ประเทศบรูไนดารุสซาราม

ข้อมูลประเทศบรูไนดารุสซาราม

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ชื่อทางการ: เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam)

วันเดือนปีที่เข้าเป็นสมาชิก  8 มกราคม 2527      

พื้นที่:5,765  ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง:บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

ประชากร : 370,000 คน  ( ปี พ.ศ. 2548 )

ภาษาราชการ:ภาษามาเลย์ ( Malay หรือ Bahasa Melayu)

ศาสนา:ร้อย ละ 67 ของประชากรทั้งประเทศนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 13 นับถือพระพุทธศาสนา ร้อยละ 10 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือศาสนาฮินดู

ระบอบการปกครอง:ประชาธิปไตย

สกุลเงิน:ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND)

ที่ตั้ง

ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย

โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้

 

พื้นที่

5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong และ Tutong

 

เมืองหลวง

บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) อยู่ในเขต Brunei-Muara

ประชากร

374,577 คน (2550) เชื้อชาติมาเลย์ 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น 67,424 คน (18%)

อัตราการเพิ่มประชากรปีละ 3.5 % (2550)

 

ภูมิอากาศ

ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 23-32 องศาเซลเซียส ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม

และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

 

ภาษา

ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ  ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย

 

ศาสนา

ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู

 

หน่วยเงินตรา
ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.37 ดอลลาร์บรูไน/1 ดอลลาร์สหรัฐ (1)หรือ ประมาณ

23.98 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (2) (บรูไนมีความตกลงแลกเปลี่ยนเงินกับสิงคโปร์ทำให้เงินดอลลาร์บรูไนมีมูลค่า

เท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์และสามารถใช้แทนกันได้ แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ

23.95บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์)

GDP

GDP *18,918 ล้านดอลลาร์บรูไน (2549)

GDP per capita 49,400 ดอลลาร์บรูไน (2549)

GDP Growthร้อยละ 3.8

 

ระบอบการปกครอง

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์

(His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาฯ

องค์ที่ 29 ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 ซึ่งในปีนี้ (2551) เป็นวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ

62 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ

 

วันสำคัญ

วันประกาศอิสรภาพ 1 มกราคม พ.ศ.2527

วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระราชาธิบดีฯ 15 กรกฎาคม

 

การเมืองการปกครอง
– รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลังอีกด้วย ทั้งนี้
นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิดและจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่
– ปัจจุบันมีพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคเดียวคือ พรรค Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei
(PPKB) ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลแต่ไม่มีบทบาทนัก โดยรัฐบาลบรูไน ฯ เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องมีพรรคการเมือง
เนื่อง จากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น หรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสมเด็จพระราชาธิบดีได้อยู่แล้ว
– ในปี 2547 มีการเคลื่อนไหวที่สำคัญเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศให้ฟื้นฟูสภานิติบัญญัติขึ้นอีกครั้ง
นำ ไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้าง ประชาธิปไตยของบรูไนฯซึ่งพัฒนาการดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดีจากต่าง ประเทศ นักวิชาการ รวมทั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ยังเคลื่อนไหวอยู่
– ในปี 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศปรับคณะรัฐมนตรีครั้งสำคัญในรอบ 22 ปี โดยทรงแต่งตั้งมกุฎราชกุมารอัล มูห์ทาดี บิลลาห์ ให้ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งบ่งชี้ถึงแนว ทางการสืบทอดอำนาจ ในการบริหารประเทศในอนาคต นอกจากนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีโดยได้เปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่มีความชำนาญและ ผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก สะท้อนให้เห็นว่าสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงให้ความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคพลังงาน รวมทั้งการพัฒนาประเทศให้เป็นมุสลิมสายกลางมากขึ้น เพื่อให้บรูไน ฯ มีความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ

