนามใต้ เพื่อให้มีการรวมเวียดนามเข้าด้วยกัน แนวร่วมดังกล่าวได้ประกาศจัดตั้ง “รัฐบาลปฏิวัติชั่วคราวแห่งเวียดนามใต้ (Provision Revotutionary) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ส่วนในด้านการทหารนั้น เวียดนามเหนือได้ปฏิบัติการรบแบบกองโจร ด้วยหน่วยกำลังขนาดเล็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๘ และได้ขยายขนาดกำลังเป็นกองพันในปี พ.ศ.๒๕๐๖
ในขณะที่ฝ่ายเวียดกงมีความเข้มแข็งขึ้น แต่ภายในเวียดนามใต้เองกลับมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงอำนาจกันหลายครั้งหลายคราว จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๘ สหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแทนขึ้น โดยมี นายพล เหงียนเกากี ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นนายกรับมนตรี รัฐบาลชุดนี้ได้จัดร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในปี พงศ.๒๕๑๐ นายพลเหงียนวันเทียว ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้ดำรงตำแหน่งมาถึงปี พ.ศ.๒๕๑๘ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญให้ลุล่วงไปได้
ในห้วงระยะเวลาดังกล่าว สงครามในเวียดนามก็ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกาได้เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือเป็นครั้งแรก เมื่อเกิดวิกฤตการณ์อ่าวตังเกี๋ย ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ และในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ก็ได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบกับกำลังทหารของเวียดนามใต้โดยตรง
ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ เวียดนามเหนือได้ขยายกำลังรบในเวียดนามใต้เป็นระดับของพล และได้ทำการรุกใหญ่สองครั้งคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ และ พ.ศ.๒๕๑๘ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกสกัดกั้นทางภาคพื้นดิน การโจมตีทางอากาศ และการปิดล้อมทางทะเลของสหรัฐอเมริกา และพันธมิตร
ได้มีการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้มีการลงนามในปี พ.ศ.๒๕๑๖ กำหนดให้มีการหยุดยิงในเวียดนามใต้ และให้มีการถอนกำลังทหารสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรออกจากเวียดนามใต้ ระบุให้เวียดนามใต้ และเวียดนามเหนือ จัดตั้งสภาเพื่อความสามัคคีปรองดอง เพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งทั่วไปในเวียดนาม และให้มีการรวมเวียดนามเข้าด้วยกัน และยังกำหนดให้สหรัฐอเมริกา ให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบูรณาอินโดจีน รวมทั้งเวียดนามเหนือ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงด้วย
ในทางปฏิบัติปรากฏว่า ประสบผลแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถอนทหารสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรออกจากเวียดนามใต้ การแลกเปลี่ยนเชลยศึก การกวาดทุ่นระเบิด และยุติการลาดตระเวนทางอากาศ ในเวียดนามเหนือเท่านั้น แต่การยุติการสู้รบไม่ได้มีผลการปฏิบัติอย่างแท้จริง การเจรจาเพื่อกำหนดอนาคตทางการเมือง ระหว่างเวียดนามใต้กับเวียดกง ที่เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้ยุติลงโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗
ในต้นปี พ.ศ.๒๕๑๘ ฝ่ายเวียดนามเหนือได้เริ่มการรุกใหญ่อีกครั้ง เข้าไปในเขตเวียดนามใต้ ฝ่ายเวียดนามใต้ซึ่งขาดการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการรบ และถอยร่นในทุกพื้นที่ บ้านเม ทวด ในที่ราบสูงตอนกลาง เว้ ในเขตชายฝั่งทะเลตอนกลาง ดานัง ที่อยู่ชายทะเลทางใต้ของเว้ ลงมาและนาตรังที่อยู่ทางตอนใต้ เมื่อฝ่ายเวียดนามเหนือยึดครองพื้นที่ ได้สองในสามของพื้นที่ทั้งหมดในเวียดนามใต้ ก็ได้ใช้กำลังกดดันไซ่งอนอย่างหนัก จนฝ่ายเวียดนามใต้ยอมจำนน เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๘
เมื่อเวียดนามเหนือยึดครองเวียดนามใต้แล้ว ก็รวมเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) ได้ปรับเขตการปกครองทั้งในภาคเหนือ และภาคใต้โดยลดจังหวัดของเวียดนามทั้งสอง ซึ่งแต่เดิมมี ๖๑ จังหวัด เหลือเพียง ๓๕ จังหวัด กับสามนครใหญ่คือ ฮานอย ซึ่งเป็นเมืองหลวง โฮจิมินห์ (ไซ่งอน) และไฮฟอง

 

แหล่งอ้างอิง: http://www.aseankan1.com/index.php?mo=3&art=650856

ประเทศกัมพูชา

ข้อมูลประเทศกัมพูชา

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ: ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  30 พฤษภาคม 2542

พื้นที่:181,035 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง:กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)

ประชากร : 14.1 ล้านคน  ( ปี พ.ศ. 2548 )

ภาษาราชการ:ภาษาเขมร

ศาสนา:พระพุทธศาสนา

ระบอบการปกครอง:ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาพ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

สกุลเงิน:เงินเรียล (Riel : KHR)

ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแหลมอินโดจีน มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ความกว้างจากเหนือจดใต้ประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร และจากตะวันออกถึงตะวันตกประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร มีรูปร่างคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีศูนย์กลางของประเทศอยู่ใกล้กับจังหวัดกัมปงทม พื้นที่ทางตอนเหนือกว้างแล้วค่อย ๆ สอบลงมาทางตอนใต้ มีความสัมพันธ์ที่ได้สัดส่วนของพรมแดน โดยรอบทั้งสี่ด้าน
พรมแดน และเส้นเขตแดนของประเทศกัมพูชา ส่วนใหญ่กำหนดขึ้นโดยฝรั่งเศส มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศข้างเคียง อยู่สามประเทศคือ ไทย ลาว และเวียดนาม
ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศไทยในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี และติดต่อกับประเทศลาว ในแขวงอัตตะปือ และแขวงจำปาศักดิ์
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศเวียดนาม ในเขตจังหวัดเปลกู ดาร์ลัค และกวางดั๊ก
ทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้  ติดต่อกับประเทศเวียดนามเขตจังหวัดฟุคลอง บินห์ลอง เทนินห์ ฟุคทุย เคียนเทือง เคียนพง อันเกียง เคียนเกียง และอ่าวไทย
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันตก  ติดต่อกับประเทศไทยในเขตจังหวัดตราด จันทบุรี และปราจีนบุรี
เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศมีความยาวประมาณ ๒,๖๐๐ กิโลเมตร ติดต่อกับประเทศไทยประมาณ ๙๓๐ กิโลเมตร ประเทศลาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร ประเทศเวียดนามประมาณ ๑,๐๓๐ กิโลเมตร และอ่าวไทย ประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีทั้งที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง และภูเขา พื้นที่ภูมิประเทศมีลักษณะคล้ายอ่างเก็บน้ำ กล่าวคือ พื้นที่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) และมีทะเลสาบขนาดใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนรอบ ๆ ประเทศมีเทือกเขาสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นแนวยาวสูงประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร อยู่ติดกับประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดจันทบุรีทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตลอดไปทางด้านทิศเหนือ ส่วนภูเขาที่เป็นหย่อม ๆ มีอยู่บริเวณเกาะกง กำปงโสม และกำปงสะบือ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ
บริเวณภาคกลางของประเทศ  สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๓๐ เมตร เริ่มตั้งแต่พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดพระตะบอง ไปถึงกำปงธม ไปรเวียง สวายเวียง และตาแก้ว ทางตอนใต้จดเขตแดนเวียดนาม แบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่ลักษณะคือ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ทะเลสาบ บริเวณที่ลุ่มลำคลอง หนองบึง บริเวณที่ทำนา และบริเวณเนินเขาขนาดเล็ก
ที่ราบสูงภาคเหนือ  เริ่มตั้งแต่จังหวัดกระแจะ สตึงเตรง และรัตนคีรี ต่อจากที่ราบลุ่มภาคกลาง พื้นที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลำดับ จนสูงกว่า ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็นสามตอนคือ
บริเวณที่ราบสูงตอนเหนือ  ในเขตจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ กัมปงธม มีภูเขาผ่านกลางบริเวณเป็นภูเขาลูกโดด ๆ
บริเวณที่ราบสูงตะวันออกเฉียงเหนือ  อยู่ในเขตจังหวัดสตึงเตรง กระแจะ แยกจากที่ราบสูงภาคเหนือด้วยแม่น้ำโขง พื้นที่เป็นเนินเขาดินอยู่ทั่วไป
บริเวณที่ราบสูงกัมปงจาม  สูงประมาณ ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล
บริเวณที่ราบสูงตามเขตชายแดน  อยู่ทางทิศเหนือติดต่อกับที่ราบสูงของไทย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นเชิงชายเทือกเขาจากเวียดนาม แบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ

บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก  ซึ่งมีสันปันน้ำแบ่งเขตแดนกับประเทศไทย
บริเวณเทือกเขาคอนทูม (Kontum) เป็นแนวเส้นเขตแดนลาวกับกัมพูชา มีเชิงชายเทือกเขาอยู่ในเขตกัมพูชา ทางใต้ลงมาเป็นที่ราบสูงบ่อแก้ว สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๕๐๐ เมตร
บริเวณที่ราบสูงโชลองเหนือ  เป็นแนวเส้นกั้นเขตแดนเวียดนามกับกัมพูชา มีความสูงระหว่าง ๔๐๐ ถึง ๙๐๐ เมตร
บริเวณทิวเขากระวาน  รวมเทือกเขากระวาน และเทือกเขาช้าง ทิวเขานี้เริ่มต้นจากเขตจังหวัดจันทบุรีของไทย เป็นพืดติดต่อกันไป จนถึงจังหวัดกัมปอตของกัมพูชา ทิวเขานี้แบ่งออกเป็นสามตอนคือ
เทือกเขากระวานตะวันตก  เริ่มจากเขตอำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ไปถึงแม่น้ำโพธิสัตว์ มียอดเขาที่สำคัญอยู่หลายยอด ที่สูงเกนิ ๑,๐๐๐ เมตร ยอดสูงสุด ๑,๕๖๓ เมตร
เทือกเขากระวานกลาง  มียอดเขาที่สูงเกิน ๑,๐๐๐ เมตร อยู่หลายยอดด้วยกัน ยอดสูงสุดสูง ๑,๗๔๙ เมตร
เทือกเขากระวานตะวันออก  แบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ
– เทือกเขาโพธิสัตว์กับกัมปงสะบือ ยอดเขาสูงสุด ๑,๘๑๓ เมตร
– เทือกเขา Au Malou อยู่ระหว่างกัมปงสะบือ กับ Sre Umbell มีที่ราบสูงคีรีรม อยู่ข้างบน
– เทือกเขาช้าง แยกออกจากเทือกเขา Au Malou มียอดสูง ๑,๐๗๕ เมตร
บริเวณที่เป็นหย่อมเขา  คือ บริเวณที่ล้อมรอบทิวเขากระวาน มีภูเขาสูงปานกลาง โดยทั่วไปสูงไม่เกิน ๘๐๐ เมตร แบ่งออกเป็น ๖ ตอนคือ
– บริเวณชายทะเล เป็นพื้นที่ราบลาดสูงขึ้นไป บรรจบกับทิวเขากระวาน และติดต่อกับที่ราบตอนกลางได้สามทาง
– บริเวณหย่อมเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัดพระตะบอง
– บริเวณหย่อมเขาระหว่างจังหวัดโพธิสัตว์กับกัมปงชนัว
– บริเวณหย่อมเขากัมปงสะบือ
– บริเวณหย่อมเขาระหว่างกัมปงสะบือกับกัมปอต
– บริเวณหย่อมเขาระหว่างกัมปอตกับตาแก้ว
แม่น้ำลำธารและทะเลสาบ

กัมพูชาเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยแม่น้ำลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง และมีทะเลสาบใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ บริเวณลุ่มน้ำสำคัญ ๆ มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือแม่น้ำโขง ทะเลสาปและแม่น้ำทะเลสาป ติดต่อกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) กับแม่น้ำทางฝั่งทะเล
แม่น้ำโขง  มีต้นน้ำจากประเทศธิเบต ไหลผ่านประเทศจีน พม่า ไทย ลาว เข้าสู่เขตแดนกัมพูชาที่หมู่บ้านอินนัง ทางภาคเหนือของกัมพูชา แล้วไหลผ่านจังหวัดสตึงเตรง กระแจะ กัมปงจาม และพนมเปญ  และไหลเข้าเขตแดนเวียดนามที่หมู่บ้านรินฮือ แม่น้ำโขงมีความยาวทั้งหมดประมาณ ๔,๕๐๐ กิโลเมตร  ในส่วนที่ไหลผ่านกัมพูชายาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑ – ๒ กิโลเมตร ความลึกเป็นไปตามฤดูกาล ในฤดูน้ำบางตอนลึกถึง ๓๐ เมตร น้ำในแม่น้ำโขงจะไหลเชี่ยวในฤดูน้ำ ลักษณะแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านกัมพูชาแบ่งออกได้เป็นสามตอนคือ
ช่วงที่ไหลผ่านระหว่างหมู่บ้านวินนังมาจนถึงจังหวัดกระแจะ  แม่น้ำโขงตอนนี้ไหลเชี่ยวเป็นตอน ๆ เช่น แซมบอดทางเหนือจังหวัดกระแจะประมาณ ๑๕ กิโลเมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยวมากเป็นระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร บางจุดกระแสน้ำไหลเชี่ยวมากประมาณ ๖๐ กิโลเมตร และยังมีเกาะแก่งอยู่ทั่วไปเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ ในช่วงนี้มีลำน้ำเสสาน และลำน้ำเสรปกไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงที่จังหวัดสตึงเตรงด้วย
ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดกระแจะถึงพนมเปญ  มีความยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร มีเกาะแก่งและเนินทรายใต้น้ำอยู่เป็นบางแห่ง กระแสน้ำไม่เชี่ยว สามารถใช้เดินเรือได้ทุกฤดูกาล แม่น้ำโขงในช่วงต่อจากพนมเปญ ไหลแยกออกเป็นสี่สาย  เรียกว่า  จตุรมุข คือ
– สายที่ ๑  คือ แม่น้ำโขงเดิม
– สายที่ ๒  คือ แม่น้ำโขงที่ไหลไปลงทะเลทางด้านทะเลจีนตอนใต้
– สายที่ ๓  คือ แม่น้ำบาสสัค
– สายที่ ๔  คือ แม่น้ำที่ไหลจากทะเลสาป เรียกว่า แม่น้ำทะเลสาป
ช่วงที่ไหลผ่านพนมเปญถึงหมู่บ้านวินฮือ  แม่น้ำโขงช่วงนี้มีความยาวกว้างกว่า ๒ กิโลเมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยว
แต่ ยังสามารถใช้เดินเรือได้ทุกฤดูกาลจนถึงปากน้ำ ความแตกต่างของระดับน้ำในฤดูน้ำและฤดูแล้งประมาณ ๑๐ เมตร แม่น้ำโขงนอกจากให้ประโยชน์แก่ประเทศกัมพูชาในด้านเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ ที่สำคัญแล้ว ยังอำนวยประโยชน์ในด้านการกสิกรรมและการประมงด้วย เนื่องจากในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำโขงได้ท่วมท้นไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เมื่อน้ำลดก็ได้ทิ้งปุ๋ยอันโอชะต่อพืชไว้ และในขณะเดียวกันก็มีปลาชุกชุมอยู่ตามบึงต่าง ๆ และในแม่น้ำโขงเอง

แม่น้ำทะเลสาป (Tonle sap)  เป็นแม่น้ำที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาป มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร ในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำโขงจะไหลผ่านแม่น้ำสายนี้ลงสู่ทะเลสาป
แม่น้ำบาสสัค (Bassac)  เป็นแม่น้ำสายเดียวกับแม่น้ำทะเลสาป ต่อจากแม่น้ำทะเลสาปที่หน้าพระราชวังกรุงพนมเปญ แล้วไหลไปยังประเทศเวียดนามที่บ้านบินห์ดี แล้วไหลผ่านเขตประเทศเวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ แม่น้ำสายนี้แคบกว่า แม่น้ำทะเลสาป มีความยาวประมาณ ๘๐ กิโลเมตร ใช้ในการเดินเรือได้ตลอดปี
ทะเลสาป  นับว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนับว่าเป็นอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศ มีทิวเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลลงสู่ทะเลสาปโดยรอบ ในฤดูแล้ง ทะเลสาปจะมีความยาว ๑๕๐ กิโลเมตร ตอนกว้างที่สุด ๓๒ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ในฤดูน้ำหลากเต็มที่ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ทะเลสาปจะมีพื้นที่ใหญ่กว่า ในฤดูแล้งประมาณสามเท่าคือ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร บริเวณน้ำท่วมจึงอยู่ระหว่างถนนรอบทะเลสาป ในด้านความลึก ฤดูน้ำจะลึกประมาณ ๑๒ – ๑๔ เมตร ในฤดูแล้ง น้ำที่ตื้นสุดประมาณ ๐.๘๐ เมตร ถึง ๒.๐๐ เมตร ลักษณะพื้นที่ตามบริเวณชายฝั่งจะเป็นดินตะกอน บริเวณที่ดอนเป็นที่โล่งแจ้ง ตามขอบทะเลสาปเป็นป่าละเมาะและป่าน้ำท่วม พื้นที่ทางด้านตะวันตกของทะเลสาปแบ่งออกได้เป็นสามตอนคือ
ลานเลน  เป็นตอนที่ตื้นเขินในฤดูแล้ง โคลนเลนนี้จะกั้นทะเลสาปให้เป็นตอน ๆ ในฤดูแล้ง
ทะเลสาปน้อย  เป็นตอนที่อยู่ทางด้านเหนือของลานเลน มีความยาวประมาณ ๓๕ กิโลเมตร กว้าง ๒๕ กิโลเมตร ตามบริเวณชายฝั่งปกคลุมไปด้วยพงหญ้า
ทะเลสาปใหญ่  เป็นตอนที่อยู่ทางเหนือของทะเลสาปน้อย มีความยาวประมาณ ๗๕ กิโลเมตร และกว้าง ๓๒ กิโลเมตร
ทะเลสาปของประเทศกัมพูชามีประโยชน์ต่อการกสิกรรม การเดินเรือ และการประมงในประเทศเป็นอย่างมาก ในฤดูฝนสามารถใช้เดินเรือขนาดต่าง ๆ ได้ แต่ในฤดูแล้งจะใช้เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็กเท่านั้น ในฤดูน้ำหลาก พื้นที่ป่าจะถูกน้ำท่วม เมื่อน้ำลดก็จะทิ้งปุ๋ยอันเป็นประโยชน์ต่อพืช ทะเลสาปอุดมไปด้วยปลาน้ำจืดนานาชนิด จนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลำน้ำทางอ่าวไทย  ลำน้ำหลายสายมีต้นกำเนิดมาจากทิวเขากระวาน แล้วไหลลงสู่ทะเล ส่วนมากเป็นลำน้ำเล็ก ๆ และสั้น มีความกว้างประมาณ ๑๕ – ๒๐ เมตร

ฝั่งทะเลและเกาะ
ประเทศกัมพูชามีฝั่งทะเลยาวประมาณ ๔๔๐ กิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในหกของเส้นพรมแดนทั้งประเทศ เป็นฝั่งทะเลที่อยู่ในอ่าวไทยทั้งสิ้น เป็นพรมแดนซึ่งกั้นประเทศกัมพูชา ออกจากแหลมมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา
ฝั่งทะเลของประเทศกัมพูชามีลักษณะเว้าแหว่ง ประกอบด้วยสองแหลมใหญ่ ๆ คือ แหลมสามิต (Semit, Smach) และแหลมวีลเรนห์ (Veal Renh)  โดยทั่วไปความลึกใกล้ฝั่งทะเลด้านนี้มีความลึกประมาณ ๕ – ๑๐ เมตร
ความแตกต่างของระดับน้ำทะเลขึ้นลงไม่เกิน ๒ เมตร ลักษณะของฝั่งทะเลจากเขตแดนไทยถึงปากน้ำ Koki เป็นที่ราบลุ่มมีหนองบึงมาก จากปากน้ำ Koki ถึงแหลม Sorivong มีหินระเกะระกะอยู่ทั่วไป บริเวณกัมปงโสมไปถึงพรมแดนเวียดนาม มีลักษณะเป็นหาดเลน โขดหิน และหาดทรายสลับกันไป พื้นทะะเลส่วนใหญ่ มีลักษณะราบ และแบน แต่ในที่บางแห่ง เช่น ที่แหลมโต๊ะ ซึ่งอยู่ที่ฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันออก มีเนินใต้น้ำสูงถึง ๕๐ เมตร และมีเกาะสลัด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะฟูก๊ก มีเนินเปลือกหอยปกคลุมอยู่ เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ
ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ท้องทะเลในอ่าวไทย จะมีลักษณะราบเรียบ แต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม – พฤศจิกายน) กระแสลมพัดมาปะทะฝั่งประเทศกัมพูชา ทำให้เกิดคลื่นจัด ทำให้การเดินเรือยาก และมีอันตราย
ฝั่งทะเลประเทศกัมพูชา มีอ่าวใหญ่น้อยอยู่เป็นจำนวนมาก อ่าวที่สำคัญอ่าวหนึ่งคือ อ่าวกัมปงโสม อยู่บริเวณจากแหลมสามิต (Semit) ไปทางทิศตะวันออก ชายหาดเป็นโคลนโดยทั่วไป ที่ปากอ่าวมีเกาะรง และเกาะรงสามแหลม เป็นที่กำบังเคลื่อนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อ่าวนี้มีบริเวณเหมาะแก่การตั้งท่าเรือ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเรียม ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีท่าเรือชื่อ สีหนุ ฝั่งทะเลจากท่าเรือสีหนุไปมีลักษณะโค้งเล็กน้อย ติดต่อกันไปจนถึง อ่าวเรียม ที่ปากอ่าวเรียมมีเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ ทำให้ท่าเรือเรียม อยู่ในที่กำบังลมอย่างดี จากท่าเรือเรียมมีถนนเลียบฝั่งทะเล ขึ้นไปทางเหนือ และไปบรรจบถนนมิตรภาพที่เขื่อนท่าเรือสีหนุ กับกรุงพนมเปญ นอกจากนี้ยังมีถนนแยกเลียบฝั่งทะเลไปทางทิศตะวันออก จนถึงเมืองกัปปอตด้วย
มีเกาะขนาดใหญ่ที่มีราษฎรอาศัยอยู่สองเกาะคือ เกาะกง และเกาะฟูก๊ก

ช่องทางติดต่อกับประเทศข้างเคียง
ประเทศกัมพูชามีช่องทางติดต่อกับประเทศไทย ลาว และเวียดนาม ช่องทางเหล่านี้เป็นช่องทางที่เคยใช้ติดต่อกันมา แต่โบราณกาล

ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศไทย  อยู่ในเขตจังหวัดต่าง ๆ ของไทยเจ็ดจังหวัดด้วยกันคือ จังหวัดตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี มีอยู่ ๖๗ ช่องทาง มีช่องทางที่สำคัญได้แก่ ช่องปอยเปต ในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นช่องทางที่ใหญ่ที่สุด
ช่องทางในเขตจังหวัดตราด  อยู่ในเขตสามอำเภอด้วยกันคือ อำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง ฯ และอำเภอคลองใหญ่
อำเภอเขาสมิง  มีอยู่สามทางด้วยกันเป็นทางเดินเท้า

– ทางเดินเท้าจากบ้านตาบาด และบ้านประอำ ตำบลบ่อพลอยเข้าไปยังบ้านหัวคลอง ตำบลสำเภอ อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
– ทางเดินเท้าจากบ้านคลองโสน  อำเภอด่านชุมพล ถึงบ้านเสวาด ตำบลซุง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๓ กิโลเมตร
– ทางเดินเท้าจากบ้านคลองโสน  ตำบลด่านชุมพล ถึงบ้านเสราด ตำบลซุง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๔ กิโลเมตร
อำเภอเมืองตราด  มีอยู่เพียงช่องทางเดียวเป็นช่องทางเดินเท้า จากบ้านประทุน ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง ฯ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านมอบปละ ตำบลทุ่งยาว อำเภอพนมมกราวาน จังหวัดโพธิสัตว์ ระยะทางประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร
อำเภอคลองใหญ่  เป็นทางเดินเท้าสามช่องทาง และทางทะเลหนึ่งเส้นทาง
– ทางเดินเท้าจากบ้านคลองใหญ่ ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านเขาวง ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร
– ทางเดินเท้าจากบ้านโกดสาย ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านรายจง ตำบคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร
– ทางเดินเท้าจากบ้านคลองใหญ่ ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านนอบยาม ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
– ทางทะเลโดยเรือเดินทะเล จากบ้านคลองใหญ่ ถึงบ้านนอบยาม ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
ช่องทางในเขตจังหวัดจันทบุรี  อยู่ในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน มีอยู่สามเส้นทาง เป็นเส้นทางเกวียน
– ทางเกวียนจากบ้านคลองลำเจียก ตำบลโป่งน้ำร้อน ผ่านเข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านห้วยไทย และบ้านบ่อหญ้าคา ตำบลไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านบึงชะนังล่าง ตำบลหนองตาคง ผ่านเขตแดนกัมพูชาที่บ้านพุมเรียง ตำบลพุมเรียง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านแหลม ตำบลหนองตาคง ถึงบ้านตาแสน ตำบลพุมเรียง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร
ช่องทางในเขตจังหวัดปราจีนบุรี  อยู่ในเขตอำเภออรัญประเทศเป็นทางรถไฟ ๑ เส้นทาง ทางรถยนต์ ๑ เส้นทาง และทางเกวียน ๕ เส้นทาง
– ทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ  – อรัญประเทศ  ตำบลอรัญประเทศ ผ่านหลักเขตแดนที่ ๔๙ (คลองลึก) เข้าเขตกัมพูชาที่ปอยเปตไปสู่กรุงพนมเปญ ระยะทางจากตัวอำเภออรัญประเทศ ถึงหลักเขตแดนประมาณ ๕ กิโลเมตร จากหลักเขตด่านถึงด่านปอยเปต อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร
– ทางรถยนต์จากที่ว่าการอำเภออรัญประเทศ ขนานทางรถไฟถึงด่านปอยเปต  อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๕.๕๐ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านแสนสุข (จุกหลุก) ตำบลคลองน้ำใส ไปยังบ้านป่าสูง ตำบลเวฬุวัน กิ่งอำเภอระเวีย อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านลังหิน ตำบลท่าข้าม ผ่านเขตแดนที่คลองน้ำใส ไปบ้านกระชาย ตำบลบ้านกูบ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านหนองเอี่ยม ตำบลท่าข้าม ผ่านเขตแดนที่คลองน้ำใสตัดไปยังบ้านกูบ ตำบลบ้านกูบ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านหนองสังข์  ตัดไปบ้านยาว ตำบลสารภี อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๓๒ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านโนนหมากมุ่น  ตำบลโคกสูง ถึงบ้านยาง ตำบลบ้านลิง อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๔ กิโลเมตร
ช่องทางในเขตจังหวัดสระแก้ว  อยู่ในเขตอำเภอตาพระยา เป็นเส้นทางเกวียน มีอยู่ ๘ เส้นทางด้วยกันคือ
– ทางเกวียนจากบ้านตาพระยา  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านเขว้า ตำบลสวายจิก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร

– ทางเกวียนจากตำบลตาพระยา  ตัดไปบ้านเขว้า ตำบลสวายจิก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านตาพระยา  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านโดนโนย ตำบลบ้านชาด ตำบลชาด อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านมะกอก  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านโดนโนย ตำบลบ้านชาด อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๘ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านแสง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านตะยิง ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านละลมเบง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านกระโดน ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านละลมเบง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านตะยิง ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
– ทางเกวียนจากบ้านชลกสงัน  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านกระโดน ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร
ช่องทางในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  อยู่ในเขตอำเภอนางรอง และอำเภอประโคนชัย
อำเภอนางรอง  มีอยู่สองช่องทางด้วยกัน เป็นช่องทางเกวียน
– ช่องบะระแนะ  อยู่ในตำบลละหารทราย ติดต่อระหว่างตำบลละหารทรายกับตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นทางเกวียน
– ช่องโคกไม้แดง  อยู่ในตำบลละหารทราย เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างตำบลละหารทราย กับตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๗๐ กิโลเมตร เป็นทางเกวียน
อำเภอประโคนชัย  มีอยู่สามช่องทางด้วยกันเป็นทางเกวียนและทางเดินเท้า
– ช่องจันทร์เพชร  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปสู่ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๗๖ กิโลเมตร
– ช่องไซตะกู  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปสู่บ้านปองตุก ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียน และทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๖ กิโลเมตร
– ช่องจันทร์กระออม  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปยังบ้านปองตุก ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
ช่องทางในเขตจังหวัดสุรินทร์  อยู่ในเขตอำเภอปราสาท และอำเภอสังขะ
อำเภอปราสาท  มีอยู่หกช่องทางด้วยกัน เป็นเส้นเดินเท้า
– ช่องตาเหมือน  อยู่ในตำบลปักใด เป็นช่องทางติดต่อไปยังตำบลโคกกะปั๊ง อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นช่องทางเดินเท้า
– ช่องเหว  อยู่ในตำบลปักใด ติดต่อกับตำบลโคกกะปั๊ง อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นช่องทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๔๕ กิโลเมตร
– ช่องตาเกา  หรือช่องกระบาลซอ อยู่ในตำบลตาเกา ติดต่อกับตำบลกระบาลซอ อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
– ช่องกันเทิง  อยู่ที่บ้านหวด ต.ตาเกา ติดต่อกับ บ.ทม ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐ กม.
– ช่องตาเล็ง  อยู่ที่ บ.โป่ง ต.ตาเกา ติดต่อกับ บ.กะดอล ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๗ คน
– ช่องโดนแก้ว  อยู่ที่บ.ตาเกา ต.ตาเกาใช้ติดต่อกับ ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
อำเภอสังขะ  มีอยู่ ๑๒ ช่องทาง เป็นเส้นทางเดินเท้า ทางเกวียน และบางแห่งรถยนต์เดินได้
– ช่องปลดต่าง  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
– ช่องจอม  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นทางรถยนต์เดินได้ ระยะทางประมาณ ๔๒ กม.
– ช่องโชก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๒ กม.
– ช่องทนง  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๘ กม.
– ช่องเสกเยีย  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า
– ช่องประเดียก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
– ช่องตำไรจัก  หรือช่องกระบานซอ อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
– ช่องคูน  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๖ กม.
– ช่องตาลอก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย  เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๗ กม.
– ช่องพริก  อยู่ที่ บ.ตระแวง ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เส้นทาง ทางเกวียนกับทางเดินเท้ามาบรรจบกับถนนที่ บ.ดอนสา ต.พลุ ระยะทางประมาณ ๔๐ กม.
– ช่องดาระกา  อยู่ที่ บ.สะเดา ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.สำโรง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย  เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๕๐ กม.
– ช่องตำหนักมะติ  อยู่ใน ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๖ กม.
ช่องทางในเขตจังหวัดศรีษะเกษ  อยู่ในเขตอำเภอขุขันธ์ และอำเภอกันทรลักษณ์
อำเภอขุขันธ์  มีอยู่สี่ช่องทาง เป็นเส้นทางเดินเท้า
– ช่องชำดีกา  อยู่ใน ต.สะเดาใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๖ กม.
– ช่องเขาสะงำ  อยู่ใน ต.โสน ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๒ กม.
– ช่องสำโรง  อยู่ที่ บ.พนมตะบัน ต.ปรือใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๘ กม.
– ช่องศรีษะเกษ  อยู่ใน ต.ปรือใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๘๐ กม.
อำเภอกันทรลักษณ์  มีอยู่เก้าช่องทาง เป็นทางเกวียนและทางเดินเท้า
– ช่องพระประลาย  อยู่ใน ต.ละลาย ใช้ติดต่อกับ ต.บ่อพลอย อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๑๐ กม.
– ช่องทับอู  อยู่ใน ต.กะลาย ใช้ติดต่อกับ ต.บ่อพลอย อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๕๐ กม.

– ช่องโนนอาว  อยู่ที่ บ.โนนอาว ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ บ.ทเมย ต.กันตรวจ อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียนและเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๘ กม.
– ช่องพรหมวิหาร  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๐ กม. เมื่อข้ามเขาลงมาด้านกัมพูชาแล้ว จะมีถนนผ่านไปยังจอมกระสานต์ เป็นระยะทางประมาณ ๓๘ กม.
– ช่องแปดหลัก  อยู่ใน ต.รุง ใช้ติดต่อกับ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐๐ กม.
– ช่องตาเซ็ม  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๐ กม.
– ช่องตาเฒ่า  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน ระยะทางประมาณ ๘๕ กม.
– ช่องดำผกา หรือดำตะแป  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ บ.ตาเตรอ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน และเส้นทางเดินเท้า เป็นระยะทางประมาณ ๕๕ กม.
– ช่องโพย  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน ระยะทางประมาณ ๗๐ กม.
ช่องทางในเขตจังหวัดอุบลราชธานี  อยู่ในเขตเดชอุดม มีอยู่สองช่องทางคือ
– ช่องอานม้า  อยู่ใน ต.โขง ใช้ติดต่อกับ ต.ตะเคียนกวาง อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๒ กม.
– ช่องบก  อยู่ใน ต.โดมประดิษฐ์ ใช้ติดต่อกับ ต.จอมกระสานต์ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๖ กม.
ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศลาว  อยู่ทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชา เข้าสู่ประเทศลาวที่เมืองปากเซ มี ๑๒ ช่องทางในเขตสีทันดร เซโดน และอัตตะบือ และบริเวณสองฟากแม่น้ำโขง อยู่ในเขตจังหวัดรัตนคีรี สตึงเตรง และพระวิหาร
ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศเวียตนาม  อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา ในเขตจังหวัดสวายเรียง เข้าสู่ประเทศเวียดนามในเขตเมืองโฮชิมินต์ (ไซ่งอน) อยู่ในเขตจังหวัดรัตนคีรี มณฑลคีรี กระแจะ กำปงชม เปรเวียร กันดาล ตาแก้ว และกัมปอต
ข้อมูลสภาพพรมแดน
ไทยกับกัมพูชามีพรมแดนทางบกร่วมกันประมาณ ๗๙๐ กิโลเมตร และมีเขตน่านน้ำร่วมกัน ฝั่งทะเลกัมพูชา กัมพูชาติดต่อกับอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร
การกำหนดเส้นเขตแดนทางบก ส่วนใหญ่ใช้เส้นเขตแดนธรรมชาติ ได้แก่ สันปันน้ำ ร่องน้ำ และห้วย
พรมแดนทางบกส่วนที่ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนกันไว้ มีความยาว ๑๘๒ กิโลเมตร นับตั้งแต่ช่องบกด้านอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นจุดร่วมของเส้นเขตแดนไทย – ลาว – กัมพูชา ไปทางด้านทิศตะวันตกจนถึงช่องเกล ด้านอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีษะเกษ แนวเส้นเขตแดนถือตามสันปันน้ำ ระหว่างสองประเทศ
พรมแดนส่วนที่ได้ทำสัญญาตกลงปักปันเขตแดนกันแล้ว มีความยาว ๖๑๖ กิโลเมตร ได้สร้างหมุดหลักเขตขึ้นไว้ ๗๓ หลัก เริ่มหลักเขตที่ ๑ ที่ช่องเกล จังหวัดศรีษะเกษ ทางด้านประเทศกัมพูชาอยู่ในเขตจังหวัดอุดรมีชัย ต่อไปจนสุดเขตพรมแดนร่วมกันทางบก ที่หลักเขต ๗๓ แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด ทางด้านประเทศกัมพูชาอยู่ในเขตจังหวัดเกาะกง
ปัญหาความไม่ครบสมบูรณ์ของหลักเขต จำนวนหลักเขตเพียง ๗๓ หลัก ต่อความยาวพรมแดน ๖๑๖ กิโลเมตร นับว่าไม่เป็นการเพียงพอ ปัจจุบันหลักเขตบางหลัก ยังหายไปบ้างชำรุดบ้าง จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ พบว่า
หลักเขตที่หายไป  แต่มีหลักฐานปรากฎอยู่ ได้แก่ หลักเขต ๑๕,๒๐ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ส่วนที่ไม่ปรากฎหลักฐานได้แก่ หลักเขต ๒๒ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ หลักเเขต ๔๔,๔๙,๕๐,๕๑ ในเขตจังหวัดสระแก้ว หลักเขต ๕๘,๕๙ ในเขตจังหวัดจันทบุรี และหลักเขต ๒๒ ในเขตจังหวัดตราด
หลักเขตชำรุด  มีอยู่ ๖ หลักเขตด้วยกันคือ หลักเขต ๓,๑๗ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ หลักเขต ๖๕ ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ หลักเขต ๓๓.๓๗ ในเขตจังหวัดสระแก้ว หลักเขต ๕๕ ในเขตจังหวัดจันทบุรี
การคมนาคมและการขนส่ง
เส้นทางรถไฟ  มีทางรถไฟสองสาย
สายที่ ๑  จากกรุงพนมเปญไปยังอำเภอปอยเปต จังหวัดพระตะบอง จรดชายแดนไทยในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เลียบขนานไปกับเส้นทางหมายเลข ๕ ผ่านจังหวัดโพธิสัตธิ์ อำเภอพระตะบอง และอำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๓๘๕ กิโลเมตร
สายที่ ๒  จากกรุงพนมเปญ ไปยังท่าเรือกำปงโสม ผ่านจังหวัดดาแก้ว จังหวัดกำปอด และอำเภอเวียฉเรนห์ จังหวัดกัมปงโสม มีความยาวประมาณ ๒๖๐ กิโลเมตร
เส้นทางถนน  มีเส้นทางถนนสายหลักอยู่ ๑๓ สาย ด้วยกันคือ
เส้นทางหมายเลข ๑  จากกรุงพนมเปญ ถึงเมืองโฮจิมินต์ (ไซ่ง่อน) ในเวียดนาม ผ่านจังหวัดกันดาล จังหวัดเปรเวียง จังหวัดสวายเรียง มีความยาวประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๒ จากกรุงพนมเปญ ถึงพนมมาดจร๊ก จรดชายแดนกัมพูชากับเวียดนาม ผ่านจังหวัดกันดาลและจังหวัดดาแก้ว มีความยาวประมาณ ๑๑๕ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๓  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอเวียลเรนห์ จังหวัดกำปงโสม (สีหนุวิลล์) ผ่านจังหวัดกำปอต มีความยาวประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๔  จากกรุงพนมเปญ ถึงท่าเรือกัมปงโสม (สีหนุวิลล์) ผ่านจังหวัดกันดาล จังหวัดกัมปงโสม (สีหนุวิลล์) จังหวัดเกาะกง มีความยาวประมาณ ๒๓๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๕  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอปอยเปต จังหวัดพระตะบอง จรดชายแดนไทยในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ผ่านจังหวัดโพธิสัตและจังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๖  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ผ่านจังหวัดกำปงธม อำเภอกันดาล อำเภอกัมปงจาม จังหวัดเสียมราฐ มีความยาวประมาณ ๓๙๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๗  จากจังหวัดกัมปงธม ถึงพรมแดนกัมพูชากับเวียดนาม ผ่านจังหวัดกำปงจาม อำเภอสนูล จังหวัดกระแจะ และเชื่อมกับเส้นทางหมายเลข ๑๓ ในเขตจังหวัดสตึงเตรง มีความยาวประมาณ ๔๗๕ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๑๐  จากอำเภอพระตะบอง จังหวัดพระตะบองถึงตำบลไพลิน อำเภอรัตนมณฑล จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๑๒  จากจังหวัดกัมปงทม ถึงอำเภอแซม จังหวัดพระวิหาร จรดชายแดนกัมพูชากับลาว มีความยาวประมาณ ๒๐๕ กิโลเมตร

เส้นทางหมายเลข ๑๓  จากอำเภอสะนวล ถึงพรมแดนกัมพูชากับลาว ผ่านจังหวัดกระแจะ และจังหวัดสตึงเตรง มีความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๖๘  จากอำเภอกรอลัญ จังหวัดเสียมราฐ – อุดรมีชัย มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๖๙  จากอำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ผ่านอำเภอกระสาน เลียบไปตามชายแดนตอนเหนือของกัมพูชา ผ่านอำเภอลองเวง อำเภอสำโรง อำเภอบันเตียอัมปิล จังหวัดเสียมราฐ – อุดรมีชัย อำเภอทมอพวก ไปบรรจบเส้นทางหมายเลข ๕ และหมายเลข ๖ ที่อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๓๔๐ กิโลเมตร
เส้นทางหมายเลข ๕๘ จากตำบลไพลิน อำเภอรัตนมณฑล จังหวัดพระตะบอง ผ่านอำเภอมงคลบุรี จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร
การขนส่งทางทะเลและท่าเรือใหญ่
ท่าเรือทะเล  มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือ
– ท่าเรือพนมเปญ  ตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ อยู่ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร
– ท่าเรือกัมปงโสม  ตั้งอยู่ที่จังหวัดกำปงโสม (สีหนุวิลล์) อยู่บนฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย เหนือท่าเรือไปเล็กน้อย
– ท่าเรือเรียม  ตั้งอยู่ที่จังหวัดกัมปงโสม (สีหนุวิลล์)  อยู่บนฝั่งด้านอ่าวไทย อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวกัมปงโสม

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกัมพูชา
ประเทศกัมพูชา มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นสมัยที่สำคัญคือ
สมัยฟูนัน (Funan)  เป็นห้วงเวลาที่ได้รับวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู จากอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ นับถือพระศิวะ และพระวิษณุ (พระนารายณ์) มีการดัดแปลงตัวอักษรของอินเดียมาเป็นตัวอักษรเขมร ศูนย์กลางความเจริญอยู่ทางมณฑลไปรเวียง ทางตอนใต้และลุ่มน้ำทะเลสาป รวมดินแดนที่เป็นของไทย ลาว และเวียดนาม ในปัจจุบันบางส่วน พลเมืองมีเผ่าฟูนัน เขมร และจาม ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโขง
สมัยเจนละ (พ.ศ.๑๐๗๘ – ๑๓๔๕)  ในระหว่างที่อาณาจักรฟูนัน มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น มีดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นอยู่อาณาจักรหนึ่ง ซึ่งขอมเรียกว่า อาณาจักรเจนละ ชื่อ กัมพูชา เริ่มในยุคนี้เนื่องจากกษัตริย์สมัยเจนละ ชื่อว่า กัมพู อาณาจักรเจนละแบ่งดินแดนออกอาณาจักรย่อยคือ อาณาจักรตอนเหนือชื่อ กุมพูปุระ อาณาจักรตอนใต้เชื่อ วิชัยปุระ ต่อมากษัตริย์ของกัมพูปุระองค์หนึ่ง ทำสงครามมีชัยชนะแล้ว ได้ส่งกองทัพไปตีอาณาจักรฟูนันได้ รวมเข้ามาอยู่ในอาณาจักรเจนละ
อาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาอาณาจักรศรีวิชัย ได้แผ่อำนาจเข้าไปในอินโดจีน อาณาจักรเจนละ ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย
สมัยขอมหรือนครวัด (พ.ศ.๑๓๔๕ – ๑๗๓๕)  เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๓๔๕ กษัตริย์กัมพูปุระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ.๑๓๔๕ – ๑๔๑๒ ได้รวบรวมอาณาจักรกัมพูปุระ และวิชัยปุระเข้าด้วยกัน ตั้งเป็นอาณาจักรใหม่เรียกว่า อาณาจักรขอม พระองค์ได้กู้อิสรภาพของอาณาจักรขอม จากอาณาจักรศรีวิชัยเป็นผลสำเร็จ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ตั้งอาณาจักรขอม มีอำนาจมากสามารถแผ่อำนาจออกไป จนทำให้อาณาจักรขอมแผ่ออกไปกว้างขวางกินพื้นที่ ถึงหนึ่งในสามของอินโดจีน เป็นระยะเวลาประมาณ ๔๐๐ ปี
ราชวงศ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ได้ครองอาณาจักรขอมจนถึงปี พ.ศ.๑๔๒๐ จึงได้ขาดสายลง และได้มีราชวงศ์ใหม่ โดยมีปฐมราชวงศ์คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ มีราชโอรสเป็น พระเจ้ายโสวรมันที่ ๑ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๔๓๒ – ๑๔๕๑ กษัตริย์องค์นี้ได้สร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่นครธม ต่อมาได้มีกษัตริย์อีกหลายราชวงศ์ จนถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๖๕๕ – ๑๖๙๕ เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจสูงสุดในประวัติศาสตร์ของขอม พระองค์ได้ทรงให้สร้าง นครวัด และทำสัญญาไมตรีกับจาม และจีน
สมัยเป็นเมืองขึ้นของพม่าและไทย (พ.ศ.๑๖๐๐ – ๒๔๑๐)  อาณาจักรขอมรุ่งโรจน์สูงสุดแล้ว ก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลงเนื่องจากถูกพม่า สมัยพระเจ้าอโนราธามังช่อ เข้ามารุกราน และยึดเป็นเมืองขึ้น ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรขอมยังไม่ยับเยินมากนัก ยังพอตั้งตัวได้ใหม่ ในระยะอีกเกือบประมาณร้อยปี ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้ารามคำแหงฯ ของไทย ขอมถูกขับไล่ออกจากดินแดนที่เป็นของประเทศไทยปัจจุบันได้หมด อำนาจของอาณาจักรขอมได้หมดลงในประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐ นับแต่นั้นมาอาณาจักรสยาม ก็รุ่งโรจน์ขึ้นแทนที่อาณาจักรขอมในดินแดนสุวรรณภูมิ
สมัยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส (พ.ศ.๒๔๐๐ – ๒๔๙๗)  อาณาาจักรกัมพูชาได้เสื่อมลงเป็นลำดับ จนตกเป็นประเทศราชของไทย ต่อมาฝรั่งเศสได้เข้ามารุกราน และแสวงเมืองขึ้นในอินโดจีน กัมพูชาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๖ และในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ฝรั่งเศสได้บีบบังคับให้ไทย ทำสัญญายอมรับรองอำนาจของฝรั่งเศส ในการคุ้มครองอารักขากัมพูชา หลังสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ฝรั่งเศสกับกัมพูชาได้ทำความตกลงเมืองปี พ.ศ.๒๔๘๙ ให้กัมพูชาปกครองดินแดนตนเอง โดยรวมอยู่ในสหภาพฝรั่งเศส กัมพูชาได้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ฝรั่งเศสปราชัยในการรบกับเวียตมินห์ ที่เมืองเดียนเบียนฟู เป็นเหตุให้ต้องเปิดการประชุม ๑๔ ชาติ ที่เมืองเจนีวา เพื่อนำสันติภาพมาสู่อินโดจีน ความตกลงเจนีวาในครั้งนั้น กำหนดให้ฝรั่งเศสมอบเอกราชให้แก่ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา กัมพูชาจึงได้เป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ นับแต่นั้นมา
สังคมวัฒนธรรม
ประชากร  ชาวเขมรแท้มีอยู่ประมาณร้อยละ ๘๕ ของประชากรทั้งหมด มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวดำแดง หน้าผากโหนก ผมหยิกดำ จมูกหนา ริมฝีปากหนา
สำหรับชนกลุ่มน้อยของเขมรมีหลายเผ่าพันธุ์ได้แก่ สะโอจ บัน ซำเร กวยหรือสวย สะเตียงหรือพวกข่า
นอกจากชนกลุ่มน้อยดังกล่าวแล้ว ยังมีชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกัมพูชาอีกหลายเชื้อชาติได้แก่ ปาทาน จาม ลาว พม่า จีน เวียดนาม และไทย  ชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนมีอยู่ประมาณร้อยละห้า เชื้อสายเวียดนามประมาณร้อยละเจ็ด  เชื้อสายไทย ลาว อินเดีย จาม มาเลเซีย และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ประมาณร้อยละสาม
สภาพความเป็นอยู่ของประชากรสมัยก่อน  แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม
กลุ่มชาวเมือง  ได้แก่ พวกเจ้าหรือเชื้อพระวงศ์ พวกพ่อค้าคหบดี ส่วนมากเป็นเขมรเชื้อสายเวียดนามหรือจีน มีอาชีพค้าขาย อีกพวกหนึ่งเป็นชนชั้นกลาง มีความรู้ดีพอสมควร ส่วนมากรับราชการหรือทำงานบริษัท ชาวเมืองเหล่านี้มีความเป็นอยู่อย่างทันสมัย รักความก้าวหน้า แต่มีจำนวนน้อยกว่าชาวชนบท
กลุ่มชาวชนบท  มีลักษณะคล้ายคลึงกับชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะที่อยู่ห่างไกลความเจริญ มีการศึกษาน้อยเพียงแค่อ่านออกเขียนได้ และพวกที่อ่านหนังสือไม่ออกก็มีอยู่บ้าง ชาวชนบทส่วนใหญ่ใช้วัดเป็นสถานที่เรียนหนังสือ แต่เป็นการเรียนชั้นต้นเท่านั้น เพียงให้อ่านออกและเขียนได้  ชาวชนบทมีความเป็นอยู่ง่าย ๆ  ไม่มีความกระตือรือร้น มีความเป็นกันเอง
สังคมกัมพูชาในอดีต  ถือแนวการแบ่งชั้นวรรณะของอินเดีย แต่เนื่องจากชาวกัมพูชาส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา จึงทำให้การแบ่งชั้นวรรณะไม่เคร่งครัดนัก อาจมีการเลื่อนชั้นขึ้นลงได้ตามสถานภาพของบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับการศึกษา ทรัพย์สิน และตำแหน่งทางราชการ โดยทั่วไปการแบ่งชั้นในสังคมมีสี่ชั้นคือ
ราชวงศ์  เป็นชั้นที่ได้รับความเคารพยกย่องอย่างสูงสุด ได้รับการศึกษาสูง เนื่องจากมีโอกาสและทรัพย์สินมากกว่า และเป็นกลุ่มที่ปกครองประเทศสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน
ข้าราชการและคหบดี  เป็นปัญญาชนที่มีอิทธิพลในการบริหารประเทศ เพราะมีส่วนเป็นกลไก การบริหารในระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ
ราษฎร  เป็นชนชั้นในสังคมที่มีจำนวนมากที่สุด แต่ไม่มีอำนาจและอิทธิพลใด ๆ เพราะเป็นพวกถูกปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่ค่อยมีการศึกษา และไม่มีที่ดินของตนเอง
พ่อค้า  ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศเช่น จีน เวียตนาม อีนเดีย และชาวยุโรป เป็นกลุ่มที่ดำเนินการทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำการค้าขาย โดยเฉพาะชาวเวียตนาม จะเป็นช่างฝีมือ แพทย์ และทำการประมง ชาวยุโรปมีอยู่เป็นส่วนน้อย ตกค้างอยู่ตั้งแต่ครั้งกัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ชาวยุโรปเหล่านี้มักดำรงตำแหน่งสำคัญในวงราชการและวงการค้า และสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในวงการเมือง ในการบริหารประเทศด้วยเนื่องจากมีทรัพย์สินและมีการศึกษาดี
ศาสนา ในสมัยโบราณชาวกัมพูชานับถือภูตผี และเชื่อในเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนในสมัยโบราณอื่น ๆ ต่อมาแม้ชาวกัมพูชาจะได้นับถือศาสนาต่าง ๆ แล้วก็ตาม แต่ในส่วนลึกของจิตใจก็ยังคงภูติผีและไสยศาสตร์อยู่
ก่อนที่คอมมิวนิสต์จะเข้าปกครองประเทศ ประชาชนชาวกัมพูชานับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๕ ที่เหลือนับถือคริตศาสนานิกาย นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายโปรเตสแตนท์ ส่วนศาสนาอิสลามนั้นพวกที่นับถือได้แก่ ผู้ที่มีเชื้อสายแขกจาม และเชื้อสายมลายู
พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของกัมพูชา เป็นฝ่ายเถรวาท และมีสองนิกายคือมหานิกาย และธรรมยุตินิกาย เช่นเดียวกับของไทย

แหล่งอ้างอิง: http://www.aseankan1.com/index.php?mo=3&art=650866

ประเทศพม่า

ข้อมูลประเทศพม่า

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ: สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  23 กรกฎาคม 2540

พื้นที่:676,577  ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง:เนปีดอ (Naypyidaw)

ประชากร : 56 ล้านคน  ( ปี พ.ศ. 2548 )

ภาษาราชการ:ภาษาพม่า

ศาสนา:ร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดนับถือพระพุทธศาสนา ร้อยละ 5 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 3.8 นับถือศาสนา ที่เหลือนับถือศาสนาฮินดู

ระบอบการปกครอง:เผด็จการทางทหาร

สกุลเงิน:จ๊าด (Kyat : MMK)

ประเทศพม่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างที่ราบสูงธิเบต และคาบสมุทรมาเลเซีย อยู่ทางทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้ง ๑๐ องศาเหนือ ถึง ๒๘ องศา ๓๐ ลิบดาเหนือ และระหว่างเส้นแวง ๙๒ องศา ๓๐ ลิบดาตะวันออก  มีพื้นที่ประมาณ ๖๗๘,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากเหนือสุดถึงใต้สุด ประมาณ ๒,๐๙๐ กิโลเมตร ส่วนกว้างสุดจากรัฐฉานทางด้านตะวันออก ถึงรัฐชินทางด้านตะวันตก ประมาณ ๑,๑๒๐ กิโลเมตร ส่วนแคบสุดอยู่บริเวณเมืองเย้ กับด่านเจดีย์สามองค์ของไทย กว้างประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
ประเทศพม่ามีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือติดต่อกับประเทศธิเบต และประเทศจีน
ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศจีน ประเทศลาวและประเทศไทย
ทิศใต้จดทะเลอันดามัน และอ่าวเบงกอล
ทิศตะวันตกจดอ่าวเบงกอล และประเทศบังคลาเทศ
มีเส้นพรมแดนยาวประมาณ ๗,๑๐๐ กิโลเมตร เป็นเส้นพรมแดนทางบกยาวประมาณ ๔,๖๕๐ กิโลเมตร เส้นพรมแดนทางทะเล ยาวประมาณ ๒,๔๕๐ กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศเป็นป่าประมาณร้อยละ ๕๕ ของพื้นที่ทั้งหมด ที่เหลือเป็นภูเขา และที่ราบใช้ทำการเพาะปลูก ได้ประมาณร้อยละ ๑๐ ของพื้นที่ทั้งหมด  พื้นที่ภูเขาอยู่ทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก  ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี พื้นที่ทางตอนใต้และตะวันตก เป็นฝั่งทะเลยาวไปตามแนวอ่าวเบงกอล เริ่มตั้งแต่วิคตอเรียพอยท์ ไปจนถึงพรมแดนที่ติดต่อกับบังคลาเทศ พื้นที่ทางใต้สุดของประเทศ เป็นแผ่นดินแคบระหว่างทะเล กับทิวเขาตะนาวศรี ส่วนพื้นที่อีกสามด้านคือด้านตะวันตกเหนือ และตะวันออกล้อมรอบด้วยภูเขา
ที่ราบของประเทศแบ่งออกได้เป็นสี่ตอนคือ
พื้นที่ราบสูงในรัฐฉาน  รัฐฉานมีพื้นที่ประมาณ ๑๕๖,๙๐๐ ตารางกิโลเมตร มีความสูงเฉลี่ยประมาณ ๒,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ฟุต จากระดับน้ำทะเล เป็นที่ตั้งของเมืองตองยี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉาน และเมืองลาเฉียว อยู่ตอนเหนือสุดของประเทศ เป็นทางเชื่อมระหว่างประเทศพม่ากับมณฑลยูนานของจีน
พื้นที่ราบตามเทือกเขาตะนาวศรี  อยู่ระหว่างเทือกเขาตะนาวศรีกับฝั่งทะเล เริ่มตั้งแต่ปากแม่น้ำสาละวินลงไปทางใต้ จนถึงวิคตอเรียพอยท์ ขนานไปกับฝั่งทะเล เทือกเขาตะนาวศรี เป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า มีความยาวประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร ตามริมฝั่งทะเลเต็มไปด้วยภูเขา และป่าทึบ
พื้นที่ราบภาคกลาง  เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี มีพื้นที่กว้างขวางประมาณ ๔๓๖,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งปลูกข้าวที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แบ่งออกได้เป็นสี่เขตคือ
เขตตอนเหนือของเขาพะโค  เป็นที่ตั้งของเมืองมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า สภาพโดยทั่วไปแห้งแล้ง มีการชลประทานมาช่วยจึงทำให้สามารถเพาะปลูกได้ดี
เขตตะวันตกเมืองพะโค  เป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด สามารถผลิตข้าวส่งออกประมาณร้อยละ ๕๐ ของปริมาณข้าวที่ส่งออกทั้งหมด การคมนาคมใช้เส้นทางเรือเป็นส่วนใหญ่ เพราะทางบกไม่สะดวก
เขตลุ่มแม่น้ำสะโตง  พื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีประชากรอยู่หนาแน่น เป็นที่ตั้งของเมืองตองอูและพะโค (หงสาวดี) ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของพม่าทั้งสองเมือง
พื้นที่ตามเทือกเขาอารกัน  เทือกเขาอารกันทอดจากเหนือไปใต้ เป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างอินเดียกับพม่า มีช่องเขาลิโดเป็นทางผ่านไปสู่แคว้นอัสสัมของอินเดีย ทางใต้เทือกเขาอารกันเป็นทิวเขายะไข่ ทางด้านทิศตะวันตกของเชิงเขาเป็นป่าไม้ทึบ ทางด้านตะวันออกเป็นป่าไม้สัก
ทางด้านตะวันตกของภูเขาจดอ่าวเบงกอล เป็นพื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา เป็นพื้นที่แคบ ๆ มีแม่น้ำอยู่ประมาณ ๑๒๐ สาย ไหลผ่านอัคยัพของพม่า ไปสู่แม่น้ำจิตกองของบังคลาเทศ การคมนาคมส่วนใหญ่ใช้ทางน้ำ ประชากรที่อยู่บริเวณนี้เป็นชาวเขา
แม่น้ำ  มีแม่น้ำที่สำคัญอยู่หลายสายคือ

แม่น้ำอิรวดี  เป็นแม่น้ำสำคัญที่สุดของพม่า มีความยาวประมาณ ๑,๖๐๐ กิโลเมตร ไหลผ่านกลางประเทศจากเหนือลงใต้ แบ่งประเทศพม่าออกเป็นสองส่วน   ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาที่มีหิมะปกคลุมอยู่  เมื่อถึงฤดูร้อน หิมะละลาย ก็มักจะมีน้ำไหลหลากมาก่อนฤดูฝนของทุกปี ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการกสิกรรม และการคมนาคมทางน้ำอย่างมาก แม่น้ำอิรวดีเกิดจากการรวมกันของแม่น้ำมาลี และแม่น้ำมาย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ บริเวณเหนือเมืองมัตจินา  แล้วไหลมายังเมืองพะโค เป็นตอนที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวมาก แต่ยังพอใช้เดินเรือได้ จากเมืองพะโคถึงเมืองคาธา แม่น้ำเปลี่ยนแนวไหลไปทางทิศตะวันตก ผ่านช่องเขาแล้ววก
กลับมาผ่านที่ ราบคาธา จากเมืองคาธาถึงเมืองพุกามจะไหลผ่านช่องเขาออกมาสู่ทุ่งราบตอนกลางของประเทศ จากเมืองพุกามถึงเมืองแปร ไหลผ่านที่ราบเป็นตอน ๆ และไหลสู่ที่ราบก่อนถึงเมืองแปร จากเมืองแปรถึงปากน้ำจะไหลผ่านทุ่งราบกว้างใหญ่ เรียกว่า บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี มีความยาวประมาณ ๒๙๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร
แม่น้ำซินด์วิน  เป็นสาขาของแม่น้ำอิรวดี ใช้ประโยชน์ในการเดินเรือ
แม่น้ำสาละวิน  มีต้นกำเนิดในประเทศธิเบตแล้วไหลผ่านรัฐฉานและรัฐคะยาห์ บางช่วงของแม่น้ำสาละวิน เป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างพม่ากับไทย แม่น้ำสาละวินอยู่ในเขตแดนพม่าประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลเมตร
แม่น้ำสะโตง  อยู่ระหว่างแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำสาละวิน มีประโยชน์ในการกสิกรรมและล่องซุง
แม่น้ำย่างกุ้ง  ต้นน้ำเกิดจากภูเขาพะโค อยู่ระหว่างแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ไหลผ่านเมืองย่างกุ้ง มีลำคลองเชื่อมกับแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำสะโตง ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ ระหว่างแม่น้ำอยู่หลายคลอง
ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศข้างเคียง
ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศจีน  มีช่องทางที่สำคัญอยู่หกช่องทางด้วยกัน ติดต่อกับมณฑลยูนานของจีน
ช่องทางเมืองมิตจินา  ติดต่อกับเมืองเติงซงของจีน มีถนนตัดผ่าน
ช่องทางเมืองวันติง  ติดต่อกับเมืองลุงลิ่วของจีน มีถนนตัดผ่าน
ช่องทางเมืองอิซุราชิ  เป็นช่องเขาอยู่ทางเหนือของรัฐคะฉิ่น
ช่องทางบิมอว์  เป็นช่องเขาอยู่ในรัฐคะฉิ่น ติดต่อกับหมู่บ้านบิมอร์กอลัมของจีน เป็นช่องที่เข้าสู่ภาคเหนือของพม่า ได้สะดวกที่สุด
ช่องทางเมืองลา  อยู่ในรัฐไทยใหญ่ (รัญฉาน) มีเส้นทางติดต่อกับเมืองท่าล้อของจีน มีถนนตัดจากเมืองคุนมิง ถึงเมืองเชียงตุงในรัฐไทยใหญ่
ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศไทย
จังหวัดเชียงราย  ได้แก่ ช่องทางท่าขี้เหล็ก ในเขตรัฐฉานของพม่า กับอำเภอแม่สายของไทย
จังหวัดเชียงใหม่  มีอยู่ ๗ ช่องทางคือ ช่องทางแม่อาย ช่องทางแม่อาย ม่อนปืน แม่งอน ปุงดำ แม่ลาว เมืองแหง หนองหมู่ฮ่อของไทย ติดต่อกับรัฐฉานตอนใต้ของพม่า
จังหวัดแม่ฮ่องสอน  มีอยู่ ๑๓ ช่องทาง คือ ช่องทางปางมะผ้า หมอกจำแป ผาปอง ห้วยโปง แม่ยอม แม่คง แม่ลานชัย เมืองปอน ห้วยปา ขุนยวม แม่สาหลวง แม่นาเติง และเวียงเหนือ ติดต่อกับรัฐคะยาห์ของพม่า
จังหวัดตาก  มีอยู่ ๑๓ ช่องทางคือ ช่องทางบ้านช่องแคบ แม่กุ แม่ดาว ท่าสายลวด แม่กาสา แม่จะเรา แม่ระมาด คะเนจื๊อ แม่จัน แหล่งหลวง โกโกร แม่ต้าน ท่าสองยาง ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยงของพม่า
จังหวัดกาญจนบุรี  มี ๘ ช่องทางด้วยกันคือ ช่องทางจรเข้เผือกสิงห์ ลุ่มสุม ปิล๊อก ท่าขนุน หอนดาด ลิ่นถิ่น หนองลู และโลโว่ ติดต่อกับภาคตะนาวศรีของพม่า
จังหวัดราชบุรี  มีช่องทางสวนผึ้ง ในเขตอำเภอสวนผึ้งของไทย ติดต่อกับภาคตะนาวศรีของพม่า
จังหวัดเพชรบุรี  มีอยู่สองช่องทางคือ ช่องทางบางน้ำกลัด และช่องทางสองพี่น้อง ติดต่อกับภาคตะนาวศรีของพม่า
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  มีอยู่ ๑๕ ช่องทางคือ ช่องทางหินเหล็กไฟ เขาน้อย สังกระทาย กุยบุรี อ่าวน้อย เกาะหลัก คลองวาฬ พงษ์ประสาท ห้วยยาง ทับสะแก อ่างทอง ธงชัย ร่อนตอง ปากแพรก และทรายทอง ติดต่อกับภาคตะนาวศรีของพม่า
จังหวัดชุมพร  มีอยู่ ๕ ช่องทางคือ ช่องทางรับร่อ สลุย ปากจั่น มะมุ น้ำจืดน้อย น้ำจืดใหญ่ ลำเลียง บางแก้ว ทรายทอง ปากน้ำ หงาว ราชกรูด ม่วงกลาง นาคา และกำพวน ติดต่อกับภาคตะนาวศรีของพม่า
ประชากร
ประชากรของพม่าประกอบด้วยชนหลายเผ่า หลายกลุ่ม แต่ละพวกแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี มีชนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย แยกกันอยู่ตามป่าเขาอีกมากมาย
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือ ประมาณสามในสี่ของประชากรทั้งหมดเป็นชาวพม่าแท้
ชาวพม่าแท้เป็นพลเมืองชั้นหนึ่งของประเทศ มีสิทธิมีเสียงในการบริหารประเทศเหนือกว่าชนเผ่าอื่น ๆ แม้รัฐธรรมนูญของพม่า จะระบุว่าประชาชนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่แยกเชื้อชาติศาสนา เพศและเผ่า ทั้งหมดถือว่าเป็นพลเมืองของชาติเดียวกัน  แต่ในทางปฏิบัติ ชาวพม่าแท้มีสิทธิเหนือเผ่าอื่น ๆ เพราะเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ชาวพม่าแท้  อพยพมาจากธิเบต เป็นชนเผ่ามองโกล อพยพมาตามลุ่มน้ำพรหมบุตร เข้าสู่แคว้นอัสสัม และตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนกลาง กลายเป็นชาวพม่าในปัจจุบัน
กะเหรี่ยง  อพยพมาจากทะเลทรายโกบีทางตอนเหนือของประเทศจีน ลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า แถบบริเวณตะนาวศรี พะโค พะสิม สาละวิน และตองอู ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐกะเหรี่ยง และรัฐคะยา  ข้อมูลอีกทางหนึ่งสรุปว่าชาวกะเหรี่ยงสืบเชื้อสายมาจากชนชาติโจวซึ่งตั้ง ถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของจีน ถูกรุกรานจากพวกไทยใหญ่ จึงอพยพมาอยู่บริเวณชายแดนไทย – พม่า
กะเหรี่ยงแบ่งออกเป็นประมาณยี่สิบกลุ่ม ที่สำคัญมีกลุ่มพะเว (PWE) หรือกะเหรี่ยงขาว  และกลุ่มสะกอ (Sgaw) หรือกะเหรี่ยงแดง กลุ่มพะเว ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐคะยา ซึ่งอยู่ติดกับเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทย ส่วนกลุ่มสะกอ อยู่ติดชายแดนไทยในเขตจังหวัดตาก

กะเหรี่ยงมีรูปร่างเล็ก แข็งแรง อดทน เป็นนักรบที่กล้าหาญ มีภาษาของตนเอง และวัฒนธรรมแตกต่างกับพม่ามาก มีความซื่อสัตย์ นับถือภูติผีปีศาจ ตอนหลังได้มานับถือคริสตศาสนา ในระยะที่อังกฤษปกครองพม่า อังกฤษมีความชื่นชอบชาวกะเหรี่ยงมาก ชาวกะเหรี่ยงพยายามแยกตัวออกจากพม่าตลอดมา
ไทยใหญ่ หรือฉาน (Shan )  มีประชากรอยู่ประมาณร้อยเจ็ดของประชากรทั้งหมดของพม่า เป็นชนเชื้อชาติเดียวกับไทย มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในมณฑลยูนานของจีน ต่อมาได้ถูกพวกมองโกลรุกรานเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงอพยพมาอยู่ที่รัฐฉาน ประกอบด้วยไทย ไทยอาหม ไทยลื้อ และไทยเขิน ไทยใหญพยายามแยกตัวออกจากพม่าตลอดมา
ชิน (Chins )  มีเชื้อสายเดิมสืบทอดมาจากธิเบตอาศัยอยู่ตามเทือกเขา ทางทิศตะวันตกของพม่า เป็นชนเผ่าที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว แบ่งแยกกันเป็นหลายพวก มีภาษาไม่ต่ำกว่า ๔๐ ภาษา มีความซื่อสัตย์ และชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยว
คะฉิน (Kachin)  อพยพมาจากเทือกเขาหิมาลัยของธิเบต  ร่วมกับชินและยะไข่ มาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของพม่า เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว พยายามรุกเข้ายึดดินแดนไทยใหญ่บางส่วน ต้องการแยกเป็นอิสระจากพม่า มีการจัดตั้งกองกำลังสู้รบกับรัฐบาลพม่ามาตลอด
มอญ หรือตะเลง (Talaings)  เป็นเชื้อสายเดียวกับขอม หรือเขมร อพยพมาจากจีนตอนใต้ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบต่ำ แถบปากน้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง และแม่น้ำสาละวิน เมืองหลวงเดิมชื่อ สะเทิม เคยมีอำนาจรุ่งเรืองมาก่อน มอญได้สร้างเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง มอญถูกพม่าแท้รุกรานอยู่ตลอดเวลา มอญเคยมีอำนาจรุ่งเรือง และเคยปกครองภาคใต้ของพม่าได้ทั้งหมด โดยมีกรุงหงสาวดีเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๔๙ มอญพ่ายแพ้พม่าอย่างยับเยิน จนแตกกระจัดกระจายลงไปทางใต้ และอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นจำนวนมาก มอญเป็นชนชาติรักสงบ มีภาษาของตนเอง มีวัฒนธรรมสูง ปัจจุบันมอญกลายเป็นพม่าแล้วเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน
ยะไข่ (อาระกัน)  ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณฝั่งตะวันตกของพม่า ในอ่าวเบงกอล มีเทือกเขาอาระกัน และโยมาร์ ทอดเป็นแนวขวางกันอยู่ ทำให้มีพื้นที่แยกขาดกับพม่า ส่วนใหญ่ชาวยะไข่มีภาษาแตกต่างกับพม่า ส่วนมากมีอาชีพเป็นนักธุรกิจ ชาวอาระกันพยายามจะแยกตัวเป็นอิสระ มีชาวอินเดีย และบังคลาเทศ อาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก
อินเดีย  ส่วนใหญ่อพยพมาจาก มัทราช เบงกอล และโอริสสา เข้ามาอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ มีอิทธิพลในธุรกิจการค้า โดยเฉพาะการค้าข้าว รวมทั้งเป็นเจ้าของที่นาทางตอนใต้ของประเทศพม่า ประมาณหนึ่งในสี่ของพื้นที่ทั้งหมด
จีน  อพยพเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมืองย่างกุ้ง และอีกส่วนหนึ่งมาอยู่ในรัฐฉาน ทำการค้าขาย ไม่ยอมโอนสัญชาติเป็นพม่า แต่พยายามมีภรรยาเป็นชาวพม่า แต่ยังคงยึดขนบธรรมเนียมประเพณีของจีน โดยมีวัด และโรงเรียนเป็นของตนเอง
การปกครอง
ประเทศพม่า ได้จัดแบ่งการปกครองประเทศออกเป็น ๗ รัฐ (State) และ ๗ ภาค การปกครอง (Division) การแบ่งรัฐจะแบ่งตามเผ่าของชนกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ คะฉิ่น ฉาน ชิน อาระกัน กะเหรี่ยง มอญ และคะยา ทุกรัฐ ทุกเผ่า พยายามแยกตัวออกเป็นอิสระจากพม่า การแบ่งภาคการปกครองสำหรับพื้นที่พม่าแท้และตะนาวศรี มักถือเอาเมืองใหญ่ ๆ เป็นแกน ได้แก่ สะแกง มัณฑะเลย์ ย่างกุ้ง อิระวดี พะโค (หงสาวดี) มะโกย และตะนาวศรี
หลังจากพม่ามีเอกราช และอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ หลังสงครามมหาเอเชียบูรพาแล้ว ได้จัดรูปการปกครองเป็นแบบสหภาพ โดยมีรัฐธรรมนูญและรัฐบาลของรัฐ รัฐบาลพม่าเป็นผู้ดำเนินการทางด้านการทหาร การต่างประเทศ และการคลัง ส่วนรัฐบาลของแต่ละรัฐ มีอิสระในการปกครอง และจัดกิจการภายในของรัฐ
การคมนาคมขนส่ง
การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ
– ทางถนน  ถนนในพม่าส่วนใหญ่ ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้
ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองมูเซ ประมาณ ๑,๑๖๐ กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากมูเซถึงคุนหมิง ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ พะโค – ตองอู – ปยิมมะนา – เมตติลา – มัณฑะเลย์ – เมเบียงกอดเต็ก – สีป๊อ – ลาเฉียว – แสนหวี – มูเซ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๒,๑๔๐ กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล
ถนนสาย ย่างกุ้ง – มัณฑะเลย์  ยาวประมาณ ๗๓๐ กิโลเมตร ขนานไปตามแม่น้ำอิระวดี ผ่านเมืองสำคัญคือ เมืองแปร แมดเว ปาเดาว์ ตัดขนานกับทางรถไฟ
ถนนสาย เมตติลา – ท่าขี้เหล็ก  ยาวประมาณ ๙๐๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับถนนพหลโยธินของไทย ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นถนนสายสำคัญที่ผ่านเมืองเชียงตุง ในรัฐฉาน ไปเชื่อมต่อกับถนนเข้าสู่ประเทศจีนที่เมืองลา
ถนนสาย พะโค – มะริด  ยาวประมาณ ๖๘๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อภาคกลางตอนใต้ ไปยังภาคใต้สุดของพม่า ผ่านเมืองท่าตอน – มะละแหม่ง – เย – ทะวาย – มะริด
ถนนสาย ตองอู – สีป๊อ  ยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร เริ่มจากเมืองตองอู ผ่านเมืองดอยก่อ – ดอยแหลม – ตองยี – จ๊อกแบ – สีป๊อ
ถนนสาย สะโกร์ – อิมพัล  ยาวประมาณ ๔๖๐ กิโลเมตร ผ่านเมืองฉ่อยโบ – กาเลวา ถึงเมืองอิมพัลในอินเดีย
ถนนสาย ลิโด หรือสติลเวลล์  ยาวประมาณ ๓๗๐ กิโลเมตร เป็นถนนเชื่อมต่อพม่ากับอินเดีย เริ่มจากเมืองลิโดแคว้นอัสสัม ของอินเดีย ผ่านลงไปทางใต้ ด้านหุบเขาฮูกวง ข้างแม่น้ำอิระวดี ที่มิตจินา ผ่านมาโมมิจินา ไปบรรจบกับถนนสายพม่าที่มูเซ
ถนนสาย ฮากา – อ.มาตูยุ  ยาวประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างรัฐชินกับภาคใต้
ถนนสาย จองโต – เมเนียว  ยาวประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับถนนสายตาก – แม่สอด ของไทย ในเขตอำเภอแม่สอด ถนนสายนี้แยกจากถนนสายพะโค – มะริด ที่จองโต ผ่านเมืองผาอัน – ท่าตอน – เหล่งบ่วย – กอการิต – เมียวดี
ถนนสาย เมืองลา – บ้านท่าเดื่อ  ยาวประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร เป็นถนนเลียบพรมแดนพม่ากับจีน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเชียงตุง ในรัฐฉาน
– ทางรถไฟ ทางรถไฟของพม่าได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๑ ที่สำคัญได้แก่

สายย่างกุ้ง – มัณฑะเลย์  มีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร สร้างขนานกับแม่น้ำสะโตงที่มัณฑะเลย์ เป็นชุมทางแยกไปยังมิตจินาและลาเฉียว
สายย่างกุ้ง – แปร  มีความยาวประมาณ ๒๕๐ กิโลเมตร สร้างขนานกับแม่น้ำอิระวดี ท่าข้ามที่เฮนซาด่ำ มีทางแยกไปยังพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี
สายย่างกุ้ง – เมาะตะมะ  มีความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมต แยกจากสายย่างกุ้ง – มัณฑะเลย์ ที่เมืองพะโค แล้วข้ามแม่น้ำสะโตง ไปสู่เมืองเมาะตะมะ
สายมะละแหม่ง – เมืองงาย  มีความยาวประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร ทางสายนี้มีทางแยกที่บ้านตันบ่วยซายัด ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้าสู่ประเทศไทย
สายมัณฑะเลย์ – มิตจินา  มีความยาวประมาณ ๖๔๐ กิโลเมตร
การขนส่งทางน้ำ  การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวะดี มีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด
– แม่น้ำที่สำคัญ ที่ใช้ในการคมนาคมมีอยู่สี่สายด้วยกันคือ
แม่น้ำอิรวะดี  ใช้ในการเดินทางทุกฤดูกาล ตั้งแต่ปากแม่น้ำอิรวะดี ถึงเมืองบาโม เป็นระยะทางประมาณ ๑,๔๕๐ กิโลเมตร ถ้าเรือกินน้ำลึกเพียง ๑ เมตร จะเดินได้ถึงเมืองมิตจินา ซึ่งจะเป็นระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ กิโลเมตร
แม่น้ำซินด์วิน  ใช้ในการเดินเรือได้ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร ตั้งแต่ปากน้ำถึงเมืองแกนดี
แม่น้ำสาละวิน  แม้ว่าแม่น้ำสายนี้จะยาวถึงประมาณ ๑,๑๐๐ กิโลเมตร แต่ก็ไม่เป็นประโยชน์ในการเดินเรือมากนัก เนื่องจากกระแสน้ำไหลเชี่ยวมีโขดหิน เกาะแก่งจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะใชัในการล่องซุงลงมาจากรัฐฉาน มีระยะทางที่ใช้ในการเดินเรือได้ทุกฤดูกาล ยาวประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร
แม่น้ำสะโตง  มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ระยะทางที่ใช้ในการเดินเรือได้ทุกฤดูกาล ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ต่อมาได้มีการพัฒนาแม่น้ำสายนี้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้า และการเดินเรือ
ทางน้ำบริเวณปากแม่น้ำอิรวะดี มีทางน้ำที่ใช้ในการเดินเรือได้ยาวประมาณ ๓,๒๐๐ กิโลเมตร
– การคมนาคมขนส่งทางทะเล  ได้แก่ การเดินเรือเลียบชายฝั่ง เพื่อรับส่งสินค้า และผู้โดยสารตามเมืองชายฝั่งทะเล และการเดินเรือระหว่างประเทศ มีเส้นทางเดินเรือไปยังยุโรป ที่ประเทศอังกฤษ สำหรับในเอเชีย มีเส้นทางเดินเรือไปยังประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ศรีลังกา และอินเดีย เป็นต้น
ท่าเรือที่สำคัญ มีกระจายอยู่ตามเมืองที่อยู่ชายทะเล และอยู่บนลำน้ำที่เรือเดินทะเลเข้าถึง
ท่าเรือย่างกุ้ง  ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำย่างกุ้ง อยู่ห่างจากปากแม่น้ำย่างกุ้งประมาณ ๓๕ กิโลเมตร เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด เรือเดินทะเลมีระวางขับน้ำ ๑,๕๐๐ ตัน สามารถใช้ท่าเรือนี้ได้
ท่าเรืออัคยับ  เป็นท่าเรือเก่าแก่ มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจทางด้านตะวันตก เรือเดินทะเลขนาดใหญ่เข้าจอดเทียบท่าได้สะดวก
ท่าเรือมะละแหม่ง  ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมะละแหม่ง อยู่ห่างจากปากแม่น้ำประมาณ ๔๕ กิโลเมตร เป็นท่าเรือสำคัญทางด้านตะวันออกของประเทศ
ท่าเรือพะสิม  อยู่บนฝั่งแม่น้ำพะสิม ห่างจากปากแม่น้ำประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ใช้สำหรับเรือขนาดเล็กเท่านั้น เพราะร่องน้ำบางตอนคดเคี้ยว เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือขนาดใหญ่
ท่าเรือทะวาย  เป็นท่าเรือขนาดเล็ก ต้องใช้เรือเล็กขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ที่จอดอยู่ที่ปากอ่าวทะวาย
ท่าเรือมะริด  ตั้งอยู่ที่ปากน้ำตะนาวศรี เป็นท่าเรือชายฝั่งที่สำคัญ ใช้ประโยชน์ในกาประมง และการค้าขายกับประเทศไทย และหมู่เกาะอันดามันของอินเดีย
ประวัติศาสตร์
ชนเชื้อชาติพม่า มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศธิเบต ได้อพยพลงมาทางใต้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศพม่าปัจจุบัน เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๙ บริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดี แบ่งออกเป็นสามพวกคือ
พวกมอญ – เขมร  มาสร้างเมืองตะโก้ง ทางตอนใต้เป็น แม้ว มอญ ละว้า
พวกธิเบต  เป็นพวกเผ่าอาระกัน ชิน และคะฉิ่น มีจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่มัณฑะเลย์ อังวะ และพุกาม
พวกไทย – จีน  อพยพมาอยู่เป็นพวกสุดท้าย ไปอยู่ทางตะวันตกเป็นพวกคะฉิ่น และไปทางตะวันออกเป็นพวกฉาน บางพวกไปตั้งถิ่นบานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำชินล์วิน บางพวกก็ข้ามไปอยู่ในมณฑลอัสสัม เรียกว่า ไทยอาหม บางพวกเคลื่อนลงมาทางใต้เป็นไทย กลุ่มที่สำคัญคือ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่
ประเทศพม่า ในห้วงเวลาดังกล่าวมีชนหลายเผ่าหลายเชื้อชาติ และอยู่เป็นอิสระต่อกัน จนถึงปี พ.ศ.๑๕๕๓ มีกษัตริย์พม่าองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าอโนรธามังช่อ สามารถรวบรวมชนเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และได้ทรงก่อตั้งอาณาจักรพม่าขึ้น ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก พระเจ้าอโนรธามังช่อสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๑๕๙๕ หลังจากนั้นก็มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาอีกหลายองค์
เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๐ มีชาวมอญจากเมาะตะมะชื่อ มะกะโท ได้ไปรับราชการอยู่ที่กรุงสุโขทัย แล้วกลับมาตั้งตนเป็นใหญ่ที่เมืองเมาะตะมะ เป็นกษัตริย์มอญทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๖ แต่อยู่ในอำนาจของกรุงสุโขทัย
ในเวลาต่อมาไทยและพม่า ก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันปกครองเมืองมอญ จนถึงปี พ.ศ.๑๙๒๘ มีกษัตริย์มอญทรงพระนามว่า พระเจ้าราชาธิราช ได้ไปตั้งเมืองหลวงใหม่ชื่อ เมือง หงสาวดี ทางฝ่ายพม่าก็มีเมืองหลวงใหม่ชื่อ เมืองรัตนบุระอังวะ พม่ากับมอญทำสงครามกันมาตลอด จนถึงปี พ.ศ.๑๙๖๕ ได้มีบุคคลสำคัญคนหนึ่งชื่อ มังคินโย หรือมหาศิริชัยสุระ ทำการปราบทั้งพม่าและมอญได้ แล้วตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ที่เมืองตองอู ครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๒๘-๒๐๘๓ เมื่อพระเจ้ามหาศิริชัยสุระสิ้นพระชนม์ พระราชบุตรของพระองค์ทรงพระนามว่า ตะเบงชะเวตี้ ขึ้นครองราชย์ต่อมา และได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองหงสาวดี ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ถึงเมืองพะโค เมืองแปร เมืองเมาะตะมะ และเมืองตองอู เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าบุเรงนองได้ขึ้นครองราชย์ หัวเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรพม่าพยายามแยกตัวเป็นอิสระ แต่ในที่สุดก็ถูกปราบราบคาบ พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๔ พระเจ้านันทบุเรง ขึ้นครองราชย์ต่อมา และได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ   ในระยะนี้พวกมอญมีอำนาจมากขึ้น
ประมาณปี พ.ศ.๒๒๙๖ ขุนนางเชื้อชาติพม่า แต่อยู่ในเขตมอญชื่อ อลองพญา ได้รวบรวมกำลังยกไปตีเมืองอังวะได้แล้ว สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ทรง

พระนามว่า พระเจ้าอลองพญา ยกกำลังไปปราบมอญตีเมืองหงสาวดีได้ เมื่อปี พ.ศ.๑๓๐๐ เมื่อพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ พระเจ้ามังสะ ผู้เป็นราชบุตรได้ขึ้นครองราชย์
ในระยะนี้พม่าเกิดแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดพระเจ้าปดุง สามารถรวบรวมดินแดนต่าง ๆ ได้สำเร็จ ได้ขยายอาณาเขตออกไปจนตียะไข่ได้สำเร็จ ยะไข่อยู่ติดกับอินเดีย ในระยะนั้นอินเดียตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้อังกฤษไม่พอใจพม่าเกิดปัญหาขัดแย้งขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพระเจ้าปดุงสิ้นพระชนม์ พระเจ้าพาคยีดง ผู้เป็นอนุชาขึ้นครองราชย์ต่อมา
ในห้วงเวลานั้น อังกฤษและพม่ามีผลประโยชน์ขัดกัน ทำให้เกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าสามครั้ง
ครั้งที่หนึ่ง  เกิดระหว่างปี พ.ศ.๒๓๖๗ – ๒๓๖๙ ในรัชสมัยพระเจ้าพาคยีดอ มีสาเหตุจากพม่ายกกองทัพไปตียะไข่ อังกฤษจึงได้ส่งกองทัพเข้าแคว้นอาระกันเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๗ พม่ายอมแพ้และต้องใช้หนี้สงครามคือต้องยกตะนาวศรี ทวาย มะริด และ
อาระกัน และค่าปรับร้อยล้านรูปีให้แก่อังกฤษ
ครั้งที่สอง  เกิดระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๕ – ๒๔๐๒ ในรัชสมัยพระเจ้าพุกาม สาเหตุของสงครามเกิดจากพม่ากดขี่ในเรื่องภาษีอากรจากพ่อค้าอังกฤษ ทำให้อังกฤษไม่พอใจ ประกอบกับมีการแย่งชิงราชสมบัติ พระเจ้าเมมดามินทรงยึดอำนาจได้ และย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่มัณฑะเลย์ในปี พ.ศ.๒๔๐๐  พม่าต้องส่งทูตไปเจรจากับอังกฤษถึงกรุงลอนดอน กรุงโรมและกรุงปารีส
ครั้งที่สาม  เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘ ในรัชสมัยพระเจ้าธีบอ อังกฤษขอทำสนธิสัญญาใหม่ แต่พม่าไม่ยอม อังกฤษจึงยกกำลังบุกพม่าในปี พ.ศ.๒๔๒๘  พม่ายอมแพ้ พระเจ้าธีบอถูกจับ พม่าจึงเสียเอกราชให้แก่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๙  อังกฤษได้รวมพม่าไว้เป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย
พม่าในยุคอาณานิคมของอังกฤษ  การที่อังกฤษรวมพม่าเข้าไว้เป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ทำให้ประชาชนชาวพม่าไม่พอใจ และทำการต่อต้านอังกฤษ มีคณะรักชาติพยายามเรียกร้องให้พม่าขึ้นตรงกับอังกฤษโดยไม่เป็นมณฑลหนึ่งของ อินเดียได้สำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
มีกลุ่มผู้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง นำโดยอูอองซาน และอูนุ ตั้งกลุ่มการเมืองชื่อพรรคทะขิ่น พร้อมกับจัดตั้งกองทัพเอกราชของพม่า ทำการต่อสู้กับอังกฤษตลอดเวลา
ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา ญี่ปุ่นทำการรุกรบในเอเชียได้ชัยชนะในระยะเวลาแรก ๆ ของสงคราม พรรคทะขิ่นเห็นว่าการร่วมมือกับญี่ปุ่น จะทำให้พม่าได้รับเอกราชเร็วขึ้น จึงได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นขับไล่อังกฤษออกไปจากพม่า และญี่ปุ่นก็ได้มอบเอกราชให้พม่า แต่เป็นการมอบอำนาจในนามเท่านั้น ทำให้กองทัพกู้ชาติไม่พอใจ จึงหันไปร่วมมือกับอังกฤษ
ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ กองทัพฝ่ายพันธมิตรยกกำลังจากอินเดียเพื่อเข้าตีญี่ปุ่นในพม่า กองทัพกู้ชาติพม่าได้เข้าร่วมมือด้วย และขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศพม่าได้สำเร็จ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘  พม่าจึงถือว่าวันดังกล่าวเป็นวัน Resistence Day  ต่อมาได้เกิดมีพรรคการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคณะทหาร และพรรคการเมืองย่อย ๆ ต่าง ๆ ร่วมกันเรียกร้องเอกราชที่สมบูรณ์ของพม่าจากอังกฤษ
การนำไปสู่เอกราชที่สมบูรณ์ของพม่า  มีอยู่ห้าระยะด้วยกันคือ
ระยะที่หนึ่ง (ตุลาคม ๒๔๘๘ – สิงหาคม ๒๔๘๙)  ภายใต้การปกครองของผู้ว่าราชการชาวอังกฤษเมื่ออังกฤษกลับมายึดพม่าได้จาก ญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ แล้ว อังกฤษก็ปกครองพม่าแบบเป็นประเทศราช ทำให้พม่าไม่พอใจ เพราะต้องการเป็นเอกราชจึงจัดองค์การอาสาสมัครประชาชน (People’s Volunteer Organization – PVO) ขึ้นตามหมู่บ้านเพื่อต่อต้านอังกฤษโดยการก่อความไม่สงบ นัดหยุดงาน  อังกฤษเห็นสถานการณ์ไม่ดี จึงเปลี่ยนนโยบายเป็นอลุ้มอล่วยลง และส่งผู้ว่าราชการใหม่มาแทนคนเก่า
ระยะที่สอง (กันยายน ๒๔๘๙ – ธันวาคม ๒๔๘๙)  ผู้ว่าการคนใหม่ใช้นโยบายประนีประนอม อูอองซานมีนโยบายกอบกู้เอกราชโดยสันติวิธี จึงขัดแย้งกับพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งต้องการใช้กำลังบังคับให้อังกฤษมอบเอกราชให้ และได้ยื่นข้อเรียกร้องต่ออังกฤษ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๙ ให้อังกฤษมอบเอกราชแก่พม่า ภายใน ๓๑ มกราคม ๒๔๙๑
ระยะที่สาม (ธันวาคม ๒๔๘๙ – มกราคม ๒๔๙๐)  จากการเจรจาที่กรุงลอนดอน อังกฤษเห็นว่าไม่สามารถจะใช้กำลังปกครองพม่าต่อไปได้ จึงเชิญตัวแทนพม่า นำโดยอูอองซาน ไปเจรจาในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๙๐ ผลปรากฏว่าอังกฤษยอมให้พม่าปกครอง โดยคณะบริหารของพม่าเป็นการชั่วคราว และจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๐ อังกฤษมีเงื่อนไขว่า พม่าต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญก่อน และยังคงอยู่ในเครือจักรภพต่อไป
ส่วนรัฐต่าง ๆ หากจะไม่รวมอยู่กับพม่า ก็จะให้เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษต่อไป
อูอองซาน กลับพม่าแล้วได้เจรจากับผู้นำรัฐคะฉิน รัฐชิน และรัฐไทยใหญ่ เกี่ยวกับปัญหาการรวมอยู่ในสหภาพพม่า ซึ่งรัฐต่าง ๆ ก็ยินยอม แต่ในรัฐธรรมนูญ ต้องกำหนดว่า รัฐต่าง ๆ มีสิทธิที่จะแยกตัวเป็นอิสระได้ หลังจากรวมอยู่กับสหภาพพม่าแล้วสิบปี มีการลงนามในสัญญาร่วมกันเรียกว่า สนธิสัญญาปางหลวง เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๐ ส่วนกะเหรี่ยงไม่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมด้วย เพราะต้องการเป็นอิสระโดยทันที
ระยะที่สี่  ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสันนิบาตประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ได้เป็นรัฐบาลและมีมติเปลี่ยนชื่อประเทศ เป็นสหภาพพม่า (The Union of Burma) ในขณะที่มีการประชุมสภาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีคนร้ายเข้าไปยิงอูอองซานเสียชีวิตในที่ประชุม พรรคจึงมีมติให้อูนุ รองประธานทำหน้าที่เป็นหัวหน้าต่อไป
ระยะที่ห้า  อูนุทำหน้าที่เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญของพม่าจนสำเร็จ ได้รับการรับรองจากอังกฤษที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๐ และมีผลบังคับในวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๙๑ ทำให้พม่าเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ โดยมีอูนุเป็นนายกรัฐมนตรี
ในช่วงสิบปีแรก การปกครองในระบบรัฐสภาของอูนุได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี แต่เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๕๐๑ พรรคเกิดแตกแยก และเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง อูนุจึงเชิญนายพลเนวิน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดทำหน้าที่ดูแลรัฐบาล ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ มีการเลือกตั้งทั่วไป ปรากฏว่าอูนุได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้น แต่เมื่อเข้ามาบริหารประเทศก็ประสบความล้มเหลวอีก ดังนั้น นายพลเนวินจึงทำการปฏิวัติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ แล้วปกครองประเทศแบบเผด็จการ นำประเทศเข้าสู่ระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic Socialist) และได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (Socialist Republic of the Union of Burma) นายพลเนวินได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและปกครองประเทศตั้งแต่นั้นมา
    ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