– ปัจจุบันรัฐบาลของประเทศบรูไนประกอบได้ด้วย 12 กระทรวง คือ
– สำนักนายกรัฐมนตรี

– กระทรวงกลาโหม

– กระทรวงการคลัง

– กระทรวงการต่างประเทศ

– กระทรวงมหาดไทย

– กระทรวงศึกษาธิการ

– กระทรวงอุตสาหกรรม

– กระทรวงศาสนา

– กระทรวงการพัฒนา

– กระทรวงวัฒนธรรม เยาวชนและกีฬา

– กระทรวงสาธารณสุข

– กระทรวงคมนาคม

 

* อ้างอิงจากฐานข้อมูลของ Brunei Economic Development Board(BEDB)

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ

– บรูไน ฯ เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG อันดับสี่ของโลก จึงมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
คิด เป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อออสเตรเลีย จีน อินเดีย สิงคโปร์ ไทย และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร และเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าจากสิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
– นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน บรูไนฯ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก อาทิ อุตสาหกรรมฮาลาล โดยรัฐบาลได้เปิดตัวโครงการBrunei Premium Halal Brand ขึ้น ภายใต้ความร่วมมือกับภาคเอกชนออสเตรเลีย เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและอาหารฮาลาลบรูไนฯ สู่ตลาดสากล นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมีจุดขายอยู่ที่การเป็นประเทศที่มีความสงบและปลอดภัย และมีนโยบายจะพัฒนา ประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และการรักษาพยาบาล
– แผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 9 รัฐบาลจะเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งปัจจุบันบรูไนฯ สามารถสร้างโรงงานผลิตเมทานอล ขึ้นที่เขตอุตสาหกรรม Sungai Liang นอกจากนี้รัฐบาลพยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนภายใน ประเทศ ในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
– ปัจจุบัน บรูไน ฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่โครงสร้าง เศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น มีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่ เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ  อย่างไรก็ดี การพัฒนายังเป็นไปย่างล่าช้า เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ อาทิ
กฎระเบียบที่เคร่งครัดต่าง ๆการห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ การขาดช่างฝีมือ ประกอบกับคนบรูไนฯ
ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบใหม่และระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างชาติ

สังคม

– บรูไนฯ จัดระเบียบสังคมตามข้อบัญญัติของศาสนามุสลิมและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

– บรูไนฯ มีระบบรัฐสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐให้หลักประกันด้านการศึกษา การเคหะและการรักษาพยาบาล และไม่มีการเก็บภาษีเงินได้ ทำให้บรูไนฯ ไม่มีปัญหาทางการเมือง อย่างไรก็ดี ปัญหาสังคมที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ปัญหาการว่างงาน (ณ เดือนพฤษภาคม 2550 มีสถิติการว่างงาน 5,814 คน) ซึ่งรัฐบาลพยายามโน้มน้าวให้ประชาชนทำงานในภาคเอกชนมากขึ้น แทนที่จะรองานราชการเพียงอย่างเดียวเช่นในอดีต

 

ต่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศ
– วัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศบรูไนฯ คือ การส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่ การรักษาอธิปไตย
อิสรภาพ และบูรณภาพแห่งดินแดน การสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคม และการรักษาเอกลักษณ์ทางการเมือง วัฒนธรรมและศาสนา รวมทั้งส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพและความรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคและระดับโลก
– บรูไน ฯ ใช้กลไกพหุภาคีเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อเพิ่ม อำนาจการต่อรอง เสริมสร้างความมั่นคงและผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาเซียน (ซึ่งถือเป็นเสาหลักนโยบายต่างประเทศบรูไนฯ) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (APEC )การประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) องค์การการประชุมอิสลาม (OIC) และสหประชาชาติ  (UN) สำหรับในระดับทวิภาคี บรูไนฯ พยายามเป็นมิตรกับนานาประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันประเทศ
– การที่ประมุขของประเทศซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลเสด็จ ฯ เยือนประเทศต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อสร้างบทบาทของบรูไน ฯ    ในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้บรูไน ฯ ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– ในปี 2547 และ 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนต่างประเทศบ่อยครั้ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมหา อำนาจทางเศรษฐกิจ (สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น) ประเทศในตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม

ความสัมพันธ์ทั่วไป

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไน ฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 (ค.ศ. 1984) เมื่อบรูไนฯ เป็นเอกราชและเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะในระดับราชวงศ์ มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับราชวงศ์ ผู้นำระดับสูงของรัฐบาล และผู้นำระดับสูงของกองทัพอยู่เสมอ ล่าสุดสมเด็จพระราชาธิบดีฯ และสมเด็จพระราชินีได้เสด็จมาร่วมพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน 2549 และนายกรัฐมนตรีพลเอก สุรยุทธ์ฯ เยือนบรูไนฯ อย่างเป็นทางการหลังจากเข้ารับตำแหน่งตามธรรมเนียมปฏิบัติของผู้นำอาเซียน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 และ นรม. เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดี ครั้งล่าสุดในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู เมื่อต้นปี 2550      นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีทัศนคติที่ดีต่อกัน ไม่เคยมีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์และมักเป็นพันธมิตรในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียนและกรอบสหประชา ชาติ

 

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง

ไทยและบรูไนได้จัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน คือ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไน ซึ่งมีการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2546 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความ สัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน การประมง แรงงาน การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม โดยไทยประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้บรูไนฯ ให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารฮาลาลและร่วมมือกันจัดตั้งธนาคาร อิสลามแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2546 มีการจัดตั้งกองทุนร่วม (Matching Fund) “กองทุนไทยทวีทุน” (ระหว่าง Brunei Investment Agency กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)
สำหรับท่าทีของฝ่ายบรูไนฯ ต่อสถานการณ์การเมืองของไทยนั้น เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2549 เอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ได้เข้าพบปลัดกระทรวงฝ่ายการเมือง กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของบรูไนฯ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย โดยปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในของประเทศไทย และไทยมีสิทธิกำหนดอนาคตของตนเอง บรูไนฯ มีนโยบายไม่แทรกแซงและเคารพอำนาจอธิปไตย เอกราช และความมั่นคงของรัฐ และยินดีที่ได้ทราบว่าไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง อีกทั้งประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ นอกจากนั้น ยังได้กล่าวย้ำว่า บรูไนฯ มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่าไทยจะสามารถบริหารจัดการให้ทุกอย่างดำเนินไป ด้วยดี

 

 

 

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า

การค้ารวมระหว่างไทยกับบรูไน ฯ ในปี 2549 มีมูลค่าการค้ารวม 210.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย โดยไทยขาดดุลการค้ากับบรูไน ฯ 45.3 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังบรูไนฯ คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำตาลทราย ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องจักรกล และเครื่องคอมพิวเตอร์

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากบรูไนฯ คือ น้ำมันดิบ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ธุรกรรมพิเศษ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ   และผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรก และส่วนประกอบ วัสดุทำจากยางและสิ่งพิมพ์ และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
การลงทุน

ภาคเอกชนของไทยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบรูไนฯ 3 ฉบับในปี 2545 ได้แก่

– Memorandum of Understanding between the Brunei Investment Agency and the Government Pension Fund of Thailand

– Memorandum of Understanding between the Government of His Majesty the Sultan and Yang di-Pertuan of Brunei

Darussalam and Chia Meng Group

– Memorandum of Understanding between the Brunei Investment Agency and the Biz Dimension Co. Ltd. สำหรับบริษัทไทยที่ลงทุน     ในบรูไนฯ คือ บริษัท Brunei Construction ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ไม่มีบริษัทที่เป็นของคนไทยล้วน ๆ ในบรูไนฯ เนื่องจากตามกฎหมายบรูไนฯ การ

ทำกิจการต่าง ๆ จะต้องมีคนบรูไนฯ เป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย สำหรับธุรกิจไทยในบรูไนฯ ส่วนมากจะเป็นร้านขายของ ร้านอาหาร ร้านตัดเสื้อ และอู่ซ่อมรถ
การท่องเที่ยว