– พ.ศ.๔๓  มอญอพยพจากตะวันออก เข้ามายังพม่าภาคใต้
ตามตำนานมอญและพม่า พระเจดีย์เกศธาตุ หรือชเวดากอง สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล
ชนเผ่าธิเบต – พม่า มีเชื้อชาติปยุ เป็นผู้นำเข้าพม่าจากทางด้านเหนือสุดของประเทศ
– พ.ศ. ๒๔๓ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งศาสนทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ยังอาณาจักรสะเทิมของมอญ
– พ.ศ.๕๔๓   ตั้งอาณาจักรปยุ ที่เมืองแปร (เมืองศรีเกษตร)   นำศักราชราชสักกระ (มหาศักราช เริ่ม พ.ศ.๖๒๑) จากอินเดียมาใช้ในเมืองแปร   มีการค้าขายทางบกจากอินเดียมายังพม่า โดยผ่านทางภาคเหนือของพม่า   พวกมอญคุมเส้นทางการค้าทางเรือ ระหว่างอ่าวเบงกอล กับเมืองท่าริมอ่าวไทย ผ่านทางภาคใต้ของพม่า
– พ.ศ.๙๕๓     พวกปยุ มีอำนาจเหนือมอญ
– พ.ศ.๑๑๕๓   พวกปยุ ถอยร่นไปพม่าภาคเหนือ ชนชาติพม่าเริ่มปรากฎตัว ยุครุ่งเรืองของพวกมอญ
– พ.ศ.๑๑๘๑  พม่าตั้งศักราชใหม่ของตนเอง
– พ.ศ.๑๓๔๓  อาณาจักรน่านเจ้า มารุกรานดินแดนพม่า อาณาจักรปยุแตก
– พ.ศ.๑๓๙๒  สร้างเมืองพุกามที่มีป้อมปราการมั่นคงแข็งแรง
– พ.ศ.๑๕๘๗  พระเจ้าอนุรุท เป็นกษัตริย์ของพุกาม
– พ.ศ.๑๕๙๙  พระเจ้าอนุรุท ตีได้เมืองสะเทิม เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท
– พ.ศ.๑๖๒๖  เกิดศึกกับมอญ
– พ.ศ.๑๖๒๗  พระเจ้าครรชิต เป็นกษัตริย์ของพุกาม
– พ.ศ.๑๖๕๕  พระเจ้าอลองสินธุ ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าครรชิต
– พ.ศ.๑๗๐๔  เกิดคดีพิพาทกับลังกา
– พ.ศ.๑๗๑๕  พระเจ้านรปติสิทธู เป็นกษัตริย์
– พ.ศ.๑๗๕๓  พระเจ้ามะดวงมะยา ขึ้นครองราชย์เป็นองค์สุดท้าย ที่ทรงนิยมสร้างวัด
– พ.ศ.๑๗๗๗  พระเจ้ายัสวาร ขึ้นครองราชย์ อาณาจักรพุการเริ่มเสื่อม
– พ.ศ.๑๗๙๗  พระเจ้านรสีหบดี ขึ้นครองราชย์เป็นองค์สุดท้ายของอาณาจักรพุกาม
– พ.ศ.๑๘๐๐  เกิดสงครามกับพระเจ้ากุบไลข่าน กษัตริย์จีน
– พ.ศ.๑๘๑๐  กรุงพุกามแตก มอญเป็นอิสระ
– พ.ศ.๑๘๒๖  ชนชาติมองโกล ถอยทัพจากพม่า
– พ.ศ.๑๘๓๕  สร้างเมืองปินยา
– พ.ศ.๑๘๓๘  สร้างเมืองสะแกง
– พ.ศ.๑๙๐๗  เมืองปินยา และเมืองสะแกง หมดอำนาจ สร้างกรุงอังวะ
– พ.ศ.๑๙๑๑  พระเจ้าสวาสอแก เป็นพระเจ้ากรุงอังวะ
– พ.ศ.๑๙๒๘  พระเจ้าราชาธิราช เป็นกษัตริย์พะโค เกิดสงครามระหว่างอังวะกับพะโค
– พ.ศ.๑๙๔๔  พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง เป็นพระเจ้ากรุงอังวะ
– พ.ศ.๑๙๔๗  ยะไข่ประกาศอิสระภาพ
– พ.ศ.๑๙๖๕  พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องสวรรคต
– พ.ศ.๑๙๖๖  พระเจ้าราชาธิราชสวรรคต
– พ.ศ.๑๙๙๖  พระนางเชงสอบูเป็นราชินีกรุงพะโค
– พ.ศ.๒๐๑๒  ยะไข่ตีได้จิตตะกอง
– พ.ศ.๒๐๒๕  พระเจ้าธรรมเจดีย์เป็นกษัตริย์พะโค
– พ.ศ.๒๐๗๔  พระเจ้าตะเบงชะเวตี้เป็นกษัตริย์ตองอู เริ่มจักรวรรดิพม่าครั้งที่สอง
– พ.ศ.๒๐๙๐  พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทำสนธิสัญญากับไทย
– พ.ศ.๒๐๙๐  พระเจ้าตะเบงชะเวตี้สวรรคต อาณาจักรแตกแยก มอญเป็นกบฏ พระเจ้าบุเรงนองขึ้นเป็นกษัตริย์
– พ.ศ.๒๑๐๕  พระเจ้าบุเรงนองตีได้เมืองไทย
– พ.ศ.๒๑๐๘  พระเจ้าบุเรงนองตีได้เมืองไทยอีก
– พ.ศ.๒๑๓๐  ไทยกู้อิสรภาพคืนได้
– พ.ศ.๒๑๓๗  กองทัพไทยยกเข้าตีพะโค แต่ถูกตีโต้กลับ
– พ.ศ.๒๑๔๒  กองทัพยะไข่และตองอูเข้าปล้นเมืองพะโค กองทัพไทยบุกเข้าพม่า
– พ.ศ.๒๑๔๓  นายเดอ บริโต ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองสิเรียม
– พ.ศ.๒๑๔๖  พระเจ้าอนอคะเปตลุนเป็นกษัตริย์อังวะ
– พ.ศ.๒๑๔๘  พระเจ้าอนอคะเปตลุนปราบนายเดอบริโตได้ และฟื้นฟูอาณาจักรได้ส่วนหนึ่ง
– พ.ศ.๒๑๘๒  พระเจ้าตลุนมินย้ายเมืองหลวงจากพะโคไปอังวะ
– พ.ศ.๒๑๙๗  จักรวรรดิจีนในราชวงศ์เหม็งองค์สุดท้ายหนีกองทัพแมนจูเข้ามาในเขตแดนพม่า
– พ.ศ.๒๒๐๕  พม่าจับจักรพรรดิจีนส่งกลับไป และถูกปลงพระชนม์ที่มณฑลฮุนหนำ (ยูนาน)
– พ.ศ.๒๒๑๓  ยะไข่เสื่อมอำนาจลง เสียเมืองจิตตะกอง
– พ.ศ.๒๒๕๒  อังกฤษเปิดท่าเรือที่เมืองสิเรียม
– พ.ศ.๒๒๗๒  ฝรั่งเศสเปิดท่าเรือที่เมืองสิเรียม
– พ.ศ.๒๒๘๑  ทหารม้ามณีปุระมาปล้นกรุงอังวะ
– พ.ศ.๒๒๘๓  เกิดกบฏในภาคใต้ของพม่า
– พ.ศ.๒๒๙๓  ทูตมอญไปเยือนข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสที่ดูเปลกซ์ในอินเดีย ทูตฝรั่งเศสเดอบรูโนมายังเมืองสิเรียม ทูตอังกฤษมายังเมืองพะโค แต่มอญต้อนรับอย่างชาเย็น
– พ.ศ.๒๒๙๕  มอญตีพม่าภาคเหนือได้ อลองพญาต่อต้านพวกมอญ
– พ.ศ.๒๒๙๖  อังกฤษไม่ได้รับอนุญาตจากมอญให้ตั้งถิ่นฐานที่นีเกรส จึงเข้ายึดเอาเมืองนั้น
– พ.ศ.๒๒๙๙  อลองพญายึดได้เมืองสิเรียม และประหารชีวิตนายเดอบรูโนเสีย
– พ.ศ.๒๓๐๐  อลองพญายึดได้เมืองพะโค ได้ชัยชนะพม่าทั้งหมด
– พ.ศ.๒๓๐๑  อลองพญามีชัยต่อมณีปุระ
– พ.ศ.๒๓๐๒  อลองพญาเกรงว่าอังกฤษจะหักหลัง จึงทำลายที่มั่นของอังกฤษที่เมืองนีเกรส
– พ.ศ.๒๓๐๓  พระเจ้าอลองพญายกกองทัพเข้ารุกรานไทย และสวรรคตอย่างกระทันหัน กองทัพพม่าถอยกลับจากไทย
– พ.ศ.๒๓๐๔  พระเจ้าฉินบูชิน (มังระ) ขึ้นครองราชย์
– พ.ศ.๒๓๐๗  พม่ายกกองทัพเข้ารุกรานไทย
– พ.ศ.๒๓๑๐  พม่ายึดกรุงศรีอยุธยาได้
– พ.ศ.๒๓๐๙  – ๒๓๑๒ จีนยกกองทัพมารุกรานพม่าถึงสี่ครั้ง พม่าต่อสู้จนจีนถอยกลับไปและมีการลงนามในสัญญาสงบศึก
– พ.ศ.๒๓๑๓  มุณีปุระก่อการกบฏ แต่พม่าปราบปรามลงได้
– พ.ศ.๒๓๑๙  พม่าบุกไทยเพื่อปราบกบฏ พระเจ้าฉินบูชินสวรรคต กองทัพพม่าถอยกลับ และไทยเป็นเอกราช
– พ.ศ.๒๓๒๕  เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์ที่กรุงอังวะ พระเจ้าโพธิพญาขึ้นครองราชย์ พม่าตียะไข่ได้
– พ.ศ.๒๓๕๔  นายชินเบี่ยน ชาวยะไข่ผู้ลี้ภัยเข้าไปในดินแดนอังกฤษเข้าตียะไข่
– พ.ศ.๒๓๕๖  พม่าอ้างสิทธิเหนือมณีปุระ
– พ.ศ.๒๓๖๐  พม่าส่งผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แคว้นอัสสัม
– พ.ศ.๒๓๖๒  พระเจ้าพะคยีดอ (จักกายแมง) ขึ้นครองราชย์
– พ.ศ.๒๓๖๗  เกิดสงครามอังกฤษ – พม่า ครั้งที่หนึ่ง
– พ.ศ.๒๓๖๙  สนธิสัญญายันดาโบและการเสียมณฑลริมทะเลให้อังกฤษ
– พ.ศ.๒๓๗๓  นายเฮนรี เบอร์นี ผู้แทนอังกฤษคนแรกมาอยู่ที่กรุงอังวะ
– พ.ศ.๒๓๙๕  เกิดสงครามอังกฤษ – พม่า ครั้งที่สอง พม่าเสียมณฑลพะโคให้อังกฤษ
– พ.ศ.๒๓๙๖  พระเจ้ามินดองขึ้นครองราชย์
– พ.ศ.๒๔๐๗  เกิดกบฏยินกัน
– พ.ศ.๒๔๑๓  พม่าส่งทูตคณะแรกไปอังกฤษและยุโรป
– พ.ศ.๒๔๑๕  มีการสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ห้าที่กรุงมัณฑะเลย์
– พ.ศ.๒๔๑๘  เจ้าหน้าที่อังกฤษสั่งผู้แทนอังกฤษที่กรุงมัณฑะเลย์ไม่ให้ถอดรองเท้าเมื่อเข้าเฝ้ากษัตริย์พม่า
– พ.ศ.๒๔๒๑  พระเจ้าธีบอขึ้นครองราชย์
– พ.ศ.๒๔๒๖  พม่าส่งคณะทูตไปฝรั่งเศส
– พ.ศ.๒๔๒๘  สภาลุดคอประกาศคำตัดสินเรื่องกรณีบริษัทการค้าบอมเบย์เบอร์มา เกิดสงครามอังกฤษ – พม่า ครั้งที่สาม
– พ.ศ.๒๔๒๗  อังกฤษประกาศให้พม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ต่อมาได้ประกาศให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย
– พ.ศ.๒๔๒๕  – ๒๔๔๓ พม่าทำสงครามกองโจรต่อต้านอังกฤษ
– พ.ศ.๒๔๖๓  เกิดการจลาจลครั้งแรกในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
– พ.ศ.๒๔๖๔  มีการปรับปรุงรัฐบาลคู่
– พ.ศ.๒๔๗๓  – ๒๔๗๕ เกิดกบฎชาวนา
– พ.ศ.๒๔๗๗  ขบวนการตะขิ่นรวบรวมกำลัง
– พ.ศ.๒๔๗๙  เกิดการจลาจลครั้งที่สอง ในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
– พ.ศ.๒๔๘๐  พม่าแยกตัวออกจากอินเดีย
– พ.ศ.๒๔๘๕-๒๔๘๘  ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า
– พ.ศ.๒๔๙๐  นายพลอองซาน ถูกฆาตกรรม
– พ.ศ.๒๔๙๑  พม่าได้เอกราช และออกจากเครือจักรภพอังกฤษ
วัฒนธรรม
ประเทศพม่ามีประชากรที่ประกอบด้วยชนหลายเผ่า แต่ละเผ่ายึดมั่นในวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ  นอกจากนั้น ยังยึดมั่นในศาสนาของตนเองอย่างเคร่งครัด ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๘๕ นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้น ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมส่วนใหญ่ จึงผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา
วัฒนธรรมทางภาษา  รัฐบาลพม่าประกาศให้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ และให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สองในโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงมหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตาม มีภาษาของชนเผ่าต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในพม่าไม่น้อยกว่า ๒๐ ภาษา จึงเป็นการยากที่จะให้คนพม่าทั้งประเทศใช้ภาษาพม่าแต่เพียงภาษาเดียว
วัฒนธรรมในการแต่งกาย  ประชาชนพม่านิยมแต่งกายตามแบบฉบับของเผ่าของตน จึงเป็นการยากที่จะให้แต่งกายแบบเดียวกัน แม้พม่าจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษนานถึง ๖๒ ปี แต่อิทธิพลวัฒนธรรมแบบตะวันตก ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของชาวพม่าได้
วัฒนธรรมผสม  เนื่องจากพม่าได้รับอิทธิพลจากหลายทางด้วยกัน เช่น จากอินเดีย จีน มอญ ธิเบต ลาว ไทย และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ประเพณีวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเข้าไปปะปนกับวัฒนธรรมของพม่า
ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับไทย หลังสงครามมหาเอเซียบูรพา เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๑ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกันไม่ใกล้ชิดเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยในพม่าที่อยู่ติดกับชายแดนไทย – พม่า
ปัญหาระหว่างพม่ากับไทย นอกจากชนกลุ่มน้อยแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องพรมแดน ปัญหาการประมง ปัญหาการค้า ตามแนวชายแดน ปัญหายาเสพติด
ปัญหาพรมแดน  แนวพรมแดนไทย – พม่า มีความยาวประมาณ ๑,๖๐๐ กิโลเมตร เป็นพรมแดนทางบกประมาณ ๑,๐๗๐ กิโลเมตร และพรมแดนทางทะเลประมาณ ๕๔๐ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายมายังจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดระนอง รวมเก้าจังหวัด มีปัญหาพรมแดนอยู่ห้าแห่งด้วยกันคือ
ปัญหาแม่น้ำสายเปลี่ยนทางเดิน  แม่น้ำสายเป็นแนวเส้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า อยู่ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เริ่มตั้งแต่ประตูน้ำเหมืองงาม ไปจนบรรจบกับลำน้ำรวก ตามข้อตกลงไทย – อังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ – ๒๔๗๕ ให้ใช้ร่องน้ำลึกกึ่งกลางแม่น้ำสายเป็นเส้นแบ่งเขตพรมแดน ต่อมาแม่น้ำสายเปลี่ยนทางเดิน ลึกเข้าไปในเขตพม่า ทำให้ไทยได้พื้นที่เพิ่มขึ้นมาประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ มีประชาชนไทยไปทำการเกษตรในบริเวณนี้
ไทยกับพม่าได้ประชุมปัญหาพรมแดนระหว่างกัน เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๖ แต่ยังตกลงกันไม่ได้ เพราะฝ่ายพม่าขอให้ใช้เส้นทางแม่น้ำสายเดิมที่แห้งไปเป็นเส้นพรมแดน ส่วนฝ่ายไทยต้องการให้ประชาชนไทยได้ทำการเกษตรในบริเวณนั้นต่อไป
ปัญหาดอยลาง  ดอยลางเป็นชื่อยอดเขาลูกหนึ่งอยู่ในตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้านที่ขึ้นทะเบียนอยู่ในตำบลแม่อายคือ บ้านปางแสนเครือ บ้านปางต้นเดื่อ บ้านปางต้นฆ้อง และบ้านดอยลาง หลังจากพม่าได้เอกราชจากอังกฤษแล้วก็ได้มีการส่งทหารมาตั้งค่ายอยู่ที่ดอย ผ้าห่มปกและดอยลาง แล้วเรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านดอยลาง ซึ่งพม่าถือว่าอยู่ในเขตพม่า ยังหาข้อยุติในเรื่องนี้ไม่ได้
ปัญหาบริเวณปากแม่น้ำกระบุรี  ตามข้อตกลงพรมแดนที่ไทยทำไว้กับอังกฤษ แต่เดิมได้ระบุไว้แต่เพียงเรื่องการกำหนดเขตแดนบริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จนนถึงทะเลเปิดไว้ว่า ให้ฝั่งและเกาะที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำกระบุรี ไปจนถึงปลายแหลมวิคตอเรียเป็นของอังกฤษ ส่วนฝั่งและเกาะทางด้านตะวันตก ของแม่น้ำกระบุรี เป็นของไทย แต่การแบ่งอาณาเขตทางทะเลต่อจากแม่น้ำดังกล่าวออกไปในทะเลมีความคลุมเครือ ไม่แน่นอน จึงทำให้เกิดปัญหาระหว่างไทยกับพม่า ในเรื่องกรรมสิทธิเหนือเกาะ ในบริเวณนั้นรวมสามเกาะคือ เกาะหลาม (๑๕๐ ไร่) เกาะตัน (๔ ไร่) และเกาะขี้นก (๓ ไร่) โดยที่พม่าได้กำหนดอาณาเขตทางทะเล ของคนในบริเวณนี้ ให้ครอบคลุมสามเกาะนี้เช่นกัน ปัจจุบันเกาะตันมีราษฎรไทยอาศัยอยู่ โดยที่ฝ่ายพม่าไม่ได้ทักท้วง และเกาะทั้งสามดังกล่าวนี้ ยังคงเป็นปัญหาการอ้างกรรมสิทธิกันอยู่
ปัญหาแม่น้ำรวกเปลี่ยนทางเดิน  บริเวณที่แม่น้ำรวกเปลี่ยนทางเดินที่สำคัญอยู่ทางทิศเหนือของบ้านศรีชัยภูมิ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งอาจมีผลทำให้ประเทศไทย ต้องเสียพื้นที่ไปประมาณ ๓๐๐ ไร่ นอกจากนี้ยังมีบริเวณอื่นที่มีแนวเปลี่ยนแปลงทางเดินของแม่น้ำรวกอีกหลาย แห่ง ทั้งที่เปลี่ยนเข้ามาในดินแดนไทย และเข้าไปในดินแดนพม่า แต่การได้หรือเสียพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงทางเดินของแม่น้ำรวกนั้น จะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ก็ต่อ เมื่อรัฐบาลไทยและพม่า ได้ทำความตกลงกันเสียก่อน
ปัญหาแม่น้ำเมยเปลี่ยนทางเดิน  จากการสำรวจสภาพภูมิศาสตร์ปรากฎว่าลำน้ำเมย ซึ่งเป็นแนวพรมแดนไทย – พม่า บริเวณใกล้แม่น้ำโกบเกนในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้เปลี่ยนทางเดิน ซึ่งอาจทำให้ไทยต้องเสียพื้นที่ไปประมาณ ๑๙๐ ไร่ ในเรื่องนี้ทางจังหวัดตาก ได้ดำเนินการให้จัดทำผนังกั้นน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางเดินของแม่น้ำเมยไปแล้ว
ปัญหาการประมง  สืบเนื่องมาจากชาวประมงไทยได้ลักลอบเข้าไปจับปลาในเขตน่านน้ำของพม่า เพราะมีปลาชุกชุมกว่าในเขตไทย พม่าจึงได้จับกุมเรือประมงไทย ที่ละเมิดน่านน้ำ ซึ่งบางครั้งก็มีเหตุการณ์รุนแรงเกินกว่าเหตุ
ปัจจุบันเรือประมงของไทยส่วนใหญ่ ไปจับปลาในบริเวณอ่าวเบงกอลนอกเขตน่านน้ำของพม่า แต่การเดินเรือของชาวประมงไทยไม่มีอุปกรณ์ทันสมัยพอ ดังนั้นในบางครั้งก็อาจผ่านเข้าไปในเขตของพม่าได้ เมื่อพม่าจับกุมเรือประมงได้ ทางการพม่าจะยึดเรือเอาไว้ ส่วนลูกเรือจะถูกจำคุกในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ลำลายระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของพม่า ทำลายทรัพย์สินของราษฎร
ในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น พม่าเคยทำความตกลงกับไทย โดยอนุญาตให้ชาวประมงไทยเข้าไปจับปลาในน่านน้ำของพม่าได้ แต่ต้องเสียค่าแบบธรรมเนียม ปรากฎว่าชาวประมงบางคนได้หลบเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียม พม่าจึงไม่อนุญาตให้ชาวประมงไทยเข้าไปจับปลาในเขตน่านน้ำพม่าอีก
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ พม่าได้ประกาศกฎหมายทะเลอาณาเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล ซึ่งอาจทำให้ไทยกับพม่า มีปัญหากระทบกระทั่งทางด้านการประมงมากขึ้น
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๑ พม่าได้เปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการประมงกับไทย โดยยินยอมให้เรือประมงไทยแล่นผ่านน่านน้ำอาณาเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลได้ แต่ห้ามทำการประมงในบริเวณดังกล่าว
ปัญหายาเสพติด  ปัญหาด้านยาเสพติดระหว่างไทยกับพม่า เกิดขึ้นเนื่องจากมีกลุ่มบุคคลและชนกลุ่มน้อยในพม่าบางกลุ่มได้ผลิตฝิ่น มอณ์ฟีน และเฮโรอีน ในเขตพม่าใกล้บริเวณพรมแดนไทย – พม่า เมื่อผลิตได้แล้วก็จะลำเลียงยาเสพติดเหล่านี้ผ่านกรุงเทพ ฯ และย่างกุ้ง เพื่อส่งต่อไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ ฝ่ายไทยเคยเสนอขอถ่ายภาพทางอากาศตามบริเวณชายแดนพม่า – ไทย เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามยาเสพติด แต่ฝ่ายพม่าปฏิเสธ
ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ไทยกับพม่าตกลงที่จะให้ความร่วมมือกันทางด้านการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกี่ยวกับยาเสพติดย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง และจะให้ความร่วมมือกันทั้งในด้านวิชาการ และปราบปรามทำลายสถานที่ผลิตยาเสพติดตามบริเวณพรมแดนระหว่างกัน โดยที่พม่าจะพยายามสะกัดกั้นการลำเลียงฝิ่นจากบริเวณชายแดนพม่าเข้าสู่เขต ไทย ทางฝ่ายไทยจะสะกัดกั้นการลำเลียงน้ำยาเคมี ซึ่งไปเป็นส่วนประกอบในการผลิตเฮโรอีนเข้าสู่เขตพม่า และในกรณีที่ฝ่ายพม่าจะปฏิบัติการกวาดล้างการผลิตยาเสพติด ก็จะแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้ฝ่ายไทยสะกัดกั้นมิให้ผู้ผลิตยาเสพติดหลบหนีเข้าเขตไทยได้
ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ทหารพม่าได้ปฏิบัติการยึด และทำลายโรงผลิตเฮโรอีนตามบริเวณชายแดนไทย – พม่า ด้านตรงข้ามกับเขตจังหวัดเชียงราย ในการนี้ทางการพม่าได้เชิญผู้ช่วยทูตทหาร และผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำพม่า ไปสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่กวาดล้าง มีการแสดงอุปกรณ์การผลิตเฮโรอีนที่ยึดได้ อุปกรณ์เหล่านี้ร้อยละ ๙๐ มีอักษรไทยติดอยู่ ในการกวาดล้างครั้งนี้ ทางการพม่ามิได้แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบเป็นการล่วงหน้า เพื่อการปราบปรามงานตามที่ได้ตกลงกันไว้
การลักลอบค้าของเถื่อนตามบริเวณชายแดน  มีการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี เช่น อัญมณี หยก ปศุสัตว์ ไม้สัก และวัตถุโบราณ จากพม่าเข้ามาขายในไทย ในขณะเดียวกันก็มีการลักลอบนำสินค้าเครื่องอุปโภคและบริโภคจากไทย เข้าไปขายในพม่า เนื่องจากพม่าขาดแคลนสินค้าดังกล่าว พม่าเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าว เป็นการบั่นทอนฐานะทางเศรษฐกิจของพม่า จึงได้ขอร้องให้ฝ่ายไทยพิจารณาปราบปราม ฝ่ายไทยก็ได้ให้ความร่วมมือด้วยดี นอกจากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ไทยและพม่าได้ตกลงที่จะเปิดการค้าระหว่างกัน ตามบริเวณพรมแดนของประเทศทั้งสอง รวมสามจุดด้วยกัน
ปัญหาชนกลุ่มน้อยของพม่าในไทย  เนื่องจากภูมิประเทศบริเวณพรมแดนไทย – พม่า ส่วนใหญ่เป็นถิ่นทุรกันดาร อยู่ห่างไกลจากการควบคุมดูแล ของเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมกับพวกชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาอยู่อาศัย พวกชนกลุ่มน้อยดังกล่าว ได้มีบางส่วนเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตแดนไทย นอกจากนี้ในส่วนที่อยู่ในเขตพม่า เมื่อถูกทหารรัฐบาลพม่าปราบปราม ก็หนีเล็ดลอดเข้ามาในเขตของไทย บางกลุ่มได้ตั้งด่านเก็บภาษีเถื่อนตามพรมแดนไทย – พม่า ลักลอบค้ายาเสพติด และสินค้าหนีภาษี
พฤติกรรมดังกล่าว ทำให้พม่าเกิดความคลางแคลงใจว่า ฝ่ายไทยให้การสนับสนุน และให้ที่พักพิงแก่ชนกลุ่มน้อยในพม่า
ปัญหาผู้พลัดถิ่น และผู้หลบหนีเข้าเมือง  มีชาวพม่าที่อพยพหลบภัยเข้ามาในเขตไทย แบ่งออกเป็นผู้ที่เข้ามาก่อนปี พ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งทางไทยถือว่า เป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ส่วนที่เข้ามาหลังจากนั้น ถือว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง
ประเทศไทย มีนโยบายต่อชนกลุ่มน้อย และผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ให้ผลักดันออกจากเขตแดนไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา แต่ก็ได้ผ่อนผันตามหลักมนุษยธรรม ให้พักพิงอยู่ในเขตแดนไทยได้เป็นการชั่วคราว โดยอยู่ในความควบคุม เพื่อรอการผลักดันออกไป แต่ถ้าเป็นชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ และผู้หลบหนีเข้าเมือง จะทำการผลักดันทันที นอกจากนั้นไทยยังได้จัดตั้งหมู่บ้านป้องกันตนเอง ชายแดนไทย – พม่า อีกด้วย

แหล่งอ้างอิง: http://www1.mod.go.th/heritage/nation/neighbour/myanmar.htm

 

ประเทศฟิลิปปินส์

ข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (republic of the Philippines)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  8 สิงหาคม 2510      

พื้นที่:298,170 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวงกรุงมะนิลา (Manila)

ประชากร : 88.7 ล้านคน (พ.ศ. 2550)

ภาษาราชการภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษ

ศาสนาร้อยละ 92 ของประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 5 นับถือพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 3

ระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

สกุลเงินเปโซ (Peso : PHP)

ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ ๗,๑๐๐ เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะบอร์เนียว และอยู่ทางใต้ของเกาะไต้หวัน หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ของทวีปเอเซียประมาณ ๙๗๐ กิโลเมตร
หมู่เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเกาะใหญ่ ๑๑ เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันเท่ากับร้อยละ ๙๐ ของพื้นที่ทั้งหมด เกาะต่าง ๆ ได้มีการตั้งชื่อแล้วไม่ถึงครึ่งของจำนวนเกาะทั้งหมด มีคนอยู่อาศัยบนเกาะต่าง ๆ เพียงประมาณ ๙๐๐ เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะลูซอน อยู่ทางเหนือ และเกาะมินดาเนา ที่อยู่ทางใต้
เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ ถ้าวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ จะมีความยาวประมาณ ๑,๘๕๐ กิโลเมตร ถ้าวัดจากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก จะมีความยาวประมาณ ๑,๑๐๐ กิโลเมตร เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็นสามหมู่คือ
หมู่เหนือ  ประกอบด้วย สองเกาะใหญ่ ๆ คือ เกาะลูซอน (Luzon) และเกาะะมินโดโร (Mindoro)
หมู่กลาง  เรียกว่า Visa yas ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ ๗,๐๐๐ เกาะ
หมู่เกาะใต้  ประกอบด้วย เกาะมินดาเนา (Mindanao)  และ Sulu Archipa lago   หมายถึง หมู่เกาะต่าง ๆ ประมาณ ๔๐๐ เกาะ ซึ่งอยู่เรียงรายทางใต้ของเกาะมินดาเนา ไปจนถึงทางทิศตะวันตกของเกาะบอร์เนียว
เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ ที่มีพื้นที่ ๑ ตารางไมล์ หรือมากกว่าเล็กน้อยมีอยู่ไม่ถึง ๕๐๐ เกาะ ตลอดชายฝั่งทะเลมีอ่าวเล็ก อ่าวใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแนวฝั่งที่ยาว กว่าแนวฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ มีร่องลึกมินดาเนา ซึ่งเป็นทะเลที่มีความลึกมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ มีความลึกมากกว่า ๑๐,๔๐๐ เมตร
ภูเขาและเทือกเขา  เทือกเขาบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกภูเขาไฟ ที่ตั้งรายล้อมเป็นวงกลม ในมหาสมุทรแปซิฟิค มีแม่น้ำและทะเลสาบ อยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ระหว่างช่องเขา
ภูเขาที่สูงที่สุดในฟิลิปปินส์คือ ภูเขาอาโป (Apo) มีความสูงถึง ๒,๙๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา
ฟิลิปปินส์มีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอีก ๕๐ แห่ง และมีภูเขาหินปูนอยู่กระจัดกระจาย ตามบริเวณเกาะต่าง ๆ และยิ่งไปกว่านั้น เกาะฟิลิปปินส์ ยังตั้งอยู่ในแนวแผ่นดินไหวของโลกอีกด้วย จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นบ่อย ๆ
ที่ราบระหว่างเนินเขาต่าง ๆ มีดินที่อุดมสมบูรณ์ดี เพราะได้ปุ๋ยจากเถ้าถ่านภูเขาไฟ เหมาะแก่การเพาะปลูก
แม่น้ำสำคัญ  แม่น้ำในฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ มีขนาดเล็ก ๆ และสั้นคล้ายญี่ปุ่น และมีอยู่เป็นจำนวนมาก แม่น้ำใหญ่ ๆ มีอยู่ไม่กี่สาย แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสายใช้เป็นเส้นทางเดินเรือกลไฟ และเรืออื่น ๆ แม่น้ำที่สำคัญของฟิลิปปินส์คือ
แม่น้ำคากายัน (Cagayan)  อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียเหนือของเกาะลูซอน เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ มีความยาวประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ ให้น้ำสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ ๑๖,๐๐ ตารางไมล์
แม่น้ำอักโน (Agno)  เป็นแม่น้ำที่ไหลอยู่ตามบริเวณเทือกเขาตอนกลางของเกาะลูซอน
แม่น้ำปามปันกา (Pampanga)  เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ทางภาคเหนือ และภาคกลางของเกาะลูซอน แล้ไปออกทะเลทางเหนือสุดของอ่าวมนิลา
แม่น้ำปาสิก (Pasig)  แม่น้ำนี้มีความสำคัญเนื่องจากบนปากแม่น้ำสายนี้ เป็นที่ตั้งของกรุงมนิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า และเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ เป็นทางระบายน้ำของทะเลสาบน้ำจืด ลากูนา เดอ เบย์ (Laguna de bay)  นอกจากนั้นยังเป็นเส้นทางการค้าของเรือกลไฟที่ขนส่งสินค้าระหว่าง กรุงมนิลา กับบริเวณที่อุดมสมบูรณ์บนฝั่งทะเลสาบ
แม่น้ำมินดาเนา  เป็นแม่น้ำสำคัญบนเกาะมินดาเนา
ประชากร
ชาวเกาะฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาคล้ายพวกมองโกล ผสมผสาน มีผิวสีน้ำตาล แต่บางพวกก็มีผิวค่อนข้างขาว การที่ชาวฟิลิปปินส์มีลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นผล สืบเนื่องมาจากความซับซ้อนของเผ่าพันธุ์ อันเกิดจากการผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติต่าง ๆ คือ
ชนเผ่าดั้งเดิม  ตามตำนานของฟิลิปปินส์ กล่าวว่าประชาชนของตนเกิดมาจากปล้องไม้ไผ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดียืนยันว่า มีมนุษย์ดึกดำบรรพ์อย่างเช่น มนุษย์ชวา (Java man) อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์มาตั้งแต่สมัยน้ำแข็ง (Ice Age)  มีลักษณะสมองเล็ก หน้าผากแคบลาดต่ำ มีความสูงประมาณ ๔ – ๕ ฟุต ผิวเนื้อดำแดง ผมหยิก ซึ่งเรียกกันว่า คนแคระ (Pigmy) ซึ่งปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์หมดแล้ว คนพวกนี้คือ บรรพบุรุษของชาวอีต้าส์ (Aetas)
เผ่าอินโดเนเซีย  ระหว่าง ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปี มาแล้ว เมื่อยุคน้ำแข็งปกคลุมโลก เริ่มละลายแผ่นดินที่เชื่อมหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และทวีปเอเชีย จมหายไปในทะเล ในยุคนี้มีชาวอินโดเนเซีย จากเอเซียอาคเนย์ เดินทางเข้าไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์โดยทางเรือ พวกนี้รูปร่างค่อนข้างสูง ผิวไม่ดำนัก และริมฝีปากบาง รู้จักการใช้หินขัดทำขวาน สิ่ว และเครื่องมือที่ทำด้วยไม้ นักมานุษยวิทยาได้จัดแบ่งคนกลุ่มนี้ไว้ ในกลุ่มชาวอินโดเนเซีย เอ (A) และผู้ที่สืบทอดจากชนกลุ่มนี้ ได้กลายมาเป็นประชากรฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ ๑๒ ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ในช่วงระยะเวลา ๑,๕๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีก่อนคริสกาล มีชาวผิวดำ จมูกโตแบน จากอินโดเนเซีย และภาคใต้ของจีน เดินทางมาอยู่ในฟิลิปปินส์ ต่อมาชนกลุ่มนี้ก็กลายเป็นชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ ๑๘ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ชนกลุ่มนี้รู้จักการสร้างบ้าน หลัวคาทรงปิรามิด การทำนา บนที่ดอน และการคิดทำเครื่องมือช่วยในการทำนา ซึ่งทำด้วยหินชนิดแข็ง นักมานุษยวิทยาได้จัดคนพวกนี้เข้ากลุ่ม ชาวอินโดนีเซีย บี (B)
ต่อมาประมาณ ๘๐๐ ปีก่อนคริสตกาล มีประชากรที่มีวัฒนธรรมสูง รู้จักใช้โลหะบรอนซ์ – ทองแดง (Bronze – Copper Culture) ได้นำเอาความรู้เรื่องการชลประทาน เพื่อการปลูกข้าวมาเผยแพร่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ด้วย  ในปัจจุบัน คนที่สืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มนี้ มีอยู่ประมาณร้อยละ ๓ ของประชากรทั้งหมด คนกลุ่มนี้ถูกจัดไว้ในกลุ่มชาวอินโดนีเซียบี (B)
ชาวมาเลย์  มีลักษณะแบบชาวมองโกลอยด์ คือมีความสูงปานกลาง ค่อนข้างผอม แต่แข็งแรง จมูกแบน ผมดำตาสีน้ำตาล ผิวสีน้ำตาล  ได้เดินทางมาอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังพวกอินโดนีเซีย ชาวมาเลย์ได้พากันอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์สามครั้งด้วยกันคือ
ครั้งแรก  เข้าไปเมื่อประมาณ ๓๐๐ – ๒๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช โดยเดินทางมาในเรือลำเล็ก มาขึ้นที่เกาะลูซอน และเกาะมินดาเนา  คนกลุ่มนี้รู้จักการทำชลประทานเพื่อการปลูกข้าว ประเพณีของชนกลุ่มนี้คือการล่าหัวมนุษย์ ชาวฟิลิปปินส์ปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มนี้ สันนิษฐานว่าคือชาวอีฟูเกา (Ifugaos) ซึ่งอยู่ตามบริเวณเทือกเขาของภาคเหนือของเกาะลูซอน
ครั้งที่สอง  เข้ามาประมาณคริสตศตวรรษที่ ๑ ติดต่อเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ ๙ ซึ่งในขณะนั้นพ่อค้าชาวอาหรับและชาวจีน ทำการค้าขายอยู่ในเอเซียอาคเนย์ อย่างกว้างขวาง มีเส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างจีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว และมะลักกา ชาวมาเลย์ที่อพยพเข้ามาอยู่ในฟิลิปปินส์ครั้งที่สอง นี้มีวัฒนธรรมสูงมาก แข่งกับกลุ่มชาวจีน คือมีภาษาเขียนแบบของตนเอง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นประชากรส่วนใหญ่ของฟิลิปปินส์ ในปัจจุบันซึ่งรวมถึงชาวตากาลอก (Tagalogs) อิโลคาโน (Ilocanos)  บิคอลส์ (Bikols)  วิสายัน (Visayans) และปามปันกา (Pampangans) อยู่ด้วย
ครั้งที่สาม  เข้ามาระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๓ – ๑๙๙๓  คนมาเลย์ที่อพยพเข้ามากลุ่มนี้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้นตระกูล ของชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาอิสลามในปัจจุบัน  อย่างไรก็ดี ชาวมาเลย์กลุ่มนี้ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามมาก่อน แต่ที่มานับถือ เนื่องมาจากราชามากินดา (Rajah Baguinda) ของซูลู และชาริฟมูฮัมเหม็ด กาบัง สุโรน (Sharit Muhammed Kabangsuroan) มาจากยะโฮร์ (Jahore) และต่อมาเป็นสุลต่านคนแรกของเกาะมินดาเนา นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ ในขณะที่พวกที่สืบเชื้อสายมาจากชาวมาเลย์ที่เข้ามาครั้งที่สอง หันไปนับถือศาสนาคริสต์ และใช้วัฒนธรรมแบบตะวันตก ซึ่งพวกสเปนนำไปเผยแพร่
ชาวจีน  ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชาวจีนเริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๑ โดยเริ่มจากการไปติดต่อค้าขายกับชาวหมู่เกาะ และได้อพยพไปตั้งบ้านเรือนและกลายเป็นชาวเกาะไป
ประเทศไทยในสมัยสุโขทัยก็เคยติดต่อค้าขายกับหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลักฐานที่พบคือได้มีผู้ขุดพบเครื่องสังคโลก ในหมู่เกาะเชาตาควน (Chao Ta-kuan)
นักเดินทางชาวจีนในคริสตศตวรรษที่ ๑๐ ได้บันทึกไว้ว่า พ่อค้าชาวต่างประเทศได้นำเครื่องลายคราม ทองคำ แจกัน ทำด้วยเหล็ก เครื่องแก้ว ไข่มุก ผ้าไหม เป็นต้น ไปขายให้หมู่เกาะ  และชาวเกาะได้ส่งฝ้าย และสิ่งของที่ทำด้วยปอมนิลา และมะพร้าว เป็นต้น ออกไปขายในต่างประเทศเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
สเปน  สเปนสนใจหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งแต่เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (Ferdinana Magellan) ได้เดินเรือมาถึงเกาะเซบู (Cebu) เพื่อแสวงหาเครื่องเทศ ชาวสเปนที่ติดตามมา เรียกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ว่า หมู่เกาะตะวันตก (Western Island)  แมกเจลแลนได้เปลี่ยนชื่อหมู่เกาะเป็นชื่อ เซนต์ ลาซารัส (Saint Lazarus)   แมกเจลแลนถูกฆ่าตายในการรบ ระหว่างชาวเกาะผู้ติดตามมาในขบวนเรือของเขา ได้คุมเรือกลับไปถึงสเปน เมื่อปี ค.ศ.๑๕๒๒  ชาวสเปนจึงได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับหมู่เกาะนี้
ต่อมาในปี พ.ศ.๑๕๔๓ ชาวสเปน คนหนึ่งได้ให้ชื่อหมู่เกาะเสียใหม่ว่า เฟลิปปินา (Felipina) ต่อมาเปลี่ยนเป็น Philippine  เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่เจ้าชายฟิลิป รัชทายาทแห่งสเปญ
ชาวปอร์ตุเกส อ้างว่าหมู่เกาะฟิลิปปนส์เป็นของตน แต่สเปญไม่ยอม ในที่สุดเมื่อปี ค.ศ.๑๕๒๙ ทั้งสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาชื่อเซรากอสชา (Seragossa) โดยมีสาระสำคัญคือ
– สเปญยอมสละข้อเรียกร้องของตน เกี่ยวกับเกาะโมลัคคัส (Moluccas) และได้รับเงินจำนวน ๓๕๐,๐๐๐ ดูคัท (Ducat ) เป็นการตอบแทน
– เส้นแบ่งเขตโลกตะวันออก ได้ขยายออกไปทางทิศตะวันออกของเกาะโมลัคคัส เป็นระยะ ๒๙๗ ๑/๒ ลีค (Leagues – ประมาณ ๙๐๐ ไมล์)
ต่อมาเจ้าชายฟิลิป ได้ครองสเปญ เมื่อ ค.ศ.๑๕๕๖ พระองค์สนพระทัย จะได้หมู่เกาะฟิลิปปินส์มาเป็นอาณานิคม จึงให้อุปราชสเปญประจำเมกซิโก เตรียมการจะยกทัพเรือไปยึดหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ต่อมาเมื่อปี ค.ศ.๑๕๖๔ ได้มีผู้คุมกองเรือสเปญมุ่งไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ขบวนเรือแล่นได้ถึงเกาะเซบู ปรากฎว่าชาวเมืองแสดงตนไม่เป็นมิตรต่อสเปญ ชาวปอตุเกสก็คอยรบกวนสเปญอยู่เสมอ
ต่อมาในปี ค.ศ.๑๕๗๐ กองเรือสเปญดังกล่าวได้เข้าตีเมืองมนิลา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ของพวกโมโร (Moro) อยู่ในเกาะลูซอน อยู่ในการปกครองของ ราชา โซลิมัน (Rajah Soliman) เมื่อตีได้เมืองมนิลาแล้วก็ได้ประกาศตั้งเมืองมนิลาเป็นเมืองหลวงของหมู่ เกาะฟิลิปปินส์ เมื่อปี ค.ศ.๑๕๗๑ (พ.ศ.๒๑๑๔) หมู่เกาะฟิลิปปินส์ จึงตกเป็นของสเปญตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ปรากฎว่าหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไม่อุดมด้วยเครื่องเทศ รัฐบาลสเปญได้ส่งเสริมให้เผยแพร่คริสศาสนานิกายโรมันคาธอลิค คริสตศาสนานิกายนี้จึงได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของหมู่เกาะ เนื่องจากศาสนาอิสลาม มีผู้นับถืออยู่มากในภาคใต้ของหมู่เกาะ
สเปญได้ตั้งผู้สำเร็จราชการมาประจำหมู่เกาะ ภายหลังงปี ค.ศ.๑๕๘๑ สันตปาปาได้ตั้งมนิลาเป็นศูนย์กลางของคณะบาดหลวง โดยตั้งอารต์ปิชอบ (Arch bishop) เป็นประมุข
ปอร์ตุเกส  ได้พยายามขับไล่สเปญให้ออกไปจากฟิลิปปินส์ โดยในปี ค.ศ.๑๕๗๐ ได้ยกขบวนเรือเข้าไปในท่าเรือเมืองเซอูล และบังคับให้สเปญรื้อป้อมที่เมืองนั้น แต่ชาวสเปญสู้รบอย่างเข้มแข็ง ในที่สุดกองเรือปอร์ตุเกสต้องล่าถอยกลับไป
ฮอลันดา  ฮอลันดาได้ไปตั้งมั่นอยู่ในชวา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปัตตาเวีย (Batavia) ได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกขึ้น และบริษัทนี้ ได้ขยายตังออกไปปกครองหมู่เกาะใกล้เคียง ในระยะ ๕๐ ปีแรกของคริสตศตวรรษที่ ๑๗ ฮอลันดาได้ปะทะกับสเปญหลายครั้ง และเมื่อปี ค.ศ.๑๖๔๗ ได้ปะทะกันที่แหลมบาแทน (Bataan) ใกล้มนิลา ปรากฎว่า ฮอลันดาพ่ายแพ้ยับเยินไม่กล้าไปรบกวนสเปญ ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์อีกต่อไป
อังกฤษ  สเปญปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์อย่างกดขี่ชาวพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองที่ต้องการหลบอำนาจของสเปญ ก็มักจะไปเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ เพื่อขอความคุ้มครองจากบาดหลวง ประชาชนต้องจ่ายค่าส่วยสาอากร และถูกเกณฑ์แรงงาน จึงได้ก่อการกบฎต่อสเปญหลายครั้ง เช่นในคริสตศตวรรษที่ ๑๗ มีถึง ๑๓ ครั้ง  แต่สเปญสามารถปราบปรามได้
ในตอนปลายสงครามเจ็ดปี (ค.ศ.๑๗๕๖ – ๑๗๖๓) กองทัพเรืออังกฤษได้เข้าโจมตีหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และยกพลขึ้นบกที่เมืองมนิลา และยึดเมืองไว้ได้ แล้วกระจายกำลังไปยึดครองภาคอื่น ๆ ของหมู่เกาะ อังกฤษยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่สองปี ก็ยุติลงด้วยสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ.๑๗๖๓) อังกฤษถอนตัวออก เมื่อปี ค.ศ.๑๗๖๔ สเปญก็กลับเข้าปกครองหมู่เกาะตามเดิม
สหรัฐอเมริกา  ในปี ค.ศ.๑๘๙๕ ได้เกิดกบฎในคิวบา ที่สเปญปกครองอยู่ สหรัฐเข้าข้างพวกกบฎ สเปญได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐเมื่อปี ค.ศ.๑๘๙๘ กองเรือสหรัฐอเมริกาประจำน่านน้ำตะวันออก ได้นำกำลังไปยังน่านน้ำมนิลา เกิดการปะทะกับกองเรือสเปญ ผลจากการปะทะกัน สเปญยอมแพ้สหรัฐ ฯ ทั้งในฟิลิปปินส์และในคิวบา ยอมสงบศึกโดยทำสนธิสัญญาปารีส ๑๘๙๘ (Paris threaty ๑๘๙๘) ว่าสเปญมอบอิสระภาพให้คิวบา ให้คิวบาเป็นประเทศอิสระ ภายใต้การคุ้มครองของสหรัฐ ฯ มีฐานะเป็นรัฐลูกค้า (Client State) และสเปญโอน เปอร์โต ริโก (Puerto Rico) กับฟิลิปปินส์ให้สหรัฐ ฯ ส่วนสหรัฐ ฯ ยอมจ่ายเงิน ๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ ให้แก่สเปญ
ในการปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการเพื่อให้หมู่เกาะได้เอกราชในที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ.๑๙๑๖ ได้ประกาศรัฐบัญญัติชื่อว่า Jones Act โดยมีความมุ่งหมายที่จะเพิกถอนอำนาจอธิปไตยของตน ออกจากหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี ค.ศ.๑๙๓๔ ได้มีการตรารัฐบัญญัติกำหนดระยะเวลาที่จะให้เอกราชกับหมู่เกาะ
ในปี ค.ศ.๑๙๓๕ ฟิลิปปินส์ได้ตรารัฐธรรมนูญขึ้น ตั้งหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นวงไพบูลย์ร่วมกัน (Common Wealth) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แต่ยังคงปกครองภายใต้การควบคุมของข้าหลวงใหญ่สหรัฐ ฯ
ภาษา  จากความซับซ้อนของประวัติความเป็นมาและเชื้อชาติ ทำให้ฟิลิปปินส์มีภาษาพูดในปัจจุบันมากกว่า ๑๐๐ ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่มีรากเง้ามาจากภาษามาเลย์
ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาตากาลอก (Tagalog) ซีบูโน (Cebuno) โอลอนโก (Ilongo) วาเรย์ – วาเรย์ (Waray – Waray) อิโลคาโน (Ilocano) ปามปันโก (Pampanco) และไบกอล (Bikol)
สมัยที่ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในการปกครองของสเปญ เป็นเวลาประมาณ ๓๐๐ ปีนั้น ภาษาทางราชการคือ ภาษาสเปญ และเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามาปกครองต่อจากสเปญ เป็นเวลาอีกประมาณ ๕๐ ปี ภาษาทางราชการก็เปลี่ยนมาเป็นภาษาอังกฤษ ปัจจุบันภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปปินส์ ซึ่งแปลงมาจากภาษากาตาลอก อันมีรากฐานมาจากภาษามาเลย์ และเป็นภาษาบังคับในโรงเรียน แต่เนื่องจากทั่วประเทศ มีภาษาแตกต่างกัน หลายภาษาจึงให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อกลาง
ศาสนา  ชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เรียกว่า Bathalang Majkapall  เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่น ๆ อีกมาก ที่มีอำนาจรองลงมา
คนพื้นเมือง จะมีพิธีทางศาสนาด้วยการสวดมนต์ และบูชายัญต่อเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีนักบวชของนิกายนั้น ๆ เป็นผู้ทำพิธี
นอกจากเทพเจ้าแล้ว ชาวพื้นเมืองยังนับถือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดาวตก ผีพุ่งใต้ และรวมไปถึงการนับถือบูชาสัตว์บางชนิด เช่น นก และจรเข้ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีต้นไม้ใหญ่ ที่มีอายุมาก แม่น้ำ ก้อนหิน ที่ถูกธรรมชาติตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และแปลก
นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว วิญญาณก็จะต้องท่องเที่ยว จะได้ขึ้นสวรรค์ถ้าคนนั้นมีพฤติกรรมดี ส่วนผู้ที่กระทำชั่ว ดุร้าย โหดเหี้ยม ไม่ยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ก็จะถูกพระเจ้าลงโทษ และนำไปสู่นรก
ความเชื่อในยุคโบราณดังกล่าวยังคงมีอยู่ เป็นมรดกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตเห็นได้จากงานเทศกาล และพิธีการต่าง ๆ ของชาวฟิลิปปินส์
ศาสนาอิสลาม  เริ่มเข้ามาสู่คนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ เมื่อคริสตศตวรรษที่ ๑๔ โดยชนชาวอาหรับได้เข้ามาระหว่างที่มีการติดต่อค้าขายกับฟิลิปปินส์ ปัจจุบันศาสนาอิสลามเริ่มมีบทบาท และอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวฟิลิปปินส์เป็นอย่างมาก พวกนี้จะเรียกตนเองว่า โมโร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ในเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู เป็นส่วนมาก
ศาสนาคริสต์  นิกายโรมันคาธอลิค เป็นนิกายที่สเปญนำเข้ามเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ ในระหว่างที่สเปญปกครองฟิลิปปินส์ คนฟิลิปปินส์ ให้การยอมรับนับถือนิกายนี้มาก และศาสนาคริสต์มีอิทธิพลในวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์มาก นอกจากนี้การนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค ยังสามารถมีสิทธิในการยกเว้นภาษี และได้รับผลประโยชน์อื่น ๆ อีกด้วย เพราะบาทหลวงจะเป็นผู้คอยปกป้องบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลา ด้วยสาเหตุดังกล่าว คริสตศาสนา จึงเป็นศาสนาประจำชาติ ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน นิกายโรมันคาธอลิค มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๘๓ นิกายโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ ๓ รวมเป็นประมาณร้อยละ ๘๖
หลังจากที่สหรัฐ ฯ เข้ามามีบทบาทในการปกครองฟิลิปปินส์แล้ว สหรัฐ ฯ ได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ชาวฟิลิปปินส์อย่างมาก และเปิดโอกาสให้ประชาชน มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และได้นำเอานิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ด้วย จากสถิติของประชากรที่นับถือศาสนาต่าง ๆ นอกจากศาสนาคริสต์ แล้ว มีผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ ๔ ไม่นับถือศาสนาใดประมาณร้อยละ ๒
การเมืองและการปกครอง
แต่เดิมฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบประธานาธิบดี ต่อมาได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกำหนดให้ฟิลิปปินส์เป็นสาธารณรัฐ มีระบบการปกครองแบบรัฐสภา ประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ และต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ ในขณะดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฟิลิปปินส์ที่ร่างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ และประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ประธานาธิบดีเฟอร์ดินาล มาร์กอส ได้ประกาศกฎอัยการศึกตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๗๘ แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนฉบับเดิม รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเพียง ๑๗ มาตรา ประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖  กำหนดให้ฟิลิปปินส์ มีการปกครองแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
รัฐธรรมนูญฉบับเดิม และโครงสร้างของการปกครองฟิลิปปินส์มีอุปสรรคขัดขวางความเจริญอย่างหนึ่งคือ บรรดาเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวย เข้ามามีอิทธิพลในสภาของฟิลิปปินส์ คนกลุ่มนี้จะสนใจเฉพาะผลประโยชน์ และความมีอภิสิทธิ์ของพวกตนเท่านั้น
เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ ที่ประกอบด้วยเกาะเป็นจำนวนมาก และอยู่อย่างกระจัดกระจาย การปกครองจึงจำเป็นต้องมาจากส่วนกลางมากกว่า จะเป็นการปกครองแบบสหพันธ์ เช่น สหรัฐอเมริกา
โครงสร้างของรัฐบาล  ฟิลิปปินส์เป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย และจีนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเซียอาคเนย์  ฟิลิปปินส์ไม่มีสิ่งก่อสร้างเก่า ๆ ในยุคเดิม ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ที่แพร่เข้ามาในเอเซียอาคเนย์ในครั้งแรก ไม่ได้ฝังรากมั่นคงในดินแดนแห่งนี้ จะมีมากก็เฉพาะศาสนาอิสลาม ที่แพร่เข้าไปบริเวณเกาะซูลู และเกาะมินดาเนา พอดีสเปนได้เข้ามาถึงดินแดนนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๔
สเปนได้สร้างกรุงมะนิลาขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเมืองแบบสเปน มะนิลาได้ชื่อว่า เป็นเมืองเก่าของพวกยุโรปในบริเวณตะวันออกไกล
สเปนมีอำนาจบังคับบัญชาดินแดน ที่มีประชากรอยู่เป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์ได้ จะเว้นก็แต่พวกมุสลิมที่อยู่ทางใต้ แถบเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู   อำนาจการบังคับบัญชา ขึ้นอยู่กับอุปราชของสเปนที่เม็กซิโก ในช่วงระยะเวลาที่สเปนเข้ามาเป็นผู้ปกครอง ศาสนาคริสต์ได้กลายเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลเหนือคนพื้นเมือง
ขณะที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในระยะแรก ชาวฟิลิปปินส์ไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านอำนาจสเปนมากนัก ต่อมาเมื่อสเปนมีข้อพิพาทกับสหรัฐอเมริกา กองทัพเรือสหรัฐ ฯ มีชัยชนะสเปนที่อ่าวมนิลาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๑  อำนาจการปกครองของสเปนเหนือดินแดนฟิลิปปินส์มาเป็นเวลา ๓๗๗ ปี ก็เปลี่ยนมือไป ได้มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒

ปัญหาคอมมิวนิสต์ในประเทศ  ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ประธานาธิบดีโรซาสได้ออกกฎหมายนิรโทษผู้สมรู้ร่วมคิดกับญี่ปุ่น ปัญหาด้านนี้ก็หมดไป ยังมีแต่การก่อความไม่สงบของพวกชาวนา และเกษตรกร พวกนี้ได้ร่วมกันเข้าไปอยู่ในขบวนการคอมมิวนิสต์ หรือพวกฮุกบาลาฮับ (Hukbalahups) หรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน ที่ต่อต้านญี่ปุ่น ถือว่าพวกนี้เป็นพวกนอกกฎหมาย ได้มีการระดมกำลังเข้าปราบปราม เริ่มใช้โครงการปฏิรูปที่ดิน และการปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ ตั้งธนาคารกลางขึ้นรวมทั้งบริษัท ให้กู้เงินเพื่อฟื้นฟูประชาชน
มีการออกกฎหมายให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองนอกกฎหมาย เพื่อป้องกันการแทรกซึมของพวกคอมมิวนิสต์
นโยบายต่างประเทศ  ก่อนปี พ.ศ.๒๕๑๑ สหรัฐอเมริกามีบทบาททั้งการทหาร และเศรษฐกิจในฟิลิปปินส์มากที่สุด
ส่วน ญี่ปุ่นมีบทบาทเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น และในระยะเวลาดังกล่าว ฟิลิปปินส์มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ จึงไม่ได้มีการสร้างความสัมพันธ์ กับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์แต่อย่างใด
หลังปี พ.ศ.๒๕๑๑ ฟิลิปปินส์เริ่มผ่อนคลายความผูกพันที่มีอยู่กับสหรัฐ ฯ ทั้งทางทหาร และทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ได้หาทางผูกมิตร กับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในอินโดจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘  ฟิลิปปินส์ได้แสดงท่าทีว่าต้องการพึ่งตนเองมากขึ้น
หลังจากที่ฟิลิปปินส์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนและสหภาพ โซเวียตรัสเซีย แล้ว ฟิลิปปินส์ได้พยายามดำเนินนโยบายต่างประเทศ อย่างอิสระมากขึ้น ได้เริ่มนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด รวมทั้งได้พยายามส่งเสริม และเข้าร่วมในกิจการต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศโลกที่สาม
ได้มีการปรับปรุงนโยบายต่างประเทศ ที่จะส่งเสริมความมั่นคงของอาเซียนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศโลกที่สาม สนับสนุนอาหรับในการแสวงหาสันติภาพถาวร ในตะวันออกกลาง เป็นต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ความสัมพันธ์กับสหรัฐ ฯ  ฟิลิปปินส์มีความผูกพันแน่นแฟ้นกับสหรัฐ ฯ มากที่สุด จนกล่าวกันว่า ฟิลิปปินส์เป็นรัฐ ๕๑ ของสหรัฐ ฯ ในขณะนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐ ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมแก่ฟิลิปปินส์เป็นอันมาก ได้มีข้อตกลง และสัญญาทางทหารระหว่างกันอยู่สามฉบับ
หลังจากเวียดนามใต้ และกัมพูชาตกเป็นของคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้มีการกล่าวถึงปัญหาฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๙ สหรัฐ ฯ และฟิลิปปินส์ได้นำข้อตกลงฉบับแรกที่ทำไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ มาทบทวน เพื่อแก้ไขใหม่ มีการเจรจากันหลายครั้ง ในที่สุดได้บรรลุข้อตกลงในปี พ.ศ.๒๕๒๒ โดยสหรัฐ ฯ ยืนยันในอธิปไตยของฟิลิปปินส์ เหนือฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ทุกแห่ง
ความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต  เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และทำการค้าระหว่างกัน ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ เริ่มทำการค้าระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕
ความสัมพันธ์กับประเทศจีน  เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และทำการค้าระหว่างกัน ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘
ความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น  ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับสหรัฐ ฯ และญี่ปุ่น ลงทุนในฟิลิปปินส์เป็นอันดับสองรองจากสหรัฐ ฯ
ความสัมพันธ์กับประเทศอินโดจีน  ได้แก่ กัมพูชา และเวียดนาม
ประเทศกัมพูชา  ฟิลิปปินส์ได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชา ในระดับเอกอัคราชทูต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙
เวียดนาม  ได้มีการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙
ปัญหาหมู่เกาะสแปรตลี  ฟิลิปปินส์ไม่เห็นด้วย กับปฎิบัติการของไต้หวัน และเวียดนามใต้ ที่พยายามจะยึดครองเกาะสแปรตลี ในทะเลจีนใต้ และได้แถลงปฎิเสธ ข้อกล่าวหาของเวียดนามใต้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ที่ว่า ฟิลิปปินส์ส่งกองทหารเข้ายึดครองเกาะสองแห่ง ในหมู่เกาะสแปรตลี และย้ำว่าฟิลิปปินส์ไม่เคยอ้างสิทธิใด ๆ เหนือหมู่เกาะสแปรตลี นอกจากหมู่เกาะกาลายา ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับเกาะสแปรตลี เท่านั้น
ความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน  ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือกันก่อตั้งสมาคมอาสา (ASA) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ต่อมาได้เชิญอินโดนิเซีย กับสิงคโปร์เข้าร่วมด้วย และจัดตั้งเป็นสมาคมใหม่ เรียกว่าสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Asean) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก และต่อมาได้ขยายขอบเขตไปสู่ความร่วมมือทางการเมืองด้วย
ฟิลิปปินส์มีปัญหาขัดแย้งกับมาเลเซียเรื่องรัฐซาบาห์ ซึ่งฟิลิปปินส์เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนซาบาห์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๔ ก่อนที่ซาบาห์จะรวมเข้ากับสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาความขัดแย้งรุนแรงขึ้น โดยฟิลิปปินส์กล่าวหาว่า มาเลเซียให้การสนับสนุนกบฎมุสลิมทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ จนในที่สุดประเทศทั้งสองได้ตัดความสัมพันธ์กัน ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๑ และได้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในกลางปี พ.ศ.๒๕๑๓ ปัญหาข้อขัดแย้งรัฐซาบาห์ ยุติลงได้ชั่วคราวในปี พ.ศ.๒๕๒๐
สำหรับประเทศอื่น ๆ ในสมาคมอาเซียนอีกสามประเทศคือ ไทย อินโดนิเซีย และสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ก็มีความสัมพันธ์อันดีมาตลอด
ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๘ ฟิลิปปินส์ได้เจรจากับอินโดนิเซีย เพื่อให้อินโดนิเซียไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับปัญหากบฎมุสลิมทางภาคใต้ของ ฟิลิปปินส์ ต่อมาในปลายปี พ.ศ.๒๕๒๑ อินโดนิเซียและมาเลเซียได้เสนอให้ฟิลิปปินส์ เปิดการเจรจาสันติภาพกับกบฎมุสลิมต่อไป โดยที่สองประเทศยินดีจะเข้าเป็นผู้พิจารณาไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งด้วย
    แนวนโยบายเกี่ยวกับประเทศไทย
ด้านการเมือง  ตามสนธิสัญญามนิลา ปี พ.ศ.๒๔๙๗ (SEATO) ฟิลิปปินส์เคยแถลง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ ว่า ในแง่กฎหมายกฎบัตรของสนธิสัญญา ยัมีผลใชับังคับอยู่แต่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาอีก เพราะไม่เชื่อว่า ประเทศไทยจะถูกโจมตีจากภายนอก
ปัญหากบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยได้ เนื่องจากกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโรของฟิลิปปินส์ มีขีดความสามารถในการดำเนินการต่อสู้ ที่ก้าวหน้ามากกว่า ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก) ในภาคใต้ของไทย ซึ่งหากกบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ดำเนินการบรรลุเป้าหมายแล้ว ย่อมเป็นทางให้ขบวนการโจรก่อการร้ายในภาคใต้ของไทย ถือเป็นแบบอย่างได้

แหล่งอ้างอิง: http://www.aseankan1.com/index.php?mo=3&art=650874

 

ประเทศมาเลเซีย

ข้อมูลประเทศมาเลเซีย

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ: มาเลเซีย (Malaysia)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  8 สิงหาคม 2510      

พื้นที่:330,257  ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง:กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)

ประชากร : 26.24 ล้านคน ( ปี 2549 )

ภาษาราชการ:มาเลย์ (Bahasa Malaysia)

ศาสนา:ร้อยละ 60.4 ของประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 19.2 นับถือพระพุทธศาสนา ร้อยละ 6.3 นับถือศาสนาฮินดู และอื่น ๆ ร้อยละ 2.5

ระบอบการปกครอง:ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)

สกุลเงิน:ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)

ประเทศมาเลเซียในปัจจุบันแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเรียกว่า มาเลเซียตะวันตก และส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว เรียกว่า มาเลเซียตะวันออก ทั้งสองส่วนนี้ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ๑๓ รัฐ อยู่ในมาเลเซียตะวันตก ๑๑ รัฐ อยู่ในมาเลเซียตะวันออก ๒ รัฐ
มาเลเซียตะวันตก หรือที่เรียกว่า เพนนินซูลามาเลเซีย (Peninsula Malasia) ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ จำนวน ๑๑ รัฐ ตั้งอยู่ปลายคาบสมุทรอินโดจีน
มาเลเซียตะวันออก อยู่ในเกาะบอร์เนียว ทางด้านเหนือต่อจากกาลิมันตันของอินโดนิเซีย ประกอบด้วยรัฐสองรัฐคือ รัฐซาราวัค และรัฐซาบาห์ โดยมีประเทศบรูไน ตั้งอยู่ระหว่างกลางของรัฐทั้งสอง
มาเลเซีย มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ ๓๒๙,๐๐ ตารางกิโลเมตร ประมาณสองในสามของพื้นที่ประเทศไทย มีพรมแดนโดยทั่วไปคือ
ทิศเหนือ  ติดต่อกับประเทศไทย ในเขตรัฐห้ารัฐด้วยกัน เรียงจากตะวันตกไปตะวันออกคือ รัฐเปอร์ลิส รัฐเคดาห์ รัฐเปรัค และรัฐกลันตัน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ติดต่อกับทะเลซูลู ใกล้หมู่เกาะฟิลิปปินส์
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับทะเลจีนใต้
ทิศใต้ ติดต่อกับช่องแคบยะโฮร์ ซึ่งกั้นระหว่างประเทศมาเลเซียกับประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนิเซีย
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา ซึ่งกั้นระหว่างมาเลเซียกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนิเซีย
รัฐต่าง ๆ ของมาเลเซีย มีที่ตั้งและขนาดพื้นที่ดังนี้
รัฐกลันตัน (Kelantan)  อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาสของไทย มีพื้นที่ประมาณ ๑๔,๙๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองโกตาบารู เป็นเมืองหลวง เป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ของมาเลเซีย
รัฐเปรัค (Perak) ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีอาณาเขตตอนบนติดต่อกับจังหวัดยะลา และนราธิวาสของไทย มีพื้นที่ประมาณ ๒๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองอิโปห์ เป็นเมืองหลวง
รัฐเปอร์ลิส (Perlis)  ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย ที่จังหวัดสตูล และสงขลา มีพื้นที่ประมาณ ๘๐๐ ตารางกิโลเมตร จัดว่าเป็นรัฐที่มีพื้นที่น้อยที่สุด ในบรรดา ๑๓ รัฐ มีเมืองกางาร์ เป็นเมืองหลวง มีฐานะเป็นราชนคร เพราะเป็นที่ประทับของสุลต่านของรัฐ
รัฐเคดาห์ (kasah)  ตั้งอยู่ตอนบนของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย ที่จังหวัดยะลา และสงขลา มีพื้นที่ประมาณ ๙,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองลอรัสตา เป็นเมืองหลวง เป็นรัฐที่มีภูมิประเทศ ประชากร และศิลปวัฒธรรมคล้ายคลึงกับประเทศไทย และมีคนมาเลเซียเชื้อสายไทย อาศัยอยู่มากที่สุด
รัฐยะโฮร์ (Jahor)  อยู่ทางตอนใต้สุดของมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับประเทศสิงคโปร์ มีพื้นที่ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองยะโฮร์บารู

เป็นเมืองหลวง เป็นรัฐที่มั่งคั่งที่สุด
รัฐมะละกา (Melaka)  อยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะโฮร์ ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีพื้นที่ประมาณ ๑,๖๕๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองมะละกา เป็นเมืองหลวง ถือว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของมาเลเซีย และมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
รัฐนครีเซมบิลัน (Negrisembian)  ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐมะละกา ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีพื้นที่ประมาณ ๖,๖๕๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองเซเรมบัน เป็นเมืองหลวง และเป็นเมืองท่าที่มีชายฝั่งทะเลสวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน
รัฐปาหัง (Pahang)  อยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะโฮร์ ทางฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู เป็นรัฐที่มีพื้นที่ประมาณ ๓๖,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร นับว่าเป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุด ของมาเลเซียตะวันตก มีเมืองกวนตัง เป็นเมืองหลวง เป็นรัฐเก่าแก่ที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอยู่มาก
รัฐปีนัง (Penang)  เป็นเกาะและมีพื้นที่เป็นดินแดนบางส่วนอยู่เหนือรัฐเปรัค อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีพื้นที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองยอร์ช ทาวน์ เป็นเมืองหลวง เป็นรัฐที่มีความสมบูรณ์ในทุกด้าน ได้สมญานามว่า ไข่มุกแห่งตะวันออก
รัฐเซลังงอร์ (Selangor)  ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู อยู่ระหว่างรัฐเปรัค กับรัฐนครีเซมปิลัน มีพื้นที่ประมาณ ๘,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองซาห์อะลาม เป็นเมืองหลวง และมีเมืองเกลัง เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุด
รัฐตรังกานู (Terngganu)  อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู อยู่ทางด้านเหนือของรัฐปาหัง มีพื้นที่ประมาณ ๑๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร  มีเมืองกัวลาตรังกานู เป็นเมืองหลวง
รัฐซาบาห์ (Sabah)  ตั้งอยู่ตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพื้นที่ประมาณ ๗๓,๗๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเมืองโกตาคินาบารู เป็นเมืองหลวง พื้นที่สองในสามเป็นป่าไม้ และภูเขา ยอดเขาโกตาคินาบารู เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย
รัฐซาราวัค (Sarawak)  อยู่ทางฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของเกาะบอร์เนียว มีพื้นที่ประมาณ ๑๒๔,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร นับว่าเป็นรัฐที่มีพื้นที่มากมี่สุดของมาเลเซีย มีเมืองคุชชิง เป็นเมืองหลวง มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่มาก มีชาวมาเลย์ และชาวจีน อาศัยอยู่น้อย
นอกจากนี้ยังมีเขตสหพันธรัฐอีกสามเขต ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เกาะลาบวน และเมืองปุตราจายา อยู่ภายใต้สหพันธรัฐ (รัฐบาลกลาง) ไม่ขึ้นอยู่กับเขตใด โดยเฉพาะกรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นเมืองหลวงของประเทศ และเมืองปุตราจายา เป็นเมืองราชการ
ลักษณะภูมิประเทศ
มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่
บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม คงมีเหลือพื้นที่ราบซึ่งเป็นดินทรายบางบริเวณ พื้นดินตอนในห่างจากบริเวณที่ราบชายฝั่งสองด้าน ค่อย ๆ เปลี่ยนระดับเป็นที่ราบสูง บริเวณเชิงเขา พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินปนทราย ดินเหนียวและดินลูกรัง
มาเลเซียตะวันออก  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
ที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
เทือกเขา  เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียประกอบด้วยเทือกเขาบินดัง เทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขากลาง เทือกเขาตรังกานู ในแหลมมลายู และเทือกเขากินาบาลู ในเกาะบอร์เนียว ซึ่งมียอดเขาโกตาคินาบาลูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย
แหล่งน้ำ  ในแหลมมลายูมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัค แม่น้ำปาหัง แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลังงอร์และแม่น้ำกลัง
ในเกาะบอร์เนียวมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำรายัง มีความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร  แม่น้ำมาลุย ยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกินาบาดางัน
ชายฝั่งทะเล ในแหลมมลายูฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลจีนใต้ ลักษณะท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปะการัง และหินใต้ทะเลน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ ฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ ๑,๙๐๐ กิโลเมตร  บริเวณชายฝั่งมีความลึกตั้งแต่ ๑๒๐ – ๓๐๐ ฟุต เป็นหาดทรายยาวเหยียดติดต่อกัน มีที่ราบลุ่มอยู่เป็นบางตอน ฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดเลน พื้นที่ลึกเข้าไปในบริเวณชายฝั่งเป็นที่ลุ่ม และหนองบึง และป่าไม้โกงกาง คงมีเฉพาะบางแห่งเท่านั้นที่มีหาดทราย
ในเกาะบอร์เนียว ฝั่งทะเลบริเวณใต้สุดของทะเลจีนใต้ ท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความลึกพอสมควร มีกลุ่มหินปะการังอยู่เป็นหย่อม ๆ ในระยะลึก นอกจากนั้นยังมีหินใต้น้ำอยู่เป็นบางตอนในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นอุปสรรคในการเดินเรือใกล้ฝั่ง บริเวณฝั่งทะเลรัฐซาราวัคมีความลึกใกล้ฝั่งประมาณ ๒๐ – ๓๐ ฟุต  ห่างออกไปจากฝั่ง บางพื้นที่ลึกมาก บางแห่งลึกประมาณ ๒๐๐ – ๓๐๐ ฟุต
บริเวณชายฝั่งของรัฐซาบาห์ ทิศเหนือติดต่อกับทะเลจีนใต้ ความลึกของทะเลมีมากกว่ารัฐซาราวัค
ประชากร
มาเลเซียในแหลมมลายู มีประชากรอยู่หนาแน่น บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตก โดยมีประชากรประมาณร้อยละ ๘๒ รองลงมาคือ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว มีประชากรอยู่หนาแน่น บริเวณที่ราบชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐซาราวัค แถบบริเวณแม่น้ำ
ความแตกต่างของเชื้อชาติ  สังคมของมาเลเซียมีลักษณะเป็นพหุสังคม (Multi – Racial Society) ประกอบด้วยประชากร
แตก ต่างกันทางเชื้อชาติได้แก่ เชื้อชาติมลายู เชื้อชาติจีน และเชื้อชาติอินเดีย แต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างกันทางภาษา ศาสนาวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่
ก่อนอังกฤษเข้ามามีอำนาจในแหลมมลายู ปัญหาความแตกต่างทางเชื้อชาติในสังคมยังไม่เด่นชัด แม้ว่าจะมีชาวต่างชาติเช่น ชาวจีน เข้ามาทำการค้ากับชาวพื้นเมืองมานานแล้วก็ตาม บรรดาชาวจีนดังกล่าวมีทั้งเข้ามาค้าขาย และตั้งหลักแหล่งในแหลมมลายูตามเมืองท่า และเกาะต่าง ๆ ในช่องแคบมะละกามาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ แล้ว ชุมชนชาวจีนในยุคดังกล่าวจะปรับตัวเข้ากับสังคมชาวพื้นเมืองโดยพูดภาษา แต่งกายและแต่งงานกับชาวพื้นเมือง ทำให้เกิดความกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับชาวพื้นเมือง
ภายหลังที่บริษัทอินเดียตะวันตกของอังกฤษ ได้เข้ามามีอำนาจ และบทบาทในแหลมมลายู ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ก็เกิดมีเพิ่มขึ้น ชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีน และชาวอินเดียที่เข้ามาเป็นแรงงานในเหมืองแร่ดีบุก และในไร่การเพาะปลูกขนาดใหญ่ของอังกฤษ ได้รวมกลุ่มกันตามเชื้อชาติ รัฐบาลอังกฤษให้ความคุ้มครองแรงงานดังกล่าว ในขณะที่ชาวมลายูในการปกครองของสุลต่านของแต่ละรัฐ ดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นชาวนาและชาวประมง
ชาวจีนส่วนใหญ่ทำมาหากินจนร่ำรวย และคุมเศรษฐกิจส่วนใหญ่ไว้ ส่วนชาวมลายูถือตนว่าเป็นบุตรแห่งแผ่นดิน (ภูมิบุตร) เหนือกว่าชนชาติอื่น ๆ ที่อยู่ในแหลมมลายูด้วยกัน มีอาชีพหลักทางเกษตรกรรม และมีฐานะยากจน  ส่วนชาวอินเดียที่อังกฤษนำมา จากประเทศอินเดีย เพื่อทำงานเกษตรกรรม และงานกรรมกรก็ยังอยู่ในสภาพเดิม
เมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษ ชาวภูมิบุตรจึงได้เป็นผู้บริหารประเทศ รัฐบาลของชาวภูมิบุตรได้ให้สิทธิพิเศษแก่ชาวภูมิบุตร
เหนือกว่าชาวมาเลเซียเชื้อชาติอื่น ๆ
คุณลักษณะของประชากร  เนื่องจากชาวมาเลเซียมีหลายเชื้อชาติและยังมีชนเผ่าน้อยในรัฐซาบาห์ และซาราวัค ทำให้เกิดเป็นชาติพันธุ์ลูกครึ่งเชื้อชาติต่าง ๆ มาก
ชนกลุ่มแรกในแหลมมลายูได้แก่ ชาวโอรัง อัสลี  ตามมาด้วยชาวมาเลย์ และชนชาติอื่น ๆ ได้แก่ จีน อินเดีย และชาวยุโรป ส่งผลให้มีขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย และหลากหลายทางวัฒนธรรม
ชาวโอรัง อัสลี  คำว่าโอรัง อัสลี เป็นภาษามลายู หมายถึงชนชาติดั้งเดิม ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่สามกลุ่มและเผ่าเล็กเผ่าน้อยอีกกว่า ๒๐ เผ่า ประมาณร้อยละ ๙๐ อาศัยอยู่ในชนบท อีกส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ตามชานเมือง กลุ่มโอรังอัสลีมีชื่อเรียกว่า ซาไกหรือทาสขัดดอก
ชนกลุ่มเก่าแก่ที่สุดบนแหลมมลายูคือพวกเนกริโต ซึ่งเข้ามาในแหลมมลายูเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นโอรังอัสลีกลุ่มใหญ่ที่สุด โดยมากพวกนี้จะมีผิวคล้ำและผมหยิกฝอย มีรูปร่างหน้าตาเฉพาะตัวคล้ายชาวปาปัวนิวกินี หรือแอฟริกาตะวันออก  ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมมลายู และเป็นโอรังอัสลีเพียงกลุ่มเดียว ที่เป็นชนเร่ร่อนมีการทำการเพาะปลูกน้อยมาก ชอบย้ายหลักแหล่ง
ชนกลุ่มใหญ่รองลงมาคือ พวกเชนอย  เชื่อกันว่ามีบรรพบุรุษร่วมกับชาวเขาทางเหนือของกัมพูชาและเวียดนาม เข้ามาอยู่ในแหลมมลายู เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว  ส่วนใหญ่จะทำไร่เลื่อนลอย เมื่อดินจืดก็ย้ายหลักแหล่ง มีอยู่เป็นจำนวนมากในที่ราบสูงคาเมรอน กลายเป็นแรงงานรับจ้างในไร่ชา
ชนอีกกลุ่มหนึ่งคือ โปรโตมาเลย์ อพยพมาจากเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เข้ามายังแหลมมลายูเมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ ปีก่อน ชาวมาเลย์รุ่นใหม่ มีบรรพบุรุษร่วมกับชนกลุ่มนี้อยู่ไม่น้อย
ชาวมาเลย์  ชาวมาเลย์ผูกพันกับแผ่นดินจนเรียกตนเองว่า ภูมิบุตรา หรือบุตรของแผ่นดิน  เป็นคนใจกว้าง เอื้อเฟื้อ ยิ้มง่ายและมีอารมณ์ขัน ชาวมาเลย์ในชนบท จะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ทำไร่ทำนา และรักใคร่กันในหมู่บ้านเดียวกัน
อย่างไรก็ดีชาวมาเลย์ในเมืองจะแตกต่างจากในชนบทมาก จะมีวิถีชีวิตบางอย่าง เช่น การแต่งกายแบบชาวตะวันตก แต่ชาวมาเลเซียยังคงมีน้ำใจเดียวกัน เพราะมีความเชื่อในศาสนาเดียวกัน หลักอิสลามทำให้ชาวมาเลย์แตกต่างจากคนมาเลเซียอื่น ๆ ไม่มีการแต่งงานข้ามชาติมากนัก แม้จะยอมรับมุสลิมชาติอื่น ๆ ก็ตาม ทำให้เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมาเลย์ มุสิลม ยังคงโดดเด่นไม่เหมือนใคร
ชาวอินเดีย  คนอินเดียเข้ามาในแหลมมลายูเมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่ชาวอินเดียเริ่มเข้ามาอยู่กันเป็นจำนวนมาก ในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ส่วนใหญ่มาจากอินเดียตอนใต้ ประมาณร้อยละ ๘๐ เป็นชาวทมิฬ ที่เหลือเป็นชาวซิกข์ เบรกาลี เกราลัน เตลูกู และปาร์ซี มักมีอาชีพกรีดยาง หรือเป็นคนงานในไร่
ปัจจุบันชาวอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรัฐเซลังงอร์ เปรัค และปีนัง มีอยู่ประมาณร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งหมด ชาวอินเดียประมาณร้อยละ ๘๐ เป็นชาวทมิฬ ยังคงเป็นแรงงานในไร่ ซึ่งได้เป็นมาตั้งแต่สมัยที่มาเลเซีย ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ชาวอินเดียได้นำวัฒนธรรมหลายประการมาสู่มาเลเซีย เช่นเครื่องแต่งกายที่เป็นส่าหรีไหมสีสด อาหารอินเดียรสขัด การร้องรำทำเพลงในฉากต่าง ๆ ของภาพยนต์ รวมทั้งหลักศาสนาฮินดู
ชาวจีน  มีอยู่ประมาณร้อยละ ๓๐ ของประชากรทั้งหมด มีบทบาทในการควบคุมเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมหลัก เช่น ยาง และดีบุก ชาวจีนเริ่มเข้ามาค้าขายตามเกาะต่าง ๆ ในแหลมมลายู และหมู่เกาะชวา ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๓ จนถึงสมัยราชวงศ์แมนจู ในช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ได้มีการห้ามชาวจีนออกนอกประเทศ แต่ก็มีชาวจีนหนีออกมา และมาอยู่ในแหลมมลายูเป็นจำนวนมกา โดยเข้ามาทำงานในเหมืองดีบุก ทำถนน และทางรถไฟ ในการนี้ได้นำการสูบฝิ่น และบ่อนการพนันเข้ามาด้วย
ชุมชนชาวจีน ไม่ยอมรับนับถือวัฒนธรรมมาเลย์ แต่ได้นำประเพณีของตนเข้ามาใช้ ตามกฎหมายแล้ว ชาวจีนทุกคนต้องเรียนภาษามลายู แต่เมื่ออยู่บ้านก็มักจะพูดภาษาจีนกลาง หรือภาษาท้องถิ่น ชาวจีนยึดมั่นในการพึ่งตนเอง และความขยันขันแข็ง ให้ความสำคัญต่อครอบครัว และความผูกพันในพวกพ้อง
ชาวจีนในมาเลเซียนับถือสามศาสนาคือ พุทธ เต๋า และขงจื้อ
ปรานากัน  วัฒนธรรมปรานากัน ถือกำเนิดขึ้นเมื่อก่อนพ่อค้าชาวจีน จัดตั้งท่าเรือขึ้นที่มะละกา ตอนต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๕ เกิดการแต่งงานระหว่างพ่อค้าจีน  และหญิงมาเลย์ในท้องถิ่น รวมทั้งสัมพันธไมตรี ระหว่างจักรพรรดิ์ราชวงศ์หมิง กับสุลต่านแห่งมะละกา
ในปี ค.ศ.๑๔๖๐ สุลต่านมันโชร ชาห์ ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงฮังลีโป แห่งราชวงศ์หมิง และมาประทับอยู่ที่ บูกกิต จีนา (ภูเขาจีน) พร้อมเชื้อพระวงศ์ที่ยังเยาว์อีก ๕๐๐ องค์ กับนางกำนัลอีกมาก
ชาวจีนมาเลย์ รุ่นต่อมาจึงได้ชื่อว่า ชาวจีนช่องแคบ หรือปรานากัน  ในภาษามลายู แปลว่า เกิดที่นี่
เมื่อชาวดัทช์ เข้ามาในตอนต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๘ ก็มีชาวจีนอพยพเข้ามามากขึ้น ทำให้สายเลือดของพวกปรานากัน จางลงแทบจะเป็นจีนเต็มตัว แต่เอกลักษณ์ของปรานากันซึ่งรวมเอาส่วนดีของวัฒนธรรมมาเลย์ และจีนเข้าด้วยกัน ยังคงมีให้เห็นในเครื่องแต่งกายมาเลย์ เช่น ซารุง กาบายา อาหารแบบเฉพาะตัว
วัฒนธรรมปรานากัน รุ่งเรืองสูงสุดในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ มีศูนย์กลางอยู่ที่มะละกา นอกจากนั้นก็มีอยู่ที่ปีนัง และสิงคโปร์
ชาวยูเรเซีย  เมื่อชาวโปร์ตุเกสล้มระบบสุลต่านของมะละกาสำเร็จ ในปี ค.ศ.๑๕๑๑ (พ.ศ.๒๑๕๔) ผู้ปกครองคนใหม่ พยายามเข้าควบคุม โดยสนับสนุนให้ชาวโปร์ตุเกสแต่งงานกับหญิงชาวพื้นเมือง ชุมชนลูกครึ่งเติบโตขึ้นมาด้วยสำนึกในชาติโปร์ตุเกส และคริสตศาสนา และรักษาประเพณีตามเชื้อสายยุโรป โดยสืบทอดตำราอาหาร บางคนยังพูดภาษาคริสเตา ซึ่งเป็นภาษาถิ่นทางตะวันออกเฉียงใต้ของโปร์ตุเกส สมัยกลางในยุโรปซึ่งเลิกใช้แล้ว แต่ยังคงใช้กันอยู่ในบางส่วนของมาเลเซีย
ซาราวัคและซาบาห์  เป็นประชากรที่มีเชื้อสายหลากหลายที่สุดในมาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นชาวมองโกลลอยด์ ที่อพยพมาจากกาลิมันตัน อินโดนิเซีย
    สภาพความเป็นอยู่ของประชากรในเมืองและชนบท
ชาวมาเลย์ ภูมิบุตร หรือชาวมาเลย์มุสลิม  คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม พูดภาษามลายู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาประจำชาติ และปฎิบัติตามกฎธรรมเนียมของชาวมาเลย์ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐)
ชาวมาเลย์มีนิสัยสันโดษ รักสงบ ไม่ชอบการแข่งขันและค้าขาย ส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ ชาวนา อยู่ตามชนบท ทำให้มีฐานะยากจน และล้าหลังกว่าชาวจีน แต่รัฐบาลมาเลเซียได้จัดโครงการช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เหนือชาวมาเลย์เชื้อสายอื่น ๆ ทำให้ชาวภูมิบุตรมีโอกาสได้รับคัดเลือกเข้ารับราชการมากกว่าชาวมาเลเซีย เชื้อสายอื่น
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง มีนิสัยขยันขันแข็ง ประกอบอาชีพธุรกิจ การค้าเป็นส่วนใหญ่ เป็นพ่อค้า นักธุรกิจ บางส่วนทำงานในเหมือง หรือสวนยาง มีฐานะร่ำรวยกว่าชาวมาเลย์ เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและสังคม พยายามแสวงหาอำนาจทางการเมือง และต่อสู้เรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้เท่าเทียมกับชาวมาเลย์
ชาวมาเลย์เชื้อสายอินเดีย  ประกอบอาชีพพ่อค้า ทำงานในโรงแรม ตลอดจนงานด้านบริการในเมือง มีความขยันขันแข็ง สภาพความเป็นอยู่ปานกลาง มีอำนาจต่อรองทางการค้า เศรษฐกิจ และการเมือง รองลงมาจากกลุ่มแรก
ศาสนา
ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้ามาในแหลมมลายู และหมู่เกาะใกล้เคียงเมื่อประมาณกลางคริสตศตวรรษที่ ๑๒ โดยเข้ามาทางฝั่งทะเลแถบเหนือ ตามด้วยฝั่งตะวันตก จนถึงใต้ของเกาะสุมาตรา และแผ่ไปทั่วเกาะสุมาตรา เมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ ๑๔
เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๔๓ เกิดอาณาจักรมะละกาขึ้น มีความเจริญมาก กลายเป็นศูนย์กลางการค้า และการเดินทางทางทะเล การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ที่มาจากพ่อค้าชาวอาหรับ ได้แพร่ไปทั่วดินแดนแถบนี้ เช่น รัฐปาหัง เคดาห์ ปัตตานี กลันตัน ตรังกานู เซลังงอร์ ยะโฮร์ และเปรัค
จากประวัติศาสตร์ปรากฎว่า เจ้าผู้ครองนครได้เปลี่ยนจากการนับถือพุทธศาสนา มานับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ เจ้าชายปรเมศวร ที่ได้ลี้ภัยจากเกาะสุมาตรามาอยู่ที่มะละกา
ศาสนาประจำชาติมาเลเซียคือ ศาสนาอิสลาม ชาวมาเลย์ที่นับถือศาสนาอิสลาม มีประมาณร้อยละ ๕๓ นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ ๑๗ นับถือลัทธิเต๋า ประมาณร้อยละ ๑๒ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณร้อยละ ๘ นับถือศาสนาฮินดู ประมาณร้อยละ ๘ และอื่น ๆ ประมาณร้อยละ ๒
ประเทศมาเลเซีย ได้มีการนำหลักการของคัมภีร์กุรอานในศาสนาอิสลาม เข้ามามีส่วนในการปกครองเช่น ประมุข หรือสุลต่านแห่งรัฐต้องเป็นอิสลามิกชน ถือว่าฐานะของสุลต่านอยู่สูงทั้งทางศาสนาและทางการเมือง การปกครอง สุลต่านจะแต่งตั้งผู้พิพากษาทางศาสนา ซึ่งจะพิจารณาแต่คดี ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม และกฎหมายประเพณีในเรื่องที่เกี่ยวข้องทางด้านศาสนาซึ่งขึ้นอยู่กับกรม กิจการศาสนา
อิสลามในมาเลเซีย มีทรรศนะที่ว่าจะเป็นอิสลามที่สมบูรณ์แบบ มีความพอเพียงในตนเอง โดยยึดหลักการของศาสนาอิสลามไว้กับชีวิตปัจจุบัน แต่รับความเจริญและวิทยาการสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้ โดยไม่ขัดต่อหลักการอิสลาม ปฏิเสธลัทธิต่าง ๆ  ของชาวตะวันตก
ปัจจุบันมาเลเซีย มีแนวคิดที่จะเป็นประเทศอิสลามที่พัฒนาแล้วในปี ค.ศ.๒๐๒๐ โดยมีจุดมุ่งหมายที่อารยธรรมอิลสลาม (Civilization Islam) หรือที่เรียกว่าอิสลามหะฎอรีย์ ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนามนุษย์ที่ดีกว่า
ข้อห้ามในการปฏิบัติ มีข้อปฎิบัติในการอยู่ร่วมกันของประชาชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโต้แย้ง รัฐธรรมนูญจึงได้ห้ามนำเอาประเด็นที่อ่อนไหวเช่น
– สิทธิในกฎหมายเชื้อชาติมาถกเถียงกันในที่สาธารณะหรือในรัฐสภา เช่นการเป็นพลเมือง การเข้าศึกษา การเข้ารับราชการซึ่งต้องเป็นคนเชื้อสายมลายูเท่านั้น
– สิทธิในการใช้ภาษา
– สิทธิในพระราชอำนาจพิเศษของประมุข
รัฐธรรมนูญมอบให้รัฐต่าง ๆ เป็นฝ่ายดูแลออกกฎหมายเกือบทั้งหมด เกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามเช่น กฎหมายมรดก การหมั้น การแต่งงาน ที่ห้ามแต่งงานกับคนต่างศาสนา
ชายหญิงมลายูจะต้องมีจิตสำนึกในการแต่งกายตามประเพณี โดยเฉพาะผู้หญิงวัยผู้ใหญ่จะสวมฮิญาบถึงร้อยละ ๗๐ และให้ผู้หญิงมีบทบาทในที่สาธารณะน้อยลง เพราะถือว่าหน้าที่แรกคือการเป็นภรรยา และมารดาเท่านั้น
ห้ามการเผยแพร่ศาสนาอื่น ๆ ให้แก่ชาวมุสลิม

ประวัติศาสตร์
ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น  ชาวมาเลย์ในยุคแรก ๆ ตั้งถิ่นฐานรวมตัวกันอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ทางตอนเหนือของแหลมมลายู เมื่อประมาณ ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วง ๑,๐๐๐ ปีแรก มีรายละเอียดเกี่ยวกับแหลมมลายูไม่มากนัก เรื่องราวของแหลมมลายู และดินแดนแถบนี้ ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานครั้งแรก เมื่อคริสตศตวรรษที่ ๕ ดังปรากฎในบันทึกของผู้แสวงบุญชาวจีนสองคน ที่เดินทางโดยเรือจากจีนไปยังพุทธภูมิในอินเดีย
ต่อมาในครคิสตศตวรรษที่ ๙ และ ๑๐ ก็ได้มีการบันทึกประวัติของดินแดนแถบนี้
ชาวอินเดียได้กล่าวถึงดินแดนแถบนี้ไว้ในพงศาวดารเรื่องรามเกียรติ์และตามเอกสารอื่น ๆ
เมื่อเส้นทางสายไหมถูกพวกป่าเถื่อนก่อกวน ทำให้ราชวงศ์จีนต้องหันมาใช้เส้นทางทะเลตอนใต้มากขึ้น จนทำให้ดินแดนในแหลมมลายู กลายเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างตะวันออกไกลคือ จีนกับเอเซียใต้คือ อินเดียกับประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง
ดินแดนแถบนี้ได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรสำคัญ ๆ ตามลำดับคือ อาณาจักรศรีวิชัย อันเป็นอาณาจักรเก่าแก่ของอินโดนีเซีย และนับถือพุทธศาสนา ได้แพร่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในแหลมมลายู ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔
ต่อมาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๔ อาณาจักรฮินดูบนเกาะชวา คือ อาณาจักรมัชปาหิต และอาณาจักรสุโขทัยได้แผ่อำนาจเข้ามาแทนที่ แหลมมลายูจึงเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูมาก่อน
ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๔๔ อาณาจักรที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของมาเลเซีย ปัจจุบันคือมีผู้ปกครองคนแรกชื่อเจ้าชายปรเมศวร์ ได้สร้างหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ ให้กลายเป็นอาณาจักรและศูนย์การค้า ระหว่างอาณาจักรมีชื่อว่า มะละกา (Malacca) ทำการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับราชวงศ์หมิง (Ming) ของจีน และได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เพื่อรับความคุ้มครอง และประโยชน์ทางการค้าจากบรรดาอาณาจักรต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งตอนเหนือของเกาะสุมาตรา เพื่อให้พ้นจากอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา และมัชปาหิต
ความรุ่งเรืองของมะละกา ดำรงอยู่ได้ประมาณเกือบร้อยปีก็ตกไปอยู่ในการปกครองของโปร์ตุเกส เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๔ ศูนย์อำนาจของมลายูก็ไปปรากฎอยู่ตามพื้นที่อื่น ๆ ในแหลมมลายูเช่น ยะโฮร์ เปรัค ปาหัง ไทรบุรีหรือเคดาห์ เซลังงอร์ เป็นต้น
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๘๔ มะละกาถูกชาวดัทย์ยึดครอง ต่อจากนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ อังกฤษได้แผ่อิทธิพลทางการค้าจากอินเดียเข้าสู่ปีนัง และยึดครองปีนัง จากสุลตานรัฐเคดาห์ ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ ในที่สุดอังกฤษก็ได้มะละกาจากดัทช์ แลกกับดินแดนสุมาตราในปี พ.ศ.๒๓๖๗ อีกสองปีต่อมาอังกฤษก็ได้ครอบครองทั้งปีนัง มะละกา และสิงคโปร์
ในปี พ.ศ.๒๔๓๘ รัฐเปรัค เซลังงอร์ นครีเซมปลัน และปาหัง ได้รวมกันเป็นสมาพันธรัฐมลายู ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ประเทศไทยได้มอบสิทธิการปกครองรัฐเคดาห์ เปอร์ลิส กลันตัน และตรังกานู ให้แก่อังกฤษ ซึ่งได้ส่งที่ปรึกษามาดูแล และในปี พ.ศ.๒๔๕๗ รัฐยะโฮร์ ก็เข้ามารวมกลุ่มด้วย แต่ทั้งห้ารัฐนี้ไม่ได้เข้าร่วมกับสมาพันธรัฐมลายู เพราะเกรงว่าจะสูญเสียอำนาจของตนให้แก่อังกฤษ
    ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทยในอดีต
สมัยสุโขทัย  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฯ ราชอาณาจักรสุโขทัยได้แผ่ออกไปอย่างกว้างขวางใหญ่ไพศาล แผ่นดินในแหลมมลายูทั้งหมด รวมอยู่ในราชอาณาจักรไทย ดังหลักฐานที่ปรากฎในจดหมายเหตุของจีน แห่งราชวงศ์หงวน ซึ่งกล่าวไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๘ อันเป็นปีที่ ๑๘ ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฯ นั้น พระองค์ได้เสด็จยาตราทัพลงไประงับการจลาจล ในแหลมมลายูทางภาคใต้
สำหรับหลักฐานของไทยเราเอง ในศิลาจารรึกของพ่อขุนรามคำแหงได้กล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัยว่าครอบคลุม ไปตลอดแหลมมลายู
จากหลักฐานในจดหมายเหตุของจีน และหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ฯ สมัยสมัยสุโขทัย แสดงให้เห็นว่า มลายูอยู่ในการปกครองของอาณาจักรไทยมาเป็นเวลาเกือบ ๘๐๐ ปีมาแล้ว
สมัยอยุธยา  มลายูยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรไทยในฐานะประเทศราชเช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัย
ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารของไทย และพระราชพงศาวดารของจีน คือ
ในสมัยอยุธยาตอนต้น พระราชพงศาวดารในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าเมืองมลายู และเมืองมะละกาเป็นประเทศราชของไทย  ผู้ครองนครได้ถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองแก่ไทยเป็นประจำทุกปี
ในพระราชพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๐ ได้กล่าวถึงการที่พระเจ้าจักรพรรดิจีนได้ส่งขันทีที่ชื่อยันฉิ่ง เป็นทูตมายังเมืองมะละกา ได้กล่าวว่า “ประเทศนี้ไม่มีกษัตริย์และไม่เรียกอาณาจักร แต่เป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรไทย ซึ่งต้องส่งทองคำเป็นบรรณาการแก่ไทยเป็นประจำปี ๆ ละ ๔๐ ตำลึง  หัวหน้าชื่อไป๋ลีสูล่า (ปรเมศวร)…”
นอกจากจีนแล้วยังมีชาติตะวันตกในสมัยนั้นยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือดินแดน แหลมมลายูด้วย ชาติแรกคือ โปร์ตุเกส ซึ่งเป็นชาวยุโรปชาติแรก ที่เข้ามาในภูมิภาคนี้ ได้มีชาวโปร์ตุเกสที่เป็นนักประวัติศาสตร์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๓๓ – ๒๑๙๒ ได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรไทย ในสมัยอยุธยาครั้งนั้นไว้ในหนังสือชื่อ เอเชีย โปร์ตุเกซา (Asia Portugueza) ว่ามหาอาณาจักรไทยในเวลานั้น เป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดอาณาจักรหนึ่งในเอเชียตะวันออก นอกจากนั้นก็มีอาณาจักรจีน และอาณาจักรพิชัยนคร (อยู่ในอินเดีย)  มีแม่น้ำสายใหญ่ผ่านกลางประเทศตั้งแต่เหนือลงมาใต้ มหาอาณาจักรมีความยาว ๙๙๐ ไมล์   ทางตะวันตกจดอ่าวเบงกอล ทางใต้จดมะละกา ทางเหนือจดประเทศจีน และทางตะวันออกจดเขมร พื้นที่เป็นภูเขา และที่ราบ มีประชาชนหลายเชื้อชาติหลายภาษา เข้ามาพึ่งพิงอาศัย
ชาวตะวันตกอีกชาติหนึ่งคือชาวฝรั่งเศสได้บันทึกยอมรับอำนาจของไทยเหนือดิน แดนในแหลมมลายู คือ เมอซิเออร์ ลานิเยร์ (Monsieur Lanier) ได้เข้ามายังเมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รวบรวมจดหมายเหตุฝรั่งเศส ซึ่งชาวฝรั่งเศสได้บันทึกไว้ โดยได้กล่าวถึงราชอาณาจักรไทยสมัยอยุธยา ในเวลานั้นว่า “เวลานั้นเจ้าแผ่นดินเขมร ยะโฮร์ ปัตตานี ไทรบุรี และยำบิ ล้วนแต่เป็นเมืองขึ้นของไทยทั้งนั้น และทุก ๆ ปี ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยามทุกคน”
สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์  ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แหลมมลายูคงอยู่ในราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา แต่ดินแดนบางส่วนของแหลมมลายู เริ่มถูกอิทธิพลของชาวตะวันตกหลายชาติ เข้ามายึดครองไปอยู่ในอำนาจของตน ตามลำดับเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ แหลมมลายูในส่วนที่เป็นประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ในปัจจุบันได้ตกไปอยู่ในการปกครองของชาติตะวันตก
    ไทยเสียดินแดนมลายู และการเข้ายึดครองมลายูของอังกฤษ
ไทยเสียมะละกาให้โปร์ตุเกส  มะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทยมาช้านาน จนปรากฏว่า มะละกาได้รับวัฒนธรรมไทยไว้มากกว่าแห่งอื่น ยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.๒๐๕๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา โปร์ตุเกสได้ส่งกองเรือสินค้าเดินทางมาถึงเมืองมะละกา ได้เกิดเป็นปรปักษ์กับชาวอาหรับ และชาวพื้นเมือง จึงถูกยึดเรือ จึงได้ขอร้องไปยังผู้สำเร็จราชการเมืองกัวให้มาช่วยเหลือ มีการยกกำลังมายังเมืองมะละกาในปี พ.ศ.๒๐๕๔ ยึดเมืองมะละกาได้ และขับไล่พวกอาหรับออกไป ต่อมาเมื่อทราบว่ามะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทย จึงได้แต่งทูตเดินทางเข้ามาเจรจาทางไมตรีขอเมืองมะละกาจากไทยในปี พ.ศ.๒๐๖๒ ทางกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาอิสลามแล้ว ประกอบกับไทยได้ทอดทิ้งเมืองมะละกามาช้านาน
เพราะหนทางไกล การไปมาติดต่อปกครองดูแลไม่สะดวก จึงทรงยอมรับไมตรีของโปร์ตุเกส และยอมยกเมืองมะละกาให้โปร์ตุเกส นับเป็นครั้งแรก ที่ไทยเริ่มเสียดินแดนในแหลมมลายูให้แก่ชาวตะวันตก
โปร์ตุเกสครอบครองมะละกาอยู่ ๑๓๐ ปี ก็เสียมะละกาให้แก่ฮอลันดาซึ่งได้เข้ามายึดครองเซลังงอร์ และเปรัคไว้เป็นที่ทำการค้าแล้ว ต่อมาฮอลันดาได้ยกมะละกาให้อังกฤษ เพื่อแลกกับเมืองเบนดูเลนหรือปันกุลัน
ไทยเสียเกาะหมากหรือปีนังให้อังกฤษ  เป็นการเสียดินแดนในแหลมมลายูเป็นครั้งที่สองของไทย ซึ่งอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเกาะปีนังขึ้นอยู่กับเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทย
ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระยาไทรบุรีแข็งเมือง เพราะไทยกำลังผลัดแผ่นดินใหม่ และกำลังยกกองทัพไปปราบเมืองปัตตานีที่แข็งเมืองอยู่เช่นกัน เมื่ออังกฤษมาขอเช่าเกาะปีนัง จากพระยาไทรบุรี ๆ จึงยอมให้เช่าโดยมอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้คุ้มครอง อังกฤษยังได้ขอซื้อดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ของรัฐไทรบุรี ที่อยู่ตรงข้ามกับเกาะปีนัง โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันพวกโจรสลัด
อังกฤษได้สิงคโปร์และดินดิงส์  อังกฤษเห็นว่าเกาะสิงคโปร์เป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นศูนย์การค้า จึงได้ขอซื้อจากสุลต่านยะโฮร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๗  ส่วนดินแดนที่เรียกว่าดินดิงส์และหมู่เกาะต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของสุลต่านแห่งเปรัค อังกฤษก็ขอเช่าจากสุลต่านแห่งยะโฮร์ ๆ ยอมขายให้ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๙
อังกฤษตั้งเสตรต เซ็ตเติลเมนต์ (Straits Settlement)  ในปี พ.ศ.๒๔๐๑ รัฐบาลอังกฤษได้เลิกกิจการของบริษัทอินเดียตะวันออก แล้วโอนดินแดนในแหลมมลายู ที่อยู่ในครอบครองของบริษัท มาเป็นของรัฐบาลอังกฤษ ดินแดนดังกล่าวได้แก่ เกาะปีนัง เกาะสิงคโปร์ ดินดิงส์และมะละกา เรียกว่า เสตรต เซตเติลเมนท์ มีชาวอังกฤษเป็นผู้สำเร็จราชการโดยตรง ให้เกาะสิงคโปร์เป็นเมืองหลวง
อังกฤษยึดเมืองอื่น ๆ อีก  ในระยะต่อมา อังกฤษได้มุ่งครอบครองดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ของแหลมมลายู เมื่อเห็นว่า เมืองใดมิได้มีหลักฐาน เป็นเมืองขึ้นของไทยอย่างเด็ดขาดโดยตรง ก็และเล็มเลียบเคียงเอากับสุลต่านผู้ครองเมือง แต่ถ้าเห็นว่าเมืองใดเป็นเมืองขึ้นของไทยอย่างเด็ดขาดโดยตรง ก็ยังไม่กล้าเข้ามาวุ่นวาย เช่น เมืองไทรบุรี (เคดาห์)  กลันตัน ตรังกานู และเปอร์ลิส เป็นต้น
สำหรับเมืองที่เป็นอิสระและกึ่งประเทศราชของไทยที่อังกฤษหาเหตุยึดเอาไปเป็นเมืองขึ้นได้แก่
รัฐเปรัค  ในปี พ.ศ.๒๔๑๖ ได้เกิดจลาจลในรัฐเปรัค อังกฤษขอให้สุลต่านแห่งเปรัคทำการปราบปราม แต่ไม่สามารถปราบได้ อังกฤษจึงถือโอกาส เข้าปราบปรามเอง เมื่อสงบราบคาบแล้วอังกฤษก็ไม่ยอมถอนกำลังกลับ ในที่สุดรัฐเปรัคก็ตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ โดยอังกฤษส่งข้าหลวงใหญ่ (Resident) มาปกครอง
รัฐเซลังงอร์  ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน รัฐเซลังงอร์ก็ได้เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม  และบังเอิญ นายทหารอังกฤษถูกฆ่าตาย อังกฤษ จึงถือโอกาสบังคับทำนองเดียวกับรัฐเปรัค และให้คนอังกฤษเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำอยู่ในราชสำนักสุลต่านด้วย
รัฐนครีเซมปิลัน  ในปี พ.ศ.๒๔๑๖ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติในรัาฐนครีเซมปิลัน และเกิดจลาจลทั่วไป อังกฤษถือเป็นข้ออ้างเข้าไปรักษาความสงบ และยึดเป็นรัฐในอารักขา
รัฐปาหัง  เป็นรัฐเก่าแก่ของไทย เคยมีคนไทยไปเป็นเจ้าเมืองปกครองมาแต่โบราณ ได้เกิดเหตุการณ์คนจีนในบังคับอังกฤษ ถูกฆ่าตายในเมืองปากัน รัฐบาลอังกฤษที่สิงคโปร์ขอให้จัดการสอบสวน และส่งตัวคนร้ายไปให้อังกฤษที่สิงคโปร์ แต่สุลต่านรัฐปาหังไม่ยอมปฎิบัติตาม แต่ในที่สุดก็ยอมให้อังกฤษตั้ง
ข้าหลวงใหญ่มาประจำเช่นเดียวกับรัฐอื่น ๆ
ในที่สุดรัฐต่าง ๆ ในแหลมมลายูได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเกือบหมดสิ้น คงเหลือรัฐยะโฮร์ซึ่งเป็นรัฐอิสระ ปกครองตนเองได้เพียงรัฐเดียว กับอีกสี่รัฐของไทยคือ ไทรบุรี เปอร์ลิส กลันตัน และตรังกานู
อังกฤษตั้งสหพันธรัฐมลายู ในปี พ.ศ.๒๔๓๙ อังกฤษได้รวมรัฐทั้งสี่ที่ได้มาใหม่คือ รัฐปาหัง เปรัค เซลังงอร์ และนครีเซมปิลัน เข้าเป็นสหพันธรัฐมลายา (Fedetated Malaya Ststes)  โดยมีเมืองกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งอยู่ในรัฐเซลังงอร์เป็นเมืองหลวง
ไทยเสียสี่รัฐมลายู ครั้งสุดท้ายให้อังกฤษ  นับเป็นการสูญเสียที่มีความหมายแก่ไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งสี่รัฐมีความผูกพันกับราชอาณาจักรไทยอย่างใกล้ชิด มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐกลันตัน ไทรบุรี และเปอร์ลิส มีประชากรพื้นเมืองเป็นคนไทยแท้ ๆ และเป็นชาวพุทธ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนดังกล่าว นับร้อยปีมาแล้ว ไม่อาจละทิ้งถิ่นฐานอพยพออกมาได้ ต้องกลายเป็นชนกลุ่มน้อยในดินแดนดังกล่าวไป
สาเหดุการเสียดินแดนสี่รัฐมลายู (มาลัย)  ดังกล่าวสอบได้ว่า เกิดจากสนธิสัญญาที่อังกฤษทำกับไทย ในลักษณะที่เอาเปรียบทุกด้าน เป็นการเข้ามาทำสัญญาในลักษณะที่มีเรือรบ และมีปืนเข้ามาเจรจาด้วย สัญญาดังกล่าวมีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจศาล หรือสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Extra Tentoriality) ซึ่งเป็นที่มาของการเสียดินแดนส่วนนี้
อังกฤษได้เริ่มเข้ามาติดต่อกับประเทศไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๕ โดยมาขออนุญาตตั้งสถานีการค้า ตามหัวเมืองชายทะเลของไทย และในกรุงศรีอยุธยา จากนั้นก็ได้ติดต่อกันอีกเป็นระยะ ๆ ตลอดมา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์ อังกฤษกับไทย เริ่มมีไมตรีกัน ตามแบบธรรมเนียมทางการทูตของอารยประเทศ ได้มีการทำสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ สัญญาฉบับนี้ไทยเริ่มเสียเอกราชทางศาล โดยอังกฤษได้กำหนดให้คนในบังคับอังกฤษ เมื่อทำผิดกฎหมายในราชอาณาจักรไทย ไม่ต้องขึ้นศาลไทย ศาลกงสุลของอังกฤษจะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีเอง ไทยจำเป็นต้องยินยอม เพื่อรักษาความเป็นเอกราชส่วนใหญ่ไว้
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ไทยต้องยอมยกดินแดนสี่รัฐมลายู ให้แก่อังกฤษเพื่อแลกกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยให้คนในบังคับอังกฤษทุกประเภท ต้องขึ้นศาลไทย รวมทั้งอังกฤษให้ไทยกู้เงินมาสร้างทางรถไฟสายใต้ สัญญานี้เรียกว่า สัญญากรุงเทพ ฯ (Bangkok Treaty) กระทำในปี พ.ศ.๒๔๕๒
การปกครองระหว่างเป็นอาณานิคมของอังกฤษ  อังกฤษได้จัดการปกครองรัฐต่า งๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน บางครั้งอังกฤษปกครองเองโดยตรง ผู้ปกครองและข้าราชการล้วนเป็นชาวอังกฤษ บางรัฐปกครองแบบเมืองขึ้น โดยให้สุลต่านปกครองตามเดิม อังกฤษเพียงส่งข้าหลวงมาควบคุม การแบ่งการปกครองเป็นดังนี้
การปกครองแบบเสตรต เซตเติลเมนต์ (Straits Selllement)  ได้แก่ เกาะปีนัง เกาะสิงคโปร์ และมะละกา อังกฤษได้เข้าปกครองโดยตรง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๖๒ – ๒๔๑๐ เดิมอยู่ในความดูแลของบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company)  ต่อมาอังกฤษได้ส่งข้าหลวงมาควบคุม จึงให้ขึ้นตรงต่อกระทรวงอินเดีย แล้วเปลี่ยนไปสังกัดกระทรวงอาณานิคม เรียกรัฐทั้งสามนี้ใหม่ว่า คราวน์ โคโลนี (Crown Colony)  โดยอังกฤษส่งข้าหลวง (Governor)  มาควบคุม มีอำนาจในการบริหารในฐานเป็นประมุขของรัฐ รับผิดชอบต่อกษัตริย์อังกฤษโดยตรง ในการบริหารงาน
สหพันธรัฐมลายา (Fedetated MalayaStates – FMS)  แต่เดิมรัฐเปรัค ปาหัง เซลังงอร์ และนครีเซมปิลัน อังกฤษได้ส่งข้าหลวง (Resident) ไปประจำทุกรัฐ ต่อมารัฐทั้งสี่นี้ได้รวมกันจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐมลายู ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ ประมุขของรัฐคือ ข้าหลวงใหญ่ (High Commissionor)  ซึ่งเป็นข้าหลวงของเสตรต เซตเติลเมนต์ (Straits Settlement)  ด้วย และข้าหลวง (Resident) ของแต่ละรัฐ เข้าร่วมประชุมปรึกษา
สภาสหพันธ์ (Federal Council)  ตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ มีสมาชิก ๘ คน คือ ข้าหลวง (Resident) ของอังกฤษสี่คน ประชาชนในรัฐอีกสี่คน ต่อมาได้เพิ่มประเภทหลังเป็นแปดคน รวมสิบสองคน
ในปี พ.ศ.๒๔๗๐ เจ้าผู้ครองรัฐทั้งสี่ในสหพันธ์ได้ร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญ สภาสหพันธ์ขึ้น ให้เพิ่มสมาชิกเป็น ๒๔ คน ในแต่ละรัฐประกอบด้วยเจ้าผู้ครองนคร ข้าหลวง (Resident)  และสภาแห่งรัฐ (State Council) เป็นที่ปรึกษา
รัฐนอกสหพันธ์ (Unfederated States)  ได้แก่ สี่รัฐมลายู ซึ่งอังกฤษได้ไปจากไทย รวมกับรัฐยะโฮร์ (Johore) ในแต่ละรัฐมีที่ปรึกษาประจำ แต่ให้ชาวมาเลย์มีส่วนร่วมในการปกครองในรัฐเหล่านั้น มากกว่ารัฐในสหพันธ์
ยุคหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา
การจัดตั้งองค์กรทางการเมือง  ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔ – ๒๔๘๕ ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองมลายู และบอร์เนียว จนสงครามยุติในปี พ.ศ.๒๔๘๘
ก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้มีการกระตุ้นเรื่องเชื้อชาติมาเลย์จากหลายองค์กร ความรู้สึกชาตินิยมยิ่งรุนแรงขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ได้มีการตั้งพรรคอัมโน (United Malays National Organization – UMNO) เพื่อเป็นหัวหอกในการต่อสู้ให้ได้อิสรภาพของประเทศ
ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ คณะกรรมการแองโกล – มาลายัน ซึ่งประกอบด้วย มาลาย อังกฤษ บอร์เนียวเหนือ และซาราวัค ได้ทำการสำรวจประชามติ เพื่อตั้งประเทศมาเลเซียขึ้น ประกอบด้วย มลายา ซาบาห์ ซาราวัค และสิงคโปร์
ต่อมาสิงคโปร์ ได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นประเทศ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
การปกครองหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา  เมื่อสงครามสงบลงอังกฤษได้กลับมาครอบครองมาเลเซียอีกครั้ง โดยการรวมรัฐมาเลย์ทั้งเก้ากับปีนัง และมะละกา เข้าด้วยกัน โดยมีข้าหลวงอังกฤษทำการปกครอง และมีสภาบริหาร (Executive Council)  กับสภานิติบัญญัติ (Legistative Conncit) เป็นผู้ช่วยราชาของรัฐต่าง ๆ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี และทางศาสนาของมลายู ส่วนสิงคโปร์ก็ให้เป็นอาณานิคมแยกต่างหากออกไป
การปกครองในรูปสหภาพมลายัน (Malayan Union)  โดยใช้รัฐธรรมนูญเริ่มในปี พ.ศ.๒๔๘๙ การจัดรูปแบบการปกครองดังกล่าว ทำให้เกิดมีการคัดค้านจากหลายฝ่าย อังกฤษจึงได้พิจารณารูปแบบของระบบการปกครองใหม่ และได้เสนอแบบสหพันธ์ (Federtion)  แต่ระบบนี้ก็ได้รับการคัดค้าน จากกลุ่มคนที่ไม่ได้มีเชื้อชาติมลายู อย่างไรก็ตามสหพันธ์มลายูก็ได้ตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๔๙๑ โดยถือเอาข้อตกลงสหพันธ์ (Federtion Agreement) พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นหลัก ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษ เป็นหัวหน้ารัฐบาลของสหพันธ์ และมีสภาบริหารกับสภานิติบัญญัติ ที่ข้าหลวงใหญ่เป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาทั้งสองนี้ แต่รัฐบาลก็ยอมรับในอำนาจบางประการของผู้ปกครองรัฐ และอำนาจอารักขาของอังกฤษมีมาอยู่แต่เดิมก็ยังมีอยู่
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ มลายูก็ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๐๐ ของสหพันธ์มลายู ถือว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แต่มีบืบัญญัติว่าประชาชนมีสิทธิที่จะนับถือศาสนาอื่นได้
ยุคก่อนตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย  สหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia)  เป็นประเทศใหม่เกิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ โดยการรวมกลุ่มของดินแดนซึ่งประกอบด้วย สหพันธรัฐมลายา สิงคโปร์ ซาราวัค และซาบาห์ (บอร์เนียวเหนือ) เข้าด้วยกัน ก่อนหน้านี้ดินแดนเหล่านี้ มีฐานะต่าง ๆ กันคือ
สหพันธ์มลายา (Feration of Malaya)  เป็นดินแดนเอกราชรวมอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาเกือบร้อยปี อังกฤษเพิ่งมาให้เอกราชเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ๑๑ รัฐคือ เปอร์ลิส เคดาห์ (ไทรบุรี) กลันตัน ตรังกานู เปรัค ปาหัง เซลังงอร์ นครีเซมปิลัน มะละกา ปีนัง และยะโฮร์ มีกษัตริย์เป็นประมุขเรียกว่า ยังดี เปอร์ตวน อากง (Yang – Di Pertuan Agong)  ไม่มีการสืบสันติวงศ์ แต่สืบราชสมบัติ โดยการได้รับเลือกตั้งจากสุลต่าน (Sultan) หรือเจ้าผู้ครองนครจากรัฐ ๙ รัฐ ยกเว้นปีนัง และมะละกา อยู่ในตำแหน่งห้าปี แล้วเลือกตั้งใหม่ สหพันธรัฐมลายา มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
สิงคโปร์  เป็นดินแดนที่มีสิทธิปกครองตนเอง อยู่ในความควบคุมของอังกฤษในด้านการต่างประเทศ และด้านการทหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒ มีประมุขเรียกว่า ยังดี เปอร์ตวน นครา (Yang – Si Pertuan Negara)  สิงคโปร์ต่อมาได้แยกตัวเป็นอิสระ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
ซาบาห์ (Sabah)  หรือบอร์เนียวเหนือ  อยู่เหนือสุดของเกาะบอร์เนียวเหนือ บริษัทบอร์เนียวเหนือของอังกฤษได้ปกครองดินแดนส่วนนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๔ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๓ จึงได้ยกฐานะเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และได้รับสิทธิปกครองตนเอง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
ซาราวัค (Sarawak)  เป็นดินแดนที่ทอดยาวไปตามชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร ประชากรของซาราวัค ประกอบด้วยชนหลายเผ่า
สุลต่านแห่งบูรไนได้ยกดินแดนส่วนนี้ให้แก่ เซอร์ เจมส์ บรุค (Sir James Brooke) นักเดินเรือชาวอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๘๔ ตระกูลบรุคได้ปกครองดินแดนนี้ติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๔ เมื่อญี่ปุ่นยกกำลังเข้ายึดครองในสงครามมหาเอเชียบูรพา ซาราวัคตกอยู่ในอารักขาของอังกฤษมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๑ และยกฐานะเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ ต่อมในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ก็ได้รับสิทธิปกครองตนเอง
ข้อเสนอในการตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย มีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
พวกในประเทศ  คือ  กลุ่มภาษาวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกันวัฒนธรรมของกลุ่มคนมลายู กลุ่มดังกล่าวคือ พวกซาราวัคกับซาบาห์ ซึ่งชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ไม่ใช่ลายู อีกพวกหนึ่งคือ พวกคอมมิวนิสต์ หรือผู้ที่ฝักใฝ่ในลัทธินี้ มีความเห็นว่าการรวมตัวกันเป็นเรื่องของชาตินิยม ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์
พวกจากภายนอก  ได้แก่ อินโดนิเซียซึ่งอยู่ใกล้กัน เพราะมาเลเซียอยู่ติดดินแดนของอินโดนิเซีย ในบอร์เนียวเหนือ อินโดนิเซียจึงใช้นโยบายเผชิญหน้ากับมาเลเซีย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
ความสัมพันธ์ทวิภาคี  จากการเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน ไทยกับมาเลเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ความสัมพันธ์และความร่วมมือในระดับทวิภาคี และภาคีมีความแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบของอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง
ความร่วมมือทวิภาคีไทย – มาเลเซีย ในด้านความมั่นคงได้แก่ การจัดตั้งกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาต่าง ๆ  ที่สำคัญคือ
– คณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย – มาเลเซีย (General Boarder Committee : GBC)
– คณะกรรมการร่วมไทย – มาเลเซีย (Join Commission : IC)
– คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค  (Regional Boarder Committee : RBC)
– คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมส่วนภูมิภาค (Socia Economic Development Committee : SEDEC)
– คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – มาเลเซีย (Land Boundary Committee : LBC)
– คณะกรรมการเพื่อพิจารณาหลักเขตแดนที่ ๖๙ – ๗๐
– คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลก (Joint Steering Committee : JSC)
ความร่วมมือในกรอบพหุภาคีไทย – มาเลเซีย – อินโดนิเซีย  ทั้งสามประเทศ ได้ร่วมกันก่อตั้งโครงการความร่วมมือ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Indonesia – Malaysia – Thailand Growth Triangle : IMT- GT)  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ครอบคลุมพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย สี่รัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย และสี่จังหวัดบนเกาะสุมาตรา
ความสัมพันธ์ทางการค้า  ไทยและมาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับสองของกันและกันในอาเซียน
การค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย เป็นส่วนประกอบสำคัญของการค้าไทย – มาเลเซีย โดยไทยส่งสินค้าออกไปมาเลเซีย ผ่านพรมแดนศุลกากรทั้งสิบแห่ง ในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล
ปัญหาระหว่างไทยกับมาเลเซีย  มีอยู่สี่ประการด้วยกันคือ
ปัญหาด้านการเมือง  ทั้งสองฝ่ายพยายามร่วมมือแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งพื้นฐาน โดยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันหลายคณะในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ครอบคลุมในหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน ส่วนในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ได้ร่วมมือกันในกรอบของอาเซียน ไทยกับมาเลเซีย มีปัญหากระทบกระทั่งกันบ่อยครั้ง เนื่องจากความขัดแย้งเดิม ที่มีอยู่หลายประการด้วยกัน
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ  ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับมาเลเซียมาตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ เนื่องจากนำเข้าน้ำมันดิบจากมาเลเซีย
ปัญหาเส้นพรมแดนทางบก  จากการที่คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย – มาเลเซีย ที่ได้ร่วมกันสำรวจปักปัน เส้นเขตแดนทางบกใหม่ตลอดแนวพรมแดน ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๒๖ ปรากฏว่าเขตแดนไทย – มาเลเซีย ซึ่งยาวประมาณ ๖๕๗ กิโลเมตร มีปัญหาที่คั่งค้างอยู่รวมสามจุดคือ
หลักเขตที่ ๑  จังหวัดสตูล มีปัญหาตำแหน่งของทุ่น B และ C ด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มจากเขาผาขาว หลักเขตนี้เกี่ยวข้องกับอาณาเขตทางทะเลของไทย กับมาเลเซีย
หลักเขตที่ปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา
หลักเขตที่ยอดเขาเยลี  หลักเขตที่ ๖๙ – ๗๐ อำเภอสุคีริน จังหวัดนราธิวาส
ปัญหาเขตแดนทั้งสามจุดดังกล่าวมีความซับซ้อน เนื่องจากประเด็นที่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย เทคนิคเกี่ยวกับด้านแผนที่ และการปักปันดินแดน ปัญหาหลักเขตที่ ๑ และหลักเขตที่ ๖๙ – ๗๐ ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าตำแหน่งของหลักดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๙ (พ.ศ.๒๔๕๒)
สำหรับเขตแดนที่ปาดังเบซาร์ บริเวณศาลเจ้าฮกเต็ก มีปัญหาระหว่างการใช้หลัก Water shed หรือ Watershed
straightline  กล่าวคือถ้าใช้หลัก Water straightline ศาลเจ้าฮกเต็กจะอยู่ในไทย แต่ที่แล้วมาอาศัยหลัก Watershed เป็นเกณฑ์ ในการปักปันดินแดน
นอกจากนี้ การก่อสร้างกำแพงกั้นเขตแดนของมาเลเซีย ตามนโยบายป้องกันการลักลอบสินค้าหนีภาษีศุลกากร
ในบริเวณที่มีปัญหา เช่น ที่ปาดังเบซาร์  สตูล ฯลฯ เป็นการผิดวิสัยที่ประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะกระทำ
ปัญหาเส้นเขตแดนทางน้ำ  ไทยและมาเลเซีย ใช้ร่องน้ำลึกของแม่น้ำโกลก เป็นแนวแบ่งเขตแดนตามสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๙ (พ.ศ.๒๔๕๒)  แต่แม่น้ำโกลก มีความคดเคี้ยว และกระแสน้ำไหลเชี่ยว ทำให้ลำน้ำเปลี่ยนทางเดินมาแล้ว ๕๖ บริเวณ เนื่องจากไม่ได้มีการอนุรักษ์ฝั่งเท่าที่ควร ในจำนวน ๕๖ บริเวณดังกล่าว ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ๓๔ จุด มาเลเซียเสียเปรียบ ๒๒ จุด และในอนาคตมีแนวโน้มว่าลำน้ำจะเปลี่ยนแปลงอีก ๒๐ บริเวณ เขตแดนไทย – มาเลเซีย ที่ใช้แม่น้ำโกลก เป็นเขตแดน มีความยาวประมาณ ๙๕ กิโลเมตร
ได้มีการประชุมตกลงกันเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ให้ใช้หลักการกำหนดเส้นเขตแดนคงที่และถาวร (Fixed and Permanent Boundary)
ปัญหาการประมงระหว่างไทยกับมาเลเซีย  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ มาเลเซียได้ประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Essential Economic Zone : EEZ) ระยะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง และบังคับใช้กฎหมายเขตเศรษฐกิจจำเพาะกับกฎหมายประมงในเวลาต่อมา ครอบคลุมถึงเรือประมงต่างชาติที่เดินทางผ่านน่านน้ำมาเลเซีย ทำให้เกิดปัญหาการเดินเรือประมงของไทย เนื่องจากไทยมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับมาเลเซีย ทั้งทางด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน ทำให้ไทยถูกปิดล้อม โดยอาณาเขตทางทะเลของมาเลเซีย มาเลเซียออกข้อกำหนด ให้เรือประมงไทยแจ้งให้ทางมาเลเซียทราบก่อน ๔๘ ชั่วโมง ก่อนที่จะเดินเรือประมงผ่านน่านน้ำของตน โดยแจ้งผ่านศูนย์ประมงชายฝั่งนอกน่านน้ำที่จังหวัดสงขลา เรือไทยส่วนใหญ่ยอมปฏิบัติตาม แต่บางครั้งก็ถูกจับกุมหากทางมาเลเซียพบว่า เรือประมงลำใด ที่เดินทางผ่านเขตเศรษฐกิจจำเพาะของมาเลเซีย โดยมิได้เก็บอุปกรณ์การประมงอย่างมิดชิด พร้อมทั้งพบปลาในเรือ ก็จะสันนิษฐานว่า เรือลำนั้นลักลอบจับปลา ในน่านน้ำมาเลเซีย ก็จะถูกจับกุมทันที
ปัญหาลักลอบค้าหนีภาษี  มาเลเซียส่งเสริมให้มีการค้าขายบริเวณชายแดนไทย – มาเลเซีย โดยเปิดร้านปลอดภาษีหลายแห่ง ทำให้มีการลอบนำสินค้าหนีภาษี เข้ามาในเขตไทยตลอดเวลา
ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ  เนื่องจากมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ชายแดนไทย – มาเลเซีย ต้องการเข้าไปในมาเลเซียด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ  จึงใช้วิธีเป็นบุคคลสองสัญชาติ เพื่อสะดวกในการผ่านเข้าออก ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ไทยกับมาเลเซียเห็นพ้องที่จะแก้ปัญหานี้ โดยกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา แต่การดำเนินงานไม่ก้าวหน้า
ปัญหายาเสพติด  มีการลักลอบนำยาเสพติดผ่านไปทางมาเลเซีย เพื่อจำหน่ายและส่งต่อไปยังประเทศอื่น ทางมาเลเซียได้ดำเนินการปราบปรามอย่างกวดขัน และได้ร่วมมือกับฝ่ายไทย ซึ่งได้ผลพอสมควร
ปัญหาสัญญาณโทรทัศน์รบกวนกันในพื้นที่ชายแดน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างจังหวัดสงขลากับรัฐเคดาห์ จึงได้มีการหารือกันทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๓๑ มีการเจรจากันหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากยังมีปัญหาทางเทคนิค
ปัญหาการก่อการร้าย  ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) กลุ่มต่าง ๆ บริเวณจัดหวัดชายแดนภาคใต้ พวกมุสลิมแนวทางดั้งเดิมรุนแรง (Fundamentalist) ได้อาศัยดินแดนรอยต่อของสองประเทศ เผยแพร่แนวคิดรุนใรงทางศาสนาต่อประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยด้วย ไทยต้องการให้มาเลเซีย ให้ความร่วมมือในการปราบปราม แต่มาเลเซียถือว่าเป็นเรื่องภายในของไทย
การคมนาคมขนส่ง
การขนส่งทางบก
ทางถนน  ในมาเลเซียตะวันตกมีถนนที่เป็นเส้นทางหลักสำคัญได้แก่
เส้นทางจากบูกิต – กายู ฮิตัน – อลอร์สตาร์ – ปัตเตอร์เวอร์ธ – ปอร์ตกลัง ระยะทางประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร
เส้นทางจากโกตาบารู – กัลลาตรังกานู – กวนตัน – ยะโฮร์บารู ระยะทางประมาณ ๖๙๐ กิโลเมตร
เส้นทางจากปาเซร์เต๊ะห์ – มาจัง – กริก ระยะทางประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร
เส้นทางจากอิโปห์ – กัลลาสลังงอร์ – ปอร์ตกลัง – มะละกา – ยะโฮร์ ระยะทางประมาณ ๖๐๐ กิโลเมตร
เส้นทางจากปัตเตอร์เวอร์ธ – ปีนัง – ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
เส้นทางจากปาดังเบซาร์ – อลอร์สตาร์ ระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร
เส้นทางจากโกตาบูลู – เบนโวง ระยะทางประมาณ ๕๗๐ กิโลเมตร
เส้นทางจากเตอมอร์โละห์ – เกมัส ระยะทางประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร
ระบบทางด่วน  แบ่งเป็นสองเส้นทางหลักคือ เส้นทางด่วนสายเหนือ – ใต้ และสายตะวันออก – ตะวันตก
เส้นทางสายเหนือ – ใต้  มีระยะทางประมาณ ๘๘๐ กิโลเมตร เริ่มจากบูกิตกายูหิตัม ผ่านจีรากุรุน บัตเตอร์เวอร์ธ จักกัตเยอร์อิโปห์ ตัมยุงมาลิน กัวลาลัมเปอร์ เซเรมปัน อาเยอร์ฮิตัม เชอไน ยะโฮร์บารู
เส้นทางสายตะวันออก – ตะวันตก  มีระยะทางประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร เริ่มจากเมืองกริก รัฐเปรัค เยอลี รัฐกลันตัน
ทางรถไฟ  ก่อตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๘ โดยรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการต่อมาแปรรูปเป็นรูปบริษัท เป็นทางรถไฟกว้าง ๑.๐๐ เมตร เท่ากับของประเทศไทย มีความยาวประมาณ ๒,๓๖๐ กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟฟ้าขนาดมาตรฐาน รางกว้าง ๑,๔๓๕ เมตร ความยาวประมาณ ๖๐ กิโลเมตร
เส้นทางรถไฟสายหลักประกอบด้วยเส้นทางด้านตะวันตก จากปาดังเบซาร์ ชายแดนเหนือไปถึงชายแดนทางใต้ติดต่อกับสิงคโปร์ รวมระยะทางประมาณ ๙๓๐ กิโลเมตร เส้นทางสายตะวันออก จากตุนปัด ถึงเกมัส ความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร
เส้นทางที่เหลือเป็นทางแยกสายต่าง ๆ รวมหกสายทาง เป็นระยะทางสั้น ๆ
ขบวนรถไฟของมาเลเซีย สามารถเชื่อมติดต่อกับทางรถไฟของไทย และสิงคโปร์
ระบบขนส่งทางน้ำ
ทางลำน้ำ ในแผ่นดินมาเลเซียตะวันตกบนแหลมมลายู มีการเดินเรือในลำน้ำน้อย เนื่องจากมีแต่ลำน้ำสายสั้น ๆ ตื้นเขิน และกระแสน้ำเชี่ยว ใช้ได้เฉพาะเรือเล็ก
ทางทะเลตะวันตก  เส้นทางเดินเรือสายสำคัญ ส่วนมากผ่านช่องแคบมะละกา และเข้าเทียบเรือทางท่าเทียบเรือตะวันตก ท่าเรือที่สำคัญได้แก่
ท่าเรือปีนัง  มีท่าเรือน้ำลึก และท่าเทียบเรือน้ำตื้น ลักษณะของท่าเป็นแนวตรงทิศเหนือ – ใต้ เทียบเรือด้านเดียว มีโรงเก็บสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าอยู่ในระดับดี
ท่าเรือกันลัก  อยู่เหนือเมืองบัตเตอร์เวอร์ธ
ท่าเรือปอร์ตเวตมัน  ต่อมาได้รวมกับท่าเรือปอร์ตกลัง
ท่าเรือปอร์ตกลัง  เป็นท่าเรือที่สร้างขึ้นแทนท่าเรือปอร์ตเวตมัน อยู่ห่างจากกัวลาลัมเปอร์ ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร สร้างยื่นออกไปในทะเลยาวขนานกับฝั่ง สามารถเทียบเรือเดินทะเลขนาด ๘,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ ตัน ได้พร้อมกัน ๗ – ๘ ลำ นับเป็นท่าเทียบเรือที่สำคัญที่สุดของมาเลเซีย
ท่าเรือใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย อยู่ที่ตันหยงเปอร์ฮาซา เป็นท่าเรือที่ออกแบบ เพื่อการขนถ่ายปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยเฉพาะ
ท่าเรือขนาดเล็ก คือ ท่าเรือปอร์ตดิกสัน ท่าเรือมะละกา ท่าเรือยะโฮร์บารู และท่าเรือกวนตัน
ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เริ่มแรกของมลายู
ค.ศ.๓๕๐ มีการตั้งหลักแหล่งแบบอินเดียในเคดาห์
ค.ศ.๗๐๐ – ๑๐๐ สมัยอาณาจักรศรีวิชัยมีอำนาจเหนือแหลมมลายู
ค.ศ.๑๒๙๒ การเดินทางของมาร์โคโปโล จากตะวันตกสู่ตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกาไปอาณาจักรจีน
สมัยสุลต่านแห่งมะละกา
ค.ศ.๑๓๙๘ – ๑๔๐๐ พระเจ้าปรเมศวร สร้างมะละกา
ค.ศ.๑๔๐๕ แม่ทัพจีนมามะละกา
ค.ศ.๑๔๑๔ พระเจ้าปรเมศวร เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาอิสลาม
ค.ศ.๑๔๔๕ อิสลามเป็นศาสนาประจำดินแดนมะละกา
ค.ศ.๑๕๐๙ โปรตุเกส มาถึงมะละกาเป็นครั้งแรก
ค.ศ.๑๕๑๑  มะละกาตกเป็นของดัลบูเคอร์ก
คริสตศตวรรษที่ ๑๖
ค.ศ.๑๕๒๐ บรูไน มีอำนาจสูงสุด – สุลต่านบูลเกอาห์
ค.ศ.๑๕๒๖ โปร์ตุเกส ทำลายเมืองปินตัง เมืองหลวงของยะโฮร์
ค.ศ.๑๕๓๙ ยะโฮร์ และพันธมิตรชนะพวกอาเจะห์
ค.ศ.๑๕๖๔ อาเจห์โจมตีเมืองยะโฮร์ ลามา
ค.ศ.๑๕๗๕ อาเจะห์ชนะเประ
ค.ศ.๑๕๘๗ โปร์ตุเกสทำลายเมืองยะโฮร์ ลามา
ค.ศ.๑๕๙๕ – ๙๖ ฮอลันดามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คริสตศตวรรษที่ ๑๗
ค.ศ.๑๖๐๖ ฮอลันดาแพ้กองเรือโปร์ตุเกส นอกฝั่งยะโฮร์ ฮอลันดาและยะโฮร์ โจมตีมะละกา
ค.ศ.๑๖๓๙ สนธิสัญญาระหว่างฮอลันดากับยะโฮร์
ค.ศ.๑๖๔๑ ฮอลันดายึดมะละกาได้
ค.ศ.๑๖๘๐ พวกบูกิส เริ่มตั้งถิ่นฐานอยู่ที่สลังงอร์
ค.ศ.๑๖๙๙ การลอบปลงพระชนม์ สุลต่าน มาห์มุก ทำให้การสืบราชสมบัติโดยตรง ทางยะโฮร์จากมะละกาสิ้นสุดลง
คริสตศตวรรษที่ ๑๘
ค.ศ.๑๗๑๗ – ๑๘ จักรวรรดิ์ยะโฮร์ตกอยู่กับราชาเกซิล จากซีอัค
ค.ศ.๑๗๔๒ การสถาปนาสำนักสุลต่านชาวบูกิส ในสลังงอร์
ค.ศ.๑๗๗๑ อังกฤษตั้งหลักแหล่งทางการค้าในเคดาห์
ค.ศ.๑๗๗๓ – ๗๕ อังกฤษตั้งหลักแหล่งที่บาลัม บางัน ในบอร์เนียว
ค.ศ.๑๗๘๔ บูกิสโจมตีมะละกา ในสมัยราชาอาจิ
ค.ศ.๑๗๘๖ อังกฤษได้เกาะปีนัง (ฟรานซิส ไลท์)
ค.ศ.๒๗๙๙ อังกฤษยึดมะละกามาได้จากฮอลันดา
ค.ศ.๑๘๐๐ ปีนังได้จังหวัดเวลสลีย์
คริสตศตวรรษที่ ๑๙
ค.ศ.๑๘๑๑ อังกฤษยึดได้เมืองยะโฮร์
ค.ศ.๑๘๑๙ รัฟเฟิลส์ สถาปนาสิงคโปร์
ค.ศ.๑๘๒๑ สยามบุกเคดาห์
ค.ศ.๑๘๒๔ อังกฤษและฮอลันดา ทำสนธิสัญญาระหว่างกันที่ลอนดอน
ค.ศ.๑๘๒๖ อังกฤษและสยามทำสนธิสัญญาระหว่างกันที่กรุงเทพ ฯ
ค.ศ.๑๘๓๑ – ๓๒ สงครามบานิวที่เกาะมะละกา
ค.ศ.๑๘๔๒ เจมส์ บรุค เป็นราชาแห่งซาราวัค และสยามแยกปลิส ออกจากเคดาห์
ค.ศ.๑๘๔๗ บรูไนยกลาบวนให้อังกฤษ
ค.ศ.๑๘๖๒ อังกฤษ ระดมยิงเมืองกัวลา ตรังกานู และเกิดสงครามลารุต ในเประ
ค.ศ.๑๘๖๖ เริ่มสงครามกลางเมืองสลังงอร์
ค.ศ.๑๘๖๗ การย้ายการปกครองดูแล สเตรต เซ็ตเติลเมนห์ (Strait Settlement) จากกระทรวงอินเดียมาขึ้นกับกระทรวงอาณานิคม
ค.ศ.๑๘๗๔ สนธิสัญญาฟังกอร์ อังกฤษเข้าแทรกแซงในรัฐมลายู
ค.ศ.๑๘๗๕ การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการชาวอังกฤษ ไปประจำเประและสลังงอร์
ค.ศ.๑๘๘๑  การตั้งบริษัทบริติช นอร์ธ บอร์เนียว
ค.ศ.๑๘๘๘ อังกฤษคุ้มครองบรูไน ซาราวัค และบอร์เนียวเหนือ
ค.ศ.๑๘๘๙ การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการชาวอังกฤษไปประจำปาหัง
ค.ศ.๑๘๙๖ การสถาปนาสหพันธรัฐมลายู
ค.ศ.๑๘๙๗ อังกฤษและสยาม ทำอนุสนธิสัญญาระหว่างกัน
คริสตศตวรรษที่ ๒๐
ค.ศ.๑๙๐๖ การแต่งตั้งที่ปรึกษาชาวอังกฤษประจำบรูไน
ค.ศ.๑๙๐๙ สนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับสยาม – การแต่งตั้งที่ปรึกษาชาวอังกฤษประจำกลันตัน เคดาห์ ตรังกานู  และปะลิส
ค.ศ.๑๙๑๔ การแต่งตั้งที่ปรึกษาทั่วไปชาวอังกฤษประจำยะโฮร์
ค.ศ.๑๙๑๗ ไวเนอร์ บรุค ขึ้นเป็นราชาองค์ที่สามแห่งซาราวัค
ค.ศ.๑๙๔๑ ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกใกล้โกตาบารู
ค.ศ.๑๙๔๒ สิงคโปร์อยู่ใต้การยึดครองของญี่ปุ่น
ค.ศ.๑๙๔๕ ญี่ปุ่นแพ้ในสงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามยุติ
ค.ศ.๑๙๔๖ การก่อตั้งสหภาพมลายู
ค.ศ.๑๙๕๑ การแต่งตั้งนายพล เทนเบเลอร์ เป็นข้าหลวงใหญ่ในมลายู
ค.ศ.๑๙๕๕ การเลือกตั้งสหพันธ์ครั้งแรก ตนกู อับดุล ราห์มาน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ค.ศ.๑๙๕๗ สหพันธ์มลายู เป็นเอกราช
ค.ศ.๑๙๕๙ สิงคโปร์มีการปกครองภายในของตนเอง
ค.ศ.๑๙๖๓ การก่อตั้งมาเลเซีย ประกอบด้วยมลายู สิงคโปร์ ซาบาห์ และซาราวัค
ค.ศ.๑๙๖๓ การเผชิญหน้ากันระหว่างอินโดนิเซีย และมาเลเซีย
ค.ศ.๑๙๖๕ สิงคโปร์แยกจากมาเลเซีย

แหล่งอ้างอิง: http://www.aseankan1.com/index.php?mo=3&art=650876

 

ประเทศอินโดนีเซีย

ข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ: สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  8 สิงหาคม 2510      

พื้นที่:1,890,754  ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง:จาการ์ตา (Jakarta)

ประชากร : 220 ล้านคน

ภาษาราชการ:อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)

ศาสนา:ร้อย ละ 87 ของประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับคือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือพระพุทธศาสนา

ระบอบการปกครอง:ประชาธิปไตย

สกุลเงิน:รูเปียห์ (Rupiah : IDR)

ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ ห้าเกาะ และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ ๓๐ หมู่เกาะ รวมแล้วมีอยู่ ๑๓,๖๗๗ เกาะ เป็นเกาะที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ ๖,๐๐๐ เกาะ รูปลักษณะหมู่เกาะจะวางตัวยาวไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร คล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหงาย
คำว่าอินโดเนเซีย มาจากคำในภาษากรีกสองคำคือ อินโดซ หมายยถึง อินเดียตะวันออก และนิโซสหมายถึงเกาะ จึงมีความหมายว่า หมู่เกาะอินเดียตะวันออก
หมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิค จึงเป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร และสะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปคือ ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย
อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีพื้นน้ำใหญ่เป็นสี่เท่าของพื้นที่แผ่นดิน อาณาเขตจากตะวันออกไปตะวันตก ยาวประมาณ ๕,๑๐๐ กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลเมตร
เกาะใหญ่ทั้งห้าเกาะ ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา มีพื้นที่ประมาณ ๔๗๓,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร  เกาะกาลิมันตัน มีพื้นที่ประมาณ ๕๓๙,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร (เฉพาะดินแดนของอินโดนีเซีย ซึ่งประมาณสองในสามของพื้นที่เกาะบอร์เนียวทั้งหมด) เกาะสุลาเวสี มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๙,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร  เกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๒,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร และเกาะอิเรียนจายา (อิเรียนตะวันตก) มีพื้นที่ประมาณ ๔๒๒,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
หมู่เกาะอินโดนีเซีย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ ออกได้เป็นสี่ส่วนคือ
หมู่เกาะซุนดาใหญ่  ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา เกาะชวา กาสิมันตัน และสุลาเวสี
หมู่เกาะซุนดาน้อย  รวมเกาะต่าง ๆ จากบาหลีไปทางตะวันออกถึงตะมอร์
หมู่เกาะโมลุกกะ (มาลุกุ)  ประกอบด้วย หมู่เกาะที่อยู่ระหว่างเกาะอิเรียนจายา ถึงเกาะสุลาเวสี
หมู่เกาะอิเรียนจายาประเทศอินโดนีเซีย  มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ  ทิศเหนือของเกาะกาลิมันตัน ติดต่อกับรัฐซาราวัคและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย โดยมีสันเขาเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอิเรียนจายา  ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศฟิลิปปินส์
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศปาปัวนิวกินี
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศมาเลเซีย โดยมีช่องแคบมะละกาเป็นพรมแดนระหว่างเกาะสุมาตรากับประเทศมาเลเซีย


ลักษณะภูมิประเทศ
หมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้สามส่วนคือ
ส่วนที่ ๑  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซุนดา ได้แก่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา และเกาะกาลิมันตัน กับร่องน้ำระหว่างเกาะต่าง ๆ เหล่านี้กับฝั่งทะเลของประเทศมาเลเซีย และอินโดจีน มีระดับน้ำลึกไม่เกิน ๗๒๐ ฟุต
ส่วนที่ ๒  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซาฮูลคือเกาะอีเรียนจายา และเกาะอารู มีอาณาเขตจากฝั่งทะเลออสเตรเลียทางเหนือ ระดับน้ำลึกไม่เกิน ๗๐๐ ฟุต
ส่วนที่ ๓  บริเวณพื้นที่ระหว่างบริเวณไหล่ทวีปซุนดา และไหล่ทวีปซาฮูล ได้แก่ บริเวณหมู่เกาะนูซาแตงการา มาลูกู สุลาเวสี มีความลึกของระดับน้ำถึง ๑๕,๐๐๐ ฟุต

ภูเขา  ภูเขาที่สำคัญ ๆ มีอยู่ประมาณ ๑๐๐ ลูก จากจำนวนประมาณ ๔๐๐ ลูก ภูเขาที่สูงที่สุดตามเกาะต่าง ๆ มีดังนี้
ภูเขาเกรินยี  อยู่บนเเกาะสุมาตรา สูง ๑๒,๔๖๐ ฟุต
ภูเขาเซมารู  อยู่บนเกาะชวา สูง ๑๒,๐๔๐ ฟุต
ภูเขาแรนโตคอมโบรา  อยู่บนเกาะสุลาเวสี สูง ๑๑,๓๐๐ ฟุต
ภูเขาปุมจักชวา  อยู่บนเกาะอิเรียนจายา สูง ๑๖,๐๐๐ ฟุต
ที่ราบ  โดยทั่วไปมีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณเชิงเขา และบริเวณชายฝั่งทะเล ชายฝั่งทะเลมักเป็นที่ราบต่ำ บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะสุมาตรา และทางตอนเหนือของเกาะชวา จะมีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ่คลุมไปถึงบริเวณริมฝั่งทะเล และนอกจากนี้ก็มีบริเวณชายฝั่งของเกาะกาลิมันตัน และเกาะอีเรียนจายา
แม่น้ำและทะเลสาป  เนื่องจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกตลอดปี และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงทำให้เกิดแม่น้ำ และทะเลสาปอยู่บนเกาะต่าง ๆ มากมาย แม่น้ำและทะเลสาบที่สำคตัญได้แก่
บนเกาะสุมาตรา   มีแม่น้ำมุสิ แม่น้ำบาตังฮาริ และแม่น้ำกำปา
บนเกาะกาลิมันตัน  มีแม่น้ำดาพัวส์ แม่น้ำมาริโต แม่น้ำมหกรรม และแม่น้ำงาจัง
บนเกาะอิเรียนจายา  มีแม่น้ำเมมเปอราโม และแม่น้ำติกัล
บนเกาะชวา  มีแม่น้ำเบนกาวันโซโล แม่น้ำซิตาวัม และแม่น้ำบราตัส
ทะเลสาบที่สำคัญ ๆ ส่วนมากจะอยู่บริเวณกลางเกาะคือ
บนเกาะสุมาตรา  มีทะเลสาบปโตมา ทะเลสาบมาบินิจอ  และทะเลสาบซิงการัก

บนเกาะสุลาเวสี  มีทะเลสาบเทมบิ ทะเลสาบโทวูติ ทะเลสาบสิเดนเรว ทะเลสาบปูโซ ทะเลสาบลิมลิมโบโต และทะเลสาบตันตาโน
บนเกาะอิเรียนจายา  มีทะเลสาบพิเนีย และทะเลสาบเซนตานี

สมุทรศาสตร์  ประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีมหาสมุทรล้อมรอบทั้งสามด้าน ระดับความลึกของน้ำทะเลจึงแตกต่างกันไป บริเวณที่น้ำตื้นส่วนใหญ่จะมีหินโสโครก และหินปะการัง เนื่องจากลาวาของภูเขาไฟ เกาะใหญ่น้อยของอินโดนีเซียมีลักษณะแยกกัน จึงก่อให้เกิดเส้นทางผ่านทะเลเป็นจำนวนมาก
เขตเวลา  ประเทศอินโดนีเซีย แบ่งเขตเวลาออกเป็นสามเขต ได้มีการประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ คือ
– เวลามาตรฐาน อินโดนีเซียตะวันตกเท่ากับ G.M.T บวกเจ็ดชั่วโมง (เส้นเมอริเดียน ๑๐๕ องศาตะวันออก) คลุมถึงเกาะสุมาตรา เกาะชวา มาดูรา และเกาะบาหลี
ทฤษฎีน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะ  อินโดนิเซียได้ออกคำประกาศเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ว่า อินโดนิเซียมีความจำเป็นต้องใช้ทฤษฎีน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในประเทศ พร้อมกับข้อเสนอเรียกร้องสามประการคือ
– ให้ลากเส้นเชื่อมโยง รอบนอกของเกาะทุกเกาะ และแนวปะการังเข้ารวมเป็นดินแดนทั้งหมดของอินโดนิเซีย
– ให้อินโดนิเซียมีอธิปไตยเหนือน่านน้ำดังกล่าวข้างต้น รวมตลอดถึงพื้นที่ในอากาศเหนือน่านน้ำ พื้นที่ใต้ทะเล พื้นที่ใต้ดิน และทรัพยากรต่าง ๆ
– เรียกร้องสิทธิที่จะกำหนดขอบเขตทางทะเล เศรษฐกิจทางทะเล และวางข้อกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับทะเล น่านน้ำอาณาเขต
เดิมข้อเสนอของอินโดนิเซีย ถูกคัดค้านอย่างกว้างขวาง แต่ต่อมาปรากฎว่า หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ได้แสดงท่าทีผ่อนคลายลงมาก
หากอินโดนิเซีย ประสบผลสำเร็จแล้ว จะทำให้อินโดนิเซีย มีดินแดนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ ๘.๗๕ ล้านตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นส่วนที่เป็นพื้นดินประมาณ ๒ ล้านตารางกิโลเมตร และยังสามารถคุมเส้นทางเดินเรือ ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย กับมหาสมุทรแปซิฟิก จะทำให้อินโดนิเซียมีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ และการทหารในบริเวณพื้นที่แถบนี้มากขึ้น

ประชากร

ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมาเลย์ ประมาณร้อยละ ๙๕ ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และชาวยุโรป แต่ถ้าแบ่งตามหลักฐานชาติวงศ์วิทยาแล้ว ถือว่าชาวอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดมาจาก ๓๖๕ เชื้อชาติ รวมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้สี่กลุ่มด้วยกันคือ
เมสเลเนเซียน (Melanesians) เป็นเผ่าพันธุ์ที่ผสมกันระหว่างกลุ่มมองโกลลอยด์ กับวาจาด
โปรโตออสโตรเนเซียน (Proto – Autronesians)
โพลีเนเซียน (Polynesians)
โมโครเนเซียน (Micronesians)
ประชากรที่มีเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ อาศัยอยู่ตามเกาะสุมาตรา เกาะชวาตะวันตก เกาะมาดูรา เกาะบาหลี เกาะลอมบก  เกาะตีมอร์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุลาเวสี เกาะอีเรียนจายา และตามแนวชายแดนด้านตะวันตก
ลักษณะของชาวอินโดนีเซีย จะมีตาคม ผมดำ ผิวสีน้ำตาล กระดูกแก้มกว้าง ตาเล็ก จมูกใหญ่ มีความสูงประมาณ ๕ – ๖ ฟุต พอกับความสูงของคนไทยทั่วไป
ประชากรของอินโดนีเซีย มีมากเป็นอันดับห้าของโลก รองลงมาจาก จีน อินเดีย โซเวียตรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๖๓ จะอยู่ทีเกาะชวา และเกาะมาดูจำนวนประชากรกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ คือ
เกาะชวา  มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๒,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับสี่ของอินโดนิเซีย มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ในบรรดาเกาะทั้งหลายของอินโดนิเซีย ประมาณร้อยละ ๗๐ ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองจาการ์ตา ซึ่งเป็นเมืองหลวงมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด กว่าทุกเมืองในอินโดนิเซีย
เกาะกาลิมันตัน  มีพื้นที่ประมาณ ๕๓๙,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ แต่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่มากนัก ประมาณร้อยละ ๔ ของประชากรทั้งหมด
เกาะสุมาตรา  มีพื้นที่ประมาณ ๔๗๓,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับสองของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่เป็นอันดับสอง รองลงมาจากเกาะชวา ประมาณร้อยละ ๔ ของประชากรทั้งหมด
เกาะสุลาเวสี  มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๙,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่ อันดับสามของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ ๖ ของประชากรทั้งหมด
เกาะมาลูกู  มีพื้นที่ประมาณ ๗๔,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับห้าของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ ๑ ของประชากรทั้งหมด
หมู่เกาะนุสาเตงการา บาหลี และติมอร์  มีพื้นที่ประมาณ ๗๖,๓๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ ๕ ของประชากรทั้งหมด
เกาะอิเรียนจายา  มีพื้นที่ประมาณ ๗๒,๗๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ ๑ ของประชากรทั้งหมด
ภาษา  ภาษาประจำชาติของอินโดนีเซีย ได้แก่ บาฮาซา อินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีภาษามลายูโปสีนีเซียน และภาษาท้องถิ่นอีกประมาณ ๒๕๐ ภาษา ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สำคัญรองลงมาจากภาษาประจำชาติ และถือเป็นภาษาบังคับในโรงเรียนมัธยม นอกจากนี้ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในวงราชการและธุรกิจ สำหรับภาษาดัทช์ ใช้พูดกันในหมู่ผู้สูงอายุ
ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซียได้โครงสร้างและคำส่วนใหญ่มาจากภาษามาเลย์ ประกอบด้วยภาษาท้องถิ่นอีกมากมาย ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะรู้สองภาษา
พัฒนาการทางวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี
โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม  ประชากรอินโดนีเซียประกอบด้วย หลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ แต่ละเผ่าพันธุ์ต่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรม และลักษณะทางสังคมของตนสืบทอดกันมา ชนเหล่านี้เมื่อถูกรวมกันเข้าภายใต้ระบบการเมือง เศรษฐกิจและการป้องกันประเทศร่วมกัน
จากการที่สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมาย และมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากรติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง จึงปรากฎลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาที่ใช้ผิดแผก แตกต่างกันไป
ขนบธรรมเนียมประเพณี  ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแตกต่างกันไป ในแต่ละกลุ่มชน ชาวชนบทที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ยังยึดมั่นอยู่กับประเพณีเดิมอยู่มาก ส่วนกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก จะมีวิถีชีวิตแตกต่างกันออกไป การแบ่งกลุ่มชนตามขนบธรรมเนียมประเพณี และพื้นที่ตั้ง สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
กลุ่มแรก  เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา และบาหลี ผู้คนที่อยู่ในแถบนี้จะยึดมั่นอยู่ในแนวทางของศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมเน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจ และสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปอย่างมากมาย โดยเฉพาะนาฎศิลป์ และดุริยางคศิลป์ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประชากรจะประพฤติตามหลักจริยธรรม มีการเคารพต่อบุคคลตามฐานะของบุคคลนั้น ๆ
กลุ่มที่สอง  เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะต่าง ๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทางวัฒนธรรมตามหลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจของสังคมอินโดนีเซียยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทางศาสนา และกฎหมาย
กลุ่มที่สาม  เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมาก อาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และการเพาะปลูก รัฐบาลอินโดนีเซียได้เข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนกลุ่มนี้แล้ว
ในประเทศอินโดนีเซีย มีการกำหนดกฎหมายประเพณีในสังคม ตามความเชื่อในศาสนาซึ่งจะต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด และสืบทอดกันมานานแล้ว มีสาระที่สำคัญคือ ความผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเมืองต่อสังคมที่ตนอยู่ โดยยึดหลักการปฎิบัติที่เรียกเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า โกตองโรยอง คือการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานต่าง ๆ เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินร่วมกัน ภายใต้ข้อตกลงและข้อแม้พิเศษ

การแต่งกาย  เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายจึงโน้มน้าวไปตามประเพณีของศาสนา
ผู้ชาย  จะนุ่งโสร่ง สวมเสื้อคอปิด แขนยาว สวมหมวกรูปกลม หรือหมวกหนีบ ทำด้วยสักหลาดสีดำ บางครั้งจะนุ่งโสร่งทับกางเกง ประมาณครึ่งตัว โดยปล่อยให้เห็นขากางเกง ในกรณีที่ต้องเข้าพิธี อาจจะมีการเหน็บกริชด้วย ปัจจุบันผู้ชายอินโดนีเซียส่วนใหญ่นิยม แต่งกายแบบสากล แต่ยังคงสวมหมวกแบบเดิม
ผู้หญิง  จะใช้ผ้าไคน์ พันรอบตัว และใช้นุ่งอยู่กับบ้านเท่านั้น ผ้าไคน์จะมีลวดลายสวยงามมาก เนื้อดีและราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า ผ้าปาติค (Patik) เวลานุ่งจะต้องให้ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ เรียกว่า เคบาจา (Kebaja) เป็นเสื้อที่รัดติดกับตัว แขนยาว สำหรับผู้หญิงชาวเกาะสุมาตรา นิยมสวมเสื้อหลวม ลำตัวยาวเกือบถึงเข่า เรียกว่า บัตยูกรุง และใช้ผ้าห่มพาดไหล่ข้างหนึ่งด้วย ผู้หญิงอินโดนีเซียไว้ผมยาว แล้วเกล้าเป็นมวย และใช้เครื่องประดับ เช่น พลอย หรือดอกไม้ประดับศีรษะ รองเท้าที่ใช้เดิมเป็นรองเท้าแตะ แต่ปัจจุบันเป็นรองเท้ามีส้น และทาสี แกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ สายคาดทำด้วยหนังทาสีเงิน หรือสีทอง สตรีที่นับถือศาสนาอิสลามจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ แต่ไม่ปิดหน้า ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น การแต่งกายแบบดังกล่าว จะใช้ในโอกาสพิธีสำคัญ ๆ เท่านั้น
ศิลปและวรรณคดี  ชาวอินเดียเป็นผู้รักศิลป และวรรณคดีมาช้านานแล้ว สังเกตได้จากลวดลายของเครื่องแต่งกาย บ้านที่พักอาศัย ศาสนสถาน และนาฎศิลป์ต่าง ๆ ศิลปในประเทศอินโดนีเซีย มิได้ยึดถือตามที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตเท่านั้น แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างได้พัฒนาเปลี่ยนไปตามแต่ละยุค แต่ละสมัย ที่มีอิทธิพลต่อประเทศอินโดนีเซีย ในขณะนั้น

ศิลปกรรมการปั้น และการแกะสลัก  การทำงานแบบธรรมชาติ โดยใช้ฝีมืออย่างแท้จริง ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบแกะสลักไม้ แกะสลักวัตถุโลหะ เครื่องปั้นดินเผา และงานแกะสลักหินเป็นรูปต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมฮินดู เพราะศาสนาพราหมณ์ฮินดู เคยเข้ามามีอิทธิพลในอินโดนีเซีย นักแกะสลักที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่เป็นชาวบาหลี

สถาปัตยกรรม  มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศและอิทธิพลของศาสนา แต่ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับประเทศต่าง ๆ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อาคารบ้านเรือนของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ส่วนเทวสถานบางแห่ง เช่น สถูปโบโรพุทโธ ซึ่งมีชื่อเสียงมากได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของศาสนาฮินดู

นาฏศิลป์  มีรูปแบบแตกต่างกันไปเป็นสองลักษณะ เนื่องจากในอดีตอินโดนีเซียถูกฮอลันดาบีบบังคับให้แบ่งอาณาจักร Matanam ออกเป็นสองส่วนคืออาณาจักรสมาการ์ตา (Sumakarta) และอาณาจักรยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) จึงทำให้นาฏศิลป์ชวามีรูปแบบแตกต่างกันออกไปดังกล่าว
แบบสมาการ์ตา (Samakarta)  การแต่งกายจะใช้ผ้าแพรพาดบ่า ท่วงทำนองของวงมโหรีจะนุ่มนวลราบเรียบ มีเส้นแบ่งจังหวะน้อย
แบบยอกยาการ์ตา (Yogyakarta)  การแต่งกายจะใช้ผ้าแพรพันเอว ท่วงทำนองของวงมโหรีจะมีเสียงไม่นุ่มนวล เพราะมีเส้นแบ่งจังหวะมาก
ถึงแม้นาฏศิลป์ทั้งสองแบบจะแตกต่างกันไปบ้างก็ตาม แต่ก็สะท้อนปรัชญาของชวาจากท่าทาง การเคลื่อนไหวมือ – แขน แม้กระทั่งการแสดงออกทางสีหน้า เช่น ตัวละครที่แสดงเป็นธรรมะจะหลบตาลงต่ำเสมอ และจะร่ายรำด้วยลีลาอ่อนช้อย ผสมกลมกลืนอย่างสง่างาม แสดงถึงจิตใจอ่อนโยนบริสุทธิ์ ในทางตรงกันข้าม ตัวละครที่แสดงเป็นอธรรม หรือชั่วร้ายจะแสดง ลักษณะท่วงท่าวางอำนาจ กลอกตาแข็งกร้าว แสดงถึงจิตใจชั่วร้ายหยาบคาย
ปรัชญาของชวามุ่งใฝ่สันติความสงบสุข สุภาพ ถ่อมตัวในการติดต่อกับผู้อื่น เช่นเดียวกับตัวละครที่แสดงเป็นฝ่ายธรรมะ

ดนตรี  ในสมัยโบราณ อินโดนีเซียมีวงดนตรีพื้นเมืองมีชื่อเสียงมากเรียกว่า ตมิลาน ประกอบด้วย เครื่องดนตรีคล้ายระนาด กลอง ฆ้อง ซอสองสาย และขลุ่ย ซึ่งนอกจากเป็นดนตรีประจำราชสำนักของสุลต่านต่าง ๆ บนเกาะชวาแล้ว ดนตรีดังกล่าวยังทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วย แต่ปัจจุบันวงดนตรีตมิลานได้กลายเป็นวงดนตรีสำหรับการฟ้อนรำ การแสดงนาฏศิลป์ และการแสดงหนังตะลุง นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีวงดนตรีอังกะลุงด้วย
ศิลปะการแสดง  การมหรสพของอินโดนีเซียได้แก่ ละครและภาพยนตร์ เค้าโครงเรื่องของละครที่นำมาแสดงส่วนใหญ่คือเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นเทพนิยายในศาสนาฮินดู ตัวละครจะแต่งกายด้วยผ้าปาติก ไม่สวมเสื้อชั้นนอก ใช้สีทาตัวเป็นสีต่าง ๆ ประดับด้วยสร้อยสังวาลย์ นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีการละเล่นอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า วายัง หรือหนังตะลุง เป็นที่นิยมกันมาก เค้าโครงเรื่องส่วนใหญ่เป็นนิยายเกี่ยวกับเรื่องสงครามในศาสนาฮินดู

วรรณคดี  ในสมัยที่ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาได้เข้าไปเผยแพร่ในอินโดนีเซีย วรรณคดีของอินโดนีเซียมีความเจริญอย่างรวดเร็ว หนังสือที่มีชื่อเสียงในระยะนั้นได้แก่เรื่องเนการาเกอร์ตากามา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ และอำนาจของอาณาจักรมัดยาปาหิต นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่ได้รับความนิยมกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องปาราราตัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกษัตริย์อินโดนีเซียในสมัยนั้น เขียนเป็นภาษาชวาโบราณ
ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้แพร่เข้าไปในอินโดนีเซีย ก็ได้มีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลาม และตำราหมอดูไว้หลายเล่ม โดยเขียนเป็นภาษาชวา

ประวัติศาสตร์ สมัยโบราณ  ในห้วงเวลาก่อนคริสตกาลประมาณ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปี ได้มีชาวมาเลย์ ซึ่งเป็นเชื้อสายมองโกลอยด์จากจีนตอนใต้ ยูนาน และตังเกี๋ย อพยพเข้าไปในอินโดนิเซีย ชนพวกนี้ได้นำเอาวัฒนธรรมของยุคหินใหม่ ยุคบรอนซ์ รวมทั้งภาษาออสโตรนีเซีย เข้ามาในอินโดนิเซีย รวมตลอดถึงในฟิลิปปินส์ด้วย พวกเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่อาศัย และแต่งงานกับชาวพื้นเมือง สอนให้ชาวพื้นเมืองรู้จักวิธีปลูกข้าว สร้างที่พักอาศัย และรู้ถึงวิธีการปั้นหม้อ และทอผ้า รวมทั้งการหาเลี้ยงชีพ และการผจญภัยในทะเล พวกเหล่านี้มีความสามารถในการเดินเรือ และสามารถแล่นเรือออกไปไกลถึงหมู่เกาะมาดากัสการ์ ทางทิศตะวันตก และเกาะอิเจียน โปลีนีเซียน ตลอดจนหมู่เกาะต่าง ๆ ทางทิศตะวันออก
ต่อมาในระยะเวลาประมาณ ๑๐๐ ปี ก่อนคริสตศักราชจนถึงต้นคริสตศักราช ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้า จากบริเวณจีนตอนใต้และหมู่เกาะอินโดนิเซีย
ในคริสตศตวรรษแรกได้มีชาวฮินดูจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ อพยพเข้ามในอินโดนิเซีย และได้นำภาษาสันสกฤต และภาษาปัลวะ เข้ามาเผยแพร่ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นภาษาชวาเก่า ชวาใหม่ และอักษรอินโดนิเซียอื่น ๆ การหลั่งไหลเข้ามาในอินโดนิเซียของชาวฮินดู ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสตศตวรรษที่ ๗ ทำให้อิทธิพล และความเชื่อถือในลัทธิต่างๆ ได้ขยายวงกว้างออกไปโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งในที่สุดได้ผสมผสานกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไป วัฒนธรรมส่วนใหญ่ที่ชาวอินโดนิเซียได้รับจากชาวฮินดู ได้แก่ สถาปัตยกรรมการปั้นรูป วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ และการเล่นพื้นเมือง  ซึ่งยังคงมีอยู่ในบาหลี และลอมบอร์กตะวันตก

ระหว่างปี พ.ศ.๖๔๓ – ๗๔๓ พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท จากอินเดียได้เริ่มเผยแผ่เข้ามาในอินโดนิเซีย ในระยะแรก ๆ ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนมาถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย พุทธศาสนาจึงได้รุ่งเรืองมากขึ้น ในปี พศ.๑๒๑๕ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา และชวาตอนกลาง และเริ่มเสื่อมลงเมื่อสิ้นสุดอิทธิพลของ อาณาจักรศรีวิชัย นับแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓
ในปี พ.ศ.๑๓๘๙ ชาวอาหรับได้เดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา เป็นครั้งแรกเป็นพวกพ่อค้า ต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.๑๔๙๓ พวกพ่อค้าเหล่านี้ ได้นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ด้วย โดยที่ในระยะแรกได้ตั้งศูนย์กลางเผยแพร่ศาสนาขึ้นทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นจึงขยายออกไปทั่วประเทศ
สมัยอาณาจักรมอสเลม  เมื่ออาณาจักรฮินดูเริ่มตกต่ำลงระหว่างปี พ.ศ.๒๐๕๐ – ๒๐๖๓  อาณาจักรมอสเลมก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นในชวาตอนกลาง สุมาตรา สุลาเวสี กาลิมันตัน จนถึงอิเรียนตะวันตก  และมีผลให้ภาษามาเลย์ซึ่งชาวมุสลิมบริเวณนี้ใช้อยู่ได้แพร่ขยายออกไปและกลาย เป็นภาษาประจำชาติของอินโดนีเซียด้วย
ในระยะนั้น เมืองจาการ์ตายังเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ บนเกาะชวา มีชื่อว่า ซุนดาเคลาปา ต่อมาเมืองนี้ได้ถูกนายพลฟามาเตอีนแห่งอาณาจักรเดมัดยึดได้ จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็นจาการ์ตา ซึ่งมีความหมายถึงสถานที่แห่งชัยชนะ เพราะเป็นชัยชนะต่อชาวโปรตุเกส ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๖๔ ฮอลแลนด์ได้เข้ามายึดครองอินโดนีเซีย และได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็นปัตตาเวีย
สมัยตกเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์  ฮอลแลนด์ได้ตั้งบริษัท United Dutch East India Company  เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๕ เพื่อทำการค้า อยู่ที่หมู่เกาะอินเดียตะวันออก ซึ่งนอกจากทำการค้าแล้ว ยังทำหน้าที่แสวงหาอาณานิคมให้แก่ฮอลแลนด์ด้วย ในที่สุดได้ทำการยึดครองอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๑๖๔ และได้ขยายการปกครองออกไปทั่วประเทศ ทำให้อินโดนีเซียตกอยู่ในฐานะอาณานิคมของฮอลแลนด์
การทำสงครามต่อต้านฮอลแลนด์ได้เริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๙ โดยสุลต่านฮานุดดินแห่งโกลา แต่ประสบความล้มเหลว และต้องเซ็นสัญญายอมแพ้ในปี พ.ศ.๒๓๑๐  ในปี พ.ศ.๒๒๓๓ – ๒๓๖๗ บริษัทได้ส่งทหารเข้าควบคุมหมู่เกาะโมลุกกัส (มาลูกู) เพื่อเข้าควบคุมการค้าเครื่องเทศ
ในระยะเวลาเดียวกันได้ปรากฏมีชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเบวกู เลน บนฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา และได้มีการสร้างป้อมค่ายขึ้น ในระยะนี้ชาวอังกฤษยังไม่มีบทบาทมากนัก
ในปี พ.ศ.๒๒๘๓ ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจาการ์ตาได้ทำการต่อต้านชาวดัตช์ เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และในด้านอื่น ๆ   ชาวอินโดนีเซียได้เข้าร่วมในการต่อต้านครั้งนี้ด้วย แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ เป็นผลให้ชาวจีนถูกชาวดัทช์สังหารมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน
การเข้าปกครองอังกฤษ  ในระหว่างรัชสมัยของนโปเลียน ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองฮอลแลนด์ บริษัท British East Company  จึงได้เข้าปกครองอินโดนีเซียแทน (พ.ศ.๒๓๕๘ – ๒๓๕๙)  เมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจลงในปี พ.ศ.๒๓๕๘ อินโดนีเซียก็กลับไปเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์อีก
การปราบปรามของฉอลแลนด์  นับตั้งแต่อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลแลนด์ ชาวอินโดนีเซียได้ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของฮอลแลนด์หลายครั้ง แต่ไม่สามารถเอาชนะได้
การเคลื่อนไหวเพื่อกอบกู้เอกราช  ได้มีการจัดตั้งสมาคม Budi Utom (ความบากบั่นอันสูงส่ง) ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๕๑ ได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นหลายพรรค เพื่อเป็นข้อต่อรองในการเรียกร้องเอกราชจากฮอลแลนด์
ปี พ.ศ.๒๔๖๗ กลุ่มนักศึกษา ได้ตั้งสมาคมนักศึกษาอินโดนีเซีย โดยมี ดร.โมฮัมหมัดอัตตา เป็นหัวหน้า ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๐ ดร.โมฮัมหมัดอัตตา ได้จัดตั้งองค์การสหพันธ์ โดยยรวมพรรคการเมืองของอินโดนีเซียทั้งหมดเข้าด้วยกัน
ในปีเดียวกัน ดร.ซูการ์โน และบุคคลชั้นนำอีกหลายคนได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคชาตินิยมอินโดนีเซียขึ้น และใช้ภาษาบาฮาซา อินโนีเซียเป็นภาษากลางในการติดต่อ ประสานงานสนับสนุนนโยบายที่จะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของฮอลแลนด์ การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในกลุ่มเยาวชน และทำให้เกิดองค์การยุวชนขึ้นในท้องถิ่นต่าง ๆ
สมัยการยึดครองของญี่ปุ่น  ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดนีเซียได้ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๕ – ๒๔๘๗ กองทัพญี่ปุ่นพยายามเอาใจชาวอินโดนีเซียด้วยการปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองที่ ถูกทางการฮอนแลนด์คุมขังไว้
การประกาศอิสระภาพ  เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามใน ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ญี่ปุ่นได้เปิดโอกาสให้ชาวอินโดนีเซียในการนำของ ดร.ซูการณ์โน และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา ประกาศอิสระภาพของอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ พร้อมกับประกาศหลักการแห่งรัฐห้าประการ (ปัญจศีล) คือ
– เชื่อมั่นในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
– มวลมนุษย์แห่งอารยะ
– ชาตินิยม
– ประชาธิปไตย
– ความยุติธรรมของสังคม
อินโดนีเซียได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ และได้เลือกตั้ง ดร.ซูการ์โน เป็นประธานาธิบดี และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา เป็นรองประธานาธิบดี
หลังจากที่ได้ประกาศอิสระภาพได้ไม่นาน ฮอนแลนด์ก็ได้พยายามกลับเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงบนเกาะสุมาตรา เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๘ อินโดนีเซียจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันวีรบุรุษแห่งชาติ และมีการฉลองเป็นประจำทุกปี
จากเหตุการนองเลือดดังกล่าว ทำให้อินโดนีเซียประกาศใช้นโยบายสันติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศ และแสวงหาการสนับสนุนจากอังกฤษ ได้ตกลงเซ็นสัญญา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ โดยฮอนแลนด์ยอมรับรองอธิปไตยของอินโดนีเซียเหนือเกาะชวา มาดุรา และสุมาตรา แต่ฮอนแลนด์ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา ได้ให้ทหารเข้ายึดครองอินโดนีเซีย และจับกุมประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีไปควบคุมตัวไว้
ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ประเทศในเอเซียรวม ๑๙ ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่กรุงนิวเดลฮี เพื่อเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บังคับให้ฮอลแลนด์ ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ของอินโดนีเซียทั้งหมด และมอบอธิปไตยให้อินโดนีเซีย ภายในปี พ.ศ.๒๔๙๓ สหประชาชาติได้ตกลงให้มีการหยุดยิงในอินโดนีเซีย และให้ฮอลแลนด์ปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองทั้งหมด กับจัดให้มีการประชุมขึ้นที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้อินโดนีเซีย ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อ ๒๗ ธันวาคม ๒๔๙๒  ยกเว้นเกาะอิเรียนตะวันตก ยังคงอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์
สภาพทางสังคมชีวิตความเป็นอยู่  ฐานะความเป็นอยู่ของประชากรมีความแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน หลังจากอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ก็ได้เริ่มพัฒนาประเทศในหลายด้าน โดยตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นหลายแห่ง มีหน่วยงานที่สำคัญคือ กระทรวงกิจการของสังคม
นอกจากหน่วยงานของรัฐแล้วยังมีองค์การ และสมาคมต่าง ๆ ที่พยายามเข้าช่วยเหลือแก้ปัญหาของสังคมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยยึดหลักขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ระบบโกตองโรยองได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
อาชีพ  อาชีพหลักของประชาชนอินโดนีเซียได้แก่
การเพาะปลูก  ผลิตผลที่สำคัญทำรายได้ให้กับประเทศได้แก่ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด มันเทศ ยาง มะพร้าวและน้ำตาล
การทำป่าไม้  อินโดนีเซียมีพื้นที่ป่าประมาณ ๑๑๔ ล้านเฮกตาร์ และนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตไม้แปรรูป จึงเป็นอาชีพสำคัญอาชีพหนึ่งของประชาชน
การประมง  แม้อินโดนีเซียจะเป็นเกาะ แต่อาชีพทางการประมงยังไม่ค่อยเจริญ ประชาชนที่มีอาชีพประมงก็เป็นประชาชนที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล การใช้เครื่องมือทางประมง ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เป็นการประมงขนาดย่อม
การเลี้ยงสัตว์  มีการเลี้ยงกันเกือบทุกชนิด แต่ที่นิยมกันมาก และมีปริมาณการผลิตสูงได้แก่วัวเนื้อ วัวนม ควาย แพะและแกะ
การทำเหมืองแร่  เป็นอาชีพสำคัญของประชากร เพราะประเทศอินโดนีเซียอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ
การอุตสาหกรรม  อินโดนีเซียมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานผลิตเครื่องมือทางการเกษตร โรงงานยาสูบ โรงงานอุตสาหกรรมไม้แปรรูป โรงงานเครื่องหนัง โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานสร้างรถยนต์ และโรงงานสร้างเครื่องบิน
การอพยพย้ายถิ่นฐาน  เพื่อคลี่คลายความหนาแน่นของประชากรในบางแห่ง และเพื่อกระจายให้เกิดความสมดุลของประชากร รัฐบาลจึงได้มีการอพยพ ย้ายถิ่นฐานเช่น ย้ายผู้ที่ชอบทำการกสิกรรมให้ไปอยู่ในภูมิภาคที่มีคนอยู่น้อย รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในการย้ายถิ่นฐาน โดยจัดหาที่ดิน บ้าน รวมทั้งโรงเรียนระดับประถม และมัธยม การสาธารณสุขและสิ่งจำเป็นขั้นมูลฐานเช่น ถนน สหกรณ์ ศาลาประชาชน ศาสนสถาน และอุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น
โดยที่เกาะชวาซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวง มีประชากรหนาแน่น และส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูง มีฐานะดี เป็นคนมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดมาก เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้เข้ามารุ่งเรืองอยู่จนเป็นศูนย์กลางของพระพุทธ ศาสนาอยู่ก่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๔๓ – ๗๔๓ นอกจากนี้เกาะชวายังเป็นศูนย์ทางวัฒนธรรม และโดยความเชื่อในปัจจุบัน ประมุขของรัฐหรือประธานาธิบดีต้องเป็นคนชวา รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะพยายามอพยพคนชวาไปอยู่ในติมอร์ตะวันออก (ก่อนแยกตัวเป็นอิสระ) สุมาตราเหนือ (เฉพาะที่อาเสรี) สุลาเวสีและกาลิมันตัน
จิตสำนึกของชนกลุ่มต่าง ๆ ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ  เนื่องจากอินโดนีเซียประกอบด้วย ชนหลายเผ่าพันธ์ และกระจัดกระจายอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ทั่วประเทศ ชนเหล่านี้มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ทำให้รัฐบาลต้องหาทางที่จะให้ชนเหล่านี้ มีจิตสำนึกในการเป็นคน เชื่อชาติเดียวกัน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้ใช้ภาษาเดียวกันเป็นภาษากลางประจำชาติ (ภาษาฮาซา อินโดนีเซีย) สร้างคำขวัญโน้มน้าวจิตใจขึ้นเช่น ประเทศเดียว ชาติเดียว ภาษาเดียว ปลูกฝังหลักปัญจศีล ขนบธรรมเนียมโกตองเรยอง และบินเนกาตุงกาลอิกะ (สามัคคีในชนต่างเผ่า) ให้ประชาชนยึดมั่น
โดยทั่วไปแล้วชาวอินโดนีเซีย จะมีความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอันดี เพราะได้ต่อสู่เพื่อความเป็นเอกราชมาด้วยกัน และรู้ถึงความลำบากยากแค้น ในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตกมาเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวอินโดนีเซียมีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาตลอด
ในอดีตที่ชาวอินโดนีเซียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของคนต่างชาติมาเป็นเวลาช้า นาน ทำให้ชาวอินโดนีเซียรังเกียจชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยุโรป ด้วยเหตุนี้อินโดนีเซียจึงพยายามดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระ ไม่ผูกพันกับประเทศใด พยายามสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพ เพื่อครองความเป็นใหญ่ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มต่าง ๆ  อินโดนีเซียมีชาวจีนโพ้นทะเลอยู่มากกว่า ๓.๕ ล้านคน เป็นคนจีนที่ถือหนังสือเดินทางของประเทศจีนเกือบ ๑ ล้านคน ที่เหลือเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติอินโดนีเซียแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่เป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจที่สำคัญภายในประเทศ และบางกลุ่มยังให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดิน ในอินโดนีเซียด้วย ทำให้ชาวอินโดนีเซีย มีความรู้สึกรังเกียจชาวจีนตลอดมา และมักจะมีการปะทะกันระหว่างชนสองเชื้อชาตินี้อยู่เสมอ ระหว่างการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ มีชาวจีนถูกสังหารไปเป็นจำนวนมาก รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ใช้มาตรการกำหนดเขตที่อยู่ และการเนรเทศชาวจีนที่มีพฤติการณ์ บ่อนทำลายอินโดนีเซีย ออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่สามารถลดอิทธิพลของชาวจีนลงได้ ต่อมารัฐบาลอินโดนีเซียได้ผ่อนปรนให้ชาวจีนที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศ อินโดนีเซีย โอนสัญชาติเป็นชาวอินโดนีเซียได้
ศาสนา

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์  ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะมีศาสนาหลายศาสนาด้วยกัน แต่เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งในทางศาสนาก็จะเกิดในชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น ประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียได้แสดงถึงการสมยอมกันในระหว่างศาสนาต่าง ๆ มาตลอดเวลากว่าพันปี ทุกอย่างได้ดำเนินไปอย่างสงบสุข ความใจกว้างในเรื่องศาสนา เป็นวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียมาเป็นเวลาช้านานแล้ว
รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย ให้สิทธิแก่ทุกคนที่จะนับถือศาสนาของตน ทุกคนมีเสรีภาพในทางศาสนา มีสิทธิที่จะเผยแพร่ศาสนาของตน เมื่อการกระทำนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และความสงบของสังคมและชาติบ้านเมือง
ศาสนาสำคัญในอินโดนิเซีย  มีอยู่ห้าศาสนาหลัก ๆ ด้วยกันคือ
ศาสนาอิสลาม  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๙๐
ศาสนาคริสต  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๓ เป็นผู้นับถือนิกายโปแตสแตนท์ มากกว่านิกายโรมันคาธอลิคสองเท่า ผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาธอลิค ส่วนใหญ่เป็นคนชวาภาคกลาง ชาวเกาะสุลาเวสี นุสาเตงการา และมาลูกู
ศาสนาพุทธ  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๑
ศาสนาฮินดู  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๓ ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะบาหลี
ศาสนาขงจื้อ  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๓ ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน
การสอนศาสนา  อินโดนิเซียมีมหาวิทยาลัยชั้นสูงหลายแห่ง ซึ่งมีทั้งมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค และมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาอิสลาม
แม้ว่าอินโดนิเซีย จะมีประชากรที่นับถือศาสนาต่างกันมาก แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางศาสนาที่รุนแรง แต่ก็ปรากฎว่ามีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่ม ที่พยายามใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงาน เช่น ขบวนการคอมมานโดจีฮัด และขบวนการอาเจห์เสรี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งรัฐบาลอิสลามขึ้น แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และถูกปราบปรามอย่างรุนแรงจากรัฐบาล
ในอินโดนีเซีย ผู้แทนคริสตศาสนานิกายโรมันคาาธอลิค และนิกายโปรเตสแตนท์ ได้ดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งนอกจากดำเนินงานทางงศาสนาแล้ว ยังได้ทำงานในด้านสังคมและการศึกษา ได้สร้างสถาบันต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงเรียนและอื่น ๆ
พลเมืองส่วนใหญ่ในเขตสุมาตราเหนือ (ตามูนูลี) ในซิลีบีสเหนือ (มินาฮาซา) ในนุสาเหงการา ในโบลูกัสและอิเรียนชยา ชาวเมืองได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ในอินโดนีเซียมีชาวคาธอลิคประมาณ ๑ ล้านคน และชาวโปรเตสแตนท์ประมาณ ๒ ล้านคน
สมาคมมุสลิมก็ได้ดำเนินงานอย่างเข็มแข็งเหมือนกัน งานดังกล่าวไม่เกี่ยวแต่เฉพาะศาสนาเท่านั้นแต่รวมถึงงานทุกด้านทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของประชาชน
เกาะบาหลี  เป็นเกาะที่มีพลเมืองนับถือศาสนาฮินดู จะพบวัดเป็นจำนวนมาก ในชนบททุกแห่งจะมีวัดอย่างวน้อยสามวัด ซึ่งประชาชน จะพากันนำเครื่องสักการะไปบูชา เทพเจ้าเป็นประจำ ชาวบาหลีใช้ชีวิตอย่างชาวฮินดูมาช้านาน ปัจจุบันก็ยังมีมีสภาพอย่างเดิม ศาสนาพราหมณ์ฮินดูยังคงมีชีวิตอยู่ในบาหลี
ศาสนาที่เป็นที่นิยมของประชาชน  ชาวอินโดนีเซียประมาณ ร้อยละ ๘๘ นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาอิสลาม มากที่สุดในโลก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันนดับต้น ๆ ของโลก
อิทธิพลของศาสนาต่อการดำเนินชีวิต  เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงมีแนวทางในการดำเนินชีวิต ตามแบบฉบับของศาสนาอิสลาม ดังนี้
การครองเรือน  อุดมการณ์ของศาสนาอิสลามถือว่าผู้ชายเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้เลือกถิ่นที่อยู่ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์สุขของครอบครัว และเป็นผู้สืบสกุล ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงห้ามขาดไม่ให้หญิงมุสลิมเป็นภรรยาของผู้ที่มีความเชื่อ ถือต่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าได้ลาออก หรือถูกไล่ออกจากสังคมอิสลามแล้ว สมาชิกของสังคมอิสลาม มีสิทธิที่จะทำการประชาทัณฑ์ด้วยการเลิกคบหาสมาคมด้วย แต่ถ้าฝ่ายชายได้เปลี่ยนอุดมการณ์ ความเชื่อถือเดิมมาเป็นอย่างเดียว กับฝ่ายหญิงแล้วด้วยความสมัครใจก่อนการสมรสกัน หญิงมุสลิมก็ทำการสมสรสด้วยได้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีความยึดมั่นในข้อห้ามอย่างแน่วแน่ จนต้องนำเอาหลักจารีตประเพณี มาบังคับเป็นกฎหมาย เพื่อกำหนดสถานภาพของครอบครัว อันเป็นการจำกัดสิทธิของสตรี จนมีการดิ้นรนเรียกร้องสิทธิเพิ่มขึ้น ทางสภาผู้แทนราษฎร
การกำหนดสถานภาพทางครอบครัวของอินโดนีเซีย ตามกฎหมาย จารีตประเพณี มีดังนี้
ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายตั้งแต่บรรพบุรุษ สตรีถ้าสมรสแล้วต้องออกจากตระกูลของตนเองมาเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี บุตรที่เกิด            เป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี
มารดาเป็นหัวหน้าครอบครัวสืบเชื้อสายทางฝ่ายหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน บุตรที่เกิดจากสมาชิกในครอบครัวของมารดา
บิดามารดา เป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายและหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน ส่วนบุตรที่เกิดคงเป็นสมาชิกในครอบครัวฝ่ายบิดาและมารดา
ตามปกติในชุมชนบางแห่ง การลำดับญาตินี้ทำให้ทางฝ่ายชายมีอำนาจเหนือฝ่ายหญิง หรือหญิงมีฐานะด้อยกว่าชาย ทางฝ่ายหญิงแม้จะมีหลักฐานเหนือกว่า ก็ไม่มีอำนาจเหนือกว่าชายทุกอย่าง ส่วนทางบิดา และมารดานั้น ฐานะของหญิงเท่าเทียมชายในกฎหมายจารีตประเพณี
การสมรสของชาวอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ถือปฏิบัติตามประเพณี และบทบัญญัติของกฎหมายโมฮัมหมัด การหย่าร้างตามกฎหมายโมฮัมหมัด ให้สิทธิสามีเป็นผู้บอกเลิก แม้การบอกเลิกจะได้กระทำไปโดยไม่มีเหตุผล
การอุปโภคและบริโภค  อิสลามแนะนำให้อยู่ดีกินดี บริโภคอาหารที่มีคุณแก่ร่างกาย และสะอาดกับจิตใจ และอุปโภคเครื่องนุ่งห่มที่ประกอบจากวัสดุที่สะอาด และรักษาให้สะอาด เตรียมพร้อมที่จะนมัสการต่อพระเจ้าอยู่เสมอ
ตามคัมภีร์กุรอาน อิสลาม ได้เว้นการบริโภคซากสัตว์ สัตว์ที่ตายเอง เนื้อสุกร และสัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือด หรือถูกประหารโดยการขออนุญาตจากผู้ที่มิใช่อัลลอห์ นอกจากนี้ยังมีสัตวซ์พาวหนะและสัตว์เลี้ยงเช่น ลา แมว สุนัข สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ประเภทนกที่ใช้เท้าเป็นสื่อส่งอาหารใส่ปากเช่น แร้ง เหยี่ยว กา และสัตวว์ที่บริโภคเนื้อสัตว์ด้วยยกันเช่น เสือ สิงโต
การที่ห้ามบริโภคเนื้อสัตวว์ที่ถูกฆ่า โดยผู้ที่ไม่ใช่เป็นอิสลามนั้นเนื่องมาจากสิทธิของพระเจ้า เพราะอิสลามถือว่าพระเจ้าเป็นเจ้าชีวิต แม้สัตว์ที่ยอมให้เป็นอาหารของมนุษย์แล้วก็ตาม แต่มนุษย์จะบริโภคได้ก็แต่เลือดเนื้อของสัตว์เท่านั้น ส่วนชีวิตเป็นของพระเจ้า เมื่อจะเชือด หรือประหารชีวิต เพื่อนำมาเป็นอาหารจะต้องขอนุญาตจากพระเจ้าเสียก่อน นอกจากปลาและสัตวว์น้ำ ซึ่งโดยกฎของบสวภาวะของพระเจ้า เมื่อขึ้นมาอยู่บนบกมันจะตายเองด้วยดินฟ้าอกาศ ซึ่งเป็นเครื่องมือของพระเจ้า
พิธีศพ  อุดมการณ์ของอิสลามถือว่า การให้เกียรติแก่ศพ ไม่ว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ จะถือศาสนาอะไร เป็นมารยาทอันสูงส่งที่มุสลิมทุกคนบจะถือปฏิบัติตาม การทำลายศพเป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาด โดยที่อุดมการณ์ของอิสลามถือว่ามนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายถูกสร้างโดยพระเจ้า ร่างกายของมนุษย์จึงยตกเป็นสิทธิของพระเจ้า เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ต้องส่งยคืนไปในสวภาพเดิมและไปสู่ที่เดิม
การถือศีลอด  การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนปีละหนึ่งเดือนคือ การอดอาหาร และเครื่องดื่ม ตลอดจนการบริโภคใด ๆ ทั้งสิ้น ระหว่างเวลาก่อนรุ่งอรุณ จนตะวันตกดิน เพื่ออบรมให้มีความอดทนต่อความหิวกระหาย เพื่อใให้รู้ซึ้งถึงอาการของความหิวกระหายว่าเป็นประการใด เพื่อมนุษย์ที่เกิดความหิวกระหาย เพราะอัตคัดขัดสน ควรจะได้รับการช่วยเหลืออย่างไรและเพียงใด
การบำเพ็ญฮัจยี  การไปร่วมกันประกอบพิธีฮัจยีในเมืองเมกกะห์หนึ่งครั้งในชีวิตนั้น ถือปฏิบัติสำหรับผู้มีกำลังทรัพย์และกำลังกายเท่านั้น เพื่อประโยชนน์ในการอบรมจิตใจ ให้นิยมความเสมอภาค เพราะในพิธีนี้ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือคนธรรมดาสามัญที่รวมอยู่ในพิธีจะ ต้องแต่งกาย และกระทำพิธีอย่างเดียวกันหมด

ปูชนียสถาน  ปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาได้แก่ โบโร บูเดอร์ (borobudur) อยู่ในยอร์คจาการ์ตา สร้างเมื่อปี พ.ศ.๘๐๐ ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ในเกาะบาหลี และมัสยิดอัล อาซาร์ของศานาอิสลาม ที่สร้างขึ้นภายหลังศาสนสวถานของพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ฮินดู
ความเชื่อของคนอินโดนีเซีย  คนอินโดนีเซียเชื่อเรื่องวิญญาณ พระเจ้า บรรพบุรุษ ภูติผีปีศาจ ดวงดาว ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพบมากในเกาะบาหลีและเกาะต่าง ๆ ที่ควารมเจริญสมัยใหม่ยังเข้าไปไม่ถึง

การเมืองและการปกครอง
เขตแดนที่เป็นประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันเป็นอาณาเขตที่กำหนดไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ ก่อนหน้านั้น เขตแดนของอินโดนีเซียแตกต่างออกไปจากที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
ก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพา อินโดนีเซียเป็นที่รู้จักกันในนามของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเน เธอร์แลนด์ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ ๑๓,๖๗๗ เกาะ เกาะที่สำคัญคือ เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะสุลาเวสี หรือเกาะเซเลเบส บางส่วนของเกาะกาลิมันตันหรือเกาะบอร์เนียว และบางส่วนของเกาะอีเรียนชยา ชาวดัทช์เริ่มเข้ามามสีอาณานิคม เหนือหมู่เกาะดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๔๕ และตั้งแต่นั้นมาอินโดนีเซียก็ตกอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์ เป็นระยะเวลาประมาณสามศตววรรษครึ่ง จนนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๕ ระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา ญยี่ปุ่นได้เข้ามายึกครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
หลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสงบลง เนเธอร์แลด์ได้ส่งกำลังกลับเข้ามาในอินโดนีเซียวอีก โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอังกฤษ ซึ่งเข้าครอบครองอินโดนีเซีย หลังจากขับไล่ญี่ปุ่นออกไป
อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชพร้อมกับประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๘๘ และประกาศหลักปัญจศีล ดร.ซูการ์โน ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้มีการต่อสู้เพื่อเอกราชแลกด้วยเลือดเนื้อ และชีวิตของชาวอินโดนีเซียนับแสนคน ในที่สุดอินโดนีเซียก็ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒
รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.๒๔๘๘ กำหนดใให้อินโดนีเซียมีการปกครองในรูปรัฐเดียว มีระบบการปกครองเป็นแบบรวมทั้งประเทศ (United Structure) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล
เมื่อดัทช์โอนอำนาจอธิปไตยใให้อินโดพนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ อินโดนีเซียก็มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๒ กำหนดให้อินโดนีเซีย มีการปกครองแบบสหพันธสาธารณรัฐ (Federation) เรียกชื่อประเทศว่า สหรัฐอินโดนีเซีย (United State of Indonesia) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๓ อินโดนีเซียก็นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่สาม มาใช้ปกครองประเทศ กำหนดให้อินโดนีเซียกลับมีระบบการปกครองแบบรวมทั้งประเทศเหมือนรัฐธรรมนูญฉ บับแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๘๘ มาใช้ใหม่
หลักปัญจศีล (Panja Sila)  ปรัชญาที่สำคัญมากของอินโดนีเซียคือ หลักปัญจศีลของ ดร.ซูการ์โน เป็นหลักที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งของอินโดนีเซีย ตลลอดระยะเวลาตั้งแต่อินโดนีเซียได้รับเอกราชเป็นต้นมา มีความเปว็นมาคือ ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการใให้อินโดนีเซียได้รับเอกราช ญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายยึดครองอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น ให้การอุปการะในการประชุมครั้งนี้ ดร.ซูการ์โน เป็นผู้แสวงหาหลักการขั้นพื้นฐาน สำหรับนำมาประสานความสามัคคี ระหว่างปรัชญาของกลุ่มอิสลาม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการที่จะเห็นประเทศอินโดนีเซียใหม่ หลังจากได้รับเอกราชแล้วเป็นประเทศที่ปกครองโดยผู้นำทางศาสนาอิสลาม กับกลุ่มพลเรือนคณะชาตินิยม ซึ่งเปว็นกลุ่มที่มีปรัชญยาแนวทางสังคมนิยม
เพื่อเป็นรากฐานประสานความสามัคคีทั้งทางสังคมและการเมืองวระหว่างคน สองกลุ่มดังกล่าว ซูการ์โน จึงวางหลักปัญจศีลให้เป็นปรัชญาของประเทศคือ อินโดนีเซียจะยึดมั่นอยู่ในเรื่องชาตินิยม สากลนิยม รัฐบาลโดยประชาชน ความยุติธรรมในสังคม และความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว
หลักปัญจศีลของซูการ์โน ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งจากกลุ่มชาตินิยม ส่วนกลุ่มอิสลามต้อนรับอย่างไม่เต็มใจนัก
    รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
คำปรารถ
โดยเหตุที่ความเป็นเอกราชย่อมเป็นสิทธิของทุกชาติ การตกอยู่ภายใต้อาณัติของชาติอื่นจึงเป็นการขัดต่อหลักมนุษยธรรม และความยุติธรรม และเป็นสิ่งที่ควรจะขจัดให้หมดสิ้นไป
การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประเทศอินโดเนเซียที่มีเอกราช ได้บรรลุถึงขั้นตอนแห่งความสำเร็จ และขณะนี้ประชาชนชาวอินโดเนเซีย ได้ก้าวไปสู่การมีรัฐอินโดเนเซีย ซึ่งประกอบด้วยความเป็นเอกราช เอกภาพ อธิปไตย นิติธรรม และความเจริญรุ่งเรือง
ด้วยพระพรของพระผู้เป็นเจ้า และด้วยแรงดลใจแห่งอุดมคติอันสูงส่ง เพื่อชีวิตแห่งชาติเสรี ประชาชนชาวอินโดเนเซียจึงได้ประกาศเอกราช ณ บัดนี้
การตั้งรัฐบาลแห่งชาติอินโดเนเซียก็เพื่อทำนุบำรุงประชาชนและอาณาเขตดินแดน เพื่อส่งเสริมสาธารณประโยชน์ เพื่อยกมาตรฐานการครองชีพ และเพื่อเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นในโลก ทั้งนี้ โดยมีรากฐานอยู่บนความเป็นเอกราช สันติสุขถาวร และความเป็นธรรมในสังคม  ความเป็นเอกราชของชาติเรา ได้มีระบุในรัฐธรรมนูญแห่งรัฐอินโดเนเซีย ซึ่งเป็นที่ได้ตั้งขึ้นในรูปของสาธารณรัฐ โดยมีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  เราเชื่อมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวง เชื่อในควมยุติธรรมและศีลธรรมของมนุษยชาติ และในความเป็นเอกภาพของอินโดเนเซีย  เราเชื่อในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอาศัยความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับประชาชน โดยมีการให้คำแนะนำปรึกษาเป็นแกนนำ เพื่อที่จะบรรลุถึงความเป็นธรรมในสังคมสำหรับ
ปวงชนชาวอินโดเนเซีย
หมวด ๑  ระบอบการปกครองและอำนาจอธิปไตยของรัฐ
มาตรา ๑
– อนุมาตรา ๑  รัฐอินโดเนเซียเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ
– อนุมาตรา ๒  อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจนี้โดยทางสภาประชาชน (Madjelis Permusjawaratan Rakjat)
หมวด ๒  สภาประชาชน
มาตรา ๒
– อนุมาตรา ๑  สภาประชาชนประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้แทนของเขตภูมิภาค และกลุ่มอื่น ๆ ตามที่กำหนดในบทบัญญัติของกฎหมาย
– อนุมาตรา ๒  ให้สภาประชาชนประชุมกันในเมืองหลวงอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุก ๆ ๕ ปี  มติของสภาประชาชนให้ตัดสินโดยคะแนนเสียงข้างมาก
มาตรา ๓
ให้สภาประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้กว้าง ๆ
หมวด ๓  อำนาจบริหาร
มาตรา ๔
– อนุมาตรา ๑  อำนาจบริหารเป็นของประธานาธิบดีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
– อนุมาตรา ๒  ให้มีรองประธานาธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่
มาตรา ๕

– อนุมาตรา ๑  ให้ประธานาธิบดีโดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจนิติบัญญัติ
– อนุมาตรา ๒  ให้ประธานาธิบดีออกกฤษฎีกาประกาศใช้กฎหมายทั้งหลาย
มาตรา ๖
– อนุมาตรา ๑  ผู้เป็นประธานาธิบดีจะต้องเป็นพลเมืองอินโดเนเซียซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองโดยกำเนิด
– อนุมาตรา ๒  ให้สภาประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีโดยคะแนนเสียงข้างมาก
มาตรา ๗
ให้ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา ๕ ปี แต่เมื่อครบกำหนดนี้แล้วมีสิทธิได้รับเลือกใหม่ได้
มาตรา ๘
ในกรณีที่ประธานาธิบดีถึงแก่กรรม ถูกถอดถอน หรือหมดความสามารถที่จะทำหน้าที่ได้ ให้รองประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งแทน จนครบวาระของประธานาธิบดีคนก่อน
มาตรา ๙
ก่อนเริ่มเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี กล่าวถ้อยคำอย่างเป็นทางการต่อสภาประชาชนหรือสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

คำสาบานของประธานาธิบดี (รองประธานาธิบดี)

                    “ข้าพเจ้าขอสาบานต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย (รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย) อย่างซื่อสัตย์สุจริต และสุขุมรอบคอบ เพื่อธำรงรักษารัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทุกประการ และข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อรับใช้ประเทศชาติ”

คำปฏิญาณของประธานาธิบดี (รองประธานาธิบดี)

                    “ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ อินโดเนเซีย (รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย) อย่างซื่อสัตย์สุจริตและสุขุมรอบคอบ เพื่อธำรงรักษารัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทุกประการ และข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อรับใช้ประเทศชาติ”
มาตรา ๑๐
ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
มาตรา ๑๑
ให้ประธานาธิบดี โดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ประกาศสงครามสร้างสันติภาพ และทำสนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ
มาตรา ๑๒
ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ในระหว่างเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน ให้กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่า จะให้ใช้บังคับกฎอัยกาศึก ภายใต้เงื่อนไขอย่างใด และจะให้มีการดำเนินการอย่างไรหลังจากที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว
มาตรา ๑๓
– อนุมาตรา ๑  ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต ทูต และกงสุล
– อนุมาตรา ๒  ให้ประธานาธิบดีเป็นผุ้รับการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ทูต และกงสุล ของประเทศอื่น ๆ
มาตรา ๑๔
ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้อภัยโทษ นิรโทษกรรม ให้เลิกการพิจารณาคดีอาญา และให้สิทธิบุคคลกลับคืนเป็นดังเดิม
มาตรา ๑๕
ให้ประนธานาธิบดีมีอำนาจให้ยศ ตำแหน่ง อิสริยาภรณ์ และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างอื่น
หมวด ๔ สภาที่ปรึกษาสูงงสุด
มาตรา ๑๖
– อนุมาตรา ๑  ให้กฎหมายกำหนดองค์ประกอบของสภาที่ปรึกษาสูงสุด
– อนุมาตรา ๒  ให้สภาที่ปรึกษาสูงสุดมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีในเรื่องต่าง ๆ ที่ประธานาธิบดี ได้ขอคำแนะนำปรึกษามา และให้มีสิทธิที่จะยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล
หมวด ๕ กระทรวง
มาตรา ๑๗
– อนุมาตรา ๑  ให้รัฐมนตรีทั้งหลายเป็นผู้ช่วยเหลือประธานาธิบดี
– อนุมาตรา ๒  ประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีจากหน้าที่
– อนุมาตรา ๓  ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในหน่วยราชการที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หมวด ๖ การปกครองท้องถิ่น
มาตรา ๑๘
การแบ่งเขตดินแดนของประเทศอินโดเนเซีย เป็นหน่วยปกครองตลอดจนการวางรูปแบบของการปกครองท้องถิ่น ให้กระทำโดยกฎหมายโดยให้สอดคล้องกับหลักการที่ให้มีการปรึกษาหารือ และมีสิทธิตามจารีตประเพณีของเขตดินแดนแต่ละท้องถิ่น
หมวด ๗ สภาผู้แทนราษฎร
มาตรา ๑๙
– อนุมาตรา ๑  การจัดองค์งานของสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามที่กำหนดในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
– อนุมาตรา ๒  ให้สภาผู้แทนราษฎรประชุมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๒๐
– อนุมาตรา ๑  ให้กฎหมายทุกชนิดออกได้โดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
– อนุมาตรา ๒  ถ้าร่างกฎหมายใดสภาผู้แทนราษฎรไม่ยอมให้ผ่าน ร่างกฎหมายนั้นจะยื่นเสนอใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง ในระหว่างวาระประชุมเดียวกัน ของสภาผู้แทนราษฎรมิได้
มาตรา ๒๑
– อนุมาตรา ๑  สมาชิกสภผู้แทนราษฎรย่อมมีสิทธิที่จะเสนอร่างกฎหมายได้
– อนุมาตรา ๒  ภาษีทุกรูปแบบให้กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ถ้าประธานาธิบดีไม่ยอมให้ผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับภาษีใด ร่างกฎหมายนั้นจะยื่นเสนอใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง ในระหว่างวาระประชุมเดียวกัน ของสภาผู้แทนราษฎรมิได้
มาตรา ๒๒
– อนุมาตรา ๑  ในระหว่างเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจออกกฤษฎีกา ซึ่งบังคับใช้แทนกฎหมาย
– อนุมาตรา ๒  กฤษฏีกาทั้งหลายซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ออกจะต้องมีการให้สัตยาบัน โดยสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างวาระประชุมต่อไป
– อนุมาตรา ๓  ถ้าปรากฎว่ามิได้มีการให้สัตยาบันดังกล่าว ให้กฤษฎีกานั้นเป็นอันยกเลิกไป
หมวด ๘ การเงินการคลัง
มาตรา ๒๓
– อนุมาตรา ๑  งบประมาณรายรับและรายจ่ายของทุกปี ได้กำหนดโดยบัญญัติของกฎหมาย ถ้าในปีใดสภาผู้แทนราษฎร มิได้รับรองเห็นชอบ กับงบประมาณที่รัฐบาลเสนอ ก็ให้ใช้งบประมาณของปีก่อนหน้านั้น
– อนุมาตรา ๒  ภาษีทุกรูปแบบให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
– อนุมาตรา ๓  ชนิดราคาและค่าของเงินตรา ให้กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
– อนุมาตรา ๔  เรื่องอื่นใดอันเกี่ยวกับการคลัง ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
– อนุมาตรา ๕  ให้มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีหน้าที่ตรวจสอบ สอบบัญชี และประนอมหนี้ทั้งหลาย อันเกี่ยวกับการเงินการคลัง และผลของการสอบบัญชีดังกล่าว ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
หมวด ๙ อำนาจตุลาการ
มาตรา ๒๔
– อนุมาตรา ๑  อำนาจตุลาการให้เป็นของศาลสูงสุด และศาลชั้นล่างตามที่กฎหมายได้จัดตั้ง
– อนุมาตรา ๒  การจัดองค์งาน และอำนาจของศาลที่กล่าวนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๒๕
คุณสมบัติของการเป็นผู้พิพากษา และเงื่อนไขในการปลดจากหน้าที่  ให้กำหนดโดยบทบัญญัติของกฎหมาย
หมวด ๑๐ ความเป็นพลเมือง
มาตรา ๒๖
– อนุมาตรา ๑  พลเมือง ได้แก่ ชาวอินโนเซียโดยกำหนด รวมตลอดทั้งบุคคลที่มีใบสำคัญการแปลงชาติแล้ว
– อนุมาตรา ๒  บรรดาเรื่องทั้งหลายที่มีผลกระทบกระทั่งถึงความเป็นพลเมือง  ให้กำหนดโดยบทบัญญัติของกฎหมาย
มาตรา ๒๗
– อนุมาตรา ๑  พลเมืองทุกคนย่อมมีสถานะทางกฎหมาย และทางปกครองเสมอกัน และจะต้องเคารพต่อกฎหมาย และการปกครองโดยไม่มีข้อยกเว้น
– อนุมาตรา ๒  พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิในการทำงาน และมีสิทธิที่จะมุ่งหวังในมาตราฐานการครองชีพที่เหมาะสม
มาตรา ๒๘
เสรีภาพในการชุมนุมกัน และสิทธิที่จะก่อตั้งเป็นองค์กร เสรีภาพในการพูด เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ ตลอดจนเสรีภาพอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
หมวด ๑๑ ศาสนา
มาตรา ๒๙
– อนุมาตรา ๑  รัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด แต่พระองค์เดียว
– อนุมาตรา ๒  รัฐให้หลักประกันเสรีภาพของประชาชนในการนับถือ และแสดงออกซึ่งความเชื่อในศาสนาของตน
หมวด ๑๒ การป้องกันประเทศ
มาตรา ๓๐
– อนุมาตรา ๑  พลเมืองทุกคนอาจถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมในการป้องกันประเทศ
– อนุมาตรา ๒  บรรดาเรื่องทั้งหลายที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศ ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
หมวด ๑๓ การศึกษา
มาตรา ๓๑
– อนุมาตรา ๑  พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะได้การศึกษา
– อนุมาตรา ๒  ให้รัฐบาลก่อตั้งและดำเนินการ ซึ่งระบบการศึกษาของชาติ ตามที่กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา ๓๒
ให้รัฐบาลปรับปรุงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติอินโดเนิซีย
หมวด ๑๔ ประโยชน์สุขของสังคม
มาตรา ๓๓
– อนุมาตรา ๑  ให้จัดระบบเศรษฐกิจในแบบสหกรณ์
– อนุมาตรา ๒  การผลิตแขนงที่สำคัญต่อรัฐ และซึ่งกระทบกระเทือนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ
– อนุมาตรา ๓  ผืนดินและท้องน้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในผืนดินและท้องน้ำ ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ และจะนำมาใช้ เพื่อประโยชน์สุขอันสูงสุดของประชาชน
มาตรา ๓๔
ให้รัฐคุ้มครองดูแลแก่เยาวชนผู้ยากไร้ และขาดผู้ดูแล
หมวด ๑๕ ธงชาติและภาษา
มาตรา ๓๕
ธงชาติของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ให้เป็นธงสีแดงและสีขาว
มาตรา ๓๖
ภาษาราชการให้ใช้ภาษาอินโดเนเซีย
หมวด ๑๖ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง
มาตรา ๓๗
– อนุมาตรา ๑  สมาชิก ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาประชาชน จะต้องอยู่ในที่ประชุม ในระหว่างที่มีการประชุม ปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
– อนุมาตรา ๒  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกอย่างน้อย ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ที่อยู่ในที่ประชุม
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๓๘
– อนุมาตรา ๑  ให้คณะกรรมการเตรียมการ เพื่อความเป็นเอกราชของอินโดเนเซีย กำหหนดจะเตรียมการสำหรับระยะเวลา และการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลอินโดเนเซีย
– อนุมาตรา ๒  สถาบันทางราชการ และกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนี้
– อนุมาตรา ๓  ในขั้นแรกนี้ให้คณะกรรมการเตรียมการเพื่อความเป็นเอกราชของอินโดเนเซีย เป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี
– อนุมาตรา ๔  ก่อนถึงระยะเวลาเลือกตั้งของสภาประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และสภาที่ปรึกษาสูงสุดตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ประธานาธิบดีด้วยความช่วยเหลือ ร่วมมือจากคณะกรรมการแห่งชาติ เป็นผู้ใช้อำนาจของสภาที่กล่าวข้างต้น
บทบัญญัติเพิ่มเติม
๑. ภายใน ๖  เดือนจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้ประธานาธิบดีแห่งอินโดเนเซียกำหนด และเตรียมการทุกอย่างที่ระบุในรัฐธรรมนูญ
๒. ภายใน ๖  เดือน หลังจากเลือกตั้งสภาประชาชน ให้สภาประชาชนประชุมกันเพื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ  ได้แก่ ประเทศกลุ่มมหาอำนาจ กลุ่มประเทศอินโดนีเซีย และกับประเทศไทย
สหรัฐอเมริกา  นับตั้งแต่ประธานิธิบดี ซูการ์โน ขึ้นดำรงตำแหน่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ สหรัฐอเมริกาได้กลับมามีบทบาทสำคัญ ในการให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียอีก เพื่อไม่ให้คอมมิวนิสต์กลับมามีอิทธิพลในอินโดนีเซียอีก
ประเทศจีน  อินโดนีเซียประกาศระงับความสัมพันธ์กับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ เนื่องจากจีนให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในการก่อกบฏ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ อยู่ในภาวะเสื่อมโทรมตลอดมานับแต่นั้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ อินโดนีเซียได้ออกคำแถลงว่าสิ่งสำคัญที่สุด ในการกลับไปมีความสัมพันธ์ขั้นปกติระหว่างกันคือ จีนจะต้องยอมรับว่าอินโดนีเซีย มีรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงรัฐบาลเดียว และจีนต้องระงับความช่วยเหลือ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียโดยสิ้นเชิง ซึ่งในเวลาต่อมาจีนได้สนองตอบต่อท่าทีของอินโดนีเซีย
ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๐ ความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียกับจีน มีท่าทีกระเตื้องขึ้น จนถึงขั้นเตรียมการที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน แต่จากคำแถลงของนายเติ้งเสี่ยวผิง รองนายกรัฐมนตรีของจีน ระหว่างการเยือนมาเลเซียว่า จีนจะไม่เลิกสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ทำให้วงการต่าง ๆ คัดค้านการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับจีน
ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ แนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดีขึ้นมาก อินโดนีเซียมีการติดต่อการค้ากับจีนโดยผ่านสิงคโปร์ และฮ่องกง
ประเทศรัสเซีย จากการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ในอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ทำให้สัมพันธภาพระหว่างสหภาพโซเวียตรัสเซีย กับอินโดนีเซีย เสื่อมโทรมลงมาก สหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ท่าทีของอินโดนีเซียด้วยการงดความช่วยเหลือ ยุติการให้หรือการขายอุปกรณ์ และอะไหล่ยุทโธปกรณ์ทางการทหาร หยุดการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ
ในระยะต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองกระเตื้องขึ้นมาก อินโดนีเซียได้เปรียบดุลการค้า กับสหภาพโซเวียตประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ อินโดนีเซียได้ขับนักการทูต และเจ้าหน้าที่สายการบินโซเวียตออกนอกประเทศ ในข้อหาปฏิบัติการจารกรรมในดินแดนอินโดนีเซีย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ อยู่ในภาวะที่เย็นชา แต่กลับดีขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ เมื่ออินโดนีเซียได้ตกลงที่จะเปิดเมืองท่าสี่แห่ง ให้เรือสินค้าของสหภาพโซเวียต เข้าขนถ่ายสินค้าได้
ประเทศญี่ปุ่น  ญี่ปุ่นเป็นประเทศในกลุ่มประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๘ – ๒๕๒๐ ชาวญี่ปุ่น ได้เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียมาก เป็นอันดับหนึ่ง โดยมีเงินลงทุนถึงประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญอเมริกา
ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้มีการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งผ่านเทคโนโลยีจากชาวญี่ปุ่น ไปสู่คนพื้นเมืองชาวอินโดนีเซีย
ในปี พ.ศ ๒๕๒๗ ได้มีการแถลงภายหลังการหารือกับญี่ปุ่นในประเด็นของปัญหากัมพูชาที่เกี่ยว กับเวียดนาม และทางอินโดนีเซีย ได้เสนอแผนฟื้นฟูสันติภาพในกัมพูชา
ประเทศในตะวันออกกลาง  มีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับอินโดนีเซียตลอดมา เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ อินโดนีเซียได้รับความช่วยเหลือจากประเทศซาอุดิอาระเบียและประเทศอิหร่านใน การพัฒนาโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรีย
ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ได้เดินทางไปเยือนกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเจ็ดประเทศ หลายประเทศได้แสดงความจำนง ที่จะให้ความช่วยเหลืออินโดนีเซีย ในโครงการต่าง ๆ และประธานาธิบดีซูฮาร์โต ก็ได้แถลงสนับสนุนการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์
ประเทศในกลุ่มอินโดจีน  ได้แก่  เวียดนาม ลาวและกัมพูชา
ประเทศเวียดนาม  อินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗  แต่ความสัมพันธ์ ได้เสื่อมทรามลงในปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยเฉพาะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะในอินโดจีน
ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ สัมพันธภาพระหว่างสองประเทศเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ทั้งสองประเทศ ได้เจรจากันในปัญหาติมอร์ตะวันออก ปัญหาการรับรองอาเซียน และเขตสันติภาพ ปัญหาไหล่ทวีป ซึ่งทั้งสองประเทศ มีข้อขัดแย้งกันบางประการเกี่ยวกับการกำหนดเขตไหล่ทวีปบริเวณตอนเหนือหมู่ เกาะนาตูนา ในทะเลจีนใต้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้มีการประชุมแก้ไขปัญหา ไหล่ทวีประหว่างสองประเทศครั้งที่ ๗ การประชุมไม่ประสบผลสำเร็จ
ประเทศลาว  ความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียกับลาวยังอยู่ในลักษณะที่ห่างเหินกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน
ประเทศกัมพูชา  อินโดนีเซียกับกัมพูชาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑  ก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ อินโดนีเซียได้เคยแถลงให้การรับรองรัฐบาลกัมพูชา หลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ายึดครองกัมพูชาได้ แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลกัมพูชา ทั้งนี้เพราะกัมพูชาเคยแถลงต่อต้านอินโดนีเซีย ในการที่ใช้กำลังเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออก
อินโดนีเซียตระหนักถึงภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเกิดจากการสนับสนุนของจีนเป็นหลัก ส่วนภัยจากเวียดนามถือเป็นรอง การมองภัยคุกคามของภูมิภาค ที่แตกต่างจากประเทศอาเซียนอื่น มีสาเหตุมาจากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซีย ที่เป็นเกาะอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ ประกอบกับประสบการณ์ที่ขมขื่น จากการก่อกบฏคอมมิวนิสต์ในประเทศซึ่งจีนให้การสนับสนุน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘  ด้วยเหตุนี้อินโดนีเซียจึงมีการติดต่อกับเวียดนามใกล้ชิดมากกว่าประเทศอา เซียนอื่น
ประเทศเพื่อนบ้าน  ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
ประเทศมาเลเซีย  อินโดนีเซียได้ประกาศใช้นโยบายเผชิญหน้ากับมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖  เมื่อมาเลเซียประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูต กับอินโดนีเซียเนื่องจากอินโดนีเซียไม่ยอมรับรองการสถาปนาประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ประเทศทั้งสองได้กลับคืนดีกัน  หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านก็ดีขึ้นด้วย
ต่อมาอินโดนีเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมอาเซียนเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วยประเทศสมาชิกคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จากการก่อตั้งสมาคมอาเซียนดังกล่าว เป็นเหตุให้อินโดนีเซีย เร่งรัดสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซีย และสิงคโปร์ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐
ความร่วมมือกับมาเลเซียได้แก่ การประมง การค้า อุตสาหกรรมดีบุก และยาง สำหรับด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ทั้งสองประเทศได้ตกลง ให้มีการใช้ตัวสะกดในภาษาอินโดนิเซีย และมาเลเซีย ให้เหมือนกันได้ทำความตกลงอาณาเขตทางทะเล ให้แบ่งส่วนที่มีความกว้างน้อยกว่า ๑๒ ไมล์ และถือว่าช่องแคบมะละกา เป็นน่านน้ำอาณาเขตของประเทศทั้งสอง
ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ อินโดนิเซียแถลงว่า จะจำกัดการเดินเรือในช่องแคยนี้ โดยกำหนดห้ามเรือบรรทุกน้ำมัน ขนาดตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ ตันขึ้นไป ไม่ให้ผ่านช่องแคบมะละกา ให้ไปใช้ช่องแคบลอมบ๊อค ทางตะวันออกของเกาะบาหลี กับช่องแคบมาคัสซา ระหว่างเกาะกาลิมันตัน สุลาเวสี อันเป็นน่านน้ำอาณาเขตของอินโดนิเซียกันแทน และกำหนดให้เรืออื่น ๆ นอกจากนี้ที่จะผ่านช่องแคบมะละกา จะต้องขออนุญาตจากอินโดนิเซียและมาเลเซียก่อน
ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ มีการเจรจาประจำปีของประเทศทั้งสอง มีการเจรจาเรื่องปัญหากัมพูชา เรียกร้องให้เลขาธิการสหประชาชาติ จัดการประชุมระหว่างประเทศ เพื่อยุติความขัดแย้งในกัมพูชา และเรียกร้องให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา อีกเรื่องหนึ่งคือ ปัญหากบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ทั้งมาเลเซีย และอินโดนิเซีย ยืนยันในการที่จะเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย โดยมาเลเซียรับจะเป็นเจ้าภาพในการเจรจา ระหว่างแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร กับรัฐบาลฟิลิปปินส์
ปัญหาสิทธิดินแดนบางแห่งที่ขัดแย้งกัน เนื่องจากอินโดนิเซียใช้หลักการกำหนดอาณาเขตน่านน้ำของประเทศ ที่เป็นกลุ่มเกาะ ทำให้บริเวณโดยรอบ กลุ่มเกาะนาตูนา และอานัมบัส ในทะเลจีนใต้เป็นของอินโดนิเซีย ยังผลให้มาเลเซียตะวันตก ถูกตัดขาดจากมาเลเซียตะวันออก เนื่องจากทางผ่านทั้งทางทะเลและทางอากาศ ตกเป็นของอินโดนิเซีย จึงต้องทำการเจรจากันต่อไป นอกจากนั้นประเทศทั้งสองยังมีปัญหาการแย่งสิทธิเหนือกลุ่มเกาะกิลิตัน และซิปิตัน ซึ่งอยู่นอกฝั่งรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย
ฟิลิปปินส์  ความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์ ในระยะหลัง ๆ ดำเนินไปด้วยดี ในฐานะเป็นภาคีอาเซียนด้วยกัน
ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ครั้งที่ ๙ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในความร่วมมือ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามแนวชายแดนของประเทศทั้งสอง ซึ่งได้ลงนามร่วมกันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา
สิงคโปร์  ความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี มีการข้อตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดน และการปราบปรามการค้าของเถื่อน

ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้มีการลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการพัฒนาเกาะบาตัม ของอินโดนิเซีย ให้เป็นเขตแดนเศรษฐกิจเสรี สำหรับการลงทุนของต่างประเทศ
การประชุมคณะกรรมการชายแดนอินโดนิเซีย – ปาปัว นิวกินี  ได้มีการลงนามในข้อตกลงพรมแดนระหว่างประเทศอินโดนิเซีย กับปาปัว นิวกินี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ เพื่อใช้ทดแทนข้อตกลงฉบับปี พ.ศ.๒๕๒๒ สาระสำคัญคือ ทั้งสองประเทศจะไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดนของแต่ละประเทศ ให้ที่พักพิงแก่กองกำลังเพื่อต่อต้านรัฐบาลของแต่ละฝ่าย และปาปัว นิวกินี จะต้องพิจารณาส่งผู้อพยพชาวอิเรียน จายา กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน
การคลี่คลายปัญหาติมอร์ตะวันออก ทางรัฐบาลออสเตรเลีย เคยมีนโยบายให้ชาวติมอร์ตะวันออก มีสิทธิกำหนดความสมัครใจของตนเอง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนิเซีย
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย  ไทยกับอินโดนิเซียมีความสัมพันธ์ และความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดตลอดมา และเพิ่มมากขึ้น เมื่อได้เข้าร่วมในการก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน – ASEAN) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐
ความร่วมมือระหว่างไทยกับอินโดนิเซีย เป็นความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และอินโดนิเซียในฐานะที่เป็นสมาชิกกลุ่มประเทสไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด กลุ่มประเทศอิสลาม และกลุ่มประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันเป็นสินค้าออก (โอเปค) อินโดนิเซียได้ให้ความช่วยเหลือไทยในหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขัดขวางการที่ ผู้แทนขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) จะเสนอปัญหาเข้าสู่ที่ประชุมองค์การของกลุ่มประเทศอิสลาม

แหล่งอ้างอิง: http://www1.mod.go.th/heritage/nation/neighbour/indonesia1.htm

ประเทศสิงคโปร์

ข้อมูลประเทศสิงคโปร์

ธงชาติประเทศสิงคโปร์

ตราแผ่นดิน

ประเทศสิงคโปร์ เป็นเกาะตั้งอยู่บริเวณปากทางเข้าช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นช่องทางติดต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิค กับมหาสมุทรอินเดีย และอยู่ตรงปลายแหลมมลายู เป็นเกาะที่ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะคือ เกาะสิงคโปร์ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ นอกจากนั้นยังมีเกาะเล็ก เกาะน้อยอยู่ภายในเขตน่านน้ำอีก ๕๔ เกาะ และเกาะปะการังอีกประมาณ ๗ เกาะ ในบรรดาเกาะดังกล่าว เป็นที่อยู่อาศัย และตั้งโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ประมาณ ๓๐ เกาะ
ตัวเกาะสิงคโปร์ มีรูปร่างคล้ายพัดเพชรร่วง คือ พื้นที่ส่วนเหนือกว้างเป็นรูปหน้าตัดของเพชร และแคบลงทางใต้ ความยาวของเกาะจากตะวันออกถึงตะวันตก ประมาณ ๔๒ กิโลเมตร ความกว้างจากเหนือถึงใต้ ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖๑๘ ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการขยายพื้นที่ ด้วยการถมทะเลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ  จดช่องแคบยะโฮร์ มีความกว้างเฉลี่ยประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร และอยู่ตรงข้ามฝั่งยะโฮร์ ของมาเลเซียเชื่อมกันด้วยถนนข้ามสมุทร
ทิศตะวันออก  จดทะเลจีนใต้ ห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ ประมาณ ๒,๑๕๐ กิโลเมตร ห่างจากรัฐซาราวัคของมาเลเซีย ประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร
ทิศใต้  จดช่องแคบสิงคโปร์
ทิศตะวันตก  จดช่องแคบมะละกา โดยมีเกาะสุมาตราของอินโดนิเซียอยู่คนละฟากฝั่ง
สิงคโปร์เปรียบเสมือนประตูทางคมนาคมทางทะเล ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ และเป็นเสมือนจุดต่อของแผ่นดิน จากผืนแผ่นดินใหญ่ผ่านแหลมมลายู ลงทางใต้ไปสู่อินโดนิเซีย และออสเตรเลีย นอกจากนั้นยังเป็นจุดแวะพัก และจุดคุมการเดินเรือติดต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคกับมหาสมุทรอินเดีย  มีท่าจอดเรือสำหรับใช้ขนส่งสินค้าในทะเลใหญ่ เป็นอันดับสองของเอเซีย และมีปริมาณขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับสี่ของโลก
สิงคโปร์มีช่องทางติดต่อกับประเทศใกล้เคียงสองเส้นทางคือ
ถนนข้ามสมุทร  (Jahore Causeway) มีเส้นทางติดต่อกับรัฐยะโฮร์ของมาเลเซียสร้างด้วยหินแกรนิท ถนนนี้มีทงรถไฟและท่อส่งน้ำจืดจากมาเลเซียเข้าสู่สิงคโปร์ เริ่มเปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ เชื่อมระหว่างตำบลวูดแลนด์ของสิงคโปร์ กับจังหวัดยะโฮร์ของมาเลเซีย ถนนสายนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลวงสายเอเซีย
ร่องน้ำ มีร่องน้ำสำหรับการเดินเรือ เพื่อเข้าเทียบท่าเรือ หรือทอดสมอตามท่าเรือใหญ่สี่ช่องทางคือ
– ช่องแคบสิงคโปร์ มีร่องน้ำที่ผ่านทางตะวันออกของเกาะพีค และเกาะเซนต์จอนห์
– ผ่านทางตะวันออกของเกาะเซบาร็อค และเกาะบูคฝุท
– ช่องแคบซินุกิ จากช่องแคบมะละกา
– ช่องแคบจูร่ง
ลักษณะภูมิประเทศ
ตัวเกาะสิงคโปร์ เป็นกลุ่มภูเขาหินที่เป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขา ที่ทอดลงมาตามแนวความยาวตลอดแหลมมลายู สิงคโปร์มีลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็นสามส่วน มีแนวป่าโกงกางอยู่เรียงรายรอบฝั่งบางแห่ง ป่าเหล่านี้จะลึกเข้าไปในแผ่นดิน ตามแนวที่ต่ำซึ่งเป็นป่าชายเลน ทำให้เกิดแนวแบ่งเขตภูมิประเทศของเกาะ ออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนตะวันออก ส่วนกลาง และส่วนตะวันตก
ภาคกลาง  พื้นที่เป็นหินแกรนิท ภูมิประเทศเป็นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ มีภูเขาบูกิตติมะห์ สูง ๕๗๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากนั้นยังมีที่ราบเป็นบางส่วน ในภาคนี้จะมีพรรณไม้เขียวชอุ่มตอลดปี จึงเป็นเสมือนเครื่องป้องกันตามธรรมชาติ ของอ่างเก็บน้ำบริโภค ซึ่งมีอยู่ในภาคนี้ แม่น้ำที่ยาวที่สุดในภาคนี้คือ แม่น้ำเซเอตาร์
ภาคตะวันตกเฉียงใต้  ภูมิประเทศลาดลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีหินทรายซึ่งก่อตัวเป็นผา และหุบเขา มีภูเขาเตี้ย ๆ แต่ลาดชันเป็นแนวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นเป็นที่ราบสูงและหุบเขา และเนินเขาติดต่อกันไป สลับป่าโกงกางบริเวณส่วนใหญ่ ทางใต้เป็นพื้นที่ที่ราบลงไปใน         ทะเล
ภาคตะวันออก  พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ราบ พื้นที่เป็นกรวดปนทราย และดินปนทราย มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลผ่าน เนื้อดินเป็นดินแดงและเหลือง
ประชากร
สิงคโปร์ เป็นประเทศเล็ก ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้า การเงิน ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นศูนย์กลางการกลั่นน้ำมัน ที่มีความสำคัญเป็นอันดับสามของโลก
ประชากรแยกออกเป็นเชื้อสายจีนประมาณ ร้อยละ ๗๗ เชื้อสายมาเลย์ประมาณ ร้อยละ ๑๕ เชื้อสายอินเดีย ประมาณร้อยละ ๖ และเชื้อสายอื่น ๆ ประมาณร้อยละ ๒
สิงคโปร์ มีโครงสร้างทางสังคมแบบรวมหลายเชื้อชาติ (Muiti Aacial Society) มีชาวจีนเป็นประชากรส่วนใหญ่ แต่รัฐบาลได้พยายามสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนทุกเชื้อชาติ โดยให้เกิดความรู้สึกว่า ทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด จะเป็นชาวสิงคโปร์ทั้งสิ้น ซึ่งได้รับผลสำเร็จอย่างน่าพอใจ
เนื่องจากเป็นสังคมหลายเชื้อชาติ จึงมีการนับถือศานา และลัทธิแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก เช่น มีศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และลัทธิขงจื้อ เป็นต้น
ภาษาพูด ก็แตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น มีภาษาจีน (หลายสาขา) ภาษามาเลย์ ภาษทมิฬ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น แต่ทางรัฐบาลก็ได้กำหนดให้มีภาษา ติดต่อราชการอยู่สี่ภาษาคือ มาเลย์ จีน (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ และให้ภาษามาเลย์ เป็นภาษาประจำชาติ
ประวัติความเป็นมา
สิงคโปร์ แต่เดิมเรียกว่า เทมาเส็ค (Temasek) ตามพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๗๐๓ สิงนีละอุตมะ ผู้มีเชื้อสายสืบเนื่องมาจาก พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กับบริวารได้ยกกำลังมาจากเกาะสุมาตรา เข้ามาที่เทมาเส็ค ก่อนก่อสร้างเมืองสิงคโปร์ พบสิงโตตัวหนึ่ง จึงถือว่าเป็นศุภมงคล จึงให้นามเมืองว่า สิงหปุระ (Singha pura) เมื่อสิงนีละอุตมะ ถึงแก่กรรมหลังจากได้ครองเมืองมา ๔๘ ปี ได้มีโอรสครองเมืองสืบมาจนถึงรายาสกันเดอร์ชาห์ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๑๘๐๖ จนกระทั่งพระเจ้าปัตหวา พระเจ้าแผ่นดินชวายกทัพมาตี ทำให้รายาสกันเดอร์ชาห์ต้องสละเมืองสิงคโปร์ให้ร้างอยู่นานถึง ๑๐๔ ปี
ในปี พ.ศ.๒๑๓๕ เซอร์ เจมส์ แลงเคสเตอร์ ได้เข้ามาถึงเกาะปีนัง ตั้งร้านจำหน่ายสินค้าที่ตำบลกัวลาเกดาห์ ริมฝั่งตรงข้ามเกาะ จนถึงปี พ.ศ.๒๓๒๙ อังกฤษจึงเข้าครอบครองบริเวณแหลมมลายู
ในปี พ.ศ.๒๓๖๒ เซอร์ สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Sir Stamford Ruffles) ได้ขอเช่าขาดสิงคโปร์จากสุลต่านฮัสเซน โมฮัมเหม็ด ชาห์ (Sultan Hussein Mohammed Shah) กับสุลต่านทาเม็งกอง อาบูดุล ราห์มาน (Sultan Temenggong Abudul Rahman) เพื่อเปิดบริษัทการค้าชื่อ เดอะ อีสต์ อินเดีย คัมปานี (The East India Company) และในปี พ.ศ.๒๓๖๗ อังกฤษกับวิลันดา ได้ทำสัญญาต่อกัน โดยให้เมืองมะละกาแก่อังกฤษ ส่วนวิลันดาได้แคว้นเบนโดเลนในเกาะสุมาตรา  เซอร์สแตมฟอร์ดเคยกล่าวว่า เกาะสิงคโปร์ในอนาคต จะเป็นตำบลที่สำคัญในการค้าขายและจะมีความสำคัญในทางนาวีของโลก
ในระยะที่อังกฤษเริ่มทำการค้าขายกับจีน จึงต้องการมีท่าเรือที่สำคัญเพื่อใช้คุ้มครองเส้นทางเดินเรือจากอินเดีย จึงได้หาเมืองท่าโดยได้เลือกเอาเกาะปีนัง ต่อมาอังกฤษสามารถขับไล่วิลันดาออกจากภูมิภาคนี้ได้สำเร็จ
เซอร์สแตมฟอร์ดรัฟเฟิ่ล ผู้ว่าราชการอังกฤษได้รับมอบหมายให้สร้างเมืองท่าของอังกฤษขึ้นทางตอนใต้ของ มะละกา จึงได้แล่นเรือไปยังบริเวณปากแม่น้ำสิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ เมื่อเห็นว่าสิงคโปร์ตั้งอยู่ใต้สุดของคาบสมุทรมลายู มีอ่าวธรรมชาติเหมาะแก่เรือเดินทะเล เป็นทำเลที่สามารถคุมได้ทั้งช่องแคบมะละกาและช่องแคบซุนดา  เซอร์รัฟเฟิ่ลจึงทำสัญญาขอเช่าเกาะสิงคโปร์ ภายหลังที่อังกฤษเข้าปกครองสิงคโปร์ ปรากฏว่ามีประชากรอพยพเข้ามาอยู่อาศัยบนเกาะเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ได้แก่ชาวจีน
ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา สิงคโปร์ถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๕ – ๒๔๘๘  ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม อังกฤษก็ได้กลับมาครอบครองสิงคโปร์อีก และได้รวมสิงคโปร์เข้าไว้ในมลายูเป็นสหพันธ์มลายู แต่สิงคโปร์ยังคงเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอยู่ และอังกฤษยอมผ่อนปรน ให้คนสิงคโปร์มีสิทธิในการปกครองตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒
การจัดตั้งสหพันธ์มาเลเซียในปี พ.ศ.๒๕๐๖  ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ตนกู อับดุลราห์มัน นายกรัฐมนตรีมลายาได้แถลงว่าสหพันธ์มลายา ไม่อาจยืนอยู่ได้โดยโดดเดี่ยวในภูมิภาคนี้ ควรมีโครงการเพื่อรวมสิงคโปร์ บอร์เนียวเหนือ ซาราวัค บรูไนและสหพันธ์มลายาเข้าเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ด้วยความมุ่งหมาย ที่จะให้มีปราการที่เข้มแข็งเพื่อสกัดกั้น ตอบโต้และยับยั้งอิทธิพลของจีนคอมมิวนิสต์ที่มีอยู่เหนือชาวจีนในมลายา และเพื่อเป็นการปิดล้อมการขยายตัวของอินโดนีเซีย ซึ่งครอบครองพื้นที่สองในสามของเกาะบอร์เนียวอยู่แล้ว
ประเทศที่จะสถาปนาขึ้นใหม่จะเป็นดินแดนที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้า และการคมนาคม มีท่าเรือที่ใหญ่ เมื่อเป็นประเทศเดียวกันจะขยายพลัง และเพิ่มพูนความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั้งของส่วนรวม และของแต่ละรัฐ ยังเป็นการขายตลาดภายในโดยจะสถาปนาตลาดร่วมขึ้น
ด้านสังคมจะเป็นการวมพลเมืองหลายเชื้อชาติซึ่งต่างมีศาสนา ระดับความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษาที่แตกต่างกันเข้าเป็นประเทศเดียวกัน
การที่สิงคโปร์เข้าร่วมในมาเลเซีย มีเหตุผลทางการเมืองมากกว่าทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ ทางการสิงคโปร์ได้เข้าจับกุมพวกคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ มีทั้งนักศึกษา บุคคลสำคัญพรรคโซเชียล ลิสต์ และพรรคกรรมกร และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในสหพันธ์กรรมกรของสิงคโปร์ เหตุการณ์นี้ทำให้สิงคโปร์รู้สึกโดดเดี่ยว ดังนั้น ความหวังที่จะยับยั้งการแทรกซึม และการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์ ในสิงคโปร์ก็อยู่ที่การเข้ามารวมกับมาเลเซีย โดยให้รัฐบาลกลางมีอำนาจควบคุมความมั่นคงภายใน
จากการแสดงประชามติในปี พ.ศ.๒๕๐๕ เกี่ยวกับการรวมกับมลายา ปรากฎว่าประชาชนร้อยละ ๗๓ ออกเสียงให้สิงคโปร์เข้ารวมกับมลายา เป็นประเทศมาเลเซีย โดยมีรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
การแยกตัวออกจากสหพันธ์มาเลเซีย  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ สิงคโปร์ได้แยกออกเป็นประเทศเอกราชอีก แต่สิงคโปร์กับมาเลเซียตกลงจะยังความร่วมมือกัน ฉันท์มิตรในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และการป้องกันภัยจากภายนอก สาเหตุของการแยกตัวมีทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมือง
สาเหตุทางเศรษฐกิจ  สิงคโปร์มีพันธะตามข้อตกลงทางการคลังกับรัฐบาลกลางคือ
– ต้องจ่ายรายได้ภาษีของรัฐร้อยละ ๔๐ เข้าสมทบงบประมาณรายได้ของรัฐบาลกลาง
– ต้องให้รัฐบาลกลางกู้เงิน เพื่อพัฒนาดินแดนบอร์เนียว โดยไม่คิดดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก
– รัฐบาลกลางเสนอมาตรการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
– รัฐบาลกลางสั่งปิดธนาคารแห่งประเทศจีน สาขาสิงคโปร์ โดยถือว่ามาเลเซียไม่เคยมีสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์มาก่อน

– รายได้จากการค้ากับอินโดนิเซีย ต้องชงักไป เพราะรัฐบาลมาเลเซียตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินโดนิเซีย เนื่องจากนโยบายเผชิญหน้า (Con Frontation) ของอินโดนิเซียต่อมาเลเซีย
– การแบ่งโควต้า ผลิตภัณฑ์บางชนิดสำหรับส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศ
สาเหตุทางการเมือง  ความไม่ลงรอยระหว่างรัฐบาลสิงคโปร์กับรัฐบาลกลาง ได้ปรากฎชัดขึ้นโดยการแข่งอิทธิพลกัน ระหว่างพรรคการเมือง กิจประชาชน (Peopel ‘s Action Party) ของนายลี กวน ยู ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนจีน กับพรรคอัมโน (United Malays National Orgamigation Aumno) ของตนกู อับดุล ราห์มัน ซึ่งเป็นพรรคของชาวมาเลย์ การแข่งขันอิทธิพลของสองพรรค สืบเนื่องมาจากการที่ผู้นำมาเลเซียได้หวังกันว่า การจำกัดจำนวนสมาชิกในรัฐสภามาเลเซีย ตามที่ระบุไว้ในความตกลงรวมประเทศ ให้สิงคโปร์มีสมาชิกได้เพียง ๑๕ คน ในขณะที่มลายามี ๑๐๔ คน ซาราวัคมี ๒๔ คน และซาบาห์มี ๑๖ คน จะสามารถจำกัดอิทธิพลทางการเมืองของพรรคกิจประชาชน ให้อยู่ในเฉพาะสิงคโปร์เท่านั้น แต่เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ พรรคกิจประชาชน ส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งในมลายา ๙ คน และได้รับเลือกตั้ง ๑ คน กรณีดังกล่าวรัฐบาลกลางถือว่า พรรคกิจประชาชนได้พยายามขยายอิทธิพลทางการเมือง เข้าไปในมลายา
ในระหว่างการรณรงค์หาเสียง นักการเมืองของทั้งสองพรรคได้ยกเอาเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา มาเป็นข้ออ้างในการกล่าวประนามซึ่งกันและกัน การโต้แย้งได้ทวีความรุนแรง ถึงกับพรรคอัมโน ลงมติให้รัฐบาลกลางดำเนินนโยบายที่เฉียบขาด กับหัวหน้าพรรคกิจประชาชน หาว่ามีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ มีผู้เรียกร้องให้จับกุม หรือเนรเทศ นายลี กวน ยู ด้วย ฉะนั้น ทางออกที่ดีที่สุดคือ การให้สิงคโปร์แยกออกไปเป็นเอกราชเสีย
ดังนั้น เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๘ ได้มีการประกาศพร้อมกันทั่วในสิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์ว่า สิงคโปร์จะเป็นประเทศเอกราชอย่างสมบูรณ์ รัฐสภาสิงคโปร์ได้ผ่าน Independence Bill  สถาปนาตนเองเป็นสาธาณรัฐ
การคมนาคมขนส่ง
ที่ตั้งของสิงคโปร์เป็นเส้นทางระหว่างทวีปยุโรป และเอเซียตะวันตก กับภาคพื้นตะวันออกไกล รวมทั้งภาคพื้นแปซิฟิค ทำให้สิงคโปร์เป็นชุมทางของเส้นทางเดินเรือ และสายการบินระหว่างประเทศ และเป็นแหล่งชุมนุมการค้าขาย
ปัจจุบันสิงคโปร์ มีท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเซีย รองจากโยโกฮามาของญี่ปุ่น และเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้ามาก เป็นอันดับสามของโลก
การขนส่งทางบก  สิงคโปร์มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ ๙๐๐ ตารางกิโลเมตร แต่ถนนที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ประมาณ ๑,๓๐๐ กิโลเมตร
นอกจากถนนแล้ว ยังมีทางรถไฟอยู่สองสาย มีความยาวประมาณ ๔๕ กิโลเมตร ได้มีการสร้างทางรถไฟสายสิงคโปร์ – กรันจิ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ สมัยรัฐบาล สเตทส์ เซตเติลเมนต์ (Stste Selllement) โดยมีการเดินรถจากสถานีแทงค์โรค ไปยังวู๊ดแลนด์ และมีบริการแพขนานยนต์ ข้ามฟากไปเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากแผ่นดินใหญ่ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๖ การรถไฟแห่งสหพันธ์มลายู ได้รับซื้อกิจการนี้แล้วปรับปรุง ให้เริ่มจากสถานีบูกิตบันยัง ถึงสถานีตันหยงปาการ์
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๒ ได้มีการเริ่มสร้างถนนข้ามช่องยะโฮร์ เพื่อให้ทางรถไฟติดต่อถึงกัน
ทางรถไฟสายหลัก ข้ามถนนข้ามช่องยะโฮร์มาเลเซีย ตัดกลางประเทศ ลงสู่ใต้ถึงสถานีปลายทาง ที่ใกล้ท่าเรือเคปเปล โดยมีทางแยกเลยเข้าไปในท่าเรือเคปเปลด้วย
ทางรถไฟอีกสายหนึ่ง แยกจากสายแรกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ รถไฟสายนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลมาเลเซีย การเดินทางไปในสถานีรถไฟ เพื่อโดยสารถือว่าเป็นการเดินทางผ่านประเทศ ต้องมีการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือเอกสารอย่างอื่นทำนองเดียวกัน
การขนส่งทางน้ำ  มีการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ทางน้ำชายฝั่งและทางน้ำระหว่างประเทศ
ทางน้ำภายในประเทศ  มีใช้อยู่ในวงจำกัด และไม่ค่อยสะดวก เพราะสิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ และมีแนวชายฝั่งสั้น ภายในเกาะเองก็มีแม่น้ำสายสั้น ๆ และไม่ติดต่อถึงกัน รวมทั้งยังตื้นเขินมาก จึงต้องจำกัดเวลา ในการใช้คือ ในช่วงเวลาน้ำขึ้นเท่านั้น
ทางน้ำชายฝั่ง  เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะเฉพาะของตนเองคือ ใช้เรือเล็ก ท่าเรือเล็กๆ ที่มีจำนวนมากมาย เส้นทางเดินเรือสั้น การให้บริการไม่เป็นประจำ
เรือที่เดินตามบริเวณชายฝั่ง มีหลายบริษัท และมีบริษัทที่ให้บริการเป็นประจำไปยังท่าเรืออินโดนิเซีย มาเลเซียตะวันออก และตะวันตก และไทย
ทางน้ำระหว่างประเทศ  รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนเรือของสิงคโปร์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ และได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุญาตให้มีการจดทะเบียนเรือ ซึ่งเจ้าของอยู่ในต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ โดยมีความมุ่งหมายจะชักจูงเรือสินค้าต่างชาติ ที่ไปจดทะเบียนเป็นเรือสัญชาติไซบีเรีย และปานามา ให้สนใจโอนสัญชาติเป็นเรือสิงคโปร์ได้
การท่าเรือแห่งชาติ  จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้มีการปรัปปรุงท่าเรือสิงคโปร์ ให้สามารถรับเรือคอนเทนเนอร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และสามารถอำนวยความสะดวก ให้กับเรือบรรทุกน้ำมันขนาดสองแสนตัน หรือมากกว่า
ท่าเรือ  แต่เดิมใช้ท่าเรือเคปเปล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสิงคโปร์ และมีเกาะเซนโตซา กับเกาะบรานี เป็นที่กำบังลม ต่อมาบริเวณของการท่าเรือ ได้ขยายออกไปจนเกินอาณาบริเวณ ทั้งพื้นที่บนฝั่ง และในทะเลรวม ๕๓๘ ตารางกิโลเมตร
ท่าเรือสิงคโปร์ มีทั้งท่าเรือน้ำลึกตรงที่ท่าเรือเคปเปล มาจนถึงตันจงปาการ์ ท่าเรือสิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของเกาะ เลียมริมฝั่งตะวันตก เรื่อยไปจนถึงฝั่งตะวันออกของเกาะทีซันไจ มาตา อิกาน บีคอน
เขตการค้าเสรี  ทางการสิงคโปร์ ได้ประกาศเขตการค้าเสรี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ตามบริเวณท่าเรือ ตั้งแต่เตล๊อก อาเยอร์เบซิน จนถึงจาร์ดินสเตปส์ กับจูร่ง ในบริเวณนี้ทางการได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้
สายการเดินเรือแห่งชาติ  ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ บริษัทนี้เป็นสมาชิกของชมรมเดินเรือแห่งตะวันออกไกล เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒
การขนส่งทางอากาศ
การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ  เริ่มมีสายการบินทำการค้าสายแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นของบริษัทดัทช์อิสท์อินเดีย และในปี พ.ศ.๒๔๗๘ สายการบินแควนตัส ได้เปิดการบินระหว่างสิงคโปร์ กับออสเตรเลีย ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ท่าอากาศยานสากล  เดิมอยู่ที่ปายาเลบาร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีทางวิ่งยาวประมาณ ๔,๐๐๐ เมตร สามารถรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทุกขนาดและทุกแบบ
ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าอากาศยานนานานชาติ ที่จัดส่งทันสมัยมากคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชางงี มีขีดความสามารถในการรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ และการให้บริการพร้อม ๆ กันถึง ๔๕ เครื่อง มีการสร้างทางวิ่งที่สองบนพื้นที่ ที่ได้จากการถมทะเล
สายการบินแห่งชาติ  เดิมสิงคโปร์ มีสายการบินร่วมกับมาเลเซียใช้ชื่อว่า มาเลเซีย – สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Malasia – Singapore Airlines) ต่อมาเมื่อได้แยกประเทศกันแล้ว ก็ได้แยกสายการบินออกจากกันด้วย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ สายการบินของสิงคโปร์ใช้ชื่อว่า สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Singapore Airlines SIA)

แหล่งอ้างอิง: http://www1.mod.go.th/heritage/nation/neighbour/singapore.htm

ประเทศลาว

ข้อมูลประเทศลาว

ตราแผ่นดิน

 

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย  ประชาชนลาว (LAOS)
ชื่อทางการ 

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   หรือเรียกว่า สปป.ลาว (The  Lao  People’s   Democratic  Republic / Lao P.D.R.)

ที่ตั้ง 

อยู่ระหว่างละติจูดที่ 14 – 23  องศาเหนือ  และลองติจูดที่ 100 – 108  องศาตะวันออก  เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (Land  Lock)

พรมแดน 

ทิศเหนือ   ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ทิศใต้     ติดกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
ทิศตะวันออก   ติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ   ติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
ทิศตะวันตก   ติดกับไทย
เขตแดนไทย-ลาว 

สปป.ลาว  มีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทย  ยาวประมาณ  1,810  กิโลเมตร (ทางบก  702  กิโลเมตร  ทางน้ำ  1,108  กิโลเมตร)  ประกอบด้วย  11  จังหวัดของไทย (ได้แก่  เชียงราย  พะเยา  น่าน  อุตรดิตถ์  พิษณุโลก  เลย  หนองคาย  นครพนม  อำนาจเจริญ  มุกดาหาร  และอุบลราชธานี)  และ  9  แขวง / จังหวัดของลาว (ได้แก่  บ่อแก้ว  ไชยะบุลี  เวียงจันทน์  นครหลวงเวียงจันทน์  บอลิคำไซ  คำม่วน  สะหวันนะเขต  สาละวัน  และจำปาสัก)
พื้นที่

91,429  ตารางไมล์  หรือ  236,800  ตารางกิโลเมตร  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง (ประมาณ  4  ใน  5  ของพื้นที่ทั้งหมด)  ส่วนที่เป็นพื้นที่ราบประมาณ  1  ใน  5  ของพื้นที่ทั้งหมด
ลาวมีพื้นที่เพาะปลูกสำหรับการเกษตรเพียง  50,000  ตารางกิโลเมตร
หรือร้อยละ  21.11  ของพื้นที่ทั้งหมด
ภูมิอากาศ 
 
 ลาวมีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน  มี  2  ฤดู  คือ   ฤดูร้อน (พฤศจิกายน – เมษายน)  กับ  ฤดูฝน (พฤษภาคม – ตุลาคม)  อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์  ในปี  2549  สูงสุด  31.7  องศาเซลเซียส  ต่ำสุด  22.5  องศาเซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย  1,930.3  มิลลิเมตรต่อปี
ทรัพยากรที่สำคัญ 

ไม้  ข้าว  ข้าวโพด  ยาสูบ  ดีบุก  ยิปซั่ม  ตะกั่ว  ทองแดง  หินเกลือ  เหล็ก  ถ่านหินลิกไนท์  สังกะสี  ทองคำ  อัญมณี  หินอ่อน  น้ำมัน (ในภาคกลางและภาคใต้)  และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า

เมืองหลวงและแขวงสำคัญ
         
นครหลวงเวียงจันทน์  เป็นนครหลวงของประเทศ  และเป็นเขตการปกครองพิเศษ  เรียกว่านครหลวงเวียงจันทน์ (เดิมเรียกว่ากำแพงนครเวียงจันทน์)  อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคาย  มีประชากรประมาณ  711,919  คน (ปี 2549)  ซึ่งสมัยอาณาจักรล้านช้าง  เวียงจันทน์มีชื่อว่า “จันทบุรีกรุงศรีสัตนาคณหุต”  โดยพระไชยเชษฐาธิราชสถาปนาให้เป็นนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง  ในราว พ.ศ. 2107 (ลาวว่า พ.ศ. 2106)

แขวงสะหวันนะเขต   เป็นแขวง (จังหวัด)ที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ  อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร  ประชากรประมาณ  842,340  คน (ปี 2549)

แขวงจำปาสัก   เป็นแขวง (จังหวัด) ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสาม  มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี   ประชากรประมาณ  616,642  คน (ปี 2549)

แขวงหลวงพระบาง  เป็นแขวง (จังหวัด) ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่  อยู่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว  มีประชากรประมาณ  415,218  คน  ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 2541  จากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) ซึ่งทำให้เมืองหลวงพระบางเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลก  เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน  เช่น  วัดเก่าแก่ที่สำคัญ   พระราชวังเจ้ามหาชีวิต  และสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  รวมทั้งธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมที่งดงาม  ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงไว้  ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ
สังคม 
ประชากร  

5.75  ล้านคน (ปี 2549)  ประกอบด้วยลาวเทิง  ลาวสูง  และลาวลุ่ม  แยกออกได้ประมาณ  68  ชนเผ่า

ลาวลุ่ม   หมายถึง  ชนชาติเผ่าลาวที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่ม  ใช้ภาษาตระกูลไท-ลาว  เป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวเนื่องทั้งด้านเชื้อชาติ  และวัฒนธรรมกับชาวอิสานของไทยเป็นอย่างมาก  เช่น  ไทลาว  ไทเหนือ  ไทดำ  ไทแดง  ไทขาว  ผู้ไท  ลาวพวน  ลาวยวน  ไทลื้อ  ฯลฯ  มีประชากรประมาณร้อยละ  56  ของประชากรทั้งหมด
ลาวสูง   ได้แก่  ชาวลาวภูเขา  ใช้ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต  ประกอบด้วย  ชนเผ่าม้ง  และอื่นๆ  เช่น  แม้วลาย  แม้วขาว  แม้วดำ  ย้าย  โซโล  ฮ่อ  รุนี  มูเซอ  ผู้น้อย  กุ่ย  ก่อ  แลนแตน  ฯลฯ  มีประชากรประมาณร้อยละ  10  ของประชากรทั้งหมด
ลาวเทิง   หรือลาวที่ราบสูง  ใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร  ประกอบด้วย  ข่าแจะ  ละแนด  แกนปานา  สีดา  บิด  สามหาง  ดำ  หอก  ผู้เทิง  ไฟ  เซลา  ปันลุ  แซ  กะแสง  ส่วย  ตะโอย  ละแว  อาลัก  กะตาง  เทิงน้ำ  เทิงบก  เทิงโคก  อินทรี  ยาเหียน  กายัก  ขะมุ  ตาเลียง  ฯลฯ  มีประชากรประมาณร้อยละ  34  ของประชากรทั้งหมด

ความหนาแน่นของประชากร    
24  คน / ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรในเมือง                              
ร้อยละ  19  ของประชากรทั้งหมด
จำนวนประชากรที่เป็นแรงงาน                      
2.74  ล้านคน
อายุเฉลี่ย                                                             
61.7  ปี
อัตราการเติบโตของประชากร                     
ร้อยละ  2.4
อัตราการว่างงาน                                      
 ร้อยละ  5.7
อัตราประชากรที่รู้หนังสือ                            
ร้อยละ  68.7
กระแสไฟฟ้า/ปลั๊กไฟ                                          
220  โวลต์  วงจรกระแสสลับ  ปลั๊กไฟเป็นแบบขาแบนและขากลม 2 ขา
มาตราชั่ง-ตวง-วัด                                   
ใช้ระบบเมตริก

เวลา                                                                 
เท่ากับประเทศไทย  คือเร็วกว่ามาตรฐานที่เมืองกรีนิซ      7  ชั่วโมง
  
วัน-เวลาทำการ  ชั่วโมงทำงาน

ราชการ : จันทร์ – ศุกร์  (08.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น.)
ธุรกิจ  :   วันเสาร์เปิดค้าขายเพียงครึ่งวัน  วันอาทิตย์ธุรกิจทุกอย่างจะปิด
ธนาคาร  : เปิดทำการเวลา  08.30 – 16.00 น. หยุดเสาร์ – อาทิตย์
ศาสนา           
รัฐบาลลาวให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา  โดยประชากรลาวร้อยละ  75  นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 16-17 นับถือผี  ที่เหลือเป็นคริสต์ (ประมาณ  1  แสนคน)  และมุสลิม (ประมาณ  300  คน)
ศิลปวัฒนธรรม      
มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยเป็นอย่างมาก  ยังมีคำกล่าวที่ว่า  “ มีลาวอยู่แห่งใด  มีมัดหมี่  แลลายจกอยู่ที่นั้น ”   ในด้านดนตรี  ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ  มีหมอขับ  หมอลำ  ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ  เช่น  วันมาฆบูชา  วันสงกรานต์  วันออกพรรษา  บุญเข้าประดับดิน  บุญเข้าฉลาก  บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ)  บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12  เป็นต้น
    
การคมนาคม 
ทางบก    การคมนาคมเป็นปัญหาสำคัญของลาว  เพราะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา  ทำให้ลำบากต่อการเดินทางและขนส่ง  จึงมีส่วนสำคัญทำให้การค้าขายไม่เจริญก้าวหน้า  และเศรษฐกิจไม่มั่นคง  ปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นบ้าง  รัฐบาลได้สร้างถนนเพิ่มเติม  มีถนนติดต่อกับเวียดนามทั้งทางเหนือและทางใต้
ทางรถไฟ    ยังไม่มีใช้
โครงการสร้างทางรถไฟใน สปป. ลาว  ในอนาคตอันใกล้นี้

ช่วงที่ 1  สายสะพานมิตรภาพ  จ. หนองคาย  ไปยังท่านาแล้ง บ้านโคกโพสี  เมืองหาดทรายฟอง   นครหลวงเวียงจันทน์   อยู่ในระหว่างดำเนินการ  ระยะทาง  3.5  กิโลเมตร  กำหนดแล้วเสร็จ  เดือน พ.ค.  2551  (ความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย  197  ล้านบาท  ซึ่ง 30 %  เป็นการช่วยเหลือแบบให้เปล่า ที่เหลือเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว)
ช่วงที่ 2  จากท่านาแล้ง  บ้านโคกโพสี  เมืองหาดทรายฟอง  ไปยังสถานีเวียงจันทน์  เขตบ้านคำสะหว่าง  (หลังสนามกีฬาแห่งใหม่ที่จะให้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ) ระยะทาง  9  กิโลเมตร  ให้แล้วเสร็จทันที่ลาวเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ปี  2552 เป็นโครงการช่วยเหลือจากองค์การพัฒนาของฝรั่งเศส ( AFD : Agence  France  Development)  อยู่ระหว่างดำเนินการประกวดราคา

ช่วงที่  3  จากเวียงจันทน์  ไปยังเมืองท่าแขก  แขวงคำม่วน  เข้าสู่ชายแดนเวียดนาม  ระยะทาง  ประมาณ 400  กิโลเมตร  (ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน และเวียดนาม)
ทางน้ำ   ใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางสำคัญ  มีท่าเรือริมแม่น้ำโขง  ที่สำคัญคือ  ท่านาแล้ง  – ที่เวียงจันทน์,  แก้งกะเบา – ที่สะหวันนะเขต  และปากเซ – ที่จำปาสัก  สามารถล่องสินค้าไปออกปากแม่น้ำโขงที่โฮจิมินห์ได้
ทางอากาศ    มีการบินพาณิชย์ในประเทศ  ส่วนภายนอกประเทศมีการบินติดต่อกับกรุงเทพฯ  และเชียงใหม่
การเมือง  ระบบการปกครอง    สังคมนิยมประชาธิปไตย  ชี้นำโดยพรรคประชาชนปฎิวัติลาว

สถาบันการเมืองที่สำคัญ     
(1)         พรรคประชาชนปฎิวัติลาว
(2)         คณะรัฐบาล
(3)         สภาแห่งชาติ
วันชาติ     2   ธันวาคม  ของทุกปี

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย     19  ธันวาคม  2493

ภาษาทางการ          ภาษาลาว

ภาษาท้องถิ่นอื่นๆ                 ภาษาไท   ภาษาม้ง

การแบ่งเขตการปกครอง    แบ่งเป็น  16  แขวง(จังหวัด)  และ  1  เขตการปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์  )  และยังมีการแบ่งออกเป็น  142  เมือง (อำเภอ)  แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นบ้าน

รัฐธรรมนูญและกฎหมาย   ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก  เมื่อวันที่  14  สิงหาคม  2534
บุคคลสำคัญ  :  (ตังแต่ วันที่  8  มิถุนายน  2549 )

แหล่งอ้างอิง: http://www.holidaythai.com/Laos-Guide-4.htm