เมื่อปี 2548 มีนักท่องเที่ยวจากบรูไน ฯ เดินทางมาไทยจำนวน 9,499 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 (9,345 คน) ร้อยละ 1.65 ทั้งนี้ แม้ว่านักท่องเที่ยวบรูไน ฯ จะเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยจำนวนไม่มากนัก แต่ก็เป็นนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายสูงและมีศักยภาพที่จะเพิ่มจำนวนอีก ได้ ทั้งที่เป็นลูกค้าประจำและผู้ที่นิยมสายการบินไทย

 

แรงงาน

ปัจจุบันมีแรงงานไทยในบรูไน ฯ ประมาณ 8,000 คน (2550) โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานในกิจการก่อสร้าง อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก นอกนั้น ทำงานในภาคธุรกิจบริการ เช่น ห้าง สรรพสินค้า ร้านอาหาร การตกแต่งดูแลสวน ช่างซ่อม และงานในภาคเกษตรกรรม แรงงานไทยส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับอย่างดีจากนักธุรกิจ ในบรูไน ฯ เพราะมีความซื่อสัตย์ อดทน ขยัน หมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบแม้จะด้อยในเรื่องภาษา อย่างไรก็ดียังมีปัญหาอยู่บ้างโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างนาย จ้างกับลูกจ้าง อาทิ อัตราค่าจ้างที่ไม่สอดคล้องกับความสามารถในการทำงาน และการขาดความรู้และความเข้าใจต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับของสัญญาจ้าง

ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม

 

ด้านวัฒนธรรม

ที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับ บรูไน ฯ ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2546 เห็นพ้องในการขยายความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม ในปี 2546 ซึ่งเป็นวาระฉลองครบรอบ 20 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-บรูไน ฯ สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน ได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมและการกีฬาบรูไน ฯ จัดกิจกรรม Thailand Festival 2003 โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม นำคณะนาฏศิลป์และนักดนตรีมาเปิดการแสดงทางวัฒนธรรมที่บรูไน ฯ

 

 

ด้านวิชาการ

ปัจจุบันไม่มีนักศึกษาไทยศึกษาอยู่ในบรูไนฯ แล้ว ต่างจากในอดีตที่มีนักศึกษามุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับทุนจากรัฐบาล บรูไนฯ ให้มาศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และการศาสนา เนื่องจากบรูไนฯ พิจารณาเรื่องการให้ทุน การศึกษาเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบาย อย่างไรก็ดี ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไทยประกาศตัวเป็นประเทศผู้ให้โดยไม่ประสงค์เป็นผู้รับอีกต่อไป เพื่อแสดงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจตามนโยบายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ บรูไนจึงงดทุนทั้งหมดที่เคยให้รัฐบาลไทย อนึ่ง ในปี 2549 ไทยได้ให้ทุนการศึกษาแก่บรูไนฯ จำนวน 1 ทุน ได้แก่ Thai Language Learning among ASEAN Diplomats

 

ด้านข้อมูลข่าวสาร

ในปี 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและบรูไนฯ ได้ร่วมลงนามใน บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีด้านสารสนเทศและการกระจายเสียง และภาพระหว่าง ไทย-บรูไนฯ (MoU on Cooperation in the field of Information and Broadcasting) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ด้านข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนรายการวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีสาระ รอันจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินโครงการภายใต้ MoU ดังกล่าวแล้ว โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-บรูไน ฯ (Joint Technical Committee on Information and Broadcasting ) นอกจากนี้ สถานีวิทยุกระจาย เสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุบรูไน ฯ ยังได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ระหว่าง เป็นประจำทุกปี โดยครั้งล่าสุดเป็นการจัดงานครั้งที่ 4 ภายใต้ชื่องาน Alai-Krathong ณ Jerudong Park Amphitheatre เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2550 โดยมีนักร้อง และคณะนักแสดงจากประเทศไทยเดินทางมาบรูไนฯ เพื่อเปิดการแสดงร่วมกับศิลปินชาวบรูไนฯ ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากผู้ชมทั้งชาวบรูไนฯ และชาวไทยที่อาศัยอยู่ในบรูไนฯ และในวันที่ 14-18 ตุลาคม 2550 ข้าราชการจากกรมประชาสัมพันธ์จะเดินทางเยือนบรูไนฯตามโครงการแลกเปลี่ยนใน กรอบ MoU

ความสัมพันธ์ไทย-บรูไน

 

 
ความตกลงที่สำคัญ

– ความตกลงทางการบิน (ลงนามเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530)

– บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไนฯ

(ลงนามเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542)

– บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีด้านสารสนเทศและการกระจายเสียง และภาพระหว่างไทย-บรูไนฯ(ลงนามเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2544)

– พิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547)

การเสด็จเยือนที่สำคัญ

ฝ่ายไทย

ระดับพระราชวงศ์

– เมื่อวันที่ 7 – 14 กันยายน 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จ ฯ เยือนบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 4 – 6 ตุลาคม 2535 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จ ฯ แทนพระองค์เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีรัชดาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดี

– เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทรงฝึกบินเส้นทางบรูไนฯ

– กรุงเทพฯ และประทับ ณ ท่าอากาศยานบันดาร์ เสรี เบกาวัน เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ระดับรัฐบาล

– เมื่อวันที่ 19 – 20 มีนาคม 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2541 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 14 – 15 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไนฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดี แห่งบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 16 – 17 สิงหาคม 2544 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ อย่างเป็นทางการ

– เมื่อวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2546 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไนฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดี บรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2546 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ เพื่อเป็น Keynote Speaker ของการประชุม General Meeting ครั้งที่ 15 ของสภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในแปซิฟิก (Pacific Economic Cooperation Council – PECC)

– เมื่อวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2547 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรีเยือนบรูไน ฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดี แห่งบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 9 – 10 กันยายน 2547 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารแห่งบรูไน ฯ ในฐานะผู้แทน พตท. ทักษิณ ชินวัตร (เป็นการเชิญเฉพาะบุคคล)

– เมื่อวันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไน ฯ อย่างเป็นทางการ

– เมื่อวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบรูไน ฯ เพื่อ เข้าร่วมพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดี แห่งบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีเฉลิมฉลอง วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ฯ

– เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไน ฯ อย่างเป็นทางการ

 

ฝ่ายบรูไน ฯ
  ระดับพระราชวงศ์

– เมื่อวันที่ 1 – 4 พฤศจิกายน 2531 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

– เมื่อวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2541 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Working Visit

– เมื่อวันที่ 21 – 25 พฤษภาคม 2543 มกุฎราชกุมารบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาลไทย

– เมื่อวันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2545 สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี และพระมเหสีแห่งบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะ

– เมื่อวันที่ 16 – 18 เมษายน 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีและเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ โดยเป็นแขกของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

– เมื่อวันที่ 11- 14 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งบรูไนฯ ได้เสด็จฯ มาร่วมพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

*สมเด็จพระราชาธิบดีฯ เสด็จประพาสไทยเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง

 

ระดับรัฐบาล

– เมื่อวันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อร่วมประชุม ASEAN-UN Summit ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการประชุม UNCTAD X

– เมื่อวันที่ 23 – 26 กรกฎาคม 2543 เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อร่วมประชุม AMM/PMC ครั้งที่ 33

– เมื่อวันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2545 เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers Retreat) ที่จังหวัดภูเก็ต

– เมื่อวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2546 เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน ฯ เสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ไทย-บรูไนฯ ครั้งที่ 1

– เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน และผู้นำอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพที่กรุงเทพฯ

– เมื่อวันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2546 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จ ฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11

– เมื่อวันที่ 13 – 15 กุมภาพันธ์ 2549 นายลิม จ็อก เส็ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า คนที่ 2 ของบรูไนฯ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องกฎบัตรอาเซียน ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ

 

แหล่งอ้างอิง: http://www.aseankan1.com/index.php?mo=3&art=650853

ใส่ความเห็